ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

อภิปัญหาหนี้ครู...ปมที่แก้ไม่ตก 11 ปีลุกลาม 1.2 ล้านล้าน


บทความการศึกษา 27 พ.ย. 2558 เวลา 12:02 น. เปิดอ่าน : 10,829 ครั้ง
อภิปัญหาหนี้ครู...ปมที่แก้ไม่ตก 11 ปีลุกลาม 1.2 ล้านล้าน

Advertisement

โดย...ธเนศน์ นุ่นมัน

หลังจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ออกมาระบุว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษามีหนี้ทั้งในระบบประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ที่กู้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูและแหล่งกู้อื่น 7 แสนกว่าล้านบาท และหนี้ที่กู้กับธนาคารออมสินผ่านทางโครงการสวัสดิการเงินกู้กองทุนการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) จำนวน 4.7 แสนล้านบาท จำนวนกว่า 6.5 หมื่นคน

ยังไม่นับถึงหนี้นอกระบบซึ่งเป็นตัวเลขที่ยังไม่มีหน่วยงานไหนรวบรวมจากครูประมาณ 4.5 แสนคน ได้อย่างเป็นรูปธรรม ยังไม่มีการจำแนกว่ามีครูผู้สอนจริงๆ เป็นหนี้จำนวนเท่าไร และเป็นบุคลากรทางการศึกษาเท่าไร แต่มีการคาดการณ์กันว่า ทั้งหมดรวมกันจะเป็นตัวเลขที่สูงกว่าครึ่งหนึ่งของงบประมาณแผ่นดินทั้งหมด หรือสูงกว่า 2 ล้านล้านบาท

ทุกครั้งที่มีการพูดถึงปัญหาหนี้ครู สิ่งที่จะได้ยินตามมาก็คือ แนวทางในการแก้ไข แต่แนวคิดมากมายก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้อย่างยั่งยืนได้ เช่น ความพยายามจัดตั้ง “ธนาคารครู” ซึ่งเคยมีการมอบหมายให้ สกสค.รวบรวมข้อมูลเข้าหารือกับกระทรวงการคลัง แต่ก็ยังตั้งไม่ได้ เพราะไม่สามารถแก้โจทย์หลักเรื่องแหล่งเงินที่จะนำมาจัดตั้งให้เพียงพอที่จะให้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูกู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าแหล่งเงินอื่นๆ

ส่วนแนวคิดอื่น เช่น นำหนี้สินครูทั้งหมดไปรวมไว้ที่สหกรณ์ออมทรัพย์ครูแห่งเดียว กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำกว่าธนาคาร และให้รัฐบาลช่วยอุ้ม โดยงดดอกเบี้ยเงินกู้ครูอย่างน้อย 3-5 ปี โดยมีรัฐบาลค้ำประกัน แต่ก็ไม่สามารถกำหนดเพดานดอกเบี้ยตามเป้าที่ตั้งไว้ได้ เพราะอำนาจการบริหารภายในกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั้ง 76 จังหวัดที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 จึงไม่สามารถบังคับได้ ยังไม่รวมถึงปัญหาภายในของ สกสค.เองที่ยังแก้ไม่ตก ธนาคารครูจึงถูกพับเก็บไป

ยังมีแนวคิดอื่นๆ ที่ถูกเสนอเพื่อแก้หนี้ครู เช่น ลดอัตราดอกเบี้ยจาก 6-7% ต่อปี ให้เหลือ 1-2% ต่อปี หรือ 4-5% ต่อปี หรือกรณีเรียกร้องเงินเบี้ยประกันคืนจากสัญญาเงินกู้ระหว่างธนาคารออมสินกับสมาชิกโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค. ปรับโครงสร้างหนี้โดยเฉพาะครูเกษียณ หรืองดเก็บดอกเบี้ยครูที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป ให้ฟื้นกองทุนเงินสนับสนุนพิเศษและส่งเสริมความมั่นคง เพื่อใช้หนี้แทนครูที่มีความจำเป็นและชำระหนี้ไม่ได้ ขอคืนเงินเดือนครูครึ่งหนึ่งในโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค.

นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดอื่นๆ เช่น ให้พักหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลา 10 ปี โดยไม่ต้องหักผ่านเงินเดือน และให้รัฐบาลออกตราสารหนี้รับซื้อไว้

ปรีชา เมืองพรหม นายกสมาคมพัฒนาครูไทย ระบุว่า ปัญหาหนี้ครูเกิดจากวินัยทางการเงินของครูที่เริ่มเสียมาตั้งแต่การเปิดโอกาสให้ครูหลายๆ คนที่กู้เงินในโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค. โครงการนี้กู้ได้โดยไม่มีการตรวจข้อมูลเครดิตเหมือนสหกรณ์ ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าครูเป็นหนี้เสียหรือไม่สามารถเห็นภาระหนี้ก่อนกู้ แม้แต่เงินเดือนคงเหลือของผู้กู้เหลือเพียง 15% ของเงินเดือน ก็สามารถกู้ได้ ซึ่งโดยทั่วไปต้อง 30% ขึ้นไป หรือมากกว่านั้น ใช้คนค้ำกู้ได้ถึง 3 ล้านบาท

นอกจากนี้ บางกระแสยังระบุด้วยว่า มีการเรียกเก็บค่าหัวคิวจากการเดินเรื่องให้ครูกู้ได้ง่าย มีการประชาสัมพันธ์ให้ครูกู้หรือกระทั่งสร้างความเชื่อผิดๆ ให้ครูว่า โครงการนี้รับประกันโดย ศธ. แม้ไม่ชำระหนี้เงินกู้ ธนาคารออมสินก็สามารถหักเงินจากกองทุนเงินสนับสนุนพิเศษและส่งเสริมความมั่นคง ได้ทำให้ครูส่วนหนึ่งไม่ใช้หนี้ และมักจะแนะนำครูรุ่นน้องให้กู้ในโครงการนี้ เพราะไม่ต้องจ่ายหนี้ จนกลายเป็นการให้คำแนะนำแบบผิดๆ ที่ถูกบอกต่อๆ กันมา

“ต้องตั้งคำถามว่า ทำไมหน่วยงานดูแลสวัสดิการครูไม่ทำเรื่องอื่นๆ ที่ส่งผลต่อสวัสดิการครูจริงๆ แต่อยากให้ครูเป็นหนี้ ไม่เคยสนใจว่าครูแต่ละคนมีหนี้สินเท่าไร เพราะไม่เคยมีการสำรวจมาก่อน ด้วยเวลาเพียง 11 ปี ปัญหาหนี้สินก็ลุกลามจนแก้ปัญหาได้ลำบาก จึงเสนอให้ ศธ.ตั้งกองทุนพัฒนาครูไทย ให้ครูออมเงินเดือนละ 1,500 บาท เนื่องจากมีข้าราชการครูที่ประสบปัญหาหนี้สินเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้หากครู 1 แสนคน สนใจในแนวคิดดังกล่าว จะมีเงินออมเดือนละ 150 ล้านบาท นำเข้ากองทุนไปพัฒนาอาชีพครู คาดว่าภายใน 5 ปี จะลดหนี้ได้ถึง 50%” นายกสมาคมพัฒนาครูไทย กล่าว

วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ระบุว่า แนวคิดในการแก้ปัญหาหนี้ครูด้วยกองทุนหรือการออมเงิน เป็นเรื่องที่ดีสำหรับการแก้ปัญหาในระยะยาว แต่ปัญหาหนี้ครูนั้นมีความหลากหลาย ทั้งกลุ่มที่มีปัญหาหนี้สาหัสเรื้อรัง การออมต่อเดือนที่แม้จะเป็นเงินไม่มากก็เป็นเรื่องที่อาจทำได้ยาก ควรมีการแก้ปัญหาระยะสั้น คือ ขอความร่วมมือจากครูที่มีปัญหาจริงๆ มาให้คำปรึกษาด้านการเงิน

วรากรณ์ แนะนำว่า ควรมีหน่วยงานคำปรึกษา นำหนี้จากแหล่งต่างๆ ที่ครูคนนั้นๆ มีอยู่มาเปรียบเทียบดูว่า ส่วนไหนที่มีดอกเบี้ยสูงก็ใช้วิธีการรีไฟแนนซ์ หรือการที่คุณกู้เงินก้อนใหม่เพื่อไปใช้คืนเงินกู้ก้อนเก่า แล้วเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิต และหน่วยงานด้านสวัสดิการครูต้องช่วยด้านสวัสดิการจริง เลิกยั่วยุให้ครูกู้เงิน ขณะที่ครูต้องให้ความร่วมมือ ให้ข้อมูลข้อเท็จจริงเรื่องหนี้สินที่เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหามากกว่าที่เป็นอยู่

 

ที่มา หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558

 


อภิปัญหาหนี้ครู...ปมที่แก้ไม่ตก 11 ปีลุกลาม 1.2 ล้านล้านอภิปัญหาหนี้ครู...ปมที่แก้ไม่ตก11ปีลุกลาม1.2ล้านล้าน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

วิธีเฟ้นคนแบบ "Google" ไม่สนปริญญา

วิธีเฟ้นคนแบบ "Google" ไม่สนปริญญา

เปิดอ่าน 7,419 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
"ปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน" ใช้ ICT เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้
"ปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน" ใช้ ICT เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้
เปิดอ่าน 11,904 ☕ คลิกอ่านเลย

เรียนยังไงให้ "เก่ง" และต้องเก่งกว่าครูบาอาจารย์ คำแนะนำจากนักเรียนทุนชื่อ "ดร.ป๋วย"
เรียนยังไงให้ "เก่ง" และต้องเก่งกว่าครูบาอาจารย์ คำแนะนำจากนักเรียนทุนชื่อ "ดร.ป๋วย"
เปิดอ่าน 13,161 ☕ คลิกอ่านเลย

เจ้าฟ้ามหาจักรี ต้นแบบของครูทั้งแผ่นดิน
เจ้าฟ้ามหาจักรี ต้นแบบของครูทั้งแผ่นดิน
เปิดอ่าน 8,672 ☕ คลิกอ่านเลย

ระบบการศึกษาไม่สมดุล (2)
ระบบการศึกษาไม่สมดุล (2)
เปิดอ่าน 7,884 ☕ คลิกอ่านเลย

เสียงสะท้อนจากนิทานเรื่องมดน้อย ของลุงตู่ ต่อการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เสียงสะท้อนจากนิทานเรื่องมดน้อย ของลุงตู่ ต่อการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เปิดอ่าน 9,460 ☕ คลิกอ่านเลย

เคล็ดลับเรียนแล้วรวย
เคล็ดลับเรียนแล้วรวย
เปิดอ่าน 7,595 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

WebOS เว็บโอเอส เว็บโอเอส อะไรๆ ก็ เว็บโอเอส
WebOS เว็บโอเอส เว็บโอเอส อะไรๆ ก็ เว็บโอเอส
เปิดอ่าน 18,157 ครั้ง

วาซาบิ
วาซาบิ
เปิดอ่าน 12,497 ครั้ง

สมุนไพร"บัวบก"คุณค่าที่มากกว่าแก้ช้ำใน
สมุนไพร"บัวบก"คุณค่าที่มากกว่าแก้ช้ำใน
เปิดอ่าน 19,253 ครั้ง

5 เคล็ดลับสร้างโปรไฟล์หางานให้โดดเด่นกว่าใคร
5 เคล็ดลับสร้างโปรไฟล์หางานให้โดดเด่นกว่าใคร
เปิดอ่าน 3,880 ครั้ง

น้ำอาร์ซี
น้ำอาร์ซี
เปิดอ่าน 19,826 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ