ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก
สแกน...ลดเวลาเรียน "3 สัปดาห์"บรรลุเป้า?
บทความการศึกษา 29 พ.ย. 2558 เวลา 05:27 น. เปิดอ่าน : 9,771 ครั้ง
สแกน...ลดเวลาเรียน "3 สัปดาห์"บรรลุเป้า?

Advertisement

โดย ขติยา มหาสินธ์

 

"ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" เป็นนโยบายแรกๆ ที่ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศเดินหน้าตามนโยบายของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นับแต่วันแรกที่เข้ามารั้งตำแหน่งเสมา 1 เมื่อ 3 เดือนก่อน คาดหวังให้เด็กลดการเรียนวิชาการที่หนักเกินไป และหันมาเรียนนอกห้องเรียนเพื่อเพิ่มทักษะด้านต่างๆ ให้มากขึ้น

ต้องยอมรับว่าเด็กไทยเรียนหนัก แต่ผลสัมฤทธิ์สวนทางซึ่งสร้างความไม่สบายใจให้แก่ผู้บริหารกระทรวงศึกษาฯมา ทุกยุคทุกสมัย มาถึงสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จึงหยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาพูดคุยด้วยความห่วงใยตามเวทีต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง นับตั้งแต่ก้าวเข้ามาบริหารประเทศ

โดยหลักการ ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่ารัฐบาลและกระทรวงศึกษาฯเดินมาถูกทาง เพราะเด็กไทยเรียนหนักจริง แถมเนื้อหาแต่ละระดับก็มีบางส่วนที่ซ้ำซ้อนกัน และที่สำคัญการบ้านมีแทบทุกวิชา แทนที่จะมอบเป็นโครงงานที่

บูรณาการวิชาต่างๆ เข้าด้วยกันซึ่งจะช่วยผ่อนภาระเด็ก จะได้มีเวลาไปทำกิจกรรมเสริมสร้างทักษะและช่วยงานบ้านพ่อแม่บ้าง

แต่คำถาม คือ แนวทางที่กระทรวงศึกษาฯทำอยู่ ตอบโจทย์ปฏิรูปการศึกษาแท้จริงแล้วหรือไม่ และที่สำคัญโครงการนี้ประสบความสำเร็จ สร้างความน่าพึงพอใจ 75% ดังที่ พล.อ.ดาว์พงษ์ ประเมินจริงหรือ?

เป็นคำถามที่ชวนขบคิดอย่างมาก...

นักวิชาการและนักบริหารอย่าง ดร.ภาวิช ทองโรจน์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. มองว่านโยบายการลดเวลาเรียนของ พล.อ.ดาว์พงษ์ น่าเป็นห่วง ไม่ว่ารัฐบาลจะบอกว่าประชาชนเห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว แต่ถ้าไปสอบถามครูในพื้นที่ จะพบว่าส่วนใหญ่ยังไม่พร้อม เพราะยังเน้นจัดการเรียนการสอนตามเนื้อหาวิชาเป็นหลัก โดยหลักการเห็นด้วยว่าเด็กไทยเรียนมากเกินไป แต่การลดเวลาเรียนต้องทำอย่างเป็นระบบ ค่อยเป็นค่อยไป เพราะหลักสูตรปัจจุบันจัดการเรียนการสอนโดยเน้นเนื้อหาสาระเป็นหลัก การปรับลำดับแรกจึงควรสร้างหลักสูตรใหม่ที่ลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหา และจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาที่เรียน

ไม่ต่างจากนักวิชาการฝีปากกล้าอย่าง ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มองคล้ายๆ กัน ว่าการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เป็นหนทางที่ทำให้ปฏิรูปการศึกษาสำเร็จซึ่งหลายประเทศดำเนินการมาแล้ว แต่ถ้าลดเวลาเรียนโดยหลักสูตร การวัดผลประเมินผลและระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยยังไม่เปลี่ยนแปลงให้ สอดคล้องกับนโยบายลดเวลาเรียน ก็เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักที่จะผลักดันนโยบายนี้ให้สำเร็จ

โดยเฉพาะต้องสร้างความเข้าใจให้ครูและผู้ปกครอง เพราะได้พูดคุยกับผู้บริหารโรงเรียนต่างจังหวัดพบว่าสิ่งที่โรงเรียนบางแห่งทำ คือ ย้ายกิจกรรมที่ทำช่วงเช้ามาอยู่ช่วงบ่าย และแทนที่จะทำกิจกรรมในห้องเรียน ก็ย้ายออกไปทำกลางสนาม ก็ถือว่าทำกิจกรรมนอกห้องเรียนแล้ว แต่วิชาการก็ยังเรียนหนักเหมือนเดิม สะท้อนว่าโรงเรียนยังตีความคำว่าลดเวลาเรียนไม่ตรงกัน หรืออีกนัยหนึ่งยังไม่เข้าใจคอนเซ็ปต์ของนโยบายนี้ดีพอ เช่นเดียวกับผู้ปกครอง ที่ทุกวันนี้หลังเลิกทำกิจกรรม ก็พาเด็กไปติววิชาหลัก อาทิ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ หนักขึ้น เพราะวิตกว่าการลดเวลาเรียน จะทำให้ลูกอ่อนวิชาการจนสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ ผลจึงตกกับเด็กที่ต้องเรียนหนักขึ้น

นักวิชาการมองด้วยว่าโรงเรียน สังกัด สพฐ.ที่นำร่องโครงการนี้ เป็นโรงเรียนที่พร้อม แต่ถามว่าโรงเรียนส่วนใหญ่ที่เป็นโรงเรียนทั่วไป 90% พร้อมหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าไม่พร้อม รัฐมนตรีว่าการ ศธ.ต้องระมัดระวังกับสิ่งที่ข้าราชการรายงาน ครูเคยชินกับวิธีการสอนแบบเดิมๆ มาเป็น 10-20 ปี จึงเป็นไปไม่ได้ที่ครูจะมาเปลี่ยนวิธีการสอนได้สำเร็จภายใน 3 สัปดาห์

กระทรวงศึกษาฯ โดย พล.อ.ดาว์พงษ์ ต้องมองความสำเร็จของนโยบายที่ยั่งยืน และเล็งผลในทางปฏิบัติที่ยาวนาน เพราะหลายนโยบายที่ผ่านมามักอยู่ไม่นาน ก็ไปพร้อมกับเจ้ากระทรวง แต่หากปรับหลักสูตร ระบบการวัดผลประเมินผล ตลอดจนระบบการคัดเลือกนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัย ควบคู่ไปกับสร้างความพร้อมให้แก่ครูและทำความเข้าใจกับผู้ปกครองให้เข้าใจ หลักการที่ถูกต้องตรงกัน ก็เชื่อว่าจะตอบโจทย์ปฏิรูปการศึกษาที่คาดหวังให้เด็กไทย "เก่ง ดี มีสุข" ได้ไม่ยาก... 

 

ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2558


Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก
การพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก

เปิดอ่าน 10,686 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

คำรำพึง ของคนที่เคยผ่านร้อนผ่านหนาว ในการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์
คำรำพึง ของคนที่เคยผ่านร้อนผ่านหนาว ในการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เปิดอ่าน 9,257 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การศึกษาไทยภายใต้รัฐบาล คสช. 3 ปี ที่วังเวงและเคว้งคว้าง
การศึกษาไทยภายใต้รัฐบาล คสช. 3 ปี ที่วังเวงและเคว้งคว้าง
เปิดอ่าน 13,843 ☕ คลิกอ่านเลย

คอลัมน์ เปลี่ยนผ่าน: ได้เวลา "ปฏิรูป" ลูกเสือไทยเร่งสางปัญหา "ทุจริต" รีบปรับหลักสูตรให้ตรงใจ "ผู้เรียน-ผู้สอน"
คอลัมน์ เปลี่ยนผ่าน: ได้เวลา "ปฏิรูป" ลูกเสือไทยเร่งสางปัญหา "ทุจริต" รีบปรับหลักสูตรให้ตรงใจ "ผู้เรียน-ผู้สอน"
เปิดอ่าน 9,643 ☕ คลิกอ่านเลย

การเรียนรู้ตลอดชีวิต คืออะไรและสำคัญตรงไหน แล้วเกี่ยวอะไรกับปรัชญาพิพัฒนาการนิยม
การเรียนรู้ตลอดชีวิต คืออะไรและสำคัญตรงไหน แล้วเกี่ยวอะไรกับปรัชญาพิพัฒนาการนิยม
เปิดอ่าน 70,826 ☕ คลิกอ่านเลย

ศึกสายเลือด ศธ. : เกมชิงอำนาจที่มีแต่ “ผู้แพ้”?? ผู้เขียน จุไรรัตน์ พงศาภิชาติ
ศึกสายเลือด ศธ. : เกมชิงอำนาจที่มีแต่ “ผู้แพ้”?? ผู้เขียน จุไรรัตน์ พงศาภิชาติ
เปิดอ่าน 30,358 ☕ คลิกอ่านเลย

โลกต้องให้ความสำคัญกับครู (จบ)
โลกต้องให้ความสำคัญกับครู (จบ)
เปิดอ่าน 9,342 ☕ คลิกอ่านเลย

"การผลิต" กับการศึกษาประเทศสิงคโปร์
"การผลิต" กับการศึกษาประเทศสิงคโปร์
เปิดอ่าน 12,680 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ความลับของ "คนรวย"
ความลับของ "คนรวย"
เปิดอ่าน 19,434 ครั้ง

ฮือฮา! ครูสาวสุดทุ่ม ตัดชุดบอดี้สูททั้งตัวสกรีนภาพเหมือนอวัยวะภายในร่างกายสอนวิชากายวิภาค
ฮือฮา! ครูสาวสุดทุ่ม ตัดชุดบอดี้สูททั้งตัวสกรีนภาพเหมือนอวัยวะภายในร่างกายสอนวิชากายวิภาค
เปิดอ่าน 15,363 ครั้ง

ประมวลภาพทั่วโลก - สุริยคราสวงแหวนครั้งยาวนานที่สุดของสหัสวรรษ
ประมวลภาพทั่วโลก - สุริยคราสวงแหวนครั้งยาวนานที่สุดของสหัสวรรษ
เปิดอ่าน 29,818 ครั้ง

เว็บไซต์หางาน กับ บริษัทจัดหางาน ครูต่างชาติ
เว็บไซต์หางาน กับ บริษัทจัดหางาน ครูต่างชาติ
เปิดอ่าน 1,362 ครั้ง

มาตรฐานโทรศัพท์มือถือยุคที่ 3
มาตรฐานโทรศัพท์มือถือยุคที่ 3
เปิดอ่าน 12,064 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 081-3431047

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ