ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

Quiet Quitting คืออะไร? เหตุใดคนรุ่นใหม่ไม่เชื่อว่าทุ่มเทแล้วจะได้ดี


ความรู้ทั่วไป 13 ก.ย. 2565 เวลา 06:39 น. เปิดอ่าน : 7,070 ครั้ง
Quiet Quitting คืออะไร? เหตุใดคนรุ่นใหม่ไม่เชื่อว่าทุ่มเทแล้วจะได้ดี

Advertisement

Quiet Quitting เป็นคำที่ถูกหยิบมาพูดถึงอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา Quiet Quitting แปลตรงตัวคือการลาออกเงียบๆ แต่มันไม่ได้หมายถึงการลาออกจริงๆ แต่เป็นการกำหนดขอบเขตการทำงานของตัวเอง ไม่ได้ทุ่มเท ไม่ได้เชื่อว่าการทำงานหนักแล้วจะส่งผลดีเสมอไป หันมาใส่ใจสุขภาพของตัวเองมากกว่า

Quiet Quitting เทรนด์ทำงานในหมู่คนรุ่นใหม่ ที่กำลังเป็นกระแสโดยเฉพาะบน TikTok และกำลังพยายามบอกกับเราว่า ถ้าทำงานหนักไปแล้วมันไม่ตอบสนองกับชีวิต จะทำน้อยๆ เท่าที่จำเป็นก็ไม่ใช่เรื่องแย่อะไร

quiet quitting คืออะไร? เซอิด ข่าน ผู้ใช้ TikTok ที่ชื่อ @zaidleppelin เล่าให้ฟังในคลิปที่กำลังเป็นไวรัลของเขาว่า ไม่ใช่การลาออกเสียทีเดียว แต่เป็นการ ‘ลาออก’ จากแนวคิดที่อยากจะทุ่มเททำงานให้หนักกว่าที่จำเป็น

“คุณก็ทำหน้าที่ของคุณไปแหละ แต่คุณไม่เอาด้วยแล้วกับค่านิยมทำงานหนักที่บอกว่างานต้องกลายเป็นชีวิตของคุณ เพราะในความเป็นจริงมันไม่ใช่ และคุณค่าของคุณไม่ได้ถูกกำหนดโดยปริมาณผลลัพธ์ที่ผลิตออกมา” เซอิดอธิบาย

ด้าน มาเรีย คอร์โดวิกซ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้วยพฤติกรรมเชิงองค์กรจากมหาวิทยาลัยน็อตติงแฮม อธิบายว่า เนื่องจาก ‘งาน’ กับ ‘ชีวิต’ แยกออกจากกันไม่ได้ง่ายๆ และทั้งสองก็ย่อมส่งผลกระทบถึงกันอยู่แล้ว quiet quitting ก็คือการตั้งใจพยายามรักษาสุขภาวะที่ดีในการทำงาน แทนที่จะต้องเผชิญกับการหมดไฟ หรือหันไปนิยามตัวเองผ่านการทำงานแทน

หากให้สรุปง่ายๆ Quiet Quitting นั้นใช้อธิบายการที่พนักงานคนหนึ่งจัดการหน้าที่ ความรับผิดชอบของตัวเองเรียบร้อยแล้วก็พอแค่นั้น เพื่อใช้เวลาที่เหลือกับตัวเองเพื่อให้ work life balance

จริงๆ แนวคิดแบบนี้มีมานานแล้วพอสมควร Quiet Quitting เหมือนเป็นชื่อเรียกขึ้นมาใหม่มากกว่า แน่นอนว่ามันคงไม่ผิด ที่ทุกคนต้องการดูแลสุขภาพชีวิตของตัวเอง แต่ในมุมขององค์กรหรือบริษัท ยิ่งถ้าเป็นเจนก่อนๆ อาจจะมองว่าเด็กสมัยนี้ ไม่มีความอดทน ไม่ทุ่มเทกับงาน ขี้เกียจ ทำงานแค่เท่าที่ได้รับ

ว่ากันว่า เทรนด์ใหม่นี้ กลายมาเป็นกระแสที่ถัดมาจาก ‘The Great Resignation’ หรือการลาออกระลอกใหญ่ในช่วงการระบาดของ COVID-19 ซึ่งเมื่อมาถึงตอนนี้ เส้นแบ่งชีวิตกับการทำงานก็ดูเหมือนจะเบลอจนแยกจากกันไม่ได้ ขณะที่การลาออกก็อาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย จึงไม่แปลกที่หลายคนจะเห็นด้วยกับ quiet quitting

แนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ สื่อหลายสำนักมองว่ามันค่อนข้างคล้ายคลึงกับแนวคิดเรื่อง ‘lying flat’ ที่กลายมาเป็นปรากฏการณ์ในหมู่วัยรุ่นจีนก่อนหน้านี้ ซึ่งก็หมายถึงการที่คนรุ่นใหม่หมดความทะเยอทะยาน จากการที่สังคมกดทับจนหมดโอกาสลืมตาอ้าปาก จึงเลือกใช้ชีวิตในแบบที่จะไม่ทำอะไรไปมากกว่าที่จำเป็น หรือทำให้น้อยที่สุด เอาแค่พออยู่รอด

ถึงอย่างนั้น quiet quitting ก็ไม่ใช่การทิ้งงานไปเลยเสียทีเดียว ซึ่งนี่เองก็เป็นปัญหา โดยเฉพาะกับคำว่า ‘quitting’ ที่อาจทำให้คนทำงานในเจเนอเรชั่นที่โตกว่าบางส่วนมองว่า คนทำงานรุ่นใหม่ ‘ขี้เกียจ’ หรือ ‘เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ’ แต่ในความเป็นจริง มันก็หมายความเพียงแค่ว่า คนเหล่านี้จะยังทำงานอยู่ เพียงแต่จะทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้นเอง

ว่ากันง่ายๆ มันก็คือการที่เราตั้งใจไม่ยอมให้ค่านิยมทำงานหนักมาเบียดบังการใช้ชีวิตนั่นแหละ

เหมือนกับ เคลย์ตัน แฟร์ริส คนทำงานวัย 41 ปี ที่ให้สัมภาษณ์กับ The Wall Street Journal หลังไปค้นพบกับแนวคิดนี้ว่า “สิ่งที่น่าสนใจที่สุด คือ มันไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนไปเลยนะ ผมก็ยังทำงานหนักเหมือนเดิม ยังทำงานสำเร็จเท่าเดิม แค่ไม่เครียดและเหยียบย่ำจิตใจจนสลายไม่มีชิ้นดีแค่นั้นเอง”

ปัจจัยที่ทำให้เกิด Quiet Quitting หากสรุปแบบง่ายๆ ก็เกิดจากที่ปัจจุบันการทำงานค่อนข้างเครียด มีความรู้สึกเหนื่อยกับปัญหาที่เจอ ทุกคนเลยอยากที่หาจุดสมดุลให้กับชีวิต

ในมุมของบริษัทก็ควรทำความเข้าใจและส่งเสริมให้พนักงานได้มีเวลาพัก ไม่ว่าจะ พักกลางวัน พักร้อน ไม่รบกวนเมื่อพวกเขาใช้ชีวิตส่วนตัว เช่น ไม่ตามงานหลังเลิกทำงาน ให้พวกเขาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้พวกเขาเห็นโอกาสในการเติบโตในองค์กร แล้วองค์กรก็จะได้ผลตอบแทนจากการทำงานแน่นอน

เรื่องนี้กลายเป็นที่หยิบยกขึ้นมาพูดในหลายแห่ง สุขภาพกาย สุขภาพจิตนั้นสำคัญ เพราะพนักงานที่ทั้งสองอย่างนี้ดี พวกเขาจะทำงานได้เต็มที่และส่งเสริมให้งานต่างๆ สำเร็จได้ดีขึ้น ยังไงก็เป็นเรื่องที่ต้องเอาใจใส่และทำความเข้าใจกัน เพราะจากการลาออกเงียบอาจจะกลายเป็นการลาออกจริงๆ ก็ได้


ขอบคุณที่มาเนื้อหาจาก สนุก.คอม และ the MATTER 


Quiet Quitting คืออะไร? เหตุใดคนรุ่นใหม่ไม่เชื่อว่าทุ่มเทแล้วจะได้ดีQuietQuittingคืออะไร?เหตุใดคนรุ่นใหม่ไม่เชื่อว่าทุ่มเทแล้วจะได้ดี

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

วิธีเช็คไฟฟ้าแบบง่าย ๆ

วิธีเช็คไฟฟ้าแบบง่าย ๆ


เปิดอ่าน 16,393 ครั้ง
สตรีผู้ทรงอิทธิพลปี 2009

สตรีผู้ทรงอิทธิพลปี 2009


เปิดอ่าน 8,229 ครั้ง
7 วิธี เอาชนะริ้วรอย

7 วิธี เอาชนะริ้วรอย


เปิดอ่าน 10,318 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เรื่องน่ารู้ สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกท่าน

เรื่องน่ารู้ สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกท่าน

เปิดอ่าน 11,258 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อันตรายที่อย่ามองข้าม
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อันตรายที่อย่ามองข้าม
เปิดอ่าน 14,581 ☕ คลิกอ่านเลย

ปัญหาเด็กไม่ยอมออกไปเล่นกลางแจ้งและวิธีแก้
ปัญหาเด็กไม่ยอมออกไปเล่นกลางแจ้งและวิธีแก้
เปิดอ่าน 55,046 ☕ คลิกอ่านเลย

5 สิ่งไม่ควรทำหลังทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ
5 สิ่งไม่ควรทำหลังทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ
เปิดอ่าน 20,510 ☕ คลิกอ่านเลย

หญิงไทยยังเมินเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำไอคิวเด็กไทยต่ำ
หญิงไทยยังเมินเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำไอคิวเด็กไทยต่ำ
เปิดอ่าน 9,923 ☕ คลิกอ่านเลย

อย่ารีรอ !! เรื่องสุขภาพหน้าจอ
อย่ารีรอ !! เรื่องสุขภาพหน้าจอ
เปิดอ่าน 11,613 ☕ คลิกอ่านเลย

10 ขั้นตอน...ก่อนซื้อ Notebook มือสอง
10 ขั้นตอน...ก่อนซื้อ Notebook มือสอง
เปิดอ่าน 7,927 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

รวมคำอวยพรวันตรุษจีน พร้อมคำแปล
รวมคำอวยพรวันตรุษจีน พร้อมคำแปล
เปิดอ่าน 20,711 ครั้ง

เกิดอะไรขึ้น เมื่อสาวลงทุนเต้น cover ขอหนุ่มแต่งงานกลางถนน
เกิดอะไรขึ้น เมื่อสาวลงทุนเต้น cover ขอหนุ่มแต่งงานกลางถนน
เปิดอ่าน 11,541 ครั้ง

เทคโนโลยี มีกี่ระดับอะไรบ้าง
เทคโนโลยี มีกี่ระดับอะไรบ้าง
เปิดอ่าน 191,743 ครั้ง

นี่คือ 5 เหตุผล ทำไมผู้ใหญ่เล่นโซเชียล แล้วอันตรายกว่าวัยรุ่น
นี่คือ 5 เหตุผล ทำไมผู้ใหญ่เล่นโซเชียล แล้วอันตรายกว่าวัยรุ่น
เปิดอ่าน 13,770 ครั้ง

เคล็ดของการมีอายุครบ 100 ปี ต้องมีคู่ออกกำลังและหมั่นล้างมือ
เคล็ดของการมีอายุครบ 100 ปี ต้องมีคู่ออกกำลังและหมั่นล้างมือ
เปิดอ่าน 9,967 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ