ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เตือนภัย : ฝนตก ยุงลายชุกชุม ระวังไข้เลือดออกคุกคามเด็กๆ


ความรู้ทั่วไป เปิดอ่าน : 15,055 ครั้ง
เตือนภัย : ฝนตก ยุงลายชุกชุม ระวังไข้เลือดออกคุกคามเด็กๆ

Advertisement

❝ ช่วงนี้ฝนตกชุกทุกพื้นที่ ทำให้ยุงลายเพาะพันธุ์ได้ง่าย ทั้งที่บ้านและโรงเรียน ผู้ปกครองระวังโรคไข้เลือดออกระบาดสู่เด็กๆ ❞           "ไข้เลือดออก" เป็นโรคติดเชื้อจากไวรัสเดงกี่ (Dengue virus) ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยทั่วไปยุงลายจะออกหากินกัดคนในเวลากลางวัน ยุงลายจะเพาะพันธุ์ในน้ำใสสะอาดและนิ่ง แหล่งเพาะพันธุ์ส่วนใหญ่คือภาชนะที่มีน้ำขัง เมื่อยุงลายตัวเมียดูดเลือดจากผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่เข้าไป เชื้อไวรัสเดงกี่ในยุงจะเพิ่มจำนวน และกระจายเชื้อเข้าไปสู่ต่อมน้ำลายของยุง เตรียมพร้อมที่จะปล่อยเชื้อให้กับคนที่ถูกกัดครั้งต่อไปได้ โดยเชื้อจะอยู่ตลอดอายุของยุง จะพบยุงลายชุกชุมมากในฤดูฝน การควบคุมยุงลายทำได้โดยทำลายแหล่งเพาะพันธุ์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยใส่ทรายอะเบต (abate) ลงในภาชนะที่มีน้ำขัง


การติดเชื้อไวรัสเดงกี่จากยุงลายจะมีอาการอย่างไร ?

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 ที่ได้รับเชื้อไวรัสเดงกี่ จะไม่แสดงอาการ ส่วนผู้ป่วยที่แสดงอาการจะแบ่งอาการออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้


ไข้ไวรัส ผู้ป่วยจะมีเพียงไข้ 2-3 วัน และอาจมีผื่นตามตัว ซึ่งจะมีอาการคล้ายกับการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ


ไข้เดงกี่ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว มักมีผื่นตามตัว และพบจุดเลือดออกจากการทดสอบ

tourniquet test ถ้าเจาะเลือดมักจะมีเม็ดเลือดขาวต่ำ บางรายอาจมีเกล็ดเลือดต่ำร่วมด้วย


ไข้เลือดออกเดงกี่ ผู้ป่วยมีไข้สูง 2-7 วัน มีอาการเลือดออก ส่วนใหญ่พบที่ผิวหนัง ตับโต และพบจุดเลือดออกจากการทดสอบ tourniquet test ลักษณะเฉพาะของโรคคือ มีการรั่วของพลาสมาหรือน้ำเหลืองออกจากเส้นเลือด ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะช็อกได้ โดยส่วนใหญ่จะมีการรั่วของพลาสมาประมาณ 24-48 ชั่วโมง หลังจากระดับเกล็ดเลือดลดต่ำลง
 

ไข้เลือดออกมีอาการอย่างไร ?

การดำเนินโรค แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้


ระยะไข้สูง ผู้ป่วยจะมีไข้สูง 39-41 องศาเซลเซียส ส่วนใหญ่ติดต่อกันเป็นเวลา 2-7 วัน มักมีอาการหน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงขวา ตับโต กดเจ็บ บางรายอาจมีจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายที่ผิวหนัง มักไม่มีอาการหวัดชัดเจน


ระยะวิกฤติ
เป็นระยะที่ไข้มักลดลงอย่างรวดเร็วและมีการรั่วของพลาสมา ถ้าหากมีการรั่วอย่างมาก จะเกิดภาวะช็อกได้ ผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็วและเบา มีความดันโลหิตต่ำ และอาจมีอาการเลือดออกที่อวัยวะอื่นๆ ในรายที่รุนแรงอาจอาเจียน และถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ


ระยะฟื้นตัว เป็นระยะที่พลาสมากลับเข้าสู่กระแสโลหิต ผู้ป่วยจะมีอาการทั่วไปดีขึ้น มีความอยากอาหาร ปัสสาวะเพิ่มขึ้น มีผื่นเป็นวงกลมสีขาวกระจายอยู่บนปื้นสีแดง และอาจมีอาการคันร่วมด้วย

ทราบได้อย่างไรว่าเป็นไข้เลือดออก ?

วินิจฉัยจากลักษณะอาการทางคลินิก ร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น ดังนี้

การตรวจนับเม็ดเลือด ในตอนต้นของระยะไข้สูง จำนวนเม็ดเลือดขาวอาจปกติหรือสูงเล็กน้อย ในตอนปลายของระยะไข้สูงจำนวนเม็ดเลือดขาวมักต่ำลง ต่อมาจะพบว่าจำนวนเกล็ดเลือดต่ำลง


การตรวจภาพรังสีปอด อาจมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด

การตรวจอื่นๆ เช่น การตรวจภาวะการแข็งตัวของเลือด การตรวจการทำงานของตับ การตรวจทางภูมิคุ้มกันจำเพาะต่อเชื้อ การเพาะเชื้อไวรัส เป็นต้น

การรักษาโรคไข้เลือดออก

ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคไข้เลือดออก ควรได้รับการตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อตรวจปริมาณเกล็ดเลือด และระดับความเข้มข้นของเลือด


ในช่วงระยะไข้สูง ควรเช็ดตัวเพื่อลดไข้ ระวังอาจมีการชักได้โดยเฉพาะในเด็กเล็ก หรือเด็กที่มีประวัติชักมาก่อน การรับประทานยาลดไข้ควรให้ด้วยความระมัดระวัง และให้เป็นครั้งคราวเวลาที่มีไข้สูงเท่านั้น กรณีจำเป็นต้องให้ยาลดไข้ควรใช้ยาพวกพาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาลดไข้จำพวกแอสไพริน เนื่องจากเสี่ยงต่อภาวะเลือดออก


ในกรณีที่เริ่มเข้าสู่ระยะวิกฤติ หรือระยะที่มีการรั่วของพลาสมา แพทย์จะพิจารณารับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล


ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหารมาก ไม่รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำเลย ถ่ายปัสสาวะน้อยลง อาเจียนมาก ปวดท้องอย่างรุนแรง ซึม มีอาการแย่ลงเมื่อมีไข้ กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น อาจเป็นอาการนำของภาวะช็อก ควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที

คำแนะนำ

ถ้าผู้ป่วยมีไข้สูงติดต่อกันเกิน 3 วัน ควรพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง ระวังไม่ให้ยุงกัดในเวลากลางวัน และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

โรงพยาบาลเวชธานี
ข้อมูลความรู้จาก : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ


เตือนภัย : ฝนตก ยุงลายชุกชุม ระวังไข้เลือดออกคุกคามเด็กๆ เตือนภัย:ฝนตกยุงลายชุกชุมระวังไข้เลือดออกคุกคามเด็กๆ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ตับของเธอ สบายดีไหม?

ตับของเธอ สบายดีไหม?


เปิดอ่าน 12,085 ครั้ง
13 สไตล์การกินระบายอารมณ์

13 สไตล์การกินระบายอารมณ์


เปิดอ่าน 18,479 ครั้ง
การตัดแต่งต้นไม้

การตัดแต่งต้นไม้


เปิดอ่าน 25,676 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

BLOCKCHAIN คืออะไร ?

BLOCKCHAIN คืออะไร ?

เปิดอ่าน 576 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
คิดสักนิด...เพื่อจิตบริสุทธิ์
คิดสักนิด...เพื่อจิตบริสุทธิ์
เปิดอ่าน 12,607 ☕ คลิกอ่านเลย

ปิดตำนาน Geocities ผู้แพ้ในโลกอินเตอร์เน็ต
ปิดตำนาน Geocities ผู้แพ้ในโลกอินเตอร์เน็ต
เปิดอ่าน 8,522 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำไมอุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นผู้เล่นใหญ่ในเศรษฐกิจของหลายประเทศ
ทำไมอุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นผู้เล่นใหญ่ในเศรษฐกิจของหลายประเทศ
เปิดอ่าน 3,891 ☕ คลิกอ่านเลย

แหล่งเรียนรู้ต้นแบบเพื่อการเรียนรู้นอกห้องเรียน
แหล่งเรียนรู้ต้นแบบเพื่อการเรียนรู้นอกห้องเรียน
เปิดอ่าน 11,561 ☕ คลิกอ่านเลย

ข้อมูลควรรู้ เกี่ยวกับ "เครดิตบูโร" ว่าเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร?
ข้อมูลควรรู้ เกี่ยวกับ "เครดิตบูโร" ว่าเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร?
เปิดอ่าน 10,119 ☕ คลิกอ่านเลย

รสชาติแบบไหนดีต่อสุขภาพ
รสชาติแบบไหนดีต่อสุขภาพ
เปิดอ่าน 11,808 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

กฎ  ก.ค.ศ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูฯ ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำฯ ฉบับที่ 2 (2555)
กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูฯ ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำฯ ฉบับที่ 2 (2555)
เปิดอ่าน 28,186 ครั้ง

ใส่ใจการ "เคี้ยวอาหาร" กันสักนิด
ใส่ใจการ "เคี้ยวอาหาร" กันสักนิด
เปิดอ่าน 13,738 ครั้ง

รู้เรา รู้ใคร... จากนิสัยท่องเที่ยว
รู้เรา รู้ใคร... จากนิสัยท่องเที่ยว
เปิดอ่าน 9,944 ครั้ง

กินปลาจะช่วยป้องกันรักษาชีวิต สกัดหลอดเลือดตีบตัน
กินปลาจะช่วยป้องกันรักษาชีวิต สกัดหลอดเลือดตีบตัน
เปิดอ่าน 18,015 ครั้ง

Why Do We Get Goose Bumps? (ทำไมเราจึงเกิด อาการขนลุก)
Why Do We Get Goose Bumps? (ทำไมเราจึงเกิด อาการขนลุก)
เปิดอ่าน 36,820 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ