Advertisement
Advertisement
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ๒๒๙/๒๕๕๔ มติ ครม. ๖ กันยายน ๒๕๕๔
มอบหมายให้รักษาราชการแทน รมว.ศธ.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล - สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
การมอบหมายให้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเป็นหลักการในการมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รักษาราชการแทน ตามลำดับ ตามที่ ศธ. เสนอ ดังนี้
๑. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางบุญรื่น ศรีธเรศ)
๒. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล)
แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๘ (รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี)
ครม.เห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
๑. เห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๘
๒. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำความเห็นของคณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๘ ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการ
๓. มอบหมายให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดำเนินการเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ ตามขั้นตอนต่อไป
๔. มอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐนำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๘ ไปประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ๔ ปีให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วันหลังจากที่แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๘ ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ และแผนปฏิบัติราชการประจำปี
๕. มอบหมายให้กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณรับไปพิจารณาแหล่งเงินที่เหมาะสมสำหรับแผนงาน/โครงการ ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำนึงถึงข้อจำกัดด้านงบประมาณและรักษาวินัยการคลัง
๖. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และรายงานให้คณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินและคณะรัฐมนตรีทราบ
๗. เห็นชอบหลักการ กรณีคณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนงาน/โครงการเพิ่มเติม ให้คณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ปรับปรุงแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี
สาระสำคัญของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน องค์ประกอบของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน มีสาระสำคัญประกอบด้วย ๔ ส่วน คือ
๑. แนวคิดและทิศทางการบริหารประเทศ เป็นการสรุปวิสัยทัศน์ สถานการณ์ของประเทศ และกรอบการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล
๒. แนวทางการบริหารราชการแผ่นดิน ตามนโยบายรัฐบาล ๘ นโยบาย เป็นการแสดงเป้าหมายเชิงนโยบาย ตัวชี้วัด และกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบายรัฐบาล
๓. กลไกการนำแผนการบริหารราชการแผ่นดินไปสู่การปฏิบัติ ระบุหน่วยงานรับผิดชอบ งบประมาณสนับสนุนตามนโยบาย และแนวทางการติดตามประเมินผล
๔. แผนงาน/โครงการที่มีลำดับความสำคัญตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งคัดเลือกจากแผนงาน/โครงการรายนโยบาย ๘ นโยบาย
Advertisement
|
เปิดอ่าน 11,140 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,220 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,426 ครั้ง |
เปิดอ่าน 6,836 ครั้ง |
เปิดอ่าน 6,226 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,639 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,386 ครั้ง |
เปิดอ่าน 4,131 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,981 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,728 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,204 ครั้ง |
เปิดอ่าน 6,031 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,829 ครั้ง |
เปิดอ่าน 6,943 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 12,498 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 8,072 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 12,498 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 10,754 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 17,491 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 10,304 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 10,847 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 163,880 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 11,457 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 17,637 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 10,104 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 21,463 ครั้ง |
|
|