Advertisement
Advertisement
จิตรกรรมไทยแบบประเพณี โดย นายสันติ เล็กสุขุม
จิตรกรรมหรือภาพเขียนในประเทศไทยมีอยู่เมื่อหลายพันปีมาแล้ว เป็นภาพเขียนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือก่อนที่จะเกิดจิตรกรรมไทยแบบประเพณี
ผู้คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์เขียนภาพบนผนังถ้ำ เพิงผา เช่น ภาพที่เกี่ยวกับการล่าสัตว์การเกษตรกรรม หรือพิธีกรรม ซึ่งนักวิชาการในปัจจุบันแม้ว่ายังอธิบายให้ชัดเจนไม่ได้ แต่ภาพเขียนเก่าแก่เหล่านี้ก็ช่วยให้เรานึกถึงลักษณะทางสังคมของคนในยุคนั้น เช่น หากเป็นภาพการล่าสัตว์ หรือการเพาะปลูก ผู้คนในยุคนั้นก็ย่อมมีวิถีชีวิตในระดับสังคมล่าสัตว์ หรือระดับสังคมเกษตรกรรม ซึ่งมีพัฒนาการทางเทคโนโลยีสูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง เป็นต้น
ภาพเขียนเหล่านี้ยังไม่มีระเบียบแบบแผนชัดเจน องค์ประกอบภาพซึ่งมีรูปบุคคลกิริยาท่าทางต่างๆ หรือรูปสัตว์ ที่ล้วนเขียนขึ้นอย่างอิสระ ไม่ถูกต้องตามสัดส่วนสรีระ คงเขียนขึ้นเพื่อสื่อความในหมู่เหล่าของตน
ภาพเขียนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เกิดจากการใช้เครื่องมือที่อาจเป็นกิ่งไม้ทุบปลายให้แตกเป็นฝอย ใช้เป็นแปรงเพื่อจุ่มสีเขียนภาพซึ่งได้เป็นเส้นหยาบๆ หรือระบายให้เป็นรูปร่างอย่างคร่าวๆ นอกจากนี้ยังมีการพ่นสี คงเป็นการอมสีไว้ในปากแล้วพ่นออกมา หรือพ่น โดยผ่านกระบอกไม้ลงบนมือซึ่งทาบทับบนผนังก็จะได้รูปมือ ตลอดจนพิมพ์ทาบทับ เช่น ทาบฝ่ามือที่ชุบสีลงบนผนังให้เกิดเป็นรูปรอยฝ่ามือบางแห่งได้พบว่ามีการเขียนแต่งเติมให้เป็นรูปมือที่สมบูรณ์ยิงขึ้น การสะบัดสีให้เป็นรูปรอยต่างๆ ก็มีอยู่ด้วย
|
|
หัวข้อ
จิตรกรรมในพุทธศาสนา
เริ่มสมัยประวัติศาสตร์เมื่อวัฒนธรรมทางศาสนาแพร่หลายเข้ามาศิลปกรรม และภาษาหนังสือ ก็ย่อมแพร่หลายเข้ามาพร้อมกันนั้นด้วยศิลปกรรมเป็นอุปกรณ์สำคัญในการสั่งสอนโดยเพิ่มเติมการถ่ายทอดภาษาพูดและภาษาเขียนด้วย ภาษาภาพ กล่าวคือ เล่าเรื่องด้วยภาพ เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาในหมู่ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น
แหล่งกำเนิดศาสนาที่เผยแผ่เข้ามานั้นคือประเทศอินเดีย อารยธรรมอินเดียซึ่งแพร่หลายออกสู่โลกภายนอกราว ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว เข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๑ก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่เรียกว่า ทวาราวดี ซึ่งรับนับถือพุทธศาสนา
ศิลปกรรมในวัฒนธรรมทางทวาราวดี ทำหน้าที่ถ่ายทอดคำสอนในพุทธศาสนาให้เป็นรูปธรรม เช่น สร้างพระพุทธรูป หรือสร้างงานประติมากรรมเล่าเรื่องในศาสนา เช่น พุทธประวัติชาดก โดยสลักลงบนหิน หรือใช้ปูนปั้น รวมทั้งสร้างอาคารศาสนสถานที่ก่อด้วยอิฐ ปรากฏเป็นหลักฐานร่องรอยให้เห็นอยู่ แต่ไม่เหลือปรากฏหลักฐานทางด้านจิตรกรรม คงชำรุดเสียหายไปหมดแล้ว เพราะงานจิตรกรรมเขียนด้วยวัสดุที่ไม่คงทน ถูกแดดถูกฝนไม่นานก็หมดไป
สมัยสุโขทัยเริ่มต้นเมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีการติดต่อเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาของประเทศพม่า ลังกา จิตรกรรมของสมัยสุโขทัยจึงมีส่วนคล้ายคลึงกับจิตรกรรมของลังกา และพม่าอยู่บ้าง แต่ยังมีเอกลักษณ์ของตนเองที่เด่นชัดเป็นพิเศษตามลักษณะไทย มีการสืบทอดผ่านมาสู่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
การติดต่อกับต่างบ้านต่างเมืองนำพาให้มีการถ่าย-รับอิทธิพลทางด้านศิลปวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน จิตรกรรมไทยแบบประเพณีได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีนที่เข้ามาผสมผสานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามาแล้ว และเด่นชัดมากในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จ-พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะมีการติดต่อค้าขายกับประเทศจีนอย่างใกล้ชิดยิ่งกว่าอดีต จนกระทั่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทบาทอย่างมากมายของอิทธิพลตะวันตกจึงมีผลต่อโฉมหน้าของจิตรกรรมไทยแบบประเพณี การผสมผสานครั้งนี้ได้ทำให้ลักษณะแบบประเพณีแปรเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดก็กลายมาเป็นลักษณะสากล หรือที่เรียกว่าจิตรกรรมร่วมสมัยในปัจจุบัน
|
ข้อมูลจาก www.sanook.com
Advertisement
|
เปิดอ่าน 21,515 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,041 ครั้ง |
เปิดอ่าน 62,562 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,938 ครั้ง |
เปิดอ่าน 58,132 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,253 ครั้ง |
เปิดอ่าน 47,974 ครั้ง |
เปิดอ่าน 75,147 ครั้ง |
เปิดอ่าน 37,745 ครั้ง |
เปิดอ่าน 40,242 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,594 ครั้ง |
เปิดอ่าน 28,440 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,405 ครั้ง |
เปิดอ่าน 93,713 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,839 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 105,980 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 30,253 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 39,154 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 48,853 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 13,868 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 64,309 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 27,713 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 20,438 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 132,079 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 8,533 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 30,521 ครั้ง |
|
|