ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

รมว.ศธ.มอบนโยบายการอาชีวศึกษาภาครัฐ-เอกชน


ข่าวการศึกษา 3 ธ.ค. 2558 เวลา 09:38 น. เปิดอ่าน : 4,332 ครั้ง
รมว.ศธ.มอบนโยบายการอาชีวศึกษาภาครัฐ-เอกชน

Advertisement

พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายการอาชีวศึกษา ในการประชุมผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐและเอกชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันพุธที่ 2 ธันวาคม 2558 ที่หอประชุมวิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี ตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี โดยมี พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษา รมช.ศึกษาธิการ, ผู้บริหารส่วนกลาง, ผู้บริหารสถานศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) 424 คน และผู้บริหารสถานศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) 490 คน เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้

 

ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวรายงานการจัดการประชุมว่า เป็นการประชุมร่วมผู้บริหารสถานศึกษาของภาครัฐและเอกชน เพื่อรับนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นครั้งแรก ซึ่งในปัจจุบันมีสถานศึกษาอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนรวม 892 แห่ง จัดการศึกษาให้กับนักเรียนนักศึกษาประมาณ 1 ล้านคน ผลิตกำลังคนในทุกสาขาอาชีพเพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนของภาคเอกชนและตามนโยบายของรัฐบาล โดยการประชุมร่วมกันในครั้งนี้จะเป็นการเริ่มต้นการสร้างความเป็นเอกภาพด้านการอาชีวศึกษาของประเทศ ที่จะได้รวมพลังขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้รับฟังบรรยายเกี่ยวกับวิสัยทัศน์และข้อเสนอแนะด้านการอาชีวศึกษาจากประธานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ตลอดจนผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งมีการหารือถึงการรวมอาชีวศึกษาภาครัฐและเอกชนในช่วงท้ายของการประชุมด้วย

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวแสดงความรู้สึกยินดีที่ได้พบปะกับผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวะทั้งภาครัฐและเอกชนในครั้งแรกนี้ ซึ่งต้องการมาย้ำนโยบายการทำงานของอาชีวะเท่านั้น เพราะที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของ สอศ. ที่สามารถขับเคลื่อนงานไปตามทิศทางที่รัฐบาลและเอกชนต้องการได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว

ขณะนี้ กระทรวงศึกษาธิการกำลังดำเนินนโยบายที่สำคัญเกี่ยวกับการอาชีวศึกษา คือ การรวมอาชีวะรัฐและเอกชนเข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การดำเนินงานอาชีวะทั้ง 2 ส่วนก้าวไปพร้อมกัน มีความเชื่อมต่อกันมากขึ้น ทั้งการเชื่อมต่อระหว่าง สอศ. กับ สช. และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอาชีวะเอกชนมีจุดประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจทางการศึกษา แต่ยืนยันว่าเราก็ยังต้องช่วยเหลือกัน เพราะเอกชนสามารถแบ่งเบาภาระรัฐในการจัดการศึกษาได้เป็นอย่างดี จึงขอให้ทุกฝ่ายไม่มีอัตตาซึ่งกันและกัน เพื่อให้การดำเนินงานตามนโยบายเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

 

ในการนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบนโยบายเกี่ยวกับการจัดอาชีวศึกษา ดังนี้

1 สภาพปัญหาของอาชีวศึกษาในปัจจุบัน

- จำนวนผู้เรียนลดลง อันเนื่องจากภาพลักษณ์ของอาชีวะ การก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษา และค่านิยมการมีใบปริญญา

- ความไม่เพียงพอของการผลิตกำลังคน ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ขอให้ สอศ. หารือและร่วมมือกับภาคเอกชน/สถานประกอบการในการจัดทำแผนการผลิตกำลังคนและการเรียนการสอนอาชีวศึกษาร่วมกัน

- มาตรฐานสถานศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกัน เนื่องจากแต่ละแห่งมีปัจจัยและศักยภาพแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นจำนวนครู ความขาดแคลนครูที่จบตรงสาขา การพัฒนาครู ความพร้อมของสถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ เป็นต้น จึงต้องนำข้อขัดข้องเหล่านี้มาพิจารณา เพื่อให้ความช่วยเหลือเท่าที่สามารถดำเนินการได้ต่อไป

- หลักสูตรที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ขณะนี้มีหลายสาขาที่เป็นหลักสูตรใหม่และเป็นความต้องการของตลาดแรงงาน เช่น หุ่นยนต์ โมเดิร์นฟาร์ม ซึ่งจะต้องมีการทบทวนหลักสูตรให้มีความทันสมัยมากขึ้น

- การจัดสรรงบประมาณ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 เป็นต้นไป จะมีการทบทวนวิธีการของบประมาณของทุกแท่งทุกสำนัก โดยจะต้องมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ ตัวชี้วัด ระยะเวลา และผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนมาเสนอ เพื่อให้การของบประมาณสอดคล้องและเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้จะนำข้อมูลการของบประมาณปีที่ผ่านมาหรือก่อนหน้านี้มาเป็นข้อมูลในการพิจารณาด้วย

- การบริหารจัดการการอาชีวศึกษา ที่ผ่านมาการขับเคลื่อนจากส่วนกลางไปยังภูมิภาคต่างๆ มีกลไกเพียงอย่างเดียวคือ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จึงต้องการศึกษาว่าการบริหารเช่นนี้ เป็นวิธีการที่ดีหรือไม่อย่างไร และจะดีกว่าหรือไม่หากจะมีผู้ที่คอยช่วยประสานงานทั้งสองส่วนให้มีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น

2 นโยบายด้านการอาชีวศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ 9 ข้อ

- การสร้างภาพลักษณ์อาชีวศึกษา ที่จะช่วยส่งเสริมให้มีผู้สนใจเรียนอาชีวศึกษามากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา สอศ.ได้จัดทำสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ให้สังคมรับรู้ถึงภาพลักษณ์ที่ดีอย่างต่อเนื่องผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ หนังสั้น เพลง การจัดโรดโชว์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามเห็นว่าควรมีการทบทวนการศึกษาต่อเนื่องระดับปริญญาตรีอีกครั้ง เพื่อส่งเสริมให้เด็กมาเรียนอาชีวะมากขึ้นและเป็นการสร้างโอกาสในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีด้วย ซึ่งจะต้องมีการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ถึงความเป็นไปได้ในการผลักดันเรื่องนี้ต่อไป

ส่วนการแก้ไขปัญหาทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษาอาชีวะ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่และมีผลกระทบต่อสังคมเช่นนี้ นายกรัฐมนตรีให้ความสนใจมาก จึงขอให้ผู้อำนวยการต้องลงไปเผชิญหน้าและดูแลปัญหาด้วยตนเอง ไม่ควรสั่งหรือปล่อยให้รองผู้อำนวยการหรือครูที่รับผิดชอบลงไปดูแล รวมทั้งจะต้องหาช่องว่างของมาตรการต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานตามมาตรการได้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพต่อไป เพื่อจะได้เห็นรายละเอียดของปัญหา โดยกล่าวย้ำว่าปัญหาการรับน้องของอาชีวะมีมานานแล้ว แต่การจะแก้ปัญหากับเด็กไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะยังอยู่ในช่วงวัยที่มีวุฒิภาวะน้อย แต่มีพลังที่ต้องการจะปลดปล่อยมาก จึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องช่วยเหลือให้เขาสามารถปลดปล่อยพลังในทางที่ถูกที่ควร

- ทวิภาคี ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาอาชีวะกับภาคเอกชนในการจัดการอาชีวศึกษา และจากการหารือกับประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลกำลังคนด้านอาชีวศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่าทวิภาคีเป็นอีกระบบหนึ่งที่ช่วยให้การจัดการศึกษาตรงกับความต้องการของภาคเอกชน ซึ่งสร้างความพึงพอใจให้กับภาคเอกชนเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันนักเรียนและผู้ปกครองก็มีความสุขไปด้วย

นอกจากนี้ ยังได้รับเสียงสะท้อนจากภาคเอกชนถึงข้อขัดข้องของระบบลดหย่อนภาษี จึงรับที่จะหารือและประสานกับกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ในขณะเดียวกันก็ได้แจ้งขอความร่วมมือให้ส่งข้อมูลความต้องการกำลังคนของภาคเอกชนมาโดยเร็วที่สุด เพื่อจะได้นำมาวางแผนและจัดทำหลักสูตรแต่ละสาขาวิชาต่อไป

ดังนั้น เมื่อผลการจัดการอาชีวศึกษารูปแบบทวิภาคีมีผลตอบรับที่ดีต่อทั้งสองฝ่าย จึงเห็นควรให้มีการขยายผลให้มากขึ้น โดยขอให้ผู้บริหารอาชีวะเดินหน้าเรื่องนี้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้อาจนำผลของความร่วมมือทวิภาคีเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการประเมินผู้อำนวยการตามบริบทของวิทยาลัยแต่ละแห่งด้วย

- ทวิศึกษา หรือการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่ง สอศ.สามารถดำเนินงานได้เป็นอย่างดี และมีนักเรียนสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยในปีการศึกษา 2559 จะมีนักเรียนในสังกัด สช. เข้าร่วมนำร่องอีกกว่า 5,000 คน ทั้งนี้ได้เน้นย้ำถึงคุณภาพทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและประกาศนียบัตรวิชาชีพ พร้อมทั้งให้มีการฝึกงานในสถานประกอบการควบคู่ไปด้วย

- การส่งเสริมอาชีวศึกษาให้มีความเป็นเลิศเฉพาะทาง ซึ่ง สอศ.ได้ทำการคัดเลือกสถานศึกษานำร่องในการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2559-2560 รวม 12 แห่ง ในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลด้านการส่งเสริมการลงทุนในซุปเปอร์คลัสเตอร์อุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ ด้านคมนาคม ด้านปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ด้านอาหาร ด้านแม่พิมพ์และชิ้นส่วนยานยนต์ ด้านท่องเที่ยวและการโรงแรม ด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยในอนาคตกระทรวงศึกษาธิการจะขยายผลในสาขาวิชาใหม่ที่เป็นความต้องการมากขึ้น เช่น ระบบราง โมเดิร์นฟาร์ม เป็นต้น ทั้งนี้ได้มอบให้ สอศ.จัดทำรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานเรื่องนี้ เพื่อนำเสนอในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา (ซุปเปอร์บอร์ดการศึกษา) ครั้งต่อไปด้วย

- การยกระดับอาชีวศึกษาสู่สากล มีความต้องการที่จะยกระดับการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาไทยให้เป็นศูนย์กลางการอาชีวศึกษาของอาเซียนให้ได้ โดยมีแนวทางที่จะดำเนินการในหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งสถานศึกษาที่เป็นความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ดังเช่นโรงเรียนเทคนิคไทย-เยอรมัน การพัฒนาบุคลากรรองรับการคมนาคมขนส่งระบบราง การยกระดับภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มทักษะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษของเด็กอาชีวะนอกเหนือจากศัพท์เทคนิคต่างๆ ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพมากขึ้น นอกจากนี้มีแนวคิดที่จะยกระดับภาษาอังกฤษในระดับอุดมศึกษาในรูปแบบการสอบเพื่อจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วย ซึ่งขณะนี้มอบให้ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.ศึกษาธิการ หารือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

- กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ได้มอบให้ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวะทุกแห่งสนับสนุนการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โดยจับคู่กับโรงเรียนในพื้นที่ โดยเน้นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อให้ได้มีโอกาสฝึกกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทั้ง 4H หรือกิจกรรมที่ฝึกปฏิบัติ/เรียนรู้ หรือกิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อ เพื่อให้เด็กได้รู้จักตัวเอง และหากเด็กเกิดความชอบ ก็จะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มผู้เรียนสายอาชีวะมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากมีผู้บริหารโรงเรียนใดไม่ยอมให้สถานศึกษาของอาชีวะเข้าไปแนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ ขอให้รายงานให้ รมว.ศึกษาธิการทราบโดยตรง

- การฝึกอาชีพระยะสั้น ซึ่งสถานศึกษาในสังกัด สอศ.ทั้ง 421 แห่งทั่วประเทศ ได้ร่วมกันจัดการฝึกอบรมให้กับประชาชนจำนวนกว่า 1 ล้านคน โดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้นในประเภทวิชาขาดแคลน เช่น วิชาอุตสาหกรรม วิชาบริหารธุรกิจ วิชาศิลปกรรม วิชาคหกรรม วิชาเกษตรกรรม มีการต่อยอดทักษะอาชีพเดิม และพัฒนาทักษะเสริมอาชีพที่ 2 นอกจากนี้มีแผนที่จะจัดอบรมภาษาอังกฤษร่วมกับภาคเอกชนให้กับผู้ทำงานอยู่ในระบบแรงงานแล้วด้วย

- นโยบายด้านการเงิน ขอย้ำเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณว่า ไม่ควรใช้งบประมาณแบบหารยาว แต่จะต้องใช้งบประมาณอย่างมีเหตุมีผลและคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ก่อนที่จะมีการจัดสรรงบประมาณ โดยหลักๆ คือต้องตอบโจทย์ปัญหาและมีผลลัพธ์ที่ชัดเจน ดังนั้นจึงขอให้มีการทบทวนการจัดสรรงบประมาณด้านการจัดการอาชีวศึกษาตามแนวทางนี้ต่อไป

- ทุนการศึกษา ขณะนี้ สอศ.มีทุนการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจากหลายแหล่ง ทั้งทุนของภาครัฐและภาคเอกชนให้การสนับสนุน ทุนในโครงการทุนช่างเทคนิคและบัณฑิตนักปฏิบัติ (TTS) จึงต้องการให้จัดสรรทุนโดยคำนึงถึงสาขาวิชาที่ขาดแคลนเป็นลำดับแรก เพื่อส่งเสริมให้มีกำลังคนอาชีวศึกษาไปช่วยพัฒนาขับเคลื่อนประเทศได้มากขึ้น

รมว.ศึกษาธิการ ขอให้เลขาธิการ กอศ. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานทั้ง 9 นโยบายที่ให้ไว้ในวันนี้อย่างใกล้ชิด และรายงานผลให้ทราบเป็นระยะ เพื่อจะได้ร่วมกันแก้ไขอุปสรรคหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

3 นโยบายการทำงานของผู้บริหาร สอศ.

- ขอให้ผู้บริหารทุกคนในฐานะที่ทั้งผู้บังคับบัญชา (Commander) ผู้นำ (Leader) และผู้บริหารระดับสูง (CEO) ที่กำกับดูแลและบริหารงานสถานศึกษา จะต้องมีความรู้และเข้าใจนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการอย่างถ่องแท้ ตลอดจนนโยบายของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา เพราะต้องทำงานและประสานความเชื่อมโยงกัน รวมทั้งมีความรู้เรื่องเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศด้วย

- ขอให้มีการวิเคราะห์ SWOT Analysis เพื่อทบทวนการทำงานของตนเองว่ามีจุดแข็ง-จุดอ่อน-อุปสรรค-โอกาส อย่างไรบ้าง เพื่อนำมาวางแผนแก้ไขปัญหาในแต่ละเรื่องให้ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

- การประเมินสถานศึกษาอาชีวะภาครัฐและเอกชน ได้ย้ำถึงการประเมินผู้บริหารสถานศึกษาว่า ไม่ควรเป็นแบบ “ตัดเสื้อตัวเดียวใส่เหมือนกันทุกคน” อีกต่อไปแล้ว โดยขอให้การประเมินคำนึงถึงปัจจัยและบริบทของสถานศึกษาด้วย ทั้งนี้ได้ขอให้ผู้บริหารเขียนข้อเสนอแนะ ความต้องการ และปัญหาอุปสรรคในการทำงานต่างๆ ตลอดจนวิธีการส่งเสริมผู้อำนวยการที่ดีและเก่ง และลงโทษคนไม่ดี พร้อมทั้งรวบรวมส่งมาให้ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อวิเคราะห์ปรับปรุงการทำงาน สนองความต้องการ และประสานให้ความช่วยเหลือต่อไป 

 

ที่มา ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 2 ธันวาคม 2558


รมว.ศธ.มอบนโยบายการอาชีวศึกษาภาครัฐ-เอกชน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 10 ราย เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 10 ราย เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567

เปิดอ่าน 18,700 ☕ 30 มี.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สพฐ.แจ้งประชุมการเตรียมความพร้อม และมอบนโยบายก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567
สพฐ.แจ้งประชุมการเตรียมความพร้อม และมอบนโยบายก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 1,045 ☕ 19 เม.ย. 2567

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
เปิดอ่าน 1,667 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
เปิดอ่าน 1,017 ☕ 18 เม.ย. 2567

ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
เปิดอ่าน 359 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
เปิดอ่าน 744 ☕ 17 เม.ย. 2567

การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 1,954 ☕ 15 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในฐานะศาสตร์
เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในฐานะศาสตร์
เปิดอ่าน 20,300 ครั้ง

แก๊สน้ำตา คืออะไร
แก๊สน้ำตา คืออะไร
เปิดอ่าน 24,896 ครั้ง

คิดจะซื้อ "ทีวีจอแบน" ต้องรู้อะไรบ้าง ?
คิดจะซื้อ "ทีวีจอแบน" ต้องรู้อะไรบ้าง ?
เปิดอ่าน 35,885 ครั้ง

"โรงเรียนแบบไหนที่สร้างเด็กให้ฉลาด" โดย ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
"โรงเรียนแบบไหนที่สร้างเด็กให้ฉลาด" โดย ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
เปิดอ่าน 55,594 ครั้ง

ปฏิรูปการเรียนรู้...สู่...ห้องเรียน
ปฏิรูปการเรียนรู้...สู่...ห้องเรียน
เปิดอ่าน 11,686 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ