ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

นโยบายการจัดสอบ O-NET และระบบการประเมินการเรียนการสอน


ข่าวการศึกษา 5 ก.พ. 2560 เวลา 10:48 น. เปิดอ่าน : 17,799 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

นโยบายการจัดสอบ O-NET และระบบการประเมินการเรียนการสอน

กระทรวงศึกษาธิการ - ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 54/2560 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2560 เรื่อง 

นโยบายการจัดสอบ O-NET และระบบการประเมินการเรียนการสอน

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. ตรวจเยี่ยมสนามสอบ O-NET (Ordinary National Education Test) ปีการศึกษา 2559 ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สนามสอบโรงเรียนราชวินิต เมื่อวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2560 โดยมีผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.), ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และมัธยมศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา, คณาจารย์ และสื่อมวลชน ร่วมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสนามสอบ

 

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวว่า การตรวจเยี่ยมสนามสอบในครั้งนี้ ได้รับทราบความก้าวหน้าการพัฒนาระบบการประเมิน ซึ่งเป็นประเด็นที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมาก โดยการสอบ O-NET ปีการศึกษา 2559 นี้เป็นครั้งแรกที่มีข้อสอบอัตนัยจำนวน 2 ข้อ ในวิชาภาษาไทยของชั้น ป.6 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 20 ของคะแนนทั้งหมด เพื่อวัดความสามารถทางการเขียนและการคิดวิเคราะห์ของเด็ก เนื่องจากการสอบแบบอัตนัยเป็นวิธีการที่สามารถวัดผลด้านการคิดวิเคราะห์ของเด็กได้ หากเราจะสอนให้เด็กคิดเป็นแต่ยังออกข้อสอบแบบปรนัย ก็จะทดสอบไม่ได้ว่าเด็กคิดเป็นหรือไม่ อีกทั้งผลการสอบแบบอัตนัยจะทำให้รู้ว่าเด็กไทยมีความสามารถในการเขียน การจับใจความ และการคิดวิเคราะห์หรือไม่ ซึ่งสถานศึกษาสามารถนำผลการสอบนี้มาวิเคราะห์ ปรับปรุง และพัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้นได้ โดยถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาระบบการประเมินของประเทศ และ สทศ. และ สพฐ. ก็ได้ร่วมกันเตรียมการอย่างละเอียด อาทิ การพัฒนาและฝึกครูกว่า 2,000 คน ในการตรวจข้อสอบอัตนัย

สำหรับการขยายผลให้มีข้อสอบอัตนัยในวิชาอื่นของการสอบ O-NET เห็นว่าทุกฝ่ายต้องมีความพร้อมก่อน กล่าวคือ ต้องมีมาตรฐาน มีกระบวนการประกันคุณภาพ และการตรวจข้อสอบต้องมีคุณภาพระดับสากล เราต้องมั่นใจว่าเรามีกระบวนการที่ดี เพราะการเตรียมการต่าง ๆ ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก เพราะการขยับแต่ละครั้งต้องเข้าใจว่าเรามีทรัพยากรเพียงใด หากเราทำใหญ่ไปจะทำได้เพียงรูปแบบ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ดีต้องมีการพัฒนาและมีเป้าหมายชัดเจน ไม่เช่นนั้นอาจจะล้มเหลวกันทั้งประเทศ

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีแนวทางเพิ่มสัดส่วนข้อสอบอัตนัยเป็นร้อยละ 30 ในวิชาภาษาไทยของชั้น ป.6 เป็นการกระตุ้นให้โรงเรียนออกข้อสอบอัตนัย เพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กคุ้นชินกับการสอบ O-NET เพราะข้อสอบอัตนัยมาติวกันเพียงไม่กี่วันก่อนสอบไม่ได้ และครูก็ต้องปรับวิธีการสอนใหม่ ต้องสอนเด็กว่าจะเขียนอย่างไร คิดอย่างไร และสรุปความอย่างไร เพราะวิธีการประเมินก็ได้เปลี่ยนไปแล้ว

นอกจากนี้ การสอบ O-NET ปี 2559 เป็นปีแรกที่ สทศ. จัดให้มีการทดสอบแบบ e-Testing หรือการทดสอบแบบออนไลน์ ดยมีนักเรียนจำนวน 648 คน เข้าสอบ e-Testing ด้วยความสมัครใจ ต่อจากนี้กระทรวงศึกษาธิการจะส่งเสริมและต่อยอดให้ สทศ. ร่วมกับ สพฐ. จัดทำ e-Test Bank หรือคลังข้อสอบแบบออนไลน์ เพื่อให้เด็กสามารถเข้าไปลองทำข้อสอบ และทดสอบระดับความสามารถของตนเองได้ เพราะเด็กควรมีโอกาสเข้าถึงความกว้างของการประเมิน อีกทั้ง e-Test Bank จะทำให้เด็กไม่ต้องไปเรียนกวดวิชา และในอนาคตอาจจะดำเนินการจัดทำ e-Test Bank ในลักษณะแอพพลิเคชันเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ง่ายด้วย

ในส่วนของการเปิดเผยลักษณะเฉพาะของแบบทดสอบ (Test Specification) สทศ.ได้ทำการชี้แจงและประชาสัมพันธ์วัตถุประสงค์ของการสอบ ขอบเขตของแบบทดสอบ โครงสร้างและรูปแบบของแบบทดสอบ รวมทั้งขอบเขตเนื้อหาและเฉลยแบบทดสอบที่สอดคล้องกับสิ่งที่นักเรียนได้เรียนตามกลุ่มสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ตามตัวชี้วัดในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานในทุกช่องทาง เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษา คณาจารย์ และนักเรียนทราบว่าข้อสอบมีลักษณะอย่างไรบ้าง

ย้ำว่า กระทรวงศึกษาธิการคาดหวังให้ค่าเฉลี่ยคะแนน O-NET ของทุกระดับชั้นเพิ่มสูงขึ้น เพราะการที่เด็กได้คะแนนต่ำ ไม่ได้เกิดจากกระบวนการเรียนการสอนเพียงอย่างเดียว ระบบประเมินก็มีส่วนสำคัญ หากเราทำระบบประเมินให้ดี จะทำให้รู้ว่าปัญหาจริง ๆ คืออะไร ไม่ใช่สอนให้เด็กเตรียมสอบอย่างเดียว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เพิ่งเริ่มเป็นปีแรก สิ่งที่เราทำในกระบวนการศึกษากว่าจะออกดอกออกผลต้องใช้เวลาอย่างน้อย 5 ปี จึงมั่นใจว่าในอนาคต คะแนนเฉลี่ยต้องเพิ่มขึ้น เพราะนี่คือการปฏิรูปของจริง จึงขอขอบคุณ สทศ. และ สพฐ. ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ได้เตรียมการอย่างดี อาทิ กระบวนการออกข้อสอบ การขนย้ายข้อสอบ การเก็บข้อสอบ ทำให้การดำเนินการทุกอย่างเรียบร้อยดี

 

รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ กล่าวว่า ปัจจุบัน สทศ. ไม่ได้ออกข้อสอบในสิ่งที่อยู่นอกเหนือหลักสูตร แต่ออกข้อสอบตามตัวชี้วัดของ สพฐ. และได้แจ้งให้สถานศึกษาทราบล่วงหน้า อีกทั้ง สทศ. ยินดีขยายผลการออกข้อสอบอัตนัยในข้อสอบ O-NET ทุกวิชา โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยในหลาย ๆ ด้าน เช่น งบประมาณ เวลาในการตรวจ และผู้ตรวจข้อสอบ เป็นต้น

นอกจากนี้ สทศ. มีกระบวนการทุกอย่างที่มีความรัดกุมในการวิพากษ์ข้อสอบและตรวจข้อสอบ โดยเฉพาะข้อสอบอัตนัยซึ่งต้องมีความเที่ยงตรงและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ สทศ. ไม่ได้มองเพียงการนำข้อสอบอัตนัยมาวัดผลเท่านั้น แต่มองถึงประโยชน์ในการนำผลการสอบมาพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น พัฒนาวิธีการเรียนการสอน พัฒนาการคิด ซึ่งครูที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นผู้ตรวจข้อสอบอัตนัยจะเป็นกำลังสำคัญในการต่อยอด และจัดการเรียนการสอนที่เน้นวิธีคิด รวมทั้งส่งเสริมการออกข้อสอบอัตนัยในโรงเรียนต่อไป


"การสอบ O-NET ปีการศึกษา 2559 ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีกำหนดจัดสอบในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2560 มีศูนย์สอบ 186 ศูนย์, สนามสอบ 4,182 สนาม, ห้องสอบ 29,582 ห้อง และมีผู้มีสิทธิ์สอบ 807,087 คน ประกาศผลสอบวันที่ 25 มีนาคม 2560

สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดสอบระหว่างวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2560 มีศูนย์สอบ 227 ศูนย์, สนามสอบ 4,329 สนาม, ห้องสอบ 25,108 ห้อง และมีผู้มีสิทธิ์สอบ 688,979 คน ประกาศผลสอบวันที่ 26 มีนาคม 2560 โดย สทศ.ได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสายตาจำนวน 325 คน

ทั้งนี้ จะกำหนดจัดสอบ O-NET ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2560 ต่อไป"


อรพรรณ ฤทธิ์มั่น, บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน
นวรัตน์ รามสูต: ถ่ายภาพ
4/2/2560

 

ขอบคุณที่มาจาก ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 54/2560 กระทรวงศึกษาธิการ 4/2/2560

 


นโยบายการจัดสอบ O-NET และระบบการประเมินการเรียนการสอนนโยบายการจัดสอบO-NETและระบบการประเมินการเรียนการสอน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 22 ราย เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 22 ราย เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567

เปิดอ่าน 19,895 ☕ 30 ส.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ประกาศและเกียรติบัตร กิจกรรม "อุ่นใจไซเบอร์ Young Creator Challenge 2024"
ประกาศและเกียรติบัตร กิจกรรม "อุ่นใจไซเบอร์ Young Creator Challenge 2024"
เปิดอ่าน 474 ☕ 13 ก.ย. 2567

การลดภาระการประเมินผลการปฏิบัติงานและเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การลดภาระการประเมินผลการปฏิบัติงานและเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เปิดอ่าน 1,842 ☕ 13 ก.ย. 2567

สพฐ.เชิงรุกลดภาระครูต่อเนื่อง เน้นย้ำ "ประเมินเลื่อนเงินเดือนครู" งดจัดนิทรรศการ งดทำรูปเล่มเอกสาร ใช้เทคโนโลยีช่วย
สพฐ.เชิงรุกลดภาระครูต่อเนื่อง เน้นย้ำ "ประเมินเลื่อนเงินเดือนครู" งดจัดนิทรรศการ งดทำรูปเล่มเอกสาร ใช้เทคโนโลยีช่วย
เปิดอ่าน 5,040 ☕ 11 ก.ย. 2567

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 5581 ลงวันที่ 10 กันยายน 2567 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 5581 ลงวันที่ 10 กันยายน 2567 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 9,888 ☕ 11 ก.ย. 2567

การจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
การจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 1,683 ☕ 11 ก.ย. 2567

นโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล "นางสาวแพทองธาร ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี
นโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล "นางสาวแพทองธาร ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี
เปิดอ่าน 3,861 ☕ 10 ก.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วิธีทำ ส้มตำข้าวโพด เมนูสุขภาพ
วิธีทำ ส้มตำข้าวโพด เมนูสุขภาพ
เปิดอ่าน 176,860 ครั้ง

ฝึกพูด ภาษาอังกฤษ กับลูก ด้วยคำถาม คำสั่ง คำชม ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ฝึกพูด ภาษาอังกฤษ กับลูก ด้วยคำถาม คำสั่ง คำชม ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
เปิดอ่าน 108,014 ครั้ง

งานประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา
งานประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา
เปิดอ่าน 42,696 ครั้ง

Customer data platform (CDP) โปรแกรมที่คนทำธุรกิจไม่ควรพลาด
Customer data platform (CDP) โปรแกรมที่คนทำธุรกิจไม่ควรพลาด
เปิดอ่าน 2,748 ครั้ง

กระบองเพชร ช่วยดูดรังสี
กระบองเพชร ช่วยดูดรังสี
เปิดอ่าน 17,503 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ