ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ประเทศนี้...ไม่ตีเด็ก


ข่าวการศึกษา 28 มิ.ย. 2560 เวลา 17:59 น. เปิดอ่าน : 22,757 ครั้ง

Advertisement

ประเทศนี้...ไม่ตีเด็ก

4 องค์กรหลักด้านเด็ก เดินหน้าผลักดันนโยบาย ประเทศนี้ไม่ตีเด็ก

ปัจจุบันมีเพียง 52 ประเทศทั่วโลก ที่มีกฎหมายห้ามการลงโทษทางกายและทำให้เด็กด้อยค่าครบถ้วนทุกสถานที่ สำหรับประเทศไทย แม้ว่าจะมีการห้ามลงโทษเด็กด้วยการตีในโรงเรียนและในกระบวนการยุติธรรม แต่ยังไม่ได้ห้ามอย่างครอบคลุมในทุกสถานที่ เช่น ที่บ้าน สถานสงเคราะห์ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ดังนั้น องค์การช่วยเหลือเด็ก ( Save the Children ) จึงได้จับมือกับ 3 องค์กรภาคประชาสังคม อันได้แก่ มูลนิธิสายเด็ก 1387 มูลนิธิรักษ์เด็ก และกลุ่มละครชุมชนกั๊บไฟ ร่วมผลักดันให้เกิดการปฏิรูปกฎหมาย และปรับเปลี่ยนทัศนคติในสังคมไทย

นัยนา ธนวัฑโฒ ผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองเด็ก องค์การช่วยเหลือเด็ก เปิดเผยว่า การลงโทษทางกายและทำให้เด็กด้อยค่าเป็นปัญหาระดับโลก เพราะไม่เพียงทำให้เด็กเสี่ยงต่อการเกิดบาดแผลบนร่างกายเท่านั้น แต่ยังทำให้เป็นอันตรายต่อพัฒนาการของเด็กทั้งด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคม การเผชิญกับความรุนแรงหรือการถูกข่มขู่ในโรงเรียน อาจทำลายแรงจูงใจและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กได้ และเพิ่มความเสี่ยงที่เด็กจะออกโรงเรียนกลางคัน

การใช้ความรุนแรงในบ้านเป็นการสอนเด็กให้เรียนรู้ว่าความรุนแรงเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีและยอมรับได้ ซึ่งเด็กจะนำวิธีการนี้ไปใช้ตลอดช่วงวัยเยาว์และวัยผู้ใหญ่ต่อไป

ขณะนี้ยังมีการลงโทษทางกาย และทำให้เด็กด้อยคุณค่าในทุกภูมิภาคของโลก ซึ่งนำมาซึ่งความมุ่งมั่นระดับต่างๆ ในโลก ที่เห็นความสำคัญต่อการห้ามใช้การลงโทษทางกายและทำให้เด็กด้อยคุณค่าเพิ่มขึ้นด้วย การขจัดการลงโทษทางกายและทำให้เด็กด้อยคุณค่า ถือว่าเป็นประเด็นงานคุ้มครองเด็กที่สำคัญระดับโลกประเด็นหนึ่งขององค์การช่วยเหลือเด็ก

ซึ่งองค์การนี้จะดำเนินงานเพื่อขจัดการปฏิบัติเช่นนี้ในทุกสถานที่ ด้วยการปฏิรูปกฎหมายและปรับเปลี่ยนทัศนคติในการดูแลเด็กสู่พฤติกรรมเชิงบวกของพ่อแม่ ผู้ดูแลและครู อาจารย์ ซึ่งเป็นผู้เลี้ยงดู สร้างเสริมการเรียนรู้และพัฒนาเด็ก

องค์การเพื่อการพัฒนานานาชาติแห่งประเทศสวีเดน (SIDA) เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องขจัดการลงโทษทางกายและทำให้เด็กด้อยคุณค่า และต้องดำเนินการในทุกประเทศทั่วโลก จึงได้เลือกที่จะสนับสนุนการดำเนินงานใน 6 ประเทศของภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กล่าวคือ บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ ปากีสถาน เวียดนาม และไทย ซึ่งในกลุ่มประเทศเหล่านี้ต่างมีกฎหมายเกี่ยวข้องกับการลงโทษทางกายเด็กที่แตกต่างกันบ้าง แต่ทุกประเทศเหล่านี้การลงโทษเด็กทางกายในบ้านยังไม่ผิดกฎหมาย

นอกไปจากนั้นในประเทศฟิลิปปินส์ยังไม่มีการห้ามตีเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และประเทศเมียนมาร์ที่ยังไม่มีกฎหมายห้ามตีเด็กในโรงเรียน แต่มี 2 ประเทศในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกที่มีการห้ามการลงโทษทางกายและทำให้เด็กด้อยคุณค่าในทุกสถานที่แล้ว ได้แก่ ประเทศนิวซีแลนด์ และมองโกเลีย

ด้านอิลยา สมิร์นอฟ ผู้อำนวยการมูลนิธิสายเด็ก 1387กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับประเด็นปัญหาในประเทศไทย องค์กรภาคประชาสังคม และนักรณรงค์ด้านสิทธิเด็กในประเทศไทยได้ขอให้รัฐบาลไทยทบทวนนโยบาย และกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองเด็ก ที่ยังไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนถึงการลงโทษทางกาย และทำให้เด็กด้อยค่าในทุกสถานที่

โดยต้องถือว่าการลงโทษด้วยวิธีการเหล่านี้ไม่ว่าเบาหรือหนัก ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้เริ่มแผนยุทธศาสตร์ชาติในการป้องกันและขจัดความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชน ระหว่างปี พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ.2562 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่จะกำหนดทิศทาง และปรับปรุงกลไกการป้องกัน การตอบสนอง และการเฝ้าระวังเด็กจากความรุนแรงในทุกรูปแบบ

อย่างไรก็ตามแผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้ ก็ยังไม่ได้ให้ความชัดเจนว่าจะขจัดการลงโทษทางกายและทำให้เด็กด้อยค่าในทุกสถานที่ได้อย่างไร แม้ว่ามีการห้ามการลงโทษด้วยการตีในโรงเรียนและในกระบวนการยุติธรรมแล้ว แต่ยังไม่ได้ห้ามอย่างครอบคลุมทั้งที่บ้าน สถานสงเคราะห์ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

การลงโทษทางกายและทำให้เด็กด้อยคุณค่า มีรากลึกอยู่ในวัฒนธรรม และบรรทัดฐานของสังคมไทยมายาวนาน เด็กไทยจำนวนมากเผชิญกับความรุนแรง รู้สึกหวาดกลัว คับข้องใจ และไม่ได้รับความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยพ่อแม่และผู้ดูแลของตนเอง ซึ่งเป็นบุคคลที่พวกเขาสมควรที่จะให้ความเชื่อมั่นเป็นที่สุด พ่อแม่และผู้ดูแลเหล่านี้ยังขาดความรู้ และทักษะในการเลี้ยงดูลูกโดยไม่ใช้ความรุนแรง

มีผลการศึกษาเกี่ยวกับความรุนแรงต่อเด็กในประเทศไทยฉบับหนึ่งเปิดเผยว่า 77.3 % ของเด็กไทยมีประสบการณ์การถูกลงโทษทางกายและหรือถูกกระทำด้วยความรุนแรงต่อสภาพจิตใจเพื่อสร้างวินัยในบ้านและโรงเรียน

ดังนั้น องค์การช่วยเหลือเด็ก จึงได้จับมือกับ 3 องค์กรภาคประชาสังคมอันได้แก่ มูลนิธิสายเด็ก 1387 มูลนิธิรักษ์เด็ก และกลุ่มละครชุมชนกั๊บไฟ ร่วมกันผลักดันโครงการยุติการลงโทษทางกายและทำให้เด็กด้อยคุณค่า ให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังในประเทศไทย


ขอบคุณที่มาจาก คมชัดลึก วันที่ 28 มิถุนายน 2560

 


ประเทศนี้...ไม่ตีเด็ก

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 10 ราย เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 10 ราย เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567

เปิดอ่าน 18,886 ☕ 30 มี.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
เปิดอ่าน 833 ☕ 24 เม.ย. 2567

คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
เปิดอ่าน 300 ☕ 24 เม.ย. 2567

เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เปิดอ่าน 351 ☕ 24 เม.ย. 2567

มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 5,567 ☕ 23 เม.ย. 2567

การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 4,627 ☕ 23 เม.ย. 2567

กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 404 ☕ 23 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ปรับโหงวเฮ้ง เสริมทรัพย์ เสริมบารมี
ปรับโหงวเฮ้ง เสริมทรัพย์ เสริมบารมี
เปิดอ่าน 18,367 ครั้ง

พระลักษมี
พระลักษมี
เปิดอ่าน 18,205 ครั้ง

เจาะข่าวเด่น "ศัลยกรรมเถื่อน พริตตี้ช็อก"
เจาะข่าวเด่น "ศัลยกรรมเถื่อน พริตตี้ช็อก"
เปิดอ่าน 12,906 ครั้ง

คุณครูเคยดูหรือยัง : การเรียนการสอนในสิงคโปร์
คุณครูเคยดูหรือยัง : การเรียนการสอนในสิงคโปร์
เปิดอ่าน 9,079 ครั้ง

สีแดงกับสมอง ความเชื่อมโยงอันน่าอัศจรรย์ที่คุณไม่เคยรู้
สีแดงกับสมอง ความเชื่อมโยงอันน่าอัศจรรย์ที่คุณไม่เคยรู้
เปิดอ่าน 9,994 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ