ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"สุรวาท"ต้านเกณฑ์ประเมินPA หวั่นแม่พิมพ์ทิ้งห้องเรียน-จ้างทำผลงาน อดีตปธ.คุรุสภาติดใจให้น.ร.เสนอชื่อครู


ข่าวการศึกษา 17 พ.ย. 2558 เวลา 09:41 น. เปิดอ่าน : 8,284 ครั้ง
"สุรวาท"ต้านเกณฑ์ประเมินPA หวั่นแม่พิมพ์ทิ้งห้องเรียน-จ้างทำผลงาน อดีตปธ.คุรุสภาติดใจให้น.ร.เสนอชื่อครู

Advertisement

'สุรวาท'ต้านเกณฑ์ประเมินPA หวั่นแม่พิมพ์ทิ้งห้องเรียน-จ้างทำผลงาน อดีตปธ.คุรุสภาติดใจให้น.ร.เสนอชื่อครู 

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน นายไพฑูรย์ สินลารัตน์ อดีตประธานกรรมการคุรุสภา เปิดเผยถึงกรณีที่คณะอนุกรรมการวิสามัญเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน หรือ Performance Agreement (PA) เห็นชอบเรื่องการทำเอกสารรวบรวมผลงานครู หรือ PA เพื่อขอวิทยฐานะ โดยเสนอให้ครูทำเป็นกิจวัตรตั้งแต่เริ่มเป็นครู รวมถึงมีแนวคิดว่าครูไม่จำเป็นต้องเสนอขอด้วยตัวเอง อาจเป็นบุคคลอื่น เช่น ผู้บังคับบัญชาหรือนักเรียนเห็นผลงานและเสนอชื่อให้ก็ได้ว่า การเสนอเกณฑ์ในรอบหลังๆ ที่ผ่านมามีแนวโน้มที่จะเป็นวิทยฐานะทางวิชาการมากขึ้น แต่กระบวนการและขั้นตอนในขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน อาทิ การทำเอกสารรวบรวมผลงานครู หรือ PA ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าให้รวบรวมผลงานอะไร หากเป็นการรวบรวมผลงานประจำวัน ก็คาดว่าน่าจะไม่มีผลอะไรเพราะเป็นเรื่องของงานประจำที่ครูต้องทำอยู่ทุกวัน แต่ถ้ารวบรวมความรู้ งานวิจัยด้านวิชาการ หรือเทคนิคการสอนใหม่ๆ ก็ถือว่าน่าจะเป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการเพิ่มความรู้ความสามารถทางวิชาการของครู

นายไพฑูรย์กล่าวต่อว่า ส่วนแนวคิดที่จะให้บุคคลอื่นอย่างผู้บังคับบัญชาหรือนักเรียนสามารถเสนอชื่อครูแทนนั้น เห็นด้วยและมองว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เพราะผู้บังคับบัญชามีความใกล้ชิดกับครู เห็นความสามารถในการทำงานของครูแต่ละคนได้อย่างชัดเจน แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมอีกครั้งหนึ่ง เช่น ผลงานทางวิชาการที่ผู้บริหารอาจไม่สามารถตรวจสอบได้นั้น ก็ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยดูแล ซึ่งต้องมีการจัดระบบให้ดี เน้นที่ความสามารถของครูโดยตรง ส่วนที่จะให้นักเรียนสามารถขอแทนได้ด้วยนั้น ไม่แน่ใจว่าจะเหมาะสมหรือไม่

"สิ่งสำคัญที่สุดในขณะนี้ คือการทำความเข้าใจเรื่องวิทยฐานะกับทุกฝ่ายให้ชัดเจนและตรงกัน หลายคนยังคิดว่าวิทยฐานะเป็นแค่เรื่องที่เกี่ยวกับงานประจำของครู เช่น งานสอน แต่แท้จริงแล้ววิทยฐานะเป็นฐานะทางวิชาการของครู ดังนั้น เกณฑ์วิทยฐานะควรจะทำให้ครูรู้สึกว่าได้พัฒนาความรู้ทางวิชาการของตัวเองให้เข้มแข็ง และสามารถนำไปต่อยอดในการเรียนการสอนได้อย่างสมบูรณ์" นายไพฑูรย์กล่าว

Advertisement

นายสุรวาท ทองบุ คณบดีคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในฐานะประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) กล่าวว่า การรวบรวมผลงาน หรือ PA เพื่อขอวิทยฐานะโดยให้ครูทำเป็นกิจวัตรตั้งแต่เริ่มเป็นครู อย่างครูที่จะขอวิทยฐานะระดับชำนาญการจะมีเวลารวบรวมผลงานถึง 8 ปี มองว่ายังไม่ตอบโจทย์ ผลงาน ครูควรดูทีละขั้นตอน ดูกันเป็นรายปี เพราะหากดูแค่เอกสารเมื่อถึงกำหนดเวลา ก็จะทิ้งห้องเรียนและจ้างทำผลงานทางวิชาการอย่างที่เคยเกิดขึ้น อย่างประเทศฟินแลนด์ ไม่มีการสร้างผลงานเพื่อวิทยฐานะ แต่วิเคราะห์และประเมินผลงานครูแบบปีต่อปี เรื่องไหนที่มีปัญหา ก็ช่วยแก้กันไปเป็นเรื่องๆ โดยพิจารณาหลายปัจจัยเพื่อคุณภาพการเรียนการสอนของครูอย่างแท้จริง

นายสุรวาทกล่าวต่อว่า การใช้ผลคะแนนทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ของนักเรียน มายื่นขอวิทยฐานะครู ก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง การพิจารณาความสำเร็จของครูไม่สามารถวัดได้จากผลสัมฤทธิ์จากการสอบของนักเรียน เพราะเด็กนักเรียน โรงเรียน และชุมชนในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ต้องพิจารณาปัจจัยหลายๆ ด้าน แม้ว่าครูจะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการศึกษา แต่คุณภาพของเด็กไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ครูเพียงอย่างเดียว รวมไปถึงการสอบโอเน็ต ก็เป็นการสอบที่ไม่สามารถวิเคราะห์ทักษะเด็กได้ทุกด้านเช่นกัน

"ควรมอบความรับผิดชอบให้ทุกฝ่ายในการดูแลเรื่องวิทยฐานะ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ฯ ผู้อำนวยการโรงเรียน ที่จะต้องดูที่ความก้าวหน้า ไม่ใช่ดูที่ผลแล้วไปเทียบกับค่าเฉลี่ยกลาง วันนี้ประเทศไทยยังมีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามาก โรงเรียนที่เด็กเก่งอยู่แล้ว ครูก็แทบไม่ต้องทำอะไร อย่าเอาคะแนนมาตัดสิน รวมถึงเรื่องผลงานที่ไม่ต้องรอถึง 8 ปี แต่ควรดูทุกปีที่ทำ ดูความรับผิดชอบร่วมกันไม่ใช่เฉพาะครู เพราะการวัดวิทยฐานะควรมองอย่างรอบด้านในเรื่องการพัฒนา เช่น นับจำนวนเด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ว่ามีกี่คน แล้วครูวางแผนว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร หากทำได้ก็น่าจะได้รับรางวัลด้วยการเลื่อนวิทยฐานะ แต่หากวัดด้วยคะแนนสอบของเด็ก ก็อาจจะส่งผลให้ครูมุ่งเน้นการเรียนการสอนเพื่อคะแนนสอบเพียงอย่างเดียว" นายสุรวาทกล่าว

นายปรเมษฐ์ โมลี ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กล่าวว่า การจะให้ครูมีวิทยฐานะที่สูงขึ้น ควรดูที่ผลสัมฤทธิ์และความสำเร็จของนักเรียนเป็นหลัก เน้นการพัฒนาให้เด็กมีองค์ประกอบ 3 ข้อ ได้แก่ 1.นักเรียนมีความรู้ความสามารถตามที่หลักสูตรกำหนด 2.มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เป็นคนดี มีวินัย และ 3.มีทักษะชีวิต หากครูสามารถแสดงให้เห็นถึงกระบวนการสอนที่ทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จ มีศักยภาพเพิ่มขึ้นได้ ก็ควรเพิ่มวิทยฐานะให้ครู ทั้งนี้ มองว่าหลักเกณฑ์และวิธีการเป็นเพียงเรื่องปลีกย่อย 

 

ที่มา มติชน วันที่ 17 พฤศจิกายน 2558


"สุรวาท"ต้านเกณฑ์ประเมินPA หวั่นแม่พิมพ์ทิ้งห้องเรียน-จ้างทำผลงาน อดีตปธ.คุรุสภาติดใจให้น.ร.เสนอชื่อครู สุรวาทต้านเกณฑ์ประเมินPAหวั่นแม่พิมพ์ทิ้งห้องเรียน-จ้างทำผลงานอดีตปธ.คุรุสภาติดใจให้น.ร.เสนอชื่อครู

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

Advertisement


:: เรื่องปักหมุด ::

แนวทางปฏิบัติการจัดทำหนังสือราชการ (เรียนดี มีความสุข)

แนวทางปฏิบัติการจัดทำหนังสือราชการ (เรียนดี มีความสุข)

เปิดอ่าน 2,509 ☕ 25 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 19 ราย เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567
ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 19 ราย เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567
เปิดอ่าน 3,987 ☕ 26 เม.ย. 2567

รายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567
รายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 636 ☕ 26 เม.ย. 2567

สพฐ.แจ้งการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567 สมัครสอบทางออนไลน์เพียงรูปแบบเดียว
สพฐ.แจ้งการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567 สมัครสอบทางออนไลน์เพียงรูปแบบเดียว
เปิดอ่าน 1,324 ☕ 25 เม.ย. 2567

ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ "เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง" ปีที่ 18 ปีการศึกษา 2566 (ระดับประเทศ)
ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ "เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง" ปีที่ 18 ปีการศึกษา 2566 (ระดับประเทศ)
เปิดอ่าน 679 ☕ 25 เม.ย. 2567

การปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการจัดประชุมราชการ
การปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการจัดประชุมราชการ
เปิดอ่าน 1,459 ☕ 25 เม.ย. 2567

แนวทางการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงินเพื่อประโยชน์การศึกษา โครงการ "สุขาดี มีความสุข"
แนวทางการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงินเพื่อประโยชน์การศึกษา โครงการ "สุขาดี มีความสุข"
เปิดอ่าน 1,107 ☕ 25 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

สื่ออังกฤษเผย 11 สิ่งที่คุณควรลบออกจากเฟซบุ๊ก
สื่ออังกฤษเผย 11 สิ่งที่คุณควรลบออกจากเฟซบุ๊ก
เปิดอ่าน 21,768 ครั้ง

Detoxification ล้างพิษ ล้างโรค
Detoxification ล้างพิษ ล้างโรค
เปิดอ่าน 15,262 ครั้ง

หลากวิตามินพิชิตเบาหวาน หยุดน้ำตาลพุ่งสูง ก่อนสายเกินแก้
หลากวิตามินพิชิตเบาหวาน หยุดน้ำตาลพุ่งสูง ก่อนสายเกินแก้
เปิดอ่าน 21,160 ครั้ง

แค่ถ่ายภาพเอกสารให้ตรง แล้วส่งเข้าไลน์ ก็ถอดออกมาเป็นตัวหนังสือได้ ไม่ต้องพิมพ์
แค่ถ่ายภาพเอกสารให้ตรง แล้วส่งเข้าไลน์ ก็ถอดออกมาเป็นตัวหนังสือได้ ไม่ต้องพิมพ์
เปิดอ่าน 61,452 ครั้ง

ICT2020 Conceptual Framework
ICT2020 Conceptual Framework
เปิดอ่าน 29,076 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ