ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ

ชื่องานวิจัย การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

ชื่อผู้วิจัย นางสุคนธ์ สุพรรณพงศ์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ

ปีที่ศึกษา ๒๕๕๘

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ๒) เพื่อสร้างและพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๓) เพื่อศึกษาผลการใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ๔) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ได้แก่ (๑) ครูผู้สอนภาษาไทย (๒) ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ (๓) รายงานการประเมินผลการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนสื่อความ ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ และ(๔) รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน( O-Net) ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ได้แก่ (๑) ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา จำนวน ๕ ท่าน คือ (๑) ด้านหลักสูตรและการสอน ๑ ท่าน (๒) ด้านภาษาไทย ๒ ท่าน (๓) ด้านวัดผลประเมินผล ๑ ท่าน (๔) ด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ๑ ท่านได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) (๒) ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ที่ใช้ในการทดลองหาประสิทธิภาพ แบบรายบุคคล จำนวน ๓ คน แบบกลุ่มเล็ก จำนวน ๙ คน และแบบภาคสนาม จำนวน ๓๐ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาผลการใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ได้แก่ เป็นผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒/๔ โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) ปีการศึกษา ๒๕๕๘ จำนวน ๑ ห้องเรียน มีจำนวนผู้เรียนทั้งหมด ๓๗ คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และแหล่งข้อมูลที่ใช้ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ได้แก่ เป็นผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒/๔โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) ปีการศึกษา ๒๕๕๘ จำนวน ๑ ห้องเรียน มีจำนวนผู้เรียนทั้งหมด ๓๗ คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (๑) แบบบันทึกสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน (๒) แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน (๓) สื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๑๐ เรื่อง (๔) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน ๑๐ แผน (๕) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน ๑ ฉบับ เป็นแบบปรนัย ๓ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ ใช้เวลาในการสอบ ๑ ชั่วโมง (๖) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความจำนวน ๑ ฉบับ มี ๔ ตอน ได้แก่ ตอนที่ ๑ประเมินทักษะการอ่าน ตอนที่ ๒ เลือกตอบถูก-ผิด จำนวน ๑๐ ข้อ ตอนที่ ๓ ประเมินการคิดวิเคราะห์ แบบปรนัย ๓ ตัวเลือก จำนวน ๑๐ ข้อ และตอนที่ ๔ การเขียนแสดงความคิดเห็น จำนวน ๒ ข้อ ใช้เวลาในการสอบ ๑ ชั่วโมง (๗) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๑๐ ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการทดลองใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ เรื่องละ ๔ ชั่วโมง จำนวน ๘ สัปดาห์ สัปดาห์ละ ๕ ชั่วโมง รวมเวลา ๔๐ ชั่วโมง โดยใช้เวลาในช่วงสอนเสริมวันละ ๑ ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าประสิทธิภาพ (E๑/E๒) ความยากง่าย (p) อำนาจจำแนก (r) ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC) ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha-Coefficient) ของ Cronbach และการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t – test dependent)

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ผลการศึกษาสภาพปัญหา คือ ผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) มีปัญหาเรื่องทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ มากที่สุด ดังจะเห็นได้จาก รายงานผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ พบว่า ผู้เรียนร้อยละ ๕๗ มีผลการประเมินต่ำกว่าเกณฑ์ ที่โรงเรียนกำหนดไว้ที่ระดับดี และรายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๗ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จากคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน คะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียน ร้อยละ ๔๔.๗๑ ผลการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา คือ (๑) ด้านผู้บริหาร ให้ความสำคัญต่อการใช้สื่อทางด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ น้อย (๒) ด้านครูผู้สอน เกิดจากการจัดการเรียนรู้แบบเดิม ๆ ใช้แต่หนังสือแบบเรียนอย่างเดียว ขาดเทคนิคการสอน ไม่ได้สร้างสื่อเพิ่ม (๓) ด้านผู้เรียน เกิดจากผู้เรียนบางคนอ่านหนังสือไม่คล่อง บางคนอ่านหนังสือได้ แต่ไม่สามารถคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความได้ อ่านแล้วแปลความ ตีความ บอกเหตุผลไม่ได้ และผู้เรียนบางคน เบื่อหน่ายไม่ชอบอ่านหนังสือ ขาดความสนใจในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ (๔) ด้านสื่อการสอน ขาดแคลนสื่อทางด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ทันสมัย เร้าความสนใจผู้เรียนหรือนวัตกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ (๕) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและรายงานผลการสอบระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-Net) อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ (๖) ด้านพื้นฐานทางครอบครัว ผู้เรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวแตกแยกขาดความอบอุ่นไม่มีผู้ดูแลเอาใจใส่เรื่องการเรียนเท่าที่ควร และส่วนหนึ่งผู้เรียนเป็นชาติพันธุ์ ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จากการสัมภาษณ์ ครูผู้สอนภาษาไทย และผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ พบว่า ต้องการให้สร้างสื่อมัลติมีเดียที่มีเนื้อหาเป็นนิทานสั้น ๆ เข้าใจง่าย เป็นเรื่องที่ผู้เรียนเคยอ่านเคยฟังมาแล้ว ซึ่งนิทานอีสปเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ควรมีรูปภาพประกอบดึงดูดความสนใจ เพื่อเหมาะกับผู้เรียนที่อ่านไม่คล่อง และให้ผู้เรียนทำกิจกรรมในแบบทดสอบระหว่างเรียนด้วย โดยการฝึกจากง่ายไปหายาก มีแบบฝึกหัดท้ายเรื่องเพื่อฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ดังนั้นแนวทางพัฒนาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น คือ การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

๒. ผลการสร้างและพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ สร้างสื่อมัลติมีเดีย ๑๐ เรื่อง สอนเรื่องละ ๔ ชั่วโมง โดยใช้เวลาในช่วงสอนเสริมวันละ ๑ ชั่วโมง จำนวน ๔๐ ชั่วโมง หนังสือนิทานที่พัฒนาขึ้น มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ ๘๖.๓๘/๘๕.๔๑ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ๘๐/๘๐

๓. ผลการศึกษาผลการใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ส่งผลให้ผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑

๔. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่มีต่อการเรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =๔.๘๖, S.D.=.๓๑)

โพสต์โดย อิ๊ด : [28 พ.ย. 2559 เวลา 18:28 น.]
อ่าน [3476] ไอพี : 171.100.78.52
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โพสต์โดย

คุณ -

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 9,482 ครั้ง
สวยสู้ฤดูหนาว ด้วยสารพัดอาหารผิวจากธรรมชาติ
สวยสู้ฤดูหนาว ด้วยสารพัดอาหารผิวจากธรรมชาติ

เปิดอ่าน 22,348 ครั้ง
บรรยากาศ (ATMOSPHERE)
บรรยากาศ (ATMOSPHERE)

เปิดอ่าน 34,369 ครั้ง
อยากเก่งภาษาอังกฤษทำยังไง
อยากเก่งภาษาอังกฤษทำยังไง

เปิดอ่าน 1,846 ครั้ง
การจ้างครูฝรั่งในค่าจ้างครูต่างชาติที่เอื้อมถึงง่าย
การจ้างครูฝรั่งในค่าจ้างครูต่างชาติที่เอื้อมถึงง่าย

เปิดอ่าน 73,078 ครั้ง
เงินเดือน-ค่าตอบแทน ของอาชีพต่างๆ ในประเทศไทย
เงินเดือน-ค่าตอบแทน ของอาชีพต่างๆ ในประเทศไทย

เปิดอ่าน 9,269 ครั้ง
พิชิตสุขภาพการเงินที่ดีใน 31 วัน
พิชิตสุขภาพการเงินที่ดีใน 31 วัน

เปิดอ่าน 26,213 ครั้ง
ใช้ยานอนหลับกับข้อควรระวัง
ใช้ยานอนหลับกับข้อควรระวัง

เปิดอ่าน 8,872 ครั้ง
สื่อเผย ดิกชันนารีฯ อาจไร้คนสนใจในอนาคต
สื่อเผย ดิกชันนารีฯ อาจไร้คนสนใจในอนาคต

เปิดอ่าน 13,442 ครั้ง
ลูกบาศก์ของรูบิค
ลูกบาศก์ของรูบิค

เปิดอ่าน 28,716 ครั้ง
5 วิธีชำระหนี้ กยศ. ให้หมดอย่างรวดเร็ว
5 วิธีชำระหนี้ กยศ. ให้หมดอย่างรวดเร็ว

เปิดอ่าน 38,643 ครั้ง
ประวัติความเป็นมาของเครื่องหมายราก  หรือกรณท์
ประวัติความเป็นมาของเครื่องหมายราก หรือกรณท์

เปิดอ่าน 22,918 ครั้ง
ฟุตซอล(Futsal): วิธีการคาดโทษและไล่ออก
ฟุตซอล(Futsal): วิธีการคาดโทษและไล่ออก

เปิดอ่าน 29,650 ครั้ง
คอลัมน์: การศึกษา: ถึงคิว...พักงาน(ยาว) "ผอ.สมศ." ปลดล็อก..."ประเมินภายนอกรอบ 4"!!
คอลัมน์: การศึกษา: ถึงคิว...พักงาน(ยาว) "ผอ.สมศ." ปลดล็อก..."ประเมินภายนอกรอบ 4"!!

เปิดอ่าน 37,941 ครั้ง
การใช้อินเทอร์เน็ตและผลกระทบต่อคะแนนวิทยาศาสตร์ : FOCUS ประเด็นจาก PISA : ฉบับที่ 33 (กันยายน 2561)
การใช้อินเทอร์เน็ตและผลกระทบต่อคะแนนวิทยาศาสตร์ : FOCUS ประเด็นจาก PISA : ฉบับที่ 33 (กันยายน 2561)

เปิดอ่าน 12,727 ครั้ง
เสริมสร้างทักษะให้ลูกน้อยไปกับ 3 กิจกรรมพัฒนา EF
เสริมสร้างทักษะให้ลูกน้อยไปกับ 3 กิจกรรมพัฒนา EF

เปิดอ่าน 9,620 ครั้ง
อัตลักษณ์ของคนกระทรวงเสมา : อัตลักษณ์วิชาชีพครู
อัตลักษณ์ของคนกระทรวงเสมา : อัตลักษณ์วิชาชีพครู
เปิดอ่าน 12,263 ครั้ง
ผักสีสดช่วยคุณฟิตได้
ผักสีสดช่วยคุณฟิตได้
เปิดอ่าน 21,235 ครั้ง
กุ้งเดินขบวน Unseen in Thailand มหัศจรรย์ธรรมชาติ อ.น้ำยืน
กุ้งเดินขบวน Unseen in Thailand มหัศจรรย์ธรรมชาติ อ.น้ำยืน
เปิดอ่าน 3,724 ครั้ง
พระรัตนตรัย
พระรัตนตรัย
เปิดอ่าน 41,680 ครั้ง
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ