ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2 โดยการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การทด

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การพัฒนาประเทศในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนไปพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจโดยจะเน้นให้ “คน” เป็นแกนกลางในการพัฒนา ดังจะเห็นได้จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ที่มุ่งพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยมีการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญาความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (มาตรา 6) โดยยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความรู้ความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด การจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ (มาตรา 22) โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญาและบุคลิกภาพเป็นวัยที่เรียกว่า ช่วงพลังแห่งการเจริญเติบโตของชีวิต (สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์, 2545 : 149) ดังนั้นการส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน หรือการปลูกฝังสิ่งที่ดีงามเหมาะสมให้กับเด็กจึงควรทำให้ดีที่สุดในวัยนี้เพราะประสบการณ์ที่เด็กจะได้รับจะเป็นการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตในอนาคตของเด็กตามหลักจิตวิทยาพัฒนาการเด็กที่มีอายุในวัย 2 - 6 ปี จะมีพัฒนาการทางสติปัญญาในระดับขั้นความคิดก่อนเกิดความคิดรวบยอด (preconception thought)

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยต้องอาศัยประสบการณ์ตรง หรือสิ่งที่เป็นรูปธรรม โดยผ่านการรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การฟัง การดม การมอง การสัมผัสและ การชิมรสโดยให้เด็กเป็นผู้ลงมือกระทำ กิจกรรมที่ปรากฏในตารางกิจกรรมประจำวัน ซึ่งได้แก่ กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์และเสรี กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง และกิจกรรมเกมการศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากพัฒนาการของเด็กจะครบทุกด้าน มิใช่อยู่ในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง แต่ละกิจกรรมมีการส่งเสริมทักษะและพัฒนาการแต่ละด้านแตกต่างกันไป ครูผู้สอนควรให้ความสำคัญกับกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรมนี้ และเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากการเล่นและการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ได้พัฒนาการทุกด้าน รวมทั้งส่งเสริมให้เด็กรู้จักการนำทักษะการสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ ทักษะการวัดและทักษะอื่น ๆ มาสอดแทรกและนำมาใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบรรลุตามมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่กำหนดไว้ในจุดหมายตามที่หลักสูตรปฐมวัยกำหนดไว้ (กรมวิชาการ, 2546 : 9)

วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างมีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด เป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลาย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2550 : 1) การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งเรียกว่า กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการวิทยาศาสตร์ได้โดยครูใช้ประสบการณ์การคิดและปฏิบัติ กุลยา ตันติผลาชีวะ (2547 : 172) จากการศึกษารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่าเด็กจะรับรู้และคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน ดังนั้นการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัยในการทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์จึงแบ่งออกเป็น 4 ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเห็น นิวแมน (Neuman,1992 : 320 – 321) กล่าวว่าทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเห็นเช่นกัน เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4-5 ปี มีลักษณะเฉพาะตัว คือ มีความเชื่อว่าทุกอย่างมีชีวิต (animism) มีความรู้สึก และเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีจุดมุ่งหมาย (purposivism) และชอบตั้งคำถาม โดยใช้คำว่า ทำไม นิตยา คชภักดี (2545 : 36) การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ การมอง การฟัง การดม การชิม และการสัมผัส นำไปเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก เป็นการกระตุ้น และตอบสนองความสนใจของเด็กด้วยการให้โอกาสเด็กสำรวจ ลงมือกระทำกิจกรรมกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง ทำให้เกิดการรับรู้ความเข้าใจ และความคิดรวบยอดนำไปสู่การพัฒนาสติปัญญา (สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์, 2548 : 74)

การเรียนวิทยาศาสตร์เริ่มได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัย เด็กปฐมวัยสามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์จากการเล่นและการทำงานตามที่เด็กสนใจ ได้ลงมือปฏิบัติจริงลองผิดลองถูกและเรียนรู้จากการค้นพบด้วยตัวเอง การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นการเรียน เพื่อสร้างพัฒนาการให้เด็กเต็มศักยภาพ วิธีการเรียนของเด็กมาจากประสบการณ์กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็กหยิบ จับ สัมผัส จากประสบการณ์ที่เด็กได้รับนี้ จะทำให้เด็กพัฒนาตนเองได้ตามวัยและเกิดการเรียนรู้ จากการสังเกต การคิดและเกิดความเข้าใจจากการกระทำกิจกรรมที่เรียน (กุลยา ตันติผลาชีวะ, 2547 : คำนำ) การสอนวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยเป็นการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็กด้วยการสังเกต การคิด การสนทนาเพื่อสื่อสารสิ่งที่เข้าใจ และการสะท้อนความกระตือรือร้น ความกระหายใคร่รู้ปรากฏการณ์ธรรมชาติ (ประสาท เนืองเฉลิม, 2546 : 23) เป็นการสอนข้อความรู้ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ ข้อความรู้ ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจการสังเกต การจำและการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้ไม่ใช่การท่องจำ(กุลยา ตันติผลาชีวะ, 2547 : 171) การนำวิธีการสอนทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนการสอนระดับปฐมวัยจะส่งเสริมให้เด็กเกิดความคิดอย่างเป็นระบบ และการศึกษาสิ่งต่าง ๆ ด้วยการนำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้กระตุ้นพัฒนาการเรียนรู้ และส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านให้เกิดขึ้นอย่างสมดุลและเต็มศักยภาพ (ประสาท เนืองเฉลิม, 2546 : 24)

การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การทดลองเป็นการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์อีกวิธีหนึ่งที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เด็กค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรง เปิดโอกาสให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เข้าไปกระทำจริงกับสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่เป็นของจริง เด็กได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งการได้สังเกต การจำแนกประเภท การทดลอง การตั้งสมมติฐาน การได้สื่อสาร (ปรีดาวรรณ ยอดสุวรรณ, 2545 : 3) สอดคล้องกับ พันธ์ ทองชุมนุม (2547 : 62) ที่กล่าวว่า การจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติทดลองจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากการได้ รับประสบการณ์ตรง เด็กได้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง มีผลทำให้เกิดความคงทนของความรู้ เด็กจะได้เรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสหลายด้านโดยตรง ทั้งตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัส ทำให้เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ภพ เลาหไพบูลย์ (2546 : 171) ซึ่งสอดคล้องกับ วรวิทย์ วศินสรากร (2545 : 47) ที่กล่าวว่าวิธีสอนด้วยการทดลองจะช่วยเสริมสร้างและปลูกฝังให้เด็กเป็นคนมีเหตุผล ชอบค้นคว้าหาความจริง เด็กควรได้รับการกระตุ้นเซลสมองโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวกาย ให้เด็กได้เห็นได้ดมกลิ่นได้ยินเสียง ได้ชิมรส และได้สัมผัส โดยให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของชนกพร ประทุมทอง (2549 : 161 - 187) กล่าวถึงการปฏิบัติการทดลองไว้ว่า หมายถึง การเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำหรือปฏิบัติทดลองด้วยตนเอง เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงและความรู้ใหม่ด้วยตนเอง เพราะการเรียนรู้นั้นเกิดจากการกระทำ (Learning by doing) ประสบการณ์เบื้องต้นของเด็กควรเป็นประสบการณ์ในสถานการณ์จริง ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการค้นพบนั้นจะเป็นความรู้ที่จดจำได้นาน

เด็กปฐมวัยเป็นนักวิทยาศาสตร์โดยธรรมชาติ คือ มีความสนใจอยากรู้อยากเห็นและเข้าใจสิ่งแวดล้อม เด็กจะสามารถรับรู้สิ่งต่างๆได้โดยอาศัยประสาทสัมผัสทั้งห้าเป็นตัวรับรู้นอกจากนี้ ประสาท เนืองเฉลิม (2545 : 24) กล่าวว่า การจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กได้ใช้ทักษะการสังเกต การคิด การสนทนา การสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจ และแสดงออกถึงความกระตือรือร้น ความอยากรู้อยากเห็นการรู้จักสำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่แวดล้อมรอบตัว ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เพื่อค้นพบสิ่งใหม่และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ทักษะกระบวนทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัยควรฝึกได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการแสดงปริมาณ ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็น และทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา สอดคล้องกับแนวคิดของนักการศึกษาเป็นทักษะเบื้องต้นที่ต้องใช้อยู่เสมอ และสอดคล้องกับ พัชรี ผลโยธิน (2546 : 24) ที่กล่าวไว้ว่า เด็กปฐมวัยเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้จากการสำรวจ การสังเกต การใช้ประสาทสัมผัส ทั้งห้าหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นและแสดงความคิดเห็น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ต่อไปในอนาคต

โรงเรียนวัดป่าขวาง เป็นโรงเรียนประถมศึกษาที่จัดการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษา และประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ซึ่งได้เข้ารับการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาในปีการศึกษา 2556 เช่นเดียวกัน และผลการประเมินด้านผู้เรียนในระดับก่อนประถมศึกษา ปรากฏผลดังตารางที่ 1.1 ต่อไปนี้

โพสต์โดย หอม : [27 มี.ค. 2560 เวลา 21:26 น.]
อ่าน [3810] ไอพี : 113.53.13.238
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 32,003 ครั้ง
ทำไมหัวไม้ขีดถึงติดไฟ
ทำไมหัวไม้ขีดถึงติดไฟ

เปิดอ่าน 10,553 ครั้ง
Powerpoint บรรยายพิเศษ ดร.ชัยพฤษ์ เสรีรักษ์ ปลัดศธ. ในโครงการพัฒนาผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการภาค และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
Powerpoint บรรยายพิเศษ ดร.ชัยพฤษ์ เสรีรักษ์ ปลัดศธ. ในโครงการพัฒนาผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการภาค และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด

เปิดอ่าน 922 ครั้ง
ของฝากประจำจังหวัดศรีสะเกษ สินค้าแนะนำภาคอีสาน
ของฝากประจำจังหวัดศรีสะเกษ สินค้าแนะนำภาคอีสาน

เปิดอ่าน 40,768 ครั้ง
พืชที่ใช้แต่งสีอาหาร หรือให้สีย้อม
พืชที่ใช้แต่งสีอาหาร หรือให้สีย้อม

เปิดอ่าน 18,208 ครั้ง
พระลักษมี
พระลักษมี

เปิดอ่าน 35,746 ครั้ง
4 วิธีลดเครียดก่อนนอน
4 วิธีลดเครียดก่อนนอน

เปิดอ่าน 9,932 ครั้ง
เคล็ดของการมีอายุครบ 100 ปี ต้องมีคู่ออกกำลังและหมั่นล้างมือ
เคล็ดของการมีอายุครบ 100 ปี ต้องมีคู่ออกกำลังและหมั่นล้างมือ

เปิดอ่าน 9,672 ครั้ง
เด็กนั่งกลางที่เบาะหลังรถ มีแนวโน้มเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ
เด็กนั่งกลางที่เบาะหลังรถ มีแนวโน้มเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ

เปิดอ่าน 21,668 ครั้ง
การปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเทียบวุฒิการศึกษาในประเทศเเละต่างประเทศระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2560
การปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเทียบวุฒิการศึกษาในประเทศเเละต่างประเทศระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2560

เปิดอ่าน 6,775 ครั้ง
Facebook แง้มกำลังเพิ่มปุ่มแสดงความเสียใจ บนเฟซบุ๊ก
Facebook แง้มกำลังเพิ่มปุ่มแสดงความเสียใจ บนเฟซบุ๊ก

เปิดอ่าน 19,323 ครั้ง
ผลจากการเปลี่ยนแปลงความกดบรรยากาศ
ผลจากการเปลี่ยนแปลงความกดบรรยากาศ

เปิดอ่าน 10,246 ครั้ง
วิธีดูแลผิวพรรณในหน้าฝนให้ผิวสวยใสเสมอ
วิธีดูแลผิวพรรณในหน้าฝนให้ผิวสวยใสเสมอ

เปิดอ่าน 11,328 ครั้ง
5 วิธีชวนขับรถประหยัดน้ำมัน
5 วิธีชวนขับรถประหยัดน้ำมัน

เปิดอ่าน 12,852 ครั้ง
ทริคเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับน้ำ ที่คุณครูเอาไปสอนเด็กได้
ทริคเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับน้ำ ที่คุณครูเอาไปสอนเด็กได้

เปิดอ่าน 19,746 ครั้ง
เหมือนอย่างกับแกะ! หุ่นยนต์เหมือนมนุษย์ตัวล่าสุด (มีคลิป)
เหมือนอย่างกับแกะ! หุ่นยนต์เหมือนมนุษย์ตัวล่าสุด (มีคลิป)

เปิดอ่าน 13,193 ครั้ง
5 สิ่งมหัศจรรย์ (ทางเลือก) ของโลก
5 สิ่งมหัศจรรย์ (ทางเลือก) ของโลก
เปิดอ่าน 24,307 ครั้ง
ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใช้ธูปกี่ดอกกันบ้าง?
ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใช้ธูปกี่ดอกกันบ้าง?
เปิดอ่าน 41,697 ครั้ง
Animation สอนภาษาอังกฤษ (การทักทาย)
Animation สอนภาษาอังกฤษ (การทักทาย)
เปิดอ่าน 29,590 ครั้ง
ระบบเลือดไหลเวียน
ระบบเลือดไหลเวียน
เปิดอ่าน 18,757 ครั้ง
อาการ ไอ แก้ได้ไม่ง้อยา
อาการ ไอ แก้ได้ไม่ง้อยา

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ