การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่องตำนานพระนางจอมเทียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่องตำนานพระนางจอมเทียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่องตำนานพระนางจอมเทียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่นนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่องตำนานพระนางจอมเทียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และเพื่อประเมินผลการใช้ท้องถิ่นนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่องตำนานพระนางจอมเทียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีขั้นตอนในการดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 วิจัย (Research) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนา (Development) การพัฒนาหลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 วิจัย (Research) การทดลองใช้หลักสูตร และขั้นตอนที่ 4 พัฒนา (Development) ประเมินผลหลักสูตร ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่องตำนานพระนางจอมเทียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า จากการศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเมืองพัทยา 3 (วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม) ไปแล้วนั้นพบว่า โรงเรียนยังขาดหลักสูตรท้องถิ่นที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ดังนั้น ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ รวมทั้งนักเรียนและผู้เกี่ยวข้องจึงมีแนวคิดที่จะสร้างหลักสูตรท้องถิ่นนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่อง ระบำตำนานพระนางจอมเทียน โดยเป็นการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ ความเป็นมา วิวัฒนาการของชุมชนท้องถิ่น ประเภทของนาฏศิลป์ เครื่องดนตรี การขับร้อง และสำคัญที่สุดคือ การสร้างสรรค์ชุดระบำตำนานพระนางจอมเทียน ที่แต่งขึ้นมาใหม่ทั้งบทเพลง ดนตรี และท่ารำ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนศึกษาจากเอกสารประกอบหลักสูตรท้องถิ่นนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่อง ระบำตำนานพระนางจอมเทียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีทั้งใบความรู้และใบกิจกรรมรวมอยู่ด้วยกัน ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติทั้งใบกิจกรรมและฝึกปฏิบัติจริง และมีการผลประเมินผลอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
2. ผลการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่องตำนานพระนางจอมเทียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า หลักสูตรท้องถิ่นนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่องตำนานพระนางจอมเทียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ ได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้างหลักสูตร โดยมีคำอธิบายรายวิชา เนื้อหา หน่วยการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ เวลาเรียน ขอบข่าย แนวการจัดการเรียนรู้ สื่อ/แหล่งการเรียนรู้และการวัดผลประเมินผล แนวทางการดำเนินการตามหลักสูตร และแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน คือ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ปฐมนิเทศ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 การขับร้องและบรรเลง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 ศิลปะการออกแบบท่ารำ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 ระบำตำนานพระนางจอมเทียน แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 ปัจฉิมนิเทศ พบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมและสอดคล้องกันเป็นอย่างดี
3. ผลการทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่นนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่องตำนานพระนางจอมเทียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า เมื่อนำหลักสูตร ไปใช้ทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเมืองพัทยา 3 (วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม) จำนวน 37 คน โดยผู้วิจัยได้จัดการเรียนการสอนโดยใช้การระดมความคิด การบรรยาย การสาธิต และการปฏิบัติจริง พบว่า นักเรียนให้ความสนใจและความร่วมมือในการทำกิจกรรม สามารถสรุปสาระจากการเรียนรู้และการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่อง ระบำตำนานพระนางจอมเทียนได้ และประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมของตนเองร่วมกับผู้วิจัย ผู้นำชุมชน แล้วนำมาปรับปรุงพัฒนาผลในครั้งต่อไป
4. ประเมินผลหลักสูตรท้องถิ่นนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่องตำนานพระนางจอมเทียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ผลการเรียนรู้นาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่อง ระบำตำนานพระนางจอมเทียน ของนักเรียนก่อนและหลักการใช้หลักสูตรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยหลังการใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตนักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรท้องถิ่นนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่อง ระบำตำนานพระนางจอมเทียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก