ชื่อผลงาน รายงานผลการจัดกิจกรรมการละเล่นเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
ผู้วิจัย : นางจันทรา เสาวมาลย์
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการละเล่น 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมการละเล่น เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้คือ นักเรียนชาย หญิง อายุ 3 4 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purpose Sample) จำนวน 1 ห้องเรียนมีจำนวนนักเรียน 23 คน ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการทดลองด้วยตนเอง จำนวน 8 สัปดาห์ 24 กิจกรรม
แบบแผนของการวิจัยที่ใช้ คือวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบ One group Time Series Design) เป็นการติดตามกลุ่มเป้าหมายเป็นระยะ ๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแผนการจัดกิจกรรมการละเล่นเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน สังกัด องค์การบริหารส่วนตำบลฝายแก้ว กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม แบบประเมินทักษะทางสังคม ของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และสถิติการทดสอบ (The Wilcoxon Matched Pairs signed Ranks Test)
ผลการจัดการศึกษาพบว่า
1. ผลการศึกษาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้การจัดกิจกรรมเกมการละเล่น ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลฝายแก้ว สังกัด องค์การบริหารส่วนตำบลฝายแก้ว กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ก่อนการทดลองโดยรวมพบว่าพัฒนาการทางสังคมทั้ง 3 ด้านได้แก่ การเล่นร่วมกับเพื่อน การมีส่วนร่วมในกิจกรรม และการปฏิบัติตามข้อตกลงก่อนได้รับการจัดกิจกรรมโดยรวมอยู่ในระดับต้องปรับปรุง เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าทักษะการเล่นร่วมกับเพื่อนและการปฏิบัติตามข้อตกลงอยู่ในระดับต้องปรับปรุงส่วนด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมอยู่ในระดับที่พอใช้ระหว่างการจัดกิจกรรมพบว่าโดยรวมมีคะแนนอยู่ในระดับที่พอใช้ เมื่อจำแนกรายด้านพบว่ามีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้ 2 ด้านคือ ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรม และด้านการปฏิบัติตามข้อตกลงหลังการจัดกิจกรรมพบว่าโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี เมื่อจำแนกรายด้านพบว่ามีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีทุกด้าน
2. ผลเปรียบเทียบทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยด้านการเล่นร่วมกับเพื่อนด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ด้านปฏิบัติตามข้อตกลงก่อนการจัดกิจกรรม ระหว่างการจัดกิจกรรม หลังการจัดกิจกรรม พบว่าทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยรวมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกช่วงของการเปรียบเทียบ