1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
ค 1.1 ม.1/1 เข้าใจจำนวนตรรกยะและความสัมพันธ์ของจำนวนตรรกยะ และใช้สมบัติของจำนวนตรรกยะในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
1) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบวกการลบเศษส่วน (K)
2) เขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการหาผลบวก ผลลบของเศษส่วนได้ (P)
3) รับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (A)
3. สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
ทศนิยมและเศษส่วน พิจารณาตามหลักสูตรของสถานศึกษา
4. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
การบวกและการลบเศษส่วนต้องทำตัวส่วนให้เท่ากันก่อน ซึ่งโดยทั่วไปนิยมทำตัวส่วนให้เท่ากับ ค.ร.น. ของตัวส่วน จากนั้นจึงนำตัวเศษมาบวกหรือลบกันโดยที่ตัวส่วนยังคงเท่าเดิม
5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
1) ทักษะการคิดหลากหลาย
2) ทักษะการคิดคล่อง
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
6. กิจกรรมการเรียนรู้
 แนวคิด/รูปแบบการสอน/วิธีการสอน/เทคนิค : Concept Based Teaching
ขั้นการใช้ความรู้เดิมเชื่อมโยงความรู้ใหม่ (Prior Knowledge)
1. ครูทบทวนเรื่องการทำจำนวนคละให้เป็นเศษเกิน โดยอธิบายว่าให้นำตัวส่วนคูณจำนวนเต็มแล้วนำไปบวกกับเศษจากนั้นครูยกตัวอย่าง
3 3/6 = 21/6
- 4 1/2 = (-9)/2
2. ครูทบทวนหลักเกณฑ์การบวก การลบ เศษส่วนที่เป็นจำนวนบวก และจำนวนลบ
ขั้นรู้ (Knowing)
1. ครูอธิบายขั้นตอนการบวกเศษส่วนที่เป็นลบและมีตัวส่วนไม่เท่ากัน ดังนี้
- เขียนตัวส่วนของเศษส่วนที่เป็นลบให้เป็นจำนวนเต็มบวกก่อน
- ทำตัวส่วนของทุกเศษส่วนให้เท่ากัน โดยนิยมทำตัวส่วนให้เท่ากับ ค.ร.น. ของตัวส่วนของเศษส่วนที่นำมาบวกกัน
- นำตัวเศษมาบวกกัน โดยที่ตัวส่วนยังคงเท่าเดิม
2.