ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมภาษาไทย  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก
เอเปก หรือ เอเปค
ภาษาไทย 14 พ.ย. 2565 เปิดอ่าน : 3,283 ครั้ง
☰แชร์เลย >  
เพิ่มเพื่อน
Advertisement

เอเปก หรือ เอเปค
Advertisement

เอเปก หรือ เอเปค

การประชุม Asia-Pacific Economic Cooperation-APEC มีชื่อเป็นภาษาไทยอย่างเป็นทางการว่า การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปก

ชื่อนี้เป็นชื่อทางการที่กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานงานกับราชบัณฑิตยสถานแล้วกำหนดขึ้น โดยอาศัยหลักเกณฑ์การทับศัพท์ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตั้งแต่วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๓๕

การที่ APEC เขียนทับศัพท์ว่า เอเปก นั้น อาศัยหลักเกณฑ์ ๒ ข้อคือ

ข้อแรก (หรือข้อ ๑๕ ในหลักเกณฑ์) คำทับศัพท์ที่ผูกขึ้นจากตัวย่อ ซึ่งอ่านออกเสียงได้เสมือนคำคำหนึ่ง มิได้ออกเสียงเรียงตัวอักษร ให้เขียนตามเสียงที่ออกและไม่ต้องใส่จุด

ข้อที่สอง (จากตารางเทียบเสียงพยัญชนะภาษาอังกฤษ) ตัว c ซึ่งเป็นพยัญชนะต้น หากตามมาด้วยตัว a o u r l ให้แทนด้วย ค ควาย หากตามมาด้วยตัว e i y ให้แทนด้วย ซ โซ่ ในกรณีที่ออกเสียง ช ให้แทนด้วย ช ช้าง แต่ถ้าเป็นตัวสะกดให้แทนด้วย ก ไก่ เพียงตัวเดียว

ฉะนั้น หากต้องการเขียนให้ถูกต้องตามแบบของราชการก็ต้องเขียนว่า เอเปก


ในกรณีที่มีผู้เขียนว่า เอเปค นั้นเป็นเพราะผู้เขียนมิได้ใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าว แต่ไปใช้อีกเกณฑ์หนึ่งที่เห็นกันอยู่บ่อยๆ นั่นคือ ใช้ตัวอักษรเดียวกันทั้งที่เป็นพยัญชนะต้น และพยัญชนะตัวสะกด เช่น นิวยอร์ค คำนี้ถ้าใช้เกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถานจะเขียนว่า นิวยอร์ก

ถึงแม้ว่าเกณฑ์นี้ คณะรัฐมนตรีจะได้เห็นชอบเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๓๕ แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นเกณฑ์ที่เพิ่งเกิดในปีนั้น หลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานฉบับแรกประกาศใช้มาตั้งแต่วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๘๕ ต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขแล้วประกาศใช้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๒ ส่วนฉบับที่นำมาประกาศใช้เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๓๕ นั้น เป็นการประกาศใช้ร่วมกับหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอื่นๆ อีก ๘ ภาษา หลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถานจึงมีขึ้นก่อนที่จะเกิด เอเปก ในปี พ.ศ.๒๕๓๒

ส่วนที่มีผู้อธิบายว่า “เมื่อถอดตัวสะกดจากภาษาอังกฤษนั้น ราชบัณฑิตกำหนดว่า หากการใช้ ก สะกด ทำให้ทับซ้อนกับคำในภาษาไทยที่มีความหมายอยู่แล้ว ให้เลี่ยงเป็น ค แทนได้” นั้น น่าจะเป็นการเข้าใจผิด เพราะราชบัณฑิตยสถานไม่เคยกำหนดเช่นนั้น

ในกรณีที่การถอดคำจากภาษาอังกฤษแล้วทำให้คำนั้นมีลักษณะเหมือนกับคำไทย มีกล่าวไว้เพียง ๒ ข้อคือ

เกณฑ์การใช้ไม้ไต่คู้ ซึ่งใช้เพื่อให้เห็นแตกต่างจากคำไทย เช่น

log = ล็อก

เกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ ซึ่งใช้ในกรณีที่คำนั้นมีเสียงซ้ำกับคำไทยจนทำให้เกิดความสับสน เช่น

coke = โค้ก

coma = โคม่า

ฉะนั้น การที่มีผู้เขียนว่า เอเปค จึงไม่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานแต่ประการใด

อนึ่ง นอกจากคำว่า เอเปก แล้ว กระทรวงการต่างประเทศยังได้ประสานงานกับราชบัณฑิตยสถานในการทับศัพท์ชื่อผู้นำพร้อมชื่อภรรยาหรือคู่สมรสด้วย

ตัวอย่าง เช่น

Mr.Jean Chretien = นายชอง เกรเตียง

Mr.Hu Jin Tao = นายหู จิ่น เทา

Mrs.Lui Yonqing = นางหลิว หย่งชิง

รายละเอียดหาดูได้ใน จดหมายข่าว ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๑๓ ฉบับที่ ๑๔๘ กันยายน ๒๕๔๖
ผู้เขียน รศ. ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ ภาคีสมาชิก สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน

 

ที่มา www.orst.go.th

 

 


TAGS ที่เกี่ยวข้อง >> เอเปก หรือ เอเปคเอเปกหรือเอเปค << คลิกอ่านเพิ่มเติม

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

สุภาษิตอิศรญาณ

สุภาษิตอิศรญาณ
เปิดอ่าน 276,140 ครั้ง
ความเป็นมาของคำ "ธรรมกาย" โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก

ความเป็นมาของคำ "ธรรมกาย" โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
เปิดอ่าน 15,295 ครั้ง
คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำ

คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำ
เปิดอ่าน 3,942 ครั้ง
ประมวลศัพท์ คำพ้องรูป ในภาษาไทย ที่ควรรู้

ประมวลศัพท์ คำพ้องรูป ในภาษาไทย ที่ควรรู้
เปิดอ่าน 836,501 ครั้ง
คำพังเพย

คำพังเพย
เปิดอ่าน 41,400 ครั้ง
  ภาษาไทยเขียนอย่างไร...?  ให้ถูกต้อง

ภาษาไทยเขียนอย่างไร...? ให้ถูกต้อง
เปิดอ่าน 313,630 ครั้ง
กินเจ-มังสวิรัติ ต่างกันอย่างไร

กินเจ-มังสวิรัติ ต่างกันอย่างไร
เปิดอ่าน 33,656 ครั้ง
แนวการสอนซ่อมเสริมการอ่านและการเขียน ประถมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 1-7

แนวการสอนซ่อมเสริมการอ่านและการเขียน ประถมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 1-7
เปิดอ่าน 4,967 ครั้ง
ตัวหนังสือไทย

ตัวหนังสือไทย
เปิดอ่าน 22,952 ครั้ง
อักษรไทย ภาษาไทย รูปแบบการเขียนตัวอักษร แบบอักษรไทย

อักษรไทย ภาษาไทย รูปแบบการเขียนตัวอักษร แบบอักษรไทย
เปิดอ่าน 108,588 ครั้ง
คำเรียกตัวเลขทั้งสิบในภาษาไทย

คำเรียกตัวเลขทั้งสิบในภาษาไทย
เปิดอ่าน 152,042 ครั้ง
รามเกียรติ์

รามเกียรติ์
เปิดอ่าน 23,135 ครั้ง
ตัวหนังสือไทยต่างๆ นอกราชอาณาจักรไทย

ตัวหนังสือไทยต่างๆ นอกราชอาณาจักรไทย
เปิดอ่าน 21,259 ครั้ง
"สาสน์" "สาส์น" และ "สาร"

"สาสน์" "สาส์น" และ "สาร"
เปิดอ่าน 30,046 ครั้ง
กริยา กับ กิริยา

กริยา กับ กิริยา
เปิดอ่าน 74,011 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

สื่อวีดิทัศน์การพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูงสำหรับนักเรียนชั้น ม.ต้น ผ่านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
สื่อวีดิทัศน์การพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูงสำหรับนักเรียนชั้น ม.ต้น ผ่านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
เปิดอ่าน 11,461 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
มารยาทในการพูด
มารยาทในการพูด
เปิดอ่าน 236,523 ☕ คลิกอ่านเลย

การเขียนเรื่องสั้นเบื้องต้น
การเขียนเรื่องสั้นเบื้องต้น
เปิดอ่าน 36,075 ☕ คลิกอ่านเลย

ร้อนตับแตก มีที่มาอย่างไร
ร้อนตับแตก มีที่มาอย่างไร
เปิดอ่าน 5,479 ☕ คลิกอ่านเลย

"สาสน์" "สาส์น" และ "สาร"
"สาสน์" "สาส์น" และ "สาร"
เปิดอ่าน 30,046 ☕ คลิกอ่านเลย

กริยา กับ กิริยา
กริยา กับ กิริยา
เปิดอ่าน 74,011 ☕ คลิกอ่านเลย

คำว่า "สวัสดี" เริ่มใช้อย่างเป็นทางการในไทย เมื่อวันที่ 22 ม.ค. พ.ศ.2486
คำว่า "สวัสดี" เริ่มใช้อย่างเป็นทางการในไทย เมื่อวันที่ 22 ม.ค. พ.ศ.2486
เปิดอ่าน 47,383 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

มนุษย์เป็นพวกกับลิงอุรังอุตัง ยิ่งกว่าเป็นกับลิงชิมแปนซีและกอริลลา
มนุษย์เป็นพวกกับลิงอุรังอุตัง ยิ่งกว่าเป็นกับลิงชิมแปนซีและกอริลลา
เปิดอ่าน 13,576 ครั้ง

เริ่มแล้ว! กล้องไฮเทค จับผิด 30 แยกทั่วกรุงเทพฯ
เริ่มแล้ว! กล้องไฮเทค จับผิด 30 แยกทั่วกรุงเทพฯ
เปิดอ่าน 16,628 ครั้ง

"พันธุกรรม"ทำให้ คนลดน้ำหนักได้ไม่เท่ากัน
"พันธุกรรม"ทำให้ คนลดน้ำหนักได้ไม่เท่ากัน
เปิดอ่าน 8,743 ครั้ง

15 วิธีกับ 15 นาที ออกกำลังกายสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลา
15 วิธีกับ 15 นาที ออกกำลังกายสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลา
เปิดอ่าน 13,767 ครั้ง

รวม 10 อันดับขับรถสุดเห่ย ขอให้มีสตินะครับ
รวม 10 อันดับขับรถสุดเห่ย ขอให้มีสตินะครับ
เปิดอ่าน 15,463 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 081-3431047

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ