บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมคุณธรรม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลองด้วยกระบวนการ "QPAR" 2) เพื่อการพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมคุณธรรม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลองด้วยกระบวนการ "QPAR" ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 3) เพื่อนำรูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมคุณธรรม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลองด้วยกระบวนการ "QPAR" ไปทดลองใช้ และ 4) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมคุณธรรม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลองด้วยกระบวนการ "QPAR" โดยมีรายละเอียดคือ 4.1) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนจากแบบประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม 7 ด้าน ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลัง ด้วยรูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมคุณธรรม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลองด้วยกระบวนการ "QPAR" ที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมคุณธรรม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลองด้วยกระบวนการ "QPAR" โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้หน่วยสุ่มคือห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมคุณธรรม เรื่อง สอนหนูเป็นเด็กดี ด้วยการจัดประสบการณ์ส่งเสริมคุณธรรม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลอง ด้วยกระบวนการ "QPAR" และ 2) แผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง สอนหนูเป็นเด็กดี ที่ใช้รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมคุณธรรม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลองด้วยกระบวนการ "QPAR" จำนวน 21 แผน ใช้เวลา 21 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดพัฒนาการ ก่อนจัดประสบการณ์และหลังจัดประสบการณ์ จำนวน 20 ข้อ และ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมคุณธรรม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลองด้วยกระบวนการ "QPAR" จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมคุณธรรม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลองด้วยกระบวนการ "QPAR" สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมคุณธรรม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลองด้วยกระบวนการ "QPAR" พบว่า นโยบายการจัดการศึกษาของประเทศไทยต้องการให้ ผู้เรียนมีทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความรู้พื้นฐานทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีทักษะพื้นฐานตามสมรรถนะที่สำคัญ 5 ประการ ประกอบด้วย ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตและความสามารถในการใช้เทคโนโลยี มีทักษะชีวิตและทักษะการทำงาน 4 ประการ ประกอบด้วย การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การจัดการกับอารมณ์และความเครียด และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น มีคุณธรรม จริยธรรม ตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ประกอบด้วย รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ นอกจากนี้ยังมีนโยบายส่งเสริมให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ จากการวิเคราะห์สภาพที่คาดหวังของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่าสภาพที่คาดหวังที่ต้องการให้ผู้เรียนควรมีประกอบไปด้วยคุณลักษณะ 13 ประการ ได้แก่ 1) มีทักษะในการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต 2) มีทักษะการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา 3) มีทักษะการสื่อสาร 4) รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและทักษะการร่วมมือ 5) จิตใจมีคุณธรรม ซื่อสัตย์ และมีระเบียบวินัย 6) เรียนรู้ในศาสตร์วิทยาการสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย 7) รับผิดชอบต่อสังคม เคารพกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชน 8) มีค่านิยมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม 9) เรียนรู้การรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากภูมิอากาศและภัยพิบัติ 10) มีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพของ ตนเอง ครอบครัว และชุมชน 11) มีนิสัย ใฝ่เรียนรู้และรัก การอ่าน 12) ภูมิใจในวัฒนธรรมไทยและยอมรับความแตกต่างของความคิด
2. การพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมคุณธรรม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลองด้วยกระบวนการ "QPAR" ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการและองค์ประกอบเชิงเงื่อนไข การนำรูปแบบไปใช้ องค์ประกอบเชิงกระบวนการมีการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตั้งคำถาม Q - Question 2) ขั้นวางแผนค้นหาคำตอบ P- Plan 3) ขั้นดำเนินการค้นหาคำตอบ A - Activity 4) ขั้นสรุปและนำเสนอผลการค้นคว้า R - Report ผลการตรวจคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ได้ค่าความเหมาะสมสอดคล้องมีค่าเฉลี่ย ตั้งแต่ 4.80 5.00 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตั้งแต่ 0.00-0.45 ซึ่งแสดงว่าการพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมคุณธรรม ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลอง ด้วยกระบวนการ "QPAR" สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมสอดคล้องเชิงโครงสร้าง สามารถนำไปทดลองใช้ได้ และผลการหาประสิทธิภาพ (E1/E2) โดยการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างได้ค่าประสิทธิภาพของการพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมคุณธรรม ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลอง ด้วยกระบวนการ "QPAR" สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยภาพรวมเท่ากับ 83.04/85.10 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
3. หลังการจัดประสบการณ์โดยใช้การพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมคุณธรรม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลองด้วยกระบวนการ "QPAR" เด็กมีพฤติกรรมด้านคุณธรรม 7 ด้าน ของกลุ่มตัวอย่าง ค่าเฉลี่ยสูงขึ้นเท่ากับ 53.25
4. ผู้ปกครองมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาการพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมคุณธรรม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลองด้วยกระบวนการ "QPAR" โดยภาพรวมมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ( = 4.43,S.D.= 0.50) เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3 ประเด็นที่ผู้ปกครองมีความเห็นด้วยสูงสุดได้แก่ ข้อที่ 9 คือ รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมคุณธรรม ด้วยกระบวนการ "QPAR" ช่วยส่งเสริมคุณธรรมให้แก่เด็กได้ ( = 4.59,S.D.= 0.50) รองลงมาได้แก่ ข้อที่ 10 คือ เด็กปรับตัวเข้ากับสังคมและใช้ในชีวิตประจำวันได้ ( =4.53,S.D.=0.51) ส่วนประเด็นที่ผู้ปกครองมีความเห็นด้วยอันดับสุดท้าย คือข้อที่ 8 เด็กสามารถสรุปและนำเสนอผลการแสดงสถานการณ์จำลองได้ ( = 4.28,S.D.= 0.58)
4.1 หลังการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมคุณธรรม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลองด้วยกระบวนการ "QPAR" นักเรียนกลุ่มขยายผล มีพฤติกรรมด้านคุณธรรม 7 ด้าน ค่าเฉลี่ยสูงขึ้นเท่ากับ 42.50
4.2 รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมคุณธรรม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลองด้วยกระบวนการ "QPAR" โดยภาพรวมของเด็กกลุ่มขยายผลก่อนและหลังการเรียนการสอน ผลการหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมคุณธรรม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลองด้วยกระบวนการ "QPAR" โดยภาพรวมเท่ากับ 82.33/83.78 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
4.3 ผู้ปกครองมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมคุณธรรม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลองด้วยกระบวนการ "QPAR" โดยภาพรวมของเด็กกลุ่มขยายมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D.= 0.51) เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3 ประเด็นที่ผู้ปกครองมีความเห็นด้วยสูงสุดได้แก่ ข้อที่ 9 คือ รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมคุณธรรม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลองด้วยกระบวนการ "QPAR" ช่วยส่งเสริมคุณธรรมให้แก่เด็กได้ ( = 4.73, S.D.= 0.45) รองลงมาได้แก่ ข้อที่ 7 คือ เด็กพฤติกรรมด้านคุณธรรมทั้ง 7 ไปในทิศทางที่ดีขึ้น ( = 4.63, S.D.= 0.49) ส่วนประเด็นที่ผู้ปกครองมีความเห็นด้วยอันดับสุดท้าย คือ ข้อที่ 8 เด็กสามารถสรุปและนำเสนอสถานการณ์จำลอง ได้ ( = 4.40, S.D.= 0.50)