ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สารเอ็นโดฟินส์กับความรัก


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,524 ครั้ง
Advertisement

สารเอ็นโดฟินส์กับความรัก

Advertisement

❝ ในสมองของคนเรามีกลไกการทำงานที่ซับซ้อนมากมายและมีการหลั่งสารเคมีหลายชนิดเมื่อเรากำลังมีความรัก หนึ่งในสารเคมีเหล่านั้นคือสาร เอ็นโดฟินส์ ( ENDORPHINES) หรือ สารแห่งความสุข หรือ สารสุข เรื่อง: พญ.เรขา กลลดาเรืองไกร ❞

ความรักไม่ให้สิ่งอื่นใดนอกจากตนเอง

และก็ไม่รับเอาสิ่งใดนอกจากตนเอง

ความรักไม่ครอบครอง และก็ไม่ยอมถูกครอบครอง

เพราะความรักนั้นพอเพียงแล้วสำหรับตอบความรัก

...คาลิล ยิบราน...

ถึงแม้ว่าจะผ่านวันแห่งความรักมานานแล้ว แต่เราก็ยังคงสัมผัสกับความรักอยู่

เสมอไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ความรักเป็นสิ่งจรรโลงใจให้กับมนุษย์มานานแสน

นาน อาจสังเกตได้จากบทเพลง บทกวี นวนิยาย ละคร หรืออุปรากรต่างๆ ก็มัก

วนเวียนอยู่กับเรื่องของความรัก


ความรักของแต่ละคนก็มีนิยามแตกต่างกัน บางคนมีความรักที่หมายถึงความ

รู้สึกอยากอยู่ใกล้ คิดถึงเมื่ออยู่ห่างไกล ต้องการทำสิ่งที่ดีให้เพื่อเอาใจ บางคน

ความรักหมายถึงการอยากใช้ชีวิตด้วย อยากมีครอบครัวด้วยกัน อยากแก่ไป

ด้วยกัน

บางครั้งความรักก็นำความทุกข์มาให้แก่คนเรา แต่หลายๆ ครั้งที่ความรักนำ

ความสุข ความอิ่มใจ ปลื้มปิติมาให้ทั้งแก่ผู้รักและผู้ถูกรัก

หลายท่านอาจเคยมีประสบการณ์ยามเมื่อแรกรักใหม่ๆ ถึงแม้จะเป็นการแอบ

ชอบ แอบรักใครสักคนก็ตาม ก็มักรู้สึกว่าช่วงนั้นพิเศษกว่าปกติ สามารถนั่ง

อมยิ้มได้คนเดียวเมื่อนึกถึง มองอะไรๆ สดชื่นไปหมด อยากรู้ความเป็นไปของ

คนที่เรารักทุกอย่าง บ่อยครั้งก็มองเห็นแต่ข้อดีของคนที่เราชอบ เรารัก ต่อมา

เมื่อคบกันนานเข้า ก็ต้องมีการปรับตัวเข้าหากัน เมื่อคนที่รักกันอยู่ด้วยกัน

นานๆ ก็มักจะมี ความผูกพัน กัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เพิ่มขึ้นมานอกเหนือจากความ

รู้สึกรักใคร่ในช่วงแรก

สารเอ็นโดฟินส์เป็นสารเคมีจำพวกเดียวกับฝิ่น (opioid) ซึ่งผลิตขึ้นภายในร่าง

กาย โดยสมองส่วนไฮโปธารามัส (Hypothalamus) และต่อมใต้สมอง

(Pituitary gland) อันเนื่องมาจากเป็นสารเคมีจำพวกเดียวกับฝิ่นจึงมีฤทธิ์

บรรเทาอาการปวด (Analgesia) และทำให้รู้สึกสุขสบาย (Sense of well-

being)หรืออีกนัยหนึ่ง สารเอ็นโดฟินส์ก็คือ ยาแก้ปวดแบบธรรมชาติ นั่นเอง

สารเอ็นโดฟินส์นี้ถูกค้นพบครั้งแรกโดย John Hughs และ Hans Kosterlitz

ในปี ค.ศ.1975 โดยพบในสมองของสุกร ในขณะนั้นเขาได้ให้ชื่อว่าสาร

Enkephalins (ในภาษากรีก egkephalos มีความหมายว่า ภายในกะโหลก

ศีรษะ) และต่อมาได้มีการค้นพบสารเอ็นโดฟินส์อีกหลายชนิดในมนุษย์ โดยคำ

ว่า Endophine นั้นมีที่มาจากคำว่า Endogenous Morphine ซึ่งหมายถึงสาร

มอร์ฟีนที่ถูกผลิตขึ้นภายในร่างกายโดยธรรมชาติซึ่งไม่ก่อผลเสียต่อร่างกาย

เมื่อเรามีความสุขหรืออยู่ในสภาวะที่สุขสบาย (Pleasure experience) ไม่ว่า

จะเป็นการจินตนาการหรือความรู้สึกจากประสาทรับสัมผัสทั้ง 5 เช่น การเล่น

คลอเคลียกันสัตว์เลี้ยงแสนรัก การฟังดนตรีเพราะๆ การอ่านหนังสือที่ถูกใจ

การดูภาพยนตร์ การออกกำลังกาย (ในบางตำรากล่าวว่าต้องเป็นการออก

กำลังกายที่หนักๆ) การทำสมาธิ หรือการที่มีความรู้สึกรัก การได้พูดคุยกับคน

ที่เรารัก การได้อยู่ใกล้ชิดกับคนที่เรารัก การได้สัมผัสถ่ายทอดความรักซึ่งกัน

และกัน กระทั่งการได้ร่วมรักกับคนที่เรารัก ขั้นตอนการเล้าโลม เหล่านี้เป็นการ

กระตุ้นให้สมองเกิดการหลั่งสารเอ็นโดฟินส์ขึ้น(โดยพบว่ามีการหลั่งสารเอ็น

โดฟินส์อย่างมากในช่วง orgasm)

เมื่อสารเอ็นโดฟินส์ที่หลั่งออกมานี้จะไปจับกับตัวรับ(receptor) ชนิด Opioid

ในสมอง ก็จะมีผลโดยรวมทำให้เกิดการหลั่งของสารโดปามีน(Dopamine)

มากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อร่างกายต่างๆ เช่น บรรเทาความเจ็บปวด เกี่ยว

ข้องกับสมดุล ความหิว การนอนหลับ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบ

ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีผลต่อการควบคุมการสร้าง

ฮอร์โมนเพศ (sex hormones) และที่สำคัญสารเอ็นโดฟินส์สามารถส่งเสริม

การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immune system) โดยมีการ

ศึกษาและรายงานถึงผลของการหัวเราะว่าทำให้เกิดการหลั่งสารเอ็นโดฟินส์

ในสมองมากขึ้น จะเกิดการกดการทำงานของ Stress hormone หรือฮอร์โมน

ที่หลั่งเมื่อร่างกายเผชิญกับสภาวะที่เครียด เช่น Adrenaline มีผลทำให้เนื้อ

เยื่อต่างๆ ผ่อนคลายมากขึ้น ทำให้อาการปวดบรรเทาลง และมีผลทำให้หลอด

เลือดขยายตัวได้ดีขึ้น ทำให้เม็ดเลือดขาวเดินทางเข้าไปฆ่าเชื้อโรคหรือสิ่ง

แปลกปลอมได้ดีขึ้น โอกาสเจ็บป่วยก็จะลดลง คือทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นนั่น

เอง ดังนั้นการที่มีกิจกรรมใดก็ตามที่ทำให้เรารู้สึกเป็นสุขมีการหลั่งสาร

เอ็นโดฟินส์ย่อมมีส่วนเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกายได้เสมอ

เนื่องจากร่างกายกับจิตใจมีความเชื่อมประสานกันอย่างแยกไม่ได้ ในบางครั้ง

อาจเคยสังเกตว่าเวลาไม่สบายกาย จิตใจก็มักหงุดหงิดหรือหดหู่ไปด้วย หรือ

เวลาที่ไม่สบายใจ ร่างกายก็พลอยเบื่ออาหาร นอนไม่หลับไปด้วย ดังนั้นเวลา

ที่คนเราไม่สบาย นอกจากการรับประทานยาตามแพทย์สั่งแล้ว การอยู่ใน

สภาวะที่มีความสบายกาย และสบายใจ หรือมีความสุขใจ ก็มีผลดีต่ออาการ

เจ็บป่วยทางร่างกาย การมีความรัก มีคนรักคอยเอาใจใส่ดูแลอยู่ใกล้ๆ การได้

รับสัมผัสการกอด จูบ การลูบหัว จับมือจากคนรัก ซึ่งจะทำให้รู้สึกอบอุ่นใจ

สบายใจขึ้นทันที เป็นสิ่งที่ทำให้เกิด Pleasure experience เมื่อมีการหลั่งสาร

เอ็นโดฟินส์แล้ว คนรักที่กำลังไม่สบายก็จะรู้สึกเจ็บปวดน้อยลง การทำงาน

ของเม็ดเลือดขาวและระบบภูมิคุ้มกันโรคก็แข็งแรงขึ้น มีผลให้หายเจ็บป่วยได้

ไวขึ้นเช่นกัน ดังจะเห็นได้ว่าความรักนั้น นอกจากจะทำให้สุขใจแล้ว ยังทำให้สุขกายได้อีกด้วย

ในผู้ที่ติดสารเสพติดนั้น เหตุผลของการใช้สารเสพติดมักเกี่ยวข้องกับความ

ต้องการคลายเครียด คลายความทุกข์ใจ อยากรู้สึกสนุกหรือมีความสุขมาก

ขึ้น ฯลฯ ซึ่งจะพบว่า ถ้าครอบครัว และสังคม มีความรัก ความอบอุ่นให้แก่กัน

เพียงพอ และรู้จักการหาความสุขจากกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ก็จะเกิดการหลั่ง

ของ Endogenous Morphine หรือ Endorphine ทำให้รู้สึกสุขสบาย ไม่ต้อง

หาสารสุขจากภายนอก เชื่อว่าจะช่วยลดปัญหาการใช้สารเสพติดลงได้เป็นอย่างยิ่ง


ที่มาข้อมูล : นิตยสาร Health Today

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 484 วันที่ 5 ก.ค. 2552

ไฟโซล่าเซลล์ สปอร์ตไลท์ led Solar light ไฟโซล่า ไฟ solar cell IP67 กันน้ำและป้องกันฟ้าผ่ 10000W รับประกัน30ปี

฿199 - ฿1,358

https://s.shopee.co.th/6pmJMLjlQH?share_channel_code=6


สารเอ็นโดฟินส์กับความรัก

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

@...วิธีคิดที่ดีมาก?@

@...วิธีคิดที่ดีมาก?@


เปิดอ่าน 7,520 ครั้ง
เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ


เปิดอ่าน 7,519 ครั้ง
วาทะ...ท่านพุทธทาส

วาทะ...ท่านพุทธทาส


เปิดอ่าน 7,511 ครั้ง
ฤดูกาลบอกนิสัย

ฤดูกาลบอกนิสัย


เปิดอ่าน 7,536 ครั้ง
สวนญี่ปุ่น : Japanese Garden

สวนญี่ปุ่น : Japanese Garden


เปิดอ่าน 7,559 ครั้ง
สุดยอด....อาหารต้านชรา

สุดยอด....อาหารต้านชรา


เปิดอ่าน 7,517 ครั้ง
สื่อเดินไปข้างหน้า

สื่อเดินไปข้างหน้า


เปิดอ่าน 7,509 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ปฏิบัติการและวิธีวิทยาทางสังคมของฟูโก

ปฏิบัติการและวิธีวิทยาทางสังคมของฟูโก

เปิดอ่าน 7,562 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
รักจากหัวใจ กับ รักจากสมอง
รักจากหัวใจ กับ รักจากสมอง
เปิดอ่าน 7,509 ☕ คลิกอ่านเลย

ข้อคิดดีๆ
ข้อคิดดีๆ
เปิดอ่าน 7,515 ☕ คลิกอ่านเลย

  คำร้องเพลงลูกทุ่งใหม่เอี่ยม
คำร้องเพลงลูกทุ่งใหม่เอี่ยม
เปิดอ่าน 7,515 ☕ คลิกอ่านเลย

เช่าที่หลวง..โดนลวงมาแล้ว
เช่าที่หลวง..โดนลวงมาแล้ว
เปิดอ่าน 7,511 ☕ คลิกอ่านเลย

รู้ เพราะไม่หลง
รู้ เพราะไม่หลง
เปิดอ่าน 7,511 ☕ คลิกอ่านเลย

"ถั่วเขียวลบจุดด่างดำ"
"ถั่วเขียวลบจุดด่างดำ"
เปิดอ่าน 7,518 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

การตลาดออนไลน์ 2024 มีอะไรบ้างที่ต้องอัปเดต
การตลาดออนไลน์ 2024 มีอะไรบ้างที่ต้องอัปเดต
เปิดอ่าน 1,581 ครั้ง

อะไรคือ "คุณภาพแท้" ของการศึกษา
อะไรคือ "คุณภาพแท้" ของการศึกษา
เปิดอ่าน 16,362 ครั้ง

กินถั่วฝักยาวเยอะๆดีต่อสุขภาพ
กินถั่วฝักยาวเยอะๆดีต่อสุขภาพ
เปิดอ่าน 16,120 ครั้ง

สอนลูกรู้จักใช้จ่าย
สอนลูกรู้จักใช้จ่าย
เปิดอ่าน 10,056 ครั้ง

เหล็กปลอม ดูกันชัดๆ มันเป็นยังไง (ชมคลิป)
เหล็กปลอม ดูกันชัดๆ มันเป็นยังไง (ชมคลิป)
เปิดอ่าน 17,009 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ