ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

18 ส.ค. วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ......คำขวัญปี 33- 52...ประวัติความเป็นมา....และกิจกรรมที่น่าสนใจ


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,241 ครั้ง
18  ส.ค. วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ......คำขวัญปี 33-  52...ประวัติความเป็นมา....และกิจกรรมที่น่าสนใจ

Advertisement

 

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 18 ส.ค.

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

วันวิทยาศาสตร์ 

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 

วันวิทยาศาสตร์




          หลอดทดลอง บีกเกอร์ เครื่องชั่ง กล้องจุลทรรศ์ กล้องดูดาว ชามระเหย สามขา ตะแกงลวด คีม กระจกนาฬิกา ฯลฯ ... อ่ะ อ่ะ ไม่ต้องเอาคิ้วไปชนกันให้เมื่อยค่ะ หลายคนคงสงสัยว่าทำไมเราถึงเอ่ยชื่ออุปกรณ์หรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์ต่างๆ มาบอกเล่ากัน

          เนื่องจากในทุกๆ วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี เป็นอีกวันหนึ่งที่มีความสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์ วงการดาราศาสตร์ และวงการศึกษาของไทย เพราะถ้าย้อนอดีตกลับไปเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 จะเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังจากที่พระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาไว้ล่วงหน้า 2 ปี ต่อมาคณะรัฐมนตรีจึงกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" ...วันนี้เลยจะพาไปทำรู้จักที่มาที่ไป และประวัติของ วันวิทยาศาสตร์ กันค่ะ...

          แต่ก่อนอื่นเราจะพาไปรู้จักความหมายของ "วิทยาศาสตร์" (Science) กันก่อน ซึ่งจริงๆ แล้วคำว่า วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว ทั้งนี้ การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์

สำหรับประวัติ วันวิทยาศาสตร์ แห่งชาติ ได้แก่...

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสนพระทัยวิชาคณิตศาสตร์และวิชาดาราศาสตร์ในตำราโหราศาสตร์ของไทย ในที่สุดพระองค์ทรงได้ค้นคิดวิธีการคำนวณปักข์ (ครึ่งเดือนทางจันทรคติ) เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวันธรรมสวนะ (วันพระ) ให้ถูกต้องตามการโคจรของดวงจันทร์ที่เรียกว่า "ปฏิทินปักขคณนา" (ปักขคณนา คือ วิธีนับปักข์หรือรอบครึ่งเดือนของข้างขึ้นข้างแรม เป็นวิธีนับที่แม่นยำสูง) และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ทำปฏิทินจันทรคติพระทุกปี แทนปฏิทินฆราวาส ขณะเดียวกันพระองค์ได้ทรงค้นคิดสูตรสำเร็จในการคำนวณปักข์ออกมาในรูปกระดานไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อจะได้วันพระที่ถูกต้องโดยไม่ต้องเสียเวลาคำนวณ และมีชื่อเรียกว่า "กระดานปักขคณนา" ซึ่งสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นสาเหตุที่จุดประกายให้พระองค์ทรงเริ่มสนพระทัยในวิชาดาราศาสตร์อย่างจริงจัง

          ในพระราชฐานของพระองค์ ทั้งที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดจะมีหอดูดาว โดยเฉพาะหอชัชวาลเวียงชัย ในบริเวณพระนครคีรีหรือเขาวัง พระราชวังสำหรับแปรพระราชฐาน อยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี ที่มีความสำคัญมากในประวัติศาสตร์วิชาดาราศาสตร์ของไทย ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้เป็นสถานที่สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ในการรักษาเวลามาตรฐานของประเทศไทยต่อไป ดังนั้นหอนี้จึงเป็นอนุสรณ์แห่งสัมฤทธิผลในทางวิทยาศาสตร์เรื่องระบบเวลา พระองค์ทรงสถาปนาระบบเวลามาตรฐานขึ้นในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2395 โดยสร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนยขึ้นในพระบรมราชวัง ใช้เป็นหอนาฬิกาหลวงบอกเวลามาตรฐานของประเทศไทยสมัยนั้น โดยมีพนักงานตำแหน่งพันทิวาทิตย์ เทียบเวลาตอนกลางวันจากดวงอาทิตย์ และพันพินิตจันทรา เทียบเวลาตอนกลางคืนจากดวงจันทร์

          ต่อมาใน วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค โดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชจากท่านิเวศวรดิษฐ์ไปยังบ้านหว้ากอ พร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ (รัชกาลที่ 5) ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา กับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชบริพารจำนวนมาก ด้วยทรงตั้งพระปณิธานแน่วแน่ที่จะพิสูจน์ผลการคำนวนของพระองค์ เพื่อทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230

          โดยจะเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด คือ ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่บริเวณ เกาะจาน ขึ้นไปถึง ปราณบุรี และลงไปถึง จังหวัดชุมพร
จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ พร้อมกับเชิญคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์ ซึ่งเมื่อถึงวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 เหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่พระองค์ทรงพยากรณ์ทุกประการ ไม่คลาดเคลื่อนแม้แต่วินาทีเดียว

          ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว เซอร์แฮรี ออด ได้ทำการบันทึกเหตุการณ์ไว้ และเมื่อ พ.ศ.2518 หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้ทำการแปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพมหานคร ว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้"

          ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงรับเอาศิลปวิทยาการ และความคิดสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จึงได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์ 


วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

วันวิทยาศาสตร์


          ทั้งนี้ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคม เป็น วันวิทยาศาสตร์ ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" และต่อมาได้มีการสร้าง "อุทยานวิทยาศาสตร์" ที่ บ้านหว้ากอ  

          ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" และได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมรูปหล่อประทับนั่งบนพระเก้าอี้ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ ชุดเดียวกับวันที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาบ้านหว้ากอ
 

          นอกจากนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2527 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 18 - 24 สิงหาคม โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่างๆ จนได้รับความสนใจทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งทำให้คณะรัฐมนตรีได้เล็งเห็นความสำคัญ ดังนั้น เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2528 คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการจัดงาน "สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ" เป็นประจำทุกปี ระหว่าง วันที่ 18 - 24 สิงหาคม 

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

วันวิทยาศาสตร์


  วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ 

          1. เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
"พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" 

          2. เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นวิถีทางหนึ่งของการแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคน ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          3. เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน การค้นคว้า วิจัย ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ 

          4. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าภาครัฐและเอกชน ในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 

          5. เพื่อสนับสนุนให้กำลังใจและโอกาสแก่นักวิจัย นักประดิษฐ์ ได้แสดงผลงานต่อสาธารณชน


  กิจกรรมที่ควรปฏิบัติใน วันวิทยาศาสตร์ แห่งชาติ

          - ร่วมพิธีวางมาลาและเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

          - จัดนิทรรศการเผยแพร่ พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

          - จัดกิจกรรมส่งเสริมงานด้านวิทยาศาสตร์ และสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ

 

                                                                                

 

    มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2552

 

ค ว า ม เ ป็ น ม า

คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งภาครัฐและเอกชน ในการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” โดยกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปีเป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” นอกจากนั้นคณะรัฐมนตรีกำหนดให้วันที่ 19 ตุลาคม ของทุกปีเป็น ”วันเทคโนโลยีของไทย” เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช
“พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย”
 และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” ด้วย

ในปี 2552 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จึงกำหนดการจัด มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2552 หรือ National Science and Technology Fair 2009 เพื่อเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศ และเป็นการฉลอง 30 ปี การจัดตั้งกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นปีดาราศาสตร์สากล โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ จากความร่วมมือของหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ทั้งในและต่างประเทศแสดงถึงศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีที่นำสมัย สามารถสร้างความตื่นเต้น สร้างแรงบันดาลใจ และความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ภายใต้กรอบแนวทางคิด “วิทยาศาสตร์ก้าวไกล นำไทยก้าวหน้า”

วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์

  1. เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่ง
    วิทยาศาสตร์ไทย”
  2. เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”
  3. เพื่อฉลองครบรอบ 30 ปี แห่งการก่อตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  4. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย และพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และ
    เทคโนโลยีในประเทศและนานาชาติ
  5. เพื่อกระตุ้นความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคนไทย
  6. เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอาชีพ
    ด้านวิทยาศาสตร์ แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป

องค์ประกอบ “ม ห ก ร ร ม”

  1. นิทรรศการและกิจกรรมเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
    เจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”
  2. นิทรรศการและกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  
    “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”
  3. นิทรรศการการเทิดพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ทรงมีบทบาทและให้
    ความสำคัญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  4. นิทรรศการและกิจกรรมการแสดงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และ
    เทคโนโลยีจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ของไทยและต่างประเทศ
  5. การแสดงและกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  6. การมอบรางวัลพระราชทานนักวิทยาศาสตร์ไทยดีเด่น
  7. การประกวด และแข่งขัน ทางวิทยาศาสตร์
  8. การประชุม สัมมนา อภิปราย ฝึกอบรม ทางวิทยาศาสตร์
  9. การถ่ายทอดเทคโนโลยี
  10. การแสดงสินค้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 

ความยิ่งใหญ่ของมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2552

  • ฉลองครบรอบ 30 ปี การก่อตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยความยิ่งใหญ่ของมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2552 นี้  จะนำเสนอการเรียนรู้ผ่านสื่อ Interactive และ Hands on มากมาย 
  • พิเศษสุดกับนิทรรศการในรูปแบบของ 3 D ภาพยนตร์สามมิติ  และ 
    4 D Simulator ครบทุกรส สัมผัส จับต้องได้ ทั้งภาพ กลิ่น เสียง สัมผัส 
  • นำเสนอ เนื้อหาใหม่และทันสมัย  เน้นวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจแก่ผู้เข้าชมทุกเพศ ทุกวัย
  • เน้นความสนุกสนานที่จะได้คิด ความสนุกสนานที่จะได้เรียนรู้ โดยการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้เกิดการคิด เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • นำเสนอในรูปแบบของนิทรรศการสมัยใหม่ 4 หลักการนำเสนอนิทรรศการสมัยใหม่ ที่พัฒนาขึ้นจากเดิม  ได้แก่

INTERACTION | HANDS ON

  • เน้นการสร้างโอกาสในการมีส่วนร่วมทดลองในทุกๆ นิทรรศการ
  • สนุกกับการค้นหาข้อมูลผ่านสื่อทันสมัย และเทคนิควิธีการนำเสนอนิทรรศการที่น่าสนใจ

BEYOND BOUNDARY EXHIBITION

  • ลดการใช้โครงสร้างชิ้นใหญ่ที่ไม่จำเป็น
  • สร้างความเชื่อมโยงและเชื่อมต่อของนิทรรศการด้วยรูปแบบ  Island / Interactive
    Station บนพื้นที่โปร่ง

KNOWLEDGE SHARING

  • เนื้อหามุมมองใหม่ ทันสมัย
  • สื่อสารภาพรวมของนิทรรศการผ่าน Computer Interactive ที่ผู้ชมสามารถคลิกดูเนื้อหาโดยย่อของแต่ละนิทรรศการได้ก่อนเข้าชม
  • รวบรวมเนื้อหาข้อมูลของนิทรรศการ (Pavilion) ต่างๆ ในรูปแบบ Soft File (CD) แจกสำหรับโรงเรียน และการเข้าชมเป็นหมู่คณะ)

INSPIRE | IMPLEMENT

  • จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ผ่านการนำเสนอนิทรรศการ แนวใหม่ที่สื่อสารให้เห็นถึงความสำคัญและน่าสนใจของการศึกษาวิทยาศาสตร์
  • นำไปสู่การเกิดแรงบันดาลใจในการศึกษาและประกอบอาชีพทางสายวิทยาศาสตร์
 


 
 

โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่ต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ ติดต่อ 0 2577 9960, 0 2577 9999 ต่อ 1843, 2105
เวลาที่เหมาะสมของการเข้าชมสำหรับประชาชนทั่วไป ได้แก่ 15.00 – 20.00 น. ทุกวัน


คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

 

2532      พิทักษ์สิ่งแวดล้อมของชาติ  ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2533      เพิ่มคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2534      ขจัดมลพิษทุกชีวิตจะปลอดภัย

2535      เปลี่ยนขาดทุนให้เป็นกำไร  โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2536      วิทยาศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจ  เพิ่มคุณค่าชีวิต  พิทักษ์สิ่งแวดล้อม

2537      ขจัดปัญหาน้ำของชาติ  ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2538      เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวไกล  เศรษฐกิจไทยมั่นคง

2539      วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล  พัฒนาชาติไทยให้ก้าวหน้า

2540      พัฒนาคน  พัฒนาชาติ  ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2541      พัฒนาเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์  พัฒนาชาติด้วยภูมิปัญญาไทย

2542      วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล  เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตไทยที่ยั่งยื่น

2543      พัฒนาคน  พัฒนาชาติ  ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2544      วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี    เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย

2545      วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี    เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย

2546      เส้นทางแห่งการค้นพบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  คุณค่าแห่งภูมิปัญญา  เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

2547      เศรษฐกิจของชาติมีปัญหา  วิทยาศาสตร์มีคำตอบ

2548      วิทยาศาสตร์คือความรู้สู่ความสำเร็จ

2549      เศรษฐกิจพอเพียง  เคียงคู่ไทย ก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2550      วิทยาศาสตร์สร้างปัญญาในสังคม

2551      วิทยาศาสตร์สร้างชาติ  สร้างอนาคต

2552      วิทยาศาสตร์ก้าวไกล  นำไทยก้าวหน้า

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก hilight.kapook.com และ www.nsm.or.th/

                                                                                          

Winter Wind  - Jon Schmidt

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3183 วันที่ 13 ส.ค. 2552


18 ส.ค. วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ......คำขวัญปี 33- 52...ประวัติความเป็นมา....และกิจกรรมที่น่าสนใจ18ส.ค.วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ......คำขวัญปี33-52...ประวัติความเป็นมา....และกิจกรรมที่น่าสนใจ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เศรษฐี ครู งูเห่า

เศรษฐี ครู งูเห่า


เปิดอ่าน 6,248 ครั้ง
แนะวิธีดูสุริยุปราคา 22ก.ค.

แนะวิธีดูสุริยุปราคา 22ก.ค.


เปิดอ่าน 6,246 ครั้ง
วิจัยในชั้นเรียน

วิจัยในชั้นเรียน


เปิดอ่าน 6,253 ครั้ง
เหลืองจันท์

เหลืองจันท์


เปิดอ่าน 6,239 ครั้ง
หัวอกคศ.1

หัวอกคศ.1


เปิดอ่าน 6,244 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เปิดภาพลับ..คนดัง

เปิดภาพลับ..คนดัง

เปิดอ่าน 6,243 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
www.etvthai.tv ตอน ติวอังกฤษ กับครูแนนและครูสมศรี...
www.etvthai.tv ตอน ติวอังกฤษ กับครูแนนและครูสมศรี...
เปิดอ่าน 6,249 ☕ คลิกอ่านเลย

ผมมีปัญหา ทำไงดี
ผมมีปัญหา ทำไงดี
เปิดอ่าน 6,240 ☕ คลิกอ่านเลย

เลือดเสีย......ซ่อมได้
เลือดเสีย......ซ่อมได้
เปิดอ่าน 6,240 ☕ คลิกอ่านเลย

ชวา-มลายู ในภาษาไทย
ชวา-มลายู ในภาษาไทย
เปิดอ่าน 6,448 ☕ คลิกอ่านเลย

50 ข้อคิด มุมมองเพื่อความเข้าใจในชีวิต
50 ข้อคิด มุมมองเพื่อความเข้าใจในชีวิต
เปิดอ่าน 6,239 ☕ คลิกอ่านเลย

รากไม้..งอกหลบสิ่งกีดขวางได้อย่างไร?
รากไม้..งอกหลบสิ่งกีดขวางได้อย่างไร?
เปิดอ่าน 6,247 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เกาะติดโปรโมชั่น งานคอมมาร์ท 2009
เกาะติดโปรโมชั่น งานคอมมาร์ท 2009
เปิดอ่าน 9,798 ครั้ง

ยืมเงินไม่คืน แจ้งความได้หรือไม่ ?
ยืมเงินไม่คืน แจ้งความได้หรือไม่ ?
เปิดอ่าน 887 ครั้ง

ฉลาดคิด-เตือนฝนผ่านมือถือ
ฉลาดคิด-เตือนฝนผ่านมือถือ
เปิดอ่าน 11,719 ครั้ง

วิธีเขียนอีเมล์เป็นภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
วิธีเขียนอีเมล์เป็นภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
เปิดอ่าน 12,746 ครั้ง

ปลูกมะนาวนอกฤดู 1 ไร่ ได้ 1 แสน
ปลูกมะนาวนอกฤดู 1 ไร่ ได้ 1 แสน
เปิดอ่าน 18,704 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ