ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

รู้กันไหมว่า...สัญญาณไฟจราจร เกิดขึ้นได้อย่างไร


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,452 ครั้ง
รู้กันไหมว่า...สัญญาณไฟจราจร เกิดขึ้นได้อย่างไร

Advertisement

 

 

รู้กันไหมว่า..สัญญาณไฟจราจร เกิดขึ้นได้อย่างไร

เท่าที่มีการจดบันทึกทางประวัติศาสตร์เอาไว้ ต้นกำเนิดไฟสัญญาณจราจรแห่งแรกบนโลกอยู่ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 1868 เกิดขึ้นก่อนที่คนเราจะรู้จักกับรถที่ใช้เครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนเสียอีก โดยมี เจ.พี. ไนต์ วิศวกรชาวอังกฤษเป็นเจ้าของผลงาน
       
       
วัตถุประสงค์แรกเริ่มที่ไนต์สร้างไฟสัญญาณจราจรขึ้นมาก็เพื่อใช้ควบคุมการสัญจรของรถม้า และคนเดินเท้าที่เดินผ่านไปผ่านมาบริเวณสี่แยก ที่เริ่มจะพลุกพล่านมากขึ้นเรื่อยๆ ในยุคนั้น โดยสถานที่ที่ได้รับเกียรติให้ทำการติดตั้งผลงานชิ้นแรกของไนต์ก็คือ สี่แยกใจกลางมหานครลอนดอนบริเวณหน้ารัฐสภาอังกฤษ นั่นเอง

       
       
รูปลักษณ์ของไฟสัญญาณจราจรฝีมือไนต์นั้นออกจะดูแปลกตาไปเสียหน่อยหากเทียบกับปัจจุบัน เพราะมันจะมี 2 แขน เมื่อใดที่แขนทั้ง 2 ข้างของมันเคลื่อนตัวขนานกับพื้นดินหมายความว่า พาหนะที่กำลังสัญจรอยู่บริเวณสี่แยกจะต้องหยุดทันที ทว่า หากแขนทั้ง 2 ข้างของสัญญาณจราจรเคลื่อนตัวทำมุม 45 องศา จะหมายความว่า ให้ผู้ใช้พาหนะทุกชนิดใช้ถนนอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยในตอนกลางคืนจะมีไฟสีแดงและสีเขียวซึ่งได้จากพลังงานแก๊สบนแขนทั้ง 2 ข้างเป็นตัวให้สัญญาณเพื่อให้มองเห็นเด่นชัด โดยแสงสีแดงหมายถึง 'หยุด' ส่วนแสงสีเขียวหมายถึง 'ให้ระวัง'
       
       
ต่อมาวิวัฒนาการของไฟสัญญาณจราจรก็ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ สำหรับไฟเขียว-ไฟแดง แบบใช้พลังงานไฟฟ้าเริ่มมีใช้เป็นครั้งแรกในเมือง ซอลต์เลกซิตี รัฐยูทาห์ ประเทศสหรัฐฯ ช่วงปี 1912 โดย เลสเตอร์ ไวร์ พนักงานตำรวจชาวอเมริกันเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นด้วยมือของเขาเอง

       
       
ในช่วงแรกไฟสัญญาณจราจรที่ใชักันอยู่จะมีแค่ไฟเขียว และไฟแดง เท่านั้น จนกระทั่ง ในปี 1920 วิลเลียม พอตต์ ตำรวจจราจรแห่งดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน ได้ออกแบบไฟสัญญาณจราจรรูปแบใหม่ขึ้น พร้อมกับเพิ่มไฟสีอำพัน (สีเหลือง) เข้าไปอีกหนึ่งสี เพื่อเป็นสัญญาณเตือนผู้ใช้พาหนะให้ระวัง และชะลอตัวก่อนที่จะหยุด หรือ ออกตัว
       
       
จากนั้นอีกไม่กี่ปีต่อมา ไฟสัญญาณจราจรแบบอัตโนมัติก็ถูกประดิษฐ์ขึ้น โดยเป็นฝีมือของ การ์แรตต์ มอร์แกน ซึ่งนำมาใช้ครั้งแรกในเมืองเคลฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ ก่อนที่จะแพร่หลายไปทั่วโลก
       
       
และทั้งหมดนี้ก็คือวิวัฒนาการของไฟสัญญาณจราจรที่ถูกพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ และมีใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน...

ที่มาจาก

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 7254 วันที่ 11 พ.ย. 2552


รู้กันไหมว่า...สัญญาณไฟจราจร เกิดขึ้นได้อย่างไรรู้กันไหมว่า...สัญญาณไฟจราจรเกิดขึ้นได้อย่างไร

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เหนื่อยครับ

เหนื่อยครับ


เปิดอ่าน 6,421 ครั้ง
นิสัยกับเส้นก๋วยเตี๋ยว

นิสัยกับเส้นก๋วยเตี๋ยว


เปิดอ่าน 6,419 ครั้ง
หนี้นอกระบบ

หนี้นอกระบบ


เปิดอ่าน 6,407 ครั้ง
ผู้หญิงกับการทำบุญ

ผู้หญิงกับการทำบุญ


เปิดอ่าน 6,518 ครั้ง
หนัง ปาย อินเลิฟ

หนัง ปาย อินเลิฟ


เปิดอ่าน 6,452 ครั้ง
วิจัย ฟ้อนทอผ้าไหมแพรวา

วิจัย ฟ้อนทอผ้าไหมแพรวา


เปิดอ่าน 6,414 ครั้ง
เบื้องหลัง..... "น้ำมันปลา"

เบื้องหลัง..... "น้ำมันปลา"


เปิดอ่าน 6,428 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

แบบบ้านชั้นเดียว ราคาก่อสร้างไม่เกิน5-6 แสน

แบบบ้านชั้นเดียว ราคาก่อสร้างไม่เกิน5-6 แสน

เปิดอ่าน 6,486 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ดื่มน้ำมะพร้าวช่วงท้อง ดีจริงหรือ ?
ดื่มน้ำมะพร้าวช่วงท้อง ดีจริงหรือ ?
เปิดอ่าน 6,418 ☕ คลิกอ่านเลย

9 สูตรสมุนไพร เพื่อผิวหน้าสวย
9 สูตรสมุนไพร เพื่อผิวหน้าสวย
เปิดอ่าน 6,418 ☕ คลิกอ่านเลย

จัดฮวงจุ้ย!! บนโต๊ะทำงาน
จัดฮวงจุ้ย!! บนโต๊ะทำงาน
เปิดอ่าน 6,463 ☕ คลิกอ่านเลย

ภาพเก่าๆของไทย.....หาดูยาก (มากๆ)
ภาพเก่าๆของไทย.....หาดูยาก (มากๆ)
เปิดอ่าน 6,515 ☕ คลิกอ่านเลย

ไม่อยากแก่เกินวัยมาทางนี้...>>>
ไม่อยากแก่เกินวัยมาทางนี้...>>>
เปิดอ่าน 6,408 ☕ คลิกอ่านเลย

รักนี้ชั่วนิรันดร์_13 (แด่ความรักที่เป็นไปไม่ได้)
รักนี้ชั่วนิรันดร์_13 (แด่ความรักที่เป็นไปไม่ได้)
เปิดอ่าน 6,419 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ทำไมคำว่า"ไทย" ต้องมี "ย" ยักษ์
ทำไมคำว่า"ไทย" ต้องมี "ย" ยักษ์
เปิดอ่าน 21,126 ครั้ง

"ข้าว" ในสมัยพุทธกาล
"ข้าว" ในสมัยพุทธกาล
เปิดอ่าน 26,680 ครั้ง

พจนานุกรมตัวชี้วัดการประเมินผลการจัดการศึกษาของประเทศ (KPI Dictionary for Thai Education Evaluation)
พจนานุกรมตัวชี้วัดการประเมินผลการจัดการศึกษาของประเทศ (KPI Dictionary for Thai Education Evaluation)
เปิดอ่าน 13,998 ครั้ง

Adverbs ( กริยาวิเศษณ์ ) Types (ชนิดของกริยาวิเศษณ์ )
Adverbs ( กริยาวิเศษณ์ ) Types (ชนิดของกริยาวิเศษณ์ )
เปิดอ่าน 385,133 ครั้ง

ใช้บัตรเดบิตอย่างไรให้เป็น
ใช้บัตรเดบิตอย่างไรให้เป็น
เปิดอ่าน 9,977 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ