Advertisement
การเขียนเซต โดย นายไสว นวลตรณี, นายศักดา บุญโต และนายสุพจน์ ไชยสังข์
ในการเขียนเซต นอกจากจะเขียนวงกลมหรือวงรีล้อมรอบสมาชิกทั้งหมดของเซต เรายังมีวิธีเขียนเซตแบบอื่นอีก คือ
1. วิธีแจกแจงสมาชิก วิธีนี้ เราเขียนสมาชิกทั้งหมดลงในเครื่องหมายวงเล็บปีกกา และคั่นระหว่างสมาชิกด้วยเครื่องหมายจุลภาค
ถ้าเซตมีสมาชิกมากมายไม่สิ้นสุดเราใช้ "..." เพื่อบอกว่ายังมีสมาชิกตัวอื่นๆ อยู่ในเซตนี้ด้วย เช่น เซตของจำนวนนับ เขียนแทนด้วย {1, 2, 3,...} แต่ถ้าเซตมีสมาชิกมาก และมีสมาชิกสุดท้าย เราใช้ "...," แล้วตามด้วยสมาชิกสุดท้าย เช่น เซตของจำนวนเต็มบวกที่น้อยกว่า 100 เขียนแทนด้วย {1, 2, 3, ..., 99}
2. วิธีบ่งลักษณะของสมาชิก วิธีนี้เราเขียนตัวแปรตัวหนึ่งแทนสมาชิกของเซตไว้ในวงเล็บปีกกา พร้อมทั้งมีคำอธิบายคุณสมบัติของสมาชิกที่อยู่ในเซตนั้น เช่น
เซตของวันในหนึ่งสัปดาห์ เขียนแทนด้วย
{ x | x เป็นวันในหนึ่งสัปดาห์ }
อ่านว่าเซตของ X ซึ่งมีคุณสมบัติว่า X
เป็นวันใดๆ ในหนึ่งสัปดาห์
{1, 2, 3} เขียนแทนด้วย
{ x | x เป็นจำนวนเต็มบวก และ x < 4 }
อ่านว่าเซตของ x ซึ่งมีคุณสมบัติว่า x
เป็นจำนวนเต็มบวกใดๆ ที่มีค่าน้อยกว่า 4
เซตของจำนวนจริงที่อยู่ระหว่าง 0 และ 1 เขียนแทนด้วย
{ x | x เป็นจำนวนจริงและ 0 < x < 1 }
อ่านว่าเซตของ x ซึ่งมีคุณสมบัติว่า x
เป็นจำนวนจริงที่มีค่ามากกว่า 0 และน้อยกว่า 1
เพื่อความสะดวกในการอ้างถึงเซตต่างๆ อาจกำหนดชื่อเซตนั้นด้วยตัวอักษร เช่น
A = { 1, 2, 3,..., 99 }
B = { x | x เป็นจำนวนเต็มบวกและ x < 4 }
ที่มา สนุก.คอม
Advertisement
เปิดอ่าน 160,999 ครั้ง เปิดอ่าน 9,144 ครั้ง เปิดอ่าน 80,459 ครั้ง เปิดอ่าน 37,278 ครั้ง เปิดอ่าน 83,096 ครั้ง เปิดอ่าน 30,589 ครั้ง เปิดอ่าน 19,653 ครั้ง เปิดอ่าน 23,048 ครั้ง เปิดอ่าน 27,545 ครั้ง เปิดอ่าน 27,414 ครั้ง เปิดอ่าน 26,397 ครั้ง เปิดอ่าน 93 ครั้ง เปิดอ่าน 27,565 ครั้ง เปิดอ่าน 51,594 ครั้ง เปิดอ่าน 37,908 ครั้ง เปิดอ่าน 46,258 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 25,095 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 93 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 5,396 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 27,565 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 30,243 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 47,906 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 58,639 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 17,412 ครั้ง |
เปิดอ่าน 1,312 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,590 ครั้ง |
เปิดอ่าน 817 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,114 ครั้ง |
|
|