Advertisement
Public Domain
คือผลงานที่ไม่คุ้มครองด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์ ใครจะเอาไปใช้อย่างไรก็ได้ ถือว่าผลงานนั้นเป็นของสาธารณชนแล้ว
งานที่เข้าข่าย public domain ก็เช่น
1. ผลงานที่เคยมีลิขสิทธิ์ แต่เจ้าของผลงานตายไปแล้วเป็นเวลา 50 ปี อย่างเช่นบทละครของเช็คส์เปียร์ รูปปั้นเดวิด Fifth Symphony ของ Beethoven ปีนี้คือ ค.ศ. 2007 ผลงานทุกชิ้นที่ผลิตก่อนปี ค.ศ. 1923 ถือว่าอยู่ใน public domain ทั้งสิ้น
2. เอกสารจากรัฐบาลที่เผยแพร่ออกสู่สาธารณชน ถ้างานนั้นผลิตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐภายใต้ตำแหน่งงานของเขา ไม่ใช่งานที่เจ้าหน้าที่สร้างขึ้นเป็นการส่วนตัว แม้จะเกี่ยวข้องกับงานที่ทำก็ตาม
3. งานที่ผลิตขึ้นก่อนปี ค.ศ. 1978 และไม่มีข้อความระบุชัดเจนว่าเป็นงานจดลิขสิทธิ์ ในขณะที่ผลงานที่สร้างขึ้นหลังปี 1978 ถือเป็นงานมีลิขสิทธิ์ (โดยอันโนมัติ) ทั้งสิ้น
4. งานประเภทหาเจ้าของไม่เจอ หมายถึงผลงานอะไรก็แล้วแต่ที่ผู้ต้องการนำไปใช้ได้พยายามค้นหาตัวเจ้าของแล้ว แต่ไม่รู้ว่าเป็นใคร ถือว่าเป็นงานใน public domain ไปโดยปริยาย
5. ผลงานที่ผู้สร้างผู้ผลิตไม่ต้องการให้เป็นผลงานลิขสิทธิ์ ก็อาจระบุไว้ให้ชัดเจนว่าอย่างนั้น งานนั้นก็จะไปอยู่ใน public domain ทันที
แม้คำจำกัดความของงานลิขสิทธิ์ และขอบเขตของการใช้งานนั้นๆจะดูเหมือนชัดเจน แต่ในโลกของความเป็นจริงไม่มีอะไรที่เห็นและถือปฏิบัติได้ชัดๆหรอกค่ะ เพราะถ้าทุกอย่างชัดเกินไป คนอีกหลายคนก็คงไม่มีงานทำ
ในโลกของงานที่เข้าไปอยู่ใน public domain แล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่างานไหนอยู่ใน public domain ในเมื่อไม่มีฐานข้อมูลที่รวบรวมทั้งหมดเอาไว้อย่างชัดเจน งานลิขสิทธิ์หลายๆงานเห็นชัด อย่างเช่น บทละครทั้งหมดของ Shakespeare หรือ รูปวาด water lilies ของ Monet หรือรูปปั้นโมนาลิซ่า ของ Leonardo da Vinci รู้ได้ไม่ยากว่าทั้งหมดนั้นใช่ เพราะผู้สร้างผลงานเหล่านั้นตายไปหลายสิบปีแล้ว แต่พระไตรปิฎก หรือ คัมภีร์ไบเบิ้ล ล่ะ อยู่ใน public domain หรือเปล่า ชาวคริสต์ quote จากคัมภีร์ไบเบิ้ลกันเป็นเรื่องปกติ และมีการพิมพ์คัมภีร์ไบเบิ้ลออกแจกกันเสมอ แต่นั่นเรียกว่าถูกกฎหมายหรือเปล่า
ในเวลาเดียวกัน plagiarism ก็ไม่ใช่การละเมิดลิขสิทธิ์เสมอไป เช่นการคัดลอกสิ่งผลิตของรัฐเอามาใช้ในงานของตัว ถือเป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมาย หรือลอกเค้าโครงเรื่องของ Shakespeare มาแต่งเป็นเรื่องของตัวเอง เพราะผลงานทั้งหมดนั้นอยู่ใน public domain
และบางกรณีการกระทำบางอย่างเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ชัดเจน แต่ก็ไม่จัดเป็น plagiarism เช่นการ download เพลงเป็นร้อยเป็นพันเพลงจาก file sharing server เป็นต้น
ข่าวสาร ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ข้อเท็จจริงทางธรรมชาติ เหล่านั้นอยู่ใน public domain ไม่มีใครเป็นเจ้าของ คนทุกคนเอาไปใช้ได้เสมอ
แต่สมมุติว่านาย ก. เขียนประวัติพระพุทธเจ้า แล้วมีคนลอกสิ่งที่นาย ก. เขียน แล้วเอาไปใช้โดยไม่ขออนุญาต ถือว่าเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายลิขสิทธิ์ เพราะแม้ว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของประวัติพระพุทธเจ้า แต่ประวัติพระพุทธเจ้าเวอร์ชั่นนาย ก. เป็นลิขสิทธิ์ของนาย ก. แต่เพียงผู้เดียว
ขอบคุณที่มาจาก http://www.thaiseoboard.com/index.php?topic=33934.0
Advertisement
 เปิดอ่าน 37,658 ครั้ง  เปิดอ่าน 10,767 ครั้ง  เปิดอ่าน 14,848 ครั้ง  เปิดอ่าน 33,672 ครั้ง  เปิดอ่าน 33,187 ครั้ง  เปิดอ่าน 14,057 ครั้ง  เปิดอ่าน 24,263 ครั้ง  เปิดอ่าน 87,898 ครั้ง  เปิดอ่าน 12,199 ครั้ง  เปิดอ่าน 8,953 ครั้ง  เปิดอ่าน 13,151 ครั้ง  เปิดอ่าน 70,332 ครั้ง  เปิดอ่าน 44,386 ครั้ง  เปิดอ่าน 12,404 ครั้ง  เปิดอ่าน 28,652 ครั้ง  เปิดอ่าน 19,578 ครั้ง
|

เปิดอ่าน 4,401 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 26,183 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 54,927 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 9,854 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 19,369 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 33,187 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 15,017 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 74,995 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 11,638 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 16,247 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 11,699 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 14,264 ครั้ง |
|
|