Advertisement
Advertisement
26 มิถุนายน ของทุกปี ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของไทย เพราะคือ "วันสุนทรภู่" มาร่วมระลึกถึงกวีเอกของไทยและของโลกท่านนี้กันเถอะ
สุนทรภู่ เป็นชื่อที่คนทั่วไปใช้เรียก กวีชาวไทยท่านหนึ่งที่มีชื่อเสียงอย่างมาก ซึ่งมาจากนามเดิมของท่านคือ "ภู่" และตำแหน่งสุดท้ายทางราชการคือ "พระสุนทรโวหาร" ท่านได้รับการยอมรับในความสามารถทางด้านกาพย์กลอนอย่างสูง จนองค์การยูเนสโกได้ประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลดีเด่นทางด้านวรรณกรรมระดับโลก เมื่อปี พ.ศ.2529 และทางรัฐบาลไทยได้กำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีเป็น "วันสุนทรภู่" เมื่อ พ.ศ.2530 เพื่อระลึกถึงท่าน สุนทรภู่ได้รับการขนานนามมากมายจากผู้ที่ยกย่อง ไม่ว่าจะเป็น "เชกสเปียร์ของไทย" "มหากวีแห่งรัตนโกสินทร์" "กวีสี่แผ่นดิน"
สุนทรภู่ เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 ของกรุงรัตนโกสินทร์ เข้ารับราชการเป็นกวีในราชสำนักในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร.2) ท่านเคยติดคุกเพราะเมาอาละวาด แต่ก็ได้รับการปล่อยตัวเพราะ รัชกาลที่ 2 ต้องการที่ปรึกษาในการพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้ออกบวชเป็นเวลาถึง 10 พรรษา โดยระหว่างนี้ก็แต่งวรรณกรรมไว้มากมาย ชีวิตของท่านมีทั้งช่วงเวลาที่ดีและร้ายสลับกันไป จนได้กลับเข้ามารับราชกาลอีกครั้งในปลายรัชกาลที่ 3 โดยถวายตัวกับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น "พระสุนทรโวหาร" เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ถือเป็นตำแหน่งสุดท้ายทางราชการก่อนสิ้นชีวิต ใน พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 70 ปี
สุนทรภู่มีความชำนาญด้านการประพันธ์บทกลอนเป็นอย่างมาก ผลงานที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันก็เช่น นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง สุภาษิตสอนหญิง บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม พระอภัยมณี ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน ซึ่งวรรณกรรมของท่านหลายเรื่องได้รับการบรรจุอยู่ในหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน ทำให้คนรุ่นหลังก็ยังคงได้ชื่นชมและคุ้นเคยกับผลงานของท่านอยู่ และเพื่อเป็นการยกย่อง ได้มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์ของสุนทรภู่ กวีสี่แผ่นดินท่านนี้ไว้ที่ ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นบ้านเกิดบิดาของท่าน และเป็นที่กำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกคือ นิราศเมืองแกลง และในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อมีการตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น ตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลสืบต่อมาว่า "ภู่เรือหงส์".
ขอบคุณที่มาจาก เดลินิวส์
Advertisement
|
เปิดอ่าน 210,530 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,512 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,344 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,066 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,431 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,762 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,700 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,580 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,732 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,728 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,922 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,900 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,130 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,595 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,062 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 13,037 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 12,313 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 14,879 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 14,733 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 8,282 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 15,298 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 9,006 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 17,642 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 30,563 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 13,735 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 14,777 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 14,389 ครั้ง |
|
|