Advertisement
|
ทรงกลมประหลาดในชั้นหินบนดาวอังคาร (นาซา/สเปซด็อทคอม) |
|
 |
นักวิทยาศาสตร์เห็นภาพก้อนหินแปลกๆ รูปทรงกลมๆ บนดาวอังคารจากยานโรเวอร์รุ่นเก๋าของนาซา แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าคืออะไร
ภาพใหม่จากยานออพพอร์จูนิตี (Opportunity) ยานสำรวจเคลื่อนที่ (rover) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) เผยภาพชั้นหินที่โผล่ออกมามีรูปทรงกลมแปลกๆ เหมือนตุ่มปูดพองที่เบียดกันแน่น ซึ่งสเปซดอตคอม ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ในภารกิจยังไม่สามารถอธิบายได้ว่าคืออะไร
เมื่อเห็นครั้งแรกทีมนักวิทยาศาสตร์คิดว่าเป็น “ก้อนบลูเบอรีดาวอังคาร” (Martian blueberries) ก้อนกลมๆ ที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก ซึ่งออพพอร์จูนิตีบันทึกภาพได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2004 แต่ชั้นหินที่เรียกว่า “เคิร์กวูด” (Kirkwood) ก็มีลักษณะสำคัญหลายอย่างที่ต่างออกไป
สตีฟ สไควเรส (Steve Squyres ) ผู้ติดตามหลักในภารกิจสำรวจของยานโรเวอร์จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University) นิวยอร์ก สหรัฐฯ กล่าวว่าภาพก้อนหินกลมๆ นี้เป็นหนึ่งในภาพไม่ธรรมดาที่สุดของภารกิจยานออพพอร์จูนิตี ซึ่งในจำนวนนั้นมี “บลูเบอรีดาวอังคาร” แต่กรณีของชั้นหินล่าสุดนี้มีลักษณะที่แตกต่าง เพราะพวกเขาไม่เคยเห็นก้อนกลมเล็กๆ ที่รวมตัวกันแน่นในชั้นหินดาวอังคารที่โผล่ออกมาเช่นนี้
ตอนนี้ยานออพพอร์จูนิตีกำลังสำรวจบริเวณที่เรียกว่าเคปยอร์ก (Cape York) ทางขอบตะวันตกของหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่บนดาวอังคารที่ชื่อ “เอนเดฟเวอร์” (Endeavour) ซึ่งชั้นหินเคิร์กวูดเป็นเพียงหนึ่งจุดสำรวจในบริเวณเคปยอร์กของยาน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังสำรวจชั้นหินอื่นๆ ที่อยู่ข้างเคียง ซึ่งอาจจะมีแร่ธาตุที่น่าสนใจอยู่ และจะทำการศึกษาหลังยานเสร็จสิ้นการวิเคราะห์ในภารกิจปัจจุบัน
นักวิทยาศาสตร์ในภารกิจ กล่าวอีกว่า ยานออพพอร์จูนิตีได้สำรวจพบบลูเบอรีดาวอังคารอยู่หลายครั้งในพื้นที่สำรวจหลายแห่งบนดาวอังคาร แต่รูปทรงปูดโปนเป็นทรงกลมอย่างที่เห็นในชั้นหินเคิร์กวูดนี้เพิ่งพบเป็นครั้งแรก และในภาพล่าสุดที่ส่งมานี้รูปทรงแปลกๆ หลายอันก็แตกหักเผยให้ทรงกลมในใจกลางที่แปลกประหลาดอยู่ภายใน
สไคเรส กล่าวว่า รูปทรงกลมนั้นดูเหมือนจะกรอบนอก และนุ่มในใจกลาง และต่างมีความหนาแน่นที่แตกต่างกัน มีโครงสร้างแตกต่างกัน มีองค์ประกอบแตกต่างกัน และกระจายตัวต่างกัน ซึ่งนับเป็นปริศนาทางธรณีวิทยาอันน่าอัศจรรย์ที่พวกเขามี โดยเขาและทีมมีทฤษฎีอธิบายเรื่องนี้อย่างหลากหลาย แต่ยังไม่มีทฤษฎีไหนที่ดีที่สุดที่จะอธิบายได้ว่าอะไรทำให้เกิดโครงสร้างประหลาดนี้บนดาวอังคาร ซึ่งคงต้องใช้เวลาสักระยะเพื่อหาคำตอบเรื่องนี้ แต่สิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือเปิดใจและปล่อยให้ก้อนกินนั้นเผยเรื่องราวของตัวเองออกมา
สำหรับงานออพพอร์จูนิตีนั้น เป็นยานสำรวจเคลื่อนที่ขนาดรถกอล์ฟที่ลงจอดบนพื้นผิวดาวอังคารเมื่อเดือน ม.ค.2004 ส่วนยานขนาดเดียวกันอีกลำคือยานสปิริต (Spirit) ที่ลงสำรวจในพื้นต่างกัน โดยยานสำรวจพลังแสงอาทิตย์ทั้งสองได้รับการคาดหวังว่าจะปฏิบัติหน้าที่บนดาวอังคารเพียง 90 วัน แต่ก็สามารถอยู่รอดมาได้หลายปี จนกระทั่งเมื่อต้นปี 2010 ยานสปริตก็หยุดสื่อสารกับศูนย์ควบคุมบนโลก แต่ยานออพพอร์จูนิตียังคงทำงานต่อไป
|
|
ภาพจากกล้องพาโนรามาของยานออพพอร์จูนิตีที่เผยให้เห็นก้อนหินสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร (นาซา/สเปซด็อทคอม) |
|
|
ขอบคุณที่มาจาก ผู้จัดการออนไลน์
Advertisement
 เปิดอ่าน 18,168 ครั้ง  เปิดอ่าน 15,387 ครั้ง  เปิดอ่าน 18,320 ครั้ง  เปิดอ่าน 32,769 ครั้ง  เปิดอ่าน 12,663 ครั้ง  เปิดอ่าน 55,355 ครั้ง  เปิดอ่าน 8,734 ครั้ง  เปิดอ่าน 15,852 ครั้ง  เปิดอ่าน 15,707 ครั้ง  เปิดอ่าน 25,518 ครั้ง  เปิดอ่าน 16,477 ครั้ง  เปิดอ่าน 18,620 ครั้ง  เปิดอ่าน 36,623 ครั้ง  เปิดอ่าน 2,275 ครั้ง  เปิดอ่าน 19,389 ครั้ง  เปิดอ่าน 16,260 ครั้ง
|
 จักรวาลมีดาวทั้งหมด 300,000,000,000,000,000,000,000 เปิดอ่าน 36,623 ☕ คลิกอ่านเลย |  20 เรื่องเหลือเชื่อทางวิทยาศาสตร์ เปิดอ่าน 19,752 ☕ คลิกอ่านเลย |  พายุสุริยะ คืออะไร เปิดอ่าน 25,168 ☕ คลิกอ่านเลย |  เมฆสีรุ้ง เปิดอ่าน 24,231 ☕ คลิกอ่านเลย |  หนึ่งศตวรรษผ่านไป "เวลา" ของ "ไอน์สไตน์" ยังถูกต้อง เปิดอ่าน 31,937 ☕ คลิกอ่านเลย |  ตารางธาตุ เปิดอ่าน 58,266 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
|