ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การทำงานของรถจักรไอน้ำ


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดอ่าน : 18,213 ครั้ง
Advertisement

การทำงานของรถจักรไอน้ำ

Advertisement

การทำงานของรถจักรไอน้ำ
โดย นายเชาวน์ ณ ศีลวันต์

โดยที่การทำงานของลูกสูบเครื่องจักรไอน้ำที่รถจักรนี้เป็นแบบ double acting คือไอน้ำเข้าไปดันลูกสูบได้ทั้ง ๒ ข้างของลูกสูบด้วยวิธีการทำงานอย่างเดียวกัน ฉะนั้น จะอธิบายแต่วิธีการทำงานแต่เพียงด้านเดียวดังนี้ คือ

จังหวะที่หนึ่ง จังหวะทำงาน กล่าวคือ ลิ้นจะเปิดให้ไอดีไหลมาดันลูกสูบ ซึ่งเริ่มต้นจากปลายสุดกระบอกสูบด้านหนึ่ง สมมติว่าด้านซ้าย ไอน้ำจะดันลูกสูบให้เคลื่อนมาทางขวาในระยะหนึ่ง แล้วลิ้นจะปิดช่องไอ ไอน้ำที่ขังอยู่ในกระบอกสูบและติดต่อกับส่วนอื่นไม่ได้ก็จะขยายตัวดันลูกสูบให้เดินเคลื่อนต่อไปจนสุดทางด้านขวามือ ในการนี้ล้อจะหมุนไปครึ่งรอบ

จังหวะที่สอง ลิ้นจะเริ่มเปิดเพื่อจะให้ไอเสียออกไปในขณะนี้ด้วยอาการหมุนของล้อและแรงดันของไอดีซึ่งเข้ามาดันอีกข้างหนึ่งของลูกสูบ จะทำให้ลูกสูบเคลื่อนกลับมาทางซ้าย ในครั้งนี้ลูกสูบจะดันไอน้ำที่ขยายตัวเต็มที่จะกลายเป็นไอเสียให้ไหลออกทางช่องเดิมผ่านลิ้นที่เปิดไปอยู่ทางช่องเก็บไอเสียที่หีบไอ แล้วระบายออกสู่ปล่อง ลูกสูบจะเคลื่อนตัวต่อมาจนใกล้จะสุดด้านซ้ายมือ เมื่อลูกสูบเดินสุดทางซ้ายแล้วก็จะดำเนินการตามจังหวะที่หนึ่งต่อไปอีก

อาการทำงานเช่นนี้สำหรับด้านตรงข้ามก็คงเป็นเหมือนกัน แต่จะทำงานสลับกันไปมา ในทำนองเดียวกันสำหรับสูบอื่นๆ ก็จะทำงานเช่นนี้ แต่จะทำงานเรียงตามกันไปหรือสลับกันสุดแท้แต่การออกแบบ เพื่อทำให้การขับล้อทยอยหมุนต่อเนื่องกันไป ทำให้ล้อหมุนกลิ้งไปบนรางโดยสม่ำเสมอ
ล้อพร้อมเพลาและการจัดวางล้อพร้อมเพลาของรถจักรไอน้ำ ล้อพร้อมเพลาของรถจักรไอน้ำแบ่งออกเป็น ๒ จำพวก

๑. ล้อกำลัง มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ ทำหน้าที่รับน้ำหนักรถจักรส่วนหนึ่งมีน้ำหนักถ่วงใส่ไว้เพื่อให้ล้อหมุนได้เรียบ ตรงข้ามกับน้ำหนักถ่วงเป็นเดือยหมุน สำหรับรับแรงดันจากเครื่องจักรไอน้ำ เพื่อเคลื่อนรถจักรและอำนวยแรงฉุดลากรถพ่วง ในรถจักรแต่ละคันจะมีล้อกำลังอยู่หลายล้อ สุดแต่แบบของรถจักร ล้อกำลังจะวางเรียงรวมกันเป็นหมู่ โดยมีคันโยงโยงต่อกันระหว่างล้อ และมีอยู่ล้อหนึ่งหรือเพลาหนึ่งที่รับแรงขับเคลื่อนโดยตรงจากลูกสูบ แล้วถ่ายทอดกำลังแรงขับนี้โดยผ่านคันชักคันโยงไปสู่ล้อกำลังอื่นๆ ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากัน

๒. ล้อรับน้ำหนัก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่าล้อกำลัง ทำหน้าที่รับน้ำหนักส่วนหนึ่งของรถจักรแต่ประการเดียว รถจักรคันหนึ่งอาจจะมีล้อรับน้ำหนักวางเรียงรวมกันเป็นหมู่อยู่ทั้งหน้าหมู่ล้อกำลังและหลังหมู่ล้อกำลัง ล้อรับน้ำหนักที่อยู่หน้าล้อกำลังเรียกว่า ล้อนำ และที่อยู่หลังล้อกำลัง เรียกว่า ล้อตาม
ส่วนมากล้อรับน้ำหนักจะติดตั้งอยู่กับโครงย่อยซึ่งเรียกว่าแคร่ อันเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากโครงประธาน แคร่นี้นอกจากจะช่วยรับน้ำหนักรถจักรแล้ว ยังช่วยทำให้รถจักรวิ่งเข้าทางโค้งได้สะดวก โดยที่แคร่จะหันเหได้โดยอิสระ ทั้งยังช่วยการทรงตัวของรถจักรขณะวิ่งบนรางด้วยความเร็วสูงให้ดียิ่งขึ้น แคร่ที่มีเพลาล้อตั้งแต่ ๒ เพลาขึ้นไป เรียกว่าแคร่โบกี้ (bogie) แคร่ที่มีเพลาล้อเพียงเพลาเดียว เรียกว่า ตะเฆ่ (bisel)

รถจักรไอน้ำมีอยู่หลายแบบตามลักษณะวิธีการของการจัดวางล้อและตามจำนวนล้อ ทั้งนี้เพื่อจะได้นำไปใช้การให้เหมาะสมกับประเภทของขบวนรถ หรือกับลักษณะของภูมิประเทศในท้องที่ที่ทางรถไฟผ่าน เป็นต้นว่า รถจักรที่ใช้ลากจูงขบวนรถโดยสารซึ่งต้องการความเร็วสูง แต่จำนวนรถโดยสารที่พ่วงไม่มาก คือ มีน้ำหนักลากจูงน้อยก็กำหนดให้มีล้อกำลังขนาดใหญ่และมีจำนวนน้อยเพียง ๔ ถึง ๖ ล้อ (๒-๓ เพลา) ถ้าเป็นรถจักรที่ใช้ลากจูงขบวนรถสินค้าซึ่งต้องการความเร็วต่ำ แต่จำนวนรถพ่วงมากจะได้บรรทุกสินค้าได้มาก คือ มีน้ำหนักลากจูงมาก ก็กำหนดให้มีล้อกำลังเล็กกว่าและมีจำนวนล้อตั้งแต่ ๘-๑๒ ล้อ (๔-๖ เพลา) ส่วนการรับน้ำหนักจะกำหนดให้มากน้อยก็สุดแต่น้ำหนักของรถจักรคันนั้นๆ ที่จะเฉลี่ยไป

เพื่อประโยชน์ในการเรียกแบบรถจักรให้ง่ายและสั้น ได้มีการเรียกกันเป็นแบบสากลตามจำนวนของกลุ่มล้อรับน้ำหนักและล้อกำลังเรียงจากหน้าไปหลัง (แต่ไม่เรียกจำนวนล้อของรถลำเลียงรวมเข้าไปด้วย) ระหว่างตัวเลขแสดงจำนวนล้อในหมู่คั่นไว้ด้วยเครื่องหมายลบ (-) แสดงว่าไม่ใช่หมู่เดียวกันและไม่เกี่ยวข้องกัน นอกจากนี้ยังมีการเรียกชื่อแบบรถจักรโดยเฉพาะอีกด้วย เช่น รถจักรไอน้ำแบบ ๒-๘-๒ หมายความว่า รถแบบนี้มีการจัวางล้อรับน้ำหนัก ๒ ล้อ (๑ เพลา) เป็นล้อนำ ล้อกำลัง ๘ ล้อ (๔ เพลา) และล้อรับน้ำหนัก ๒ ล้อ (๑ เพลา) เป็นล้อตาม มีชื่อเรียกรถแบบนี้โดยเฉพาะว่า รถจักรแบบมิกาโดหรือแบบ ๔-๖-๒ ซึ่งมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า แบบแปซิฟิก

ตารางต่อไปนี้แสดงให้ทราบถึงแบบและการเรียกชื่อของรถจักรไอน้ำต่างๆ ที่ใช้การอยู่ทั่วไป

ตารางแสดงการจัดล้อ สัญลักษณ์ และการเรียกชื่อรถจักรไอน้ำ

 

 


การจัดวางล้อ
(จากหน้าไปหลัง)

๐ คือล้อรับนำหนัก
O คือกำลังล้อ
สัญลักษณ์อังกฤษ
และอเมริกา
ชื่อที่ใช้เรียกกัน
๐ OO ๐
๒-๔-๒
โคลัมเบีย - Columbia
๐๐ OO ๐
๔-๔-๒
แอตแลนติก - Atlantic
๐ OOO
๒-๖-๐
โมกุล - Mogul
๐ OOO ๐
๒-๖-๒
แพรรี่ - Prairie
๐๐ OOO *
๔-๖-๐
เทนวีลเลอร์ - Ten-wheeler
๐๐ OOO ๐ *
๔-๖-๒
แปซิฟิก - Pacific
๐ OOOO *
๒-๘-๐
คอนโซลิเดท - Consolidate
๐ OOOO ๐ *
๒-๘-๒
มิกาโด - Mikado
๐๐ OOOO ๐
๔-๘-๒
เมาเทน - Mountain

                             * 
มีใช้ในกิจการการรถไฟแห่งประเทศไทย

 

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 4


การทำงานของรถจักรไอน้ำ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การวัดปริมาณน้ำฝน

การวัดปริมาณน้ำฝน


เปิดอ่าน 31,293 ครั้ง
เมฆสีรุ้ง

เมฆสีรุ้ง


เปิดอ่าน 25,031 ครั้ง
ปรากฏการณ์ Earth Shine คืออะไร

ปรากฏการณ์ Earth Shine คืออะไร


เปิดอ่าน 36,915 ครั้ง
กาแล็กซี่ เกลียวทับทิม

กาแล็กซี่ เกลียวทับทิม


เปิดอ่าน 18,858 ครั้ง
ปะการัง

ปะการัง


เปิดอ่าน 16,233 ครั้ง
สรภัญตารางธาตุ

สรภัญตารางธาตุ


เปิดอ่าน 25,524 ครั้ง
ฝนเกิดขึ้นได้อย่างไร

ฝนเกิดขึ้นได้อย่างไร


เปิดอ่าน 3,122 ครั้ง
ไขมันในร่างกาย

ไขมันในร่างกาย


เปิดอ่าน 1,290 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

จุดที่เย็นที่สุดในโลก

จุดที่เย็นที่สุดในโลก

เปิดอ่าน 21,159 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ดาวหาง "โฮล์มส" ระเหิดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์แล้ว
ดาวหาง "โฮล์มส" ระเหิดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์แล้ว
เปิดอ่าน 17,796 ☕ คลิกอ่านเลย

แหล่งกำเนิดพลังงานของดวงอาทิตย์
แหล่งกำเนิดพลังงานของดวงอาทิตย์
เปิดอ่าน 18,452 ☕ คลิกอ่านเลย

รู้ไหม? ทำไมดาวอังคารไม่มีชั้นบรรยากาศ
รู้ไหม? ทำไมดาวอังคารไม่มีชั้นบรรยากาศ
เปิดอ่าน 24,694 ☕ คลิกอ่านเลย

การมีจินตนาการโดยไม่มีความรู้และความเข้าใจนั้นเรียกว่า การฝันกลางวัน
การมีจินตนาการโดยไม่มีความรู้และความเข้าใจนั้นเรียกว่า การฝันกลางวัน
เปิดอ่าน 19,238 ☕ คลิกอ่านเลย

ปรากฏการณ์เรือนกระจก
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
เปิดอ่าน 46,652 ☕ คลิกอ่านเลย

ยาหม่องสามารถใช้ขจัดหมากฝรั่งเปื้อนผ้าได้ จริงหรือ?
ยาหม่องสามารถใช้ขจัดหมากฝรั่งเปื้อนผ้าได้ จริงหรือ?
เปิดอ่าน 29,422 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เตรียมตัวก่อนพบหมอ
เตรียมตัวก่อนพบหมอ
เปิดอ่าน 8,226 ครั้ง

กินถั่วช่วยคุ้มกัน โรคมะเร็ง-หัวใจ
กินถั่วช่วยคุ้มกัน โรคมะเร็ง-หัวใจ
เปิดอ่าน 13,691 ครั้ง

13 ตุลาคม ของทุกปี "วันนวมินทรมหาราช"
13 ตุลาคม ของทุกปี "วันนวมินทรมหาราช"
เปิดอ่าน 3,391 ครั้ง

เตือนคนไทยระวัง "โรคลมร้อน"
เตือนคนไทยระวัง "โรคลมร้อน"
เปิดอ่าน 9,626 ครั้ง

ฟรีแวร์สำหรับแสดงและแก้ไขรูปภาพ
ฟรีแวร์สำหรับแสดงและแก้ไขรูปภาพ
เปิดอ่าน 9,499 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ