ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

15000 บาทเพิ่มเหลื่อมล้ำ อาชีพข้าราชการดีกว่าลูกจ้างเอกชน


ข่าวการศึกษา 2 ก.พ. 2556 เวลา 21:55 น. เปิดอ่าน : 27,005 ครั้ง
Advertisement

15000 บาทเพิ่มเหลื่อมล้ำ อาชีพข้าราชการดีกว่าลูกจ้างเอกชน

Advertisement

ผลวิจัยทีดีอาร์ไอระบุ ข้าราชการไม่ได้มีรายได้ต่ำกว่าลูกจ้างเอกชนเสมอไปตามที่เข้าใจกันแต่อาชีพข้าราชการมีรายได้ตลอดชีวิตเฉลี่ยดีกว่าลูกจ้างภาคเอกชนในทุกระดับการศึกษา โดยครึ่งหนึ่งของรายได้คือมูลค่าสวัสดิการที่ได้รับขณะที่ลูกจ้างเอกชนมีความผันผวนของรายได้และสวัสดิการ การปรับเพิ่มตามนโยบาย ป.ตรี 15000 บาทจะยิ่งเพิ่มช่องว่างของรายได้ลูกจ้างภาคราชการกับภาคเอกชนในระดับปฏิบัติการ แต่ข้าราชการในตำแหน่งที่ต้องใช้วิชาชีพสูงจะยังขาดสิ่งจูงใจที่ดีพอเมื่อเทียบกับภาคเอกชน

การปรับฐานเงินเดือนข้าราชการระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาทต่อเดือน น่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงดุลภาพในตลาดแรงงาน ภาระเงินงบประมาณของรัฐ และระดับการบริโภคของประชาชน โครงการวิจัยการศึกษาผลกระทบของการดำเนินนโยบายรายได้ค่าแรงไม่น้อยกว่า 300บาทต่อวัน และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือนที่มีผลต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทยโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ภายใต้การอุดหนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) การศึกษาในส่วนนโยบายเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือนในภาคราชการทำการศึกษาโดย ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ และนายชยดล ล้อมทอง นักวิจัยทีดีอาร์ไอ เน้นพิจารณารายได้ตลอดชีวิตของลูกจ้างราชการเปรียบเทียบลูกจ้างเอกชน และภาระเงินงบประมาณของรัฐในอนาคต ซึ่งจะมีผลต่อฐานะการคลังและความมั่นคงทางการคลังในระยะยาว

การศึกษารายได้ตลอดชีวิตของข้าราชการและลูกจ้างเอกชน ซึ่งการคำนวณรายได้ตลอดชีวิตของข้าราชการและลูกจ้างเอกชน โดยใช้ข้อมูลการสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากรไตรมาส 3 ทั้งหมด 31 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2523 ถึง พ.ศ.2553 เลือกติดตามดูรายได้ตลอดชีวิตข้าราชการและลูกจ้างเอกชนที่อายุ 25-34 ปี ในพ.ศ.2523 และคำนวณรายได้เฉลี่ย(รวมโบนัส ค่าล่วงเวลา ค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้า และอื่น ๆ ) ของคนกลุ่มนี้ จำแนกตามระดับการศึกษา 3 ระดับ คือ ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี และจำแนกตามการอยู่อาศัยคือ นอกเขตและในเขตกรุงเทพฯ จากนั้นได้ติดตามลูกจ้างและข้าราชการกลุ่มนี้ทุกปี และคำนวณค่าเฉลี่ยของรายได้ทุกปี จนกระทั่งคนกลุ่มนี้อายุ 55-64 ปีในปี พ.ศ.2553

ผลการศึกษาพบว่า การเป็นข้าราชการและอยู่นอกเขตกรุงเทพฯจะมีรายได้ตลอดชีวิตค่อนข้างดีกว่าการเป็นลูกจ้างเอกชน โดยเฉพาะผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และผู้มีการศึกษาระดับปริญญาตรี การเป็นลูกจ้างเอกชนจะมีรายได้ที่ผันผวน(เป็นความเสี่ยง)แม้ดูเหมือนว่าผู้ที่จบการศึกษาสูงกว่า ป.ตรีจะมีรายได้ดีในบางช่วงก็ตาม โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี รายได้ของลูกจ้างเอกชนจะตกแรงมาก ในขณะที่รายได้ของข้าราชการจะไม่ผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ สำหรับข้าราชการที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯจะมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าลูกจ้างเอกชนโดยเฉพาะเมื่อมีการศึกษาตั้งแต่ ป.ตรีขึ้นไป แต่ความผันผวนของรายได้ของข้าราชการก็มักจะต่ำกว่าดังนั้น โดยเฉลี่ยแล้วข้าราชการไม่ได้มีรายได้ต่ำกว่าลูกจ้างเอกชนเสมอไปตามที่เข้าใจกัน แต่จะมีข้าราชการที่มีการศึกษาสูงซึ่งน่าจะมีโอกาสที่ดีที่จะได้รับค่าตอบแทนที่สูงถ้าได้ทำงานในภาคเอกชน ซึ่งข้าราชการในกลุ่มนี้มีจำนวนไม่มากนัก อย่างไรก็ดี การศึกษานี้ไม่สามารถรวมข้อมูลเกี่ยวกับเบี้ยประชุม รายได้จากการสอนพิเศษหรือทำวิจัย หรือเบี้ยอื่นๆ ที่ข้าราชการได้รับ ซึ่งเงินรายได้จำนวนนี้อาจจะมีจำนวนไม่น้อย

นอกจากนี้มูลค่าของสวัสดิการที่ข้าราชการได้รับมีประมาณครึ่งหนึ่งของมูลค่ารายได้ตลอดชีวิต ในขณะที่สวัสดิการสำหรับลูกจ้างเอกชนนั้นมีมูลค่าไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบรายได้รวมสวัสดิการที่เป็นมูลค่าปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่าข้าราชการมีรายได้ตลอดชีวิตสูงกว่าลูกจ้างเอกชนในทุก ๆ ระดับการศึกษา ทั้งในเขตกรุงเทพฯและนอกกรุงเทพฯ แต่เมื่อเปรียบเทียบโดยใช้มูลค่า ณ ราคา ปี พ.ศ.2550 จะเห็นว่าข้าราชการที่มีการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรีมักได้รับรายได้ตลอดชีพสูงกว่าลูกจ้างเอกชน

ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าการทำงานในเขตกรุงเทพฯจะให้มูลค่าปัจจุบันของรายได้ตลอดชีวิตสูงขึ้นกว่าการทำงานในจังหวัดอื่น ๆ ในทุก ๆ ระดับการศึกษา แต่อย่างไรก็ดี ผู้มีระดับการศึกษาน้อยกว่าปริญญาตรีที่ทำงานให้แก่ภาครัฐก็ยังมีมูลค่าปัจจุบันของรายได้ตลอดชีพสูงกว่าการทำงานให้ภาคเอกชน เพราะมูลค่าของสวัสดิการนั้นสูงกว่ากันมาก รวมทั้งผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรีและทำงานในบริษัทเอกชนจะมีมูลค่าปัจจุบันของรายได้ตลอดชีวิต ณ เวลาที่เริ่มต้นชีวิตทำงานสูงกว่าผู้ที่มีคุณสมบัติเดียวกันแต่ทำงานในภาครัฐ

pics1

นอกจากนี้การเปรียบเทียบโดยใช้แบบจำลองเศรษฐมิติ สรุปได้ว่าข้าราชการได้รับรายได้น้อยกว่าเอกชนเฉพาะกลุ่มอาชีพผู้บริหารหรือข้าราชการที่ทำงานในกรุงเทพเท่านั้น ซึ่งเป็นส่วนน้อยของข้าราชการทั่วประเทศ สำหรับกลุ่มอาชีพอื่น ๆ แล้ว ข้าราชการมีรายได้มากกว่าลูกจ้างเอกชน และความแตกต่างของรายได้เห็นได้ชัดเจนในกรณีที่ข้าราชการทำงานในภูมิภาค ดังนั้น การขึ้นเงินเดือนให้แก่ข้าราชการที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีและต่ำกว่า น่าจะยิ่งทำให้ความแตกต่างของรายได้ระหว่างภาครัฐและเอกชนในภูมิภาคต่าง ๆ สูงขึ้นไปอีก

สำหรับภาระเงินงบประมาณที่เกิดจากข้าราชการบรรจุใหม่จะน้อยกว่าภาระเงินงบประมาณที่จะเกิดจากการปรับฐานเงินเดือนให้แก่ข้าราชการเก่า เพราะทุกคนจะได้รับการปรับฐานเงินเดือนชดเชยขึ้นเพื่อไม่ให้น้อยกว่าข้าราชการที่เข้าใหม่ และจำนวนข้าราชการเข้าใหม่จะมีจำนวนน้อยตามนโยบายการลดจำนวนข้าราชการ

การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การปรับฐานเงินเดือนให้แก่ข้าราชการที่มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรีจะมีผลทำให้ช่องว่างระหว่างรายได้ตลอดชีพระหว่างข้าราชการและลูกจ้างเอกชนยิ่งสูงมากขึ้น ในขณะที่รายได้ตลอดชีพของข้าราชการที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปนั้นยังน้อยกว่าภาคเอกชน นับว่าเป็นการแก้ปัญหาโครงสร้างบุคลากรราชการที่ไม่ถูกจุด ในอนาคตนั้นจำนวนข้าราชการจะลดลงและเน้นให้ข้าราชการเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ การปรับฐานเงินเดือนจึงควรมุ่งเน้นไปยังตำแหน่งงานที่มีความรับผิดชอบสูง ส่วนจำนวนข้าราชการระดับใช้ความรู้หรือทักษะน้อยนั้นต้องลดจำนวนลง งานหลายประเภทควรให้ภาคเอกชนรับไปทำ.///

pics2

 

ที่มา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย TDRI


15000 บาทเพิ่มเหลื่อมล้ำ อาชีพข้าราชการดีกว่าลูกจ้างเอกชน15000บาทเพิ่มเหลื่อมล้ำอาชีพข้าราชการดีกว่าลูกจ้างเอกชน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ

แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ

เปิดอ่าน 3,086 ☕ 17 ต.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
รับสมัครคัดเลือกผู้แทนประเทศไทยแข่งขันวิทยาศาสตร์ โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นครั้งที่ 22 ประจำปี 2568
รับสมัครคัดเลือกผู้แทนประเทศไทยแข่งขันวิทยาศาสตร์ โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นครั้งที่ 22 ประจำปี 2568
เปิดอ่าน 178 ☕ 8 พ.ย. 2567

แนวทางการประเมินเพื่อรับตราพระราชทาน "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย" ระดับปฐมวัยและประถมศึกษา สำหรับโรงเรียนในเครือข่าย สพฐ.ปีการศึกษา 2567
แนวทางการประเมินเพื่อรับตราพระราชทาน "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย" ระดับปฐมวัยและประถมศึกษา สำหรับโรงเรียนในเครือข่าย สพฐ.ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 505 ☕ 8 พ.ย. 2567

สพฐ.แก้ปัญหาเด็กDropout ผุดโรงเรียนสามรูปแบบ/โรงเรียนมือถือ
สพฐ.แก้ปัญหาเด็กDropout ผุดโรงเรียนสามรูปแบบ/โรงเรียนมือถือ
เปิดอ่าน 2,513 ☕ 7 พ.ย. 2567

การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา
การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา
เปิดอ่าน 846 ☕ 6 พ.ย. 2567

ประกาศ สพฐ. เรื่อง นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน สังกัด สพฐ. ปีการศึกษา 2568
ประกาศ สพฐ. เรื่อง นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน สังกัด สพฐ. ปีการศึกษา 2568
เปิดอ่าน 3,575 ☕ 6 พ.ย. 2567

หลักเกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน ระดับประเทศ (รุ่นที่ 5)
หลักเกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน ระดับประเทศ (รุ่นที่ 5)
เปิดอ่าน 386 ☕ 6 พ.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

คู่มือการปฏิบัติตามข้อบังคับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2552
คู่มือการปฏิบัติตามข้อบังคับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2552
เปิดอ่าน 12,600 ครั้ง

15 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ ปาก และ ฟัน
15 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ ปาก และ ฟัน
เปิดอ่าน 19,872 ครั้ง

ปฏิรูปการศึกษา เรียนรู้จากผู้ประสบผลสำเร็จ : "เกาหลีใต้"
ปฏิรูปการศึกษา เรียนรู้จากผู้ประสบผลสำเร็จ : "เกาหลีใต้"
เปิดอ่าน 21,089 ครั้ง

ปลูก "มะละกอ" สร้างรายได้ที่น่าทึ่ง
ปลูก "มะละกอ" สร้างรายได้ที่น่าทึ่ง
เปิดอ่าน 18,570 ครั้ง

‘หมอธี’ เดินหน้าล้างบาง ‘กระทรวงครู’ ขจัด ‘เหลือบริ้นไร’ วงการศึกษาไทย
‘หมอธี’ เดินหน้าล้างบาง ‘กระทรวงครู’ ขจัด ‘เหลือบริ้นไร’ วงการศึกษาไทย
เปิดอ่าน 11,969 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ