ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวจากกระทรวงศึกษาธิการ  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ผลประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 10/2556 (13 พ.ย.2556)


ข่าวจากกระทรวงศึกษาธิการ 14 พ.ย. 2556 เวลา 08:43 น. เปิดอ่าน : 12,898 ครั้ง
ผลประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 10/2556 (13 พ.ย.2556)

Advertisement

ศึกษาธิการ - นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 10/2556 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2556 ที่ห้องประชุมราชวัลลภ โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมการประชุม โดยมีประเด็นสำคัญสรุปดังนี้


ร่าง Roadmap การขับเคลื่อนนโยบายปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ.2556-2558)


ที่ประชุมได้รับทราบรายงานความก้าวหน้าของร่าง Roadmap ดังกล่าว ซึ่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.) ได้รวบรวมวิเคราะห์และจัดทำเป็นมาตรการที่จะดำเนินการภายใต้ 8 นโยบายการศึกษา ซึ่งที่ประชุมขอให้ สป. รวบรวมข้อคิดเห็นจากที่ประชุมเพื่อปรับปรุงให้เป็นแนวดำเนินการตามนโยบาย แผนงาน มาตรการ รวมทั้งตัวชี้วัดต่างๆ ให้มีความชัดเจนมากขึ้น ทั้งยังให้สังคมเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ซึ่งคาดว่าเมื่อ Roadmap ที่เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วจะเป็นคู่มือ แผนการทำงาน การบริหารงานโครงการ ที่มีความชัดเจนในการปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งแต่ละส่วนจะได้รู้วิธีการทำงานให้เกิดความเชื่อมโยงในการขับเคลื่อนร่วมกัน และจะนำไปสู่การใช้จ่ายงบประมาณตามแผนงานโครงการปี 2557 อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

รมว.ศธ.ฝากในที่ประชุมว่า เรื่องใดที่มีเจ้าภาพดำเนินการชัดเจนแล้ว ขอให้จัดทำแผนปฏิทินการดำเนินงานการขับเคลื่อนให้เกิดความชัดเจน


สรุปผลการประชุมเพื่อกำหนดประเด็นปฏิรูปการผลิตและพัฒนาครู

รศ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา รายงานให้ที่ประชุมรับทราบถึงสรุปผลการประชุมเพื่อกำหนดประเด็นปฏิรูปในการผลิตและพัฒนาครู ที่มีความคืบหน้าในเรื่องต่างๆ เช่น

- ข้อมูลจำนวนครูที่เกษียณอายุราชการและจำนวนความต้องการครูที่ขาดแคลนในแต่ละสาขาวิชา ซึ่งข้อมูลระหว่างสำนักงาน ก.ค.ศ. กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ยังแตกต่างกันมาก เนื่องจาก สพฐ.แบ่งตามสาขาวิชาที่สอน ในขณะที่สำนักงาน ก.ค.ศ.แบ่งตามสาขาวิชาเอกที่จบ ซึ่งเห็นว่าควรมีการรวบรวมข้อมูลโดยกำหนดคำนิยามและช่วงเวลา (5 ปี หรือ 10 ปี) ให้ตรงกัน

- เกณฑ์ที่ใช้ระบุจำนวนครูที่เหมาะสมกับโรงเรียน ซึ่งสำนักงาน ก.ค.ศ.ได้กำหนดโดยพิจารณาจากจำนวนนักเรียน เช่น โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนไม่เกิน 20 คน จะมีครูประถมศึกษาไม่เกิน 3 คน เป็นต้น เกณฑ์ดังกล่าวจะนำมาใช้ระบุโรงเรียนที่ขาดครู ดังนั้นเพื่อจำแนกเป็นโรงเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ตามเกณฑ์ และเกินเกณฑ์ แต่ละหน่วยงานควรกำหนดเกณฑ์ให้ตรงกัน

- การวิเคราะห์ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ตกต่ำ อาจะพิจารณาสาเหตุจากการขาดแคลนครูก่อน แต่หากโรงเรียนใดที่มีครูเพียงพอแล้ว แต่ยังพบปัญหาดังกล่าว ควรพิจารณาถึงคุณภาพด้านการเรียนการสอน หรือทักษะของครู โดยมุ่งเน้นใน 4 วิชาหลักก่อน คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

- ปัญหาครูสอนไม่ตรงกับสาขาวิชาเอกที่จบ ส่วนหนึ่งมาจากอำนาจของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) ในเขตพื้นที่การศึกษาที่พิจารณาบรรจุครูลงไม่ตรงกับความต้องการ รวมทั้งพื้นที่กันดารและเสี่ยงภัย มักไม่มีครูที่มีความสามารถไปบรรจุ ขณะที่ครูประถมศึกษาไม่มีการแยกสาขาวิชาพื้นฐานที่สอน ยกเว้นสาขาวิชาเฉพาะ เช่น พลศึกษา จึงต้องสอนได้ทุกวิชาและอาจกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน

- ปัญหาการเรียนซ้ำชั้น มีข้อเสนอต่างๆ เช่น ควรตั้งเงื่อนไขการซ้ำชั้นให้ละเอียดขึ้น เช่น หากนักเรียนสอบไม่ผ่านเพียงหนึ่งวิชา อาจให้เรียนซ่อมเฉพาะวิชานั้นเหมือนเรียนภาคฤดูร้อนในมหาวิทยาลัย แต่ไม่ต้องเรียนซ้ำชั้น หรืออาจพิจารณาผูกวิทยฐานะของครูกับผลการเรียนของนักเรียน เป็นต้น

- ปัญหาคะแนนสอบ PISA ที่ตกต่ำ แต่ผลการเรียนของนักเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี อาจมีสาเหตุมาจากข้อสอบที่ไม่เป็นมาตรฐานของแต่ละโรงเรียน ควรใช้ข้อสอบกลางในการสอบ

- ปัญหาของครูเอกชน ปัจจุบันโรงเรียนเอกชนขาดแคลนครูผู้สอนสาขาวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รวมทั้งมีปัญหาเรื่องเงินเดือน ใบประกอบวิชาชีพครู ไม่ได้รับเงินวิทยฐานะ ซึ่งอาจจะต้องนำความต้องการเหล่านี้มารวบรวมวิเคราะห์เพิ่มเติมในการวางแผนผลิตและพัฒนาครูด้วย

- ปัญหาของครูอาชีวศึกษา คือ การเรียนการสอนอาชีวศึกษาเป็นการเรียนที่มีลักษณะเฉพาะ เน้นการปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี ผู้ที่จะมาเป็นครูอาชีวะส่วนใหญ่ไม่ได้จบสาขาครู ทำให้ไม่สามารถขอใบประกอบวิชาชีพครูได้ ประกอบกับปัจจุบันอาชีวะกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอน เนื่องจากไม่มีอัตราบรรจุ เพราะระบบการคืนอัตราเกษียณมีความล่าช้ามาก จึงควรแก้ปัญหาโดยให้ครูอาชีวะสามารถใช้ใบรับรองมาตรฐานวิชาชีพ แทนใบประกอบวิชาชีพครู

- ปัญหาของครู กศน. ปัจจุบัน กศน.มีกรอบอัตรากำลังครูจำนวน 7,164 อัตรา มีครู 1,413 คน และมีอัตราขาดแคลน 5,751 อัตรา ซึ่งในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีอัตราเกษียณ 494 อัตรา แต่กว่าจะได้อัตราเกษียณคืนมา จะต้องใช้เวลารอถึง 2-3 ปี รวมทั้งกรอบอัตรากำลังถูกจำกัดมานาน แม้จะมีอัตรารับแต่สำนักงบประมาณไม่อนุมัติงบประมาณสำหรับเงินเดือนครู จึงไม่สามารถรับครูเพิ่มได้

รมว.ศธ.ฝากให้ที่ประชุมพิจารณาในเรื่องความขาดแคลนครูใน Concept ปัจจุบันคืออะไร ซึ่งจะต้องมีการหารือและทำความเข้าใจร่วมกันให้ชัดเจนก่อนที่จะวางแผนผลิตและพัฒนาครู นอกจากนี้ควรพิจารณาถึงประเด็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการจัดการศึกษา ควรมีการพัฒนาครูให้สามารถใช้เครื่องมือต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพิจารณาถึงความจำเป็นว่าควรมีอัตราครูสาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษาในโรงเรียนหรือไม่ ส่วนกรณีครูผู้ช่วยที่มีอยู่ในปัจจุบันกว่า 60,000 คน อาจจะรับจากผู้ที่สอบผ่านและรอบรรจุแต่งตั้งด้วยเงื่อนไขที่เข้มข้น เพื่อให้ได้ครูที่มีคุณภาพ ไม่ใช่ให้แต่ละหน่วยงานจ้างกันตามอัธยาศัย สำหรับการวางแผนการอบรมพัฒนาครูและศึกษานิเทศก์ ซึ่ง สพฐ.ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ นั้น ควรวางแผนให้สอดคล้องกับระยะเวลาเปิดปิดภาคเรียน และมีการอบรมอย่างเข้มข้น เช่น การอบรมการสอนภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เป็นต้น


• รายงานการประเมินผลการจัดงาน “สุดยอดการเรียนภาษาและคิดวิเคราะห์”


ที่ประชุมได้รับทราบรายงานการประเมินผลการจัดงาน “สุดยอดการเรียนภาษาและคิดวิเคราะห์” (Language Learning and Thinking Showcase) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 30–31 ตุลาคม 2556 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ โดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมงาน ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารองค์กรหลักกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ อาทิ สมาคมโรงเรียนนานาชาติ สถานทูต สื่อมวลชน และประชาชนผู้สนใจทั่วไป ประมาณ 30,000 คน

ซึ่งกิจกรรมหลักที่จัดขึ้นภายในงาน ประกอบด้วยการเสวนาทางวิชาการ “เรียนภาษาเพื่อสื่อสารให้เป็นประโยชน์” เรียนอย่างไรให้คิดวิเคราะห์เป็น เป็นต้น การสาธิตการเรียนการสอนที่เป็นแบบอย่างที่ประสบความสำเร็จ การจัดประกวดสื่อการเรียนการสอน การแข่งขันทักษะทางวิชาการ อาทิ การประกวดสุนทรพจน์ภาษาไทย/ภาษาจีน การแข่งขันตอบปัญหาภาษา เป็นต้น การจัดแสดงบูธนิทรรศการด้านภาษา การคิดวิเคราะห์ และสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี การมอบเกียรติบัตรสำหรับผู้เข้าร่วมงาน จำนวน 15,005 คน โดยจำแนกเป็นผู้ลงทะเบียน Online จำนวน 5,722 คน และผู้ลงทะเบียนภายในงานจำนวน 9,283 คน และยังมีการจับสลากชิงรางวัล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Tablet) โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น



ทั้งนี้จากการติดตามประเมินผลการจัดงาน “สุดยอดการเรียนภาษาและคิดวิเคราะห์” ในครั้งนี้ได้กำหนดเป้าหมายรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน/นักศึกษา ครู อาจารย์ ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมงาน จำนวน 2,000 คน และสามารถเก็บรวบรวมได้ 1,696 คน คิดเป็นร้อยละ 84.8 ของกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยแบบสอบถามผู้เข้าร่วมงาน จำนวน 1,505 คน และสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมงาน จำนวน 191 คน ปรากฏผลดังนี้

- ผู้เข้าร่วมงาน “สุดยอดการเรียนภาษาและคิดวิเคราะห์” พบว่า เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศ
- ชายและกลุ่มบุคคลที่เข้าร่วมงานเป็นครูผู้สอนมากที่สุด รองลงมา คือนักเรียน/นักศึกษา และข้าราชการ/พนักงานราชการในกระทรวงศึกษาธิการ ตามลำดับ
- การรับทราบข้อมูลการจัดงาน พบว่า ส่วนใหญ่รับทราบข้อมูลจากสถานศึกษามากที่สุด รองลงมา คือเว็บไซต์/อินเทอร์เน็ต หนังสือเวียนหน่วยงาน และเพื่อน/คนรู้จัก ตามลำดับ
- ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมงานที่มีต่อการจัดงานในภาพรวม พบว่า มีความพึงพอใจต่อการจัดงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายประเด็น พบว่า ประเด็นที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ การจัดงานดังกล่าวทำให้ได้รับความรู้และเป็นประโยชน์ และประเด็นที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ การประชาสัมพันธ์งาน
- การเข้าร่วมกิจกรรมภายในงาน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นการเข้าร่วมชมบูธนิทรรศการแสดงผลงานมากที่สุด สำหรับกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมงานมีความเห็นว่ามีความสนใจมากที่สุด คือ กิจกรรม/นิทรรศการที่เกี่ยวกับด้านภาษา รองลงมา คือ ด้านความรู้และการคิดวิเคราะห์ ด้านนวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยี และด้านภาษาเพื่ออาชีพ ตามลำดับ
- ความรู้ที่ได้รับและประยุกต์ใช้ความรู้ พบว่า ด้านภาษาต่างประเทศ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ได้รับความรู้และทักษะในการพัฒนาตนเอง ในขณะที่ด้านการคิดวิเคราะห์ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าช่วยให้เกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลมากขึ้น
- ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะภาษาและคิดวิเคราะห์
@ การพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศของผู้เข้าร่วมงาน พบว่า ส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศจากห้องเรียนและสถานศึกษา รองลงมา คือ ฝึกฝนด้วยตนเองผ่านการดูหนัง ฟังเพลง และอ่านหนังสือ และการเรียนรู้ผ่านโลกอินเตอร์เน็ตหรือ Social Network ตามลำดับ
@ สาเหตุและแนวทางในการพัฒนาทักษะด้านภาษา พบว่า ด้านภาษาไทย ส่วนใหญ่เห็นว่าการสื่อสารภาษาไทยบนโลกอินเตอร์เน็ต Social Network ส่งผลต่อการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง และในด้านภาษาต่างประเทศ ส่วนใหญ่เห็นว่าเด็กไทยยังไม่กล้าแสดงออก หรืออายที่จะพูดภาษาต่างประเทศในที่สาธารณะ ซึ่งแนวทางการพัฒนาทักษะทางด้านภาษา ส่วนใหญ่เป็นว่าควรปรับและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารได้ มีสื่อนวัตกรรมในการกระตุ้นการเรียนรู้ และส่งเสริมการฝึกใช้ทักษะภาษาให้มากขึ้น
@ สาเหตุและแนวทางในการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ พบว่า ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าหลักสูตรเน้นการท่องจำเนื้อหามากกว่าการฝึกคิดวิเคราะห์ ซึ่งแนวทางในการพัฒนากระบวรการคิดวิเคราะห์ ส่วนใหญ่เห็นว่าควรพัฒนาครูให้มีทักษะการสอนเชิงคิดวิเคราะห์ ปรับหลักสูตรการเรียนการสอน เน้นให้เด็กมีทักษะทางภาษาอย่างมีคุณภาพ และปรับกระบวนการเรียนการสอนให้เน้นการวิเคราะห์
@ ปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาทักษะภาษาและการคิดวิเคราะห์ พบว่า ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าเทคนิคและกระบวนการเรียนการสอนเป็นปัจจัยสำคัญมากที่สุด รองลงมา คือ ครูผู้สอน สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ หลักสูตร และโมเดลหรือตัวอย่างที่ดี ตามลำดับ





ข้อเสนอแนะในการจัดงานครั้งต่อไป

- ด้านการประชามสัมพันธ์ ควรเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ก่อนการจัดงานให้มากขึ้นและหลากหลาย รวมถึงเพิ่มจุดประชาสัมพันธ์ภายในบริเวณงาน ป้าย และแผนผังการจัดงานให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้ทราบกิจกรรมการจัดงานในบริเวณพื้นที่ต่างๆ
- ด้านสถานที่ ควรแบ่งพื้นที่การจัดกิจกรรมให้ชัดเจนเป็นสัดส่วน และควรให้มีผนังกั้นระหว่างเวทีกลางกับพื้นที่จัดบูธนิทรรศการ เพื่อป้องกันเสียงรบกวน รวมถึงจัดหาพื้นที่รับประทานอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมงาน และเพิ่มเก้าอี้นั่งพัก และถังขยะให้มากขึ้น

รูปแบบการจัดกิจกรรม

- กำหนดหัวข้อของกิจกรรม ควรคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายของผู้เข้าร่วมงาน โดยเฉพาะเด็กนักเรียนที่เข้าร่วมงานให้สามารถเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้
- การจัดกิจกรรม/บูธนิทรรศการ ควรเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประกอบการจัดแสดงเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เข้าร่วมงาน
- ขอความร่วมมือหน่วยงานที่ออกบูธนิทรรศการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการจัดงาน


ผลประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 10/2556 (13 พ.ย.2556)ผลประชุมกระทรวงศึกษาธิการครั้งที่102556(13พ.ย.2556)

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

มติ ครม.27 มี.ค.2558 ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

มติ ครม.27 มี.ค.2558 ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

เปิดอ่าน 16,487 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ความก้าวหน้านโยบาย ศธ.
ความก้าวหน้านโยบาย ศธ.
เปิดอ่าน 11,131 ☕ คลิกอ่านเลย

ผลประชุมกระทรวงศึกษาธิการ 2/2558
ผลประชุมกระทรวงศึกษาธิการ 2/2558
เปิดอ่าน 8,465 ☕ คลิกอ่านเลย

รมว.ศธ.ประชุมทางไกลกับ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ
รมว.ศธ.ประชุมทางไกลกับ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ
เปิดอ่าน 10,863 ☕ คลิกอ่านเลย

มติ ครม.ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ 12 มี.ค.2556
มติ ครม.ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ 12 มี.ค.2556
เปิดอ่าน 9,420 ☕ คลิกอ่านเลย

สมเด็จพระเทพฯ พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี
สมเด็จพระเทพฯ พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี
เปิดอ่าน 5,470 ☕ คลิกอ่านเลย

ผลประชุมองค์กรหลัก กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2558
ผลประชุมองค์กรหลัก กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2558
เปิดอ่าน 8,465 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ต้องเร่งแก้ไขพฤติกรรม
ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ต้องเร่งแก้ไขพฤติกรรม
เปิดอ่าน 8,777 ครั้ง

สุดระทึก ขับรถฝ่าไฟแดง หนีการจับกุมตำรวจ
สุดระทึก ขับรถฝ่าไฟแดง หนีการจับกุมตำรวจ
เปิดอ่าน 9,823 ครั้ง

ตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจคิดใหม่ทำใหม่เพื่อหัวใจของคุณ
ตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจคิดใหม่ทำใหม่เพื่อหัวใจของคุณ
เปิดอ่าน 10,969 ครั้ง

ลายมือผู้วิเศษ
ลายมือผู้วิเศษ
เปิดอ่าน 15,157 ครั้ง

โครงงานคณิตศาสตร์
โครงงานคณิตศาสตร์
เปิดอ่าน 130,515 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ