ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

คนไทยกับ "วิกฤติหนี้สิน" "การศึกษา" ถึงเวลาปฏิรูป


บทความการศึกษา 27 ต.ค. 2557 เวลา 15:30 น. เปิดอ่าน : 9,386 ครั้ง
Advertisement

คนไทยกับ "วิกฤติหนี้สิน" "การศึกษา" ถึงเวลาปฏิรูป

Advertisement

SCOOP@NAEWNA.COM

"เราติดไม้ติดมืออะไรให้เขาบ้าง? ในแง่ความคิด ทักษะ ในแง่ความมีวินัย ความรับผิดชอบ เด็กของเราออกมาที่ชั้น ม.3 ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ จังหวัดที่มีนิคมอุตสาหกรรมเป็นอย่างนั้นหมดเลย หรือออกที่ ม.6 ก็เยอะ ไม่มีอะไรติดมือเขา แล้วแนวโน้มเขาคือจะเป็นแรงงานที่กินค่าแรงขั้นต่ำไปตลอดชีวิต นี่ไงครับที่เราบอกว่า Middle Income Trap (กับดักรายได้ปานกลาง) อะไรทั้งหลายก็เพราะ
อย่างนี้ เราจะไปยกระดับการผลิตได้ยังไง ถ้าแรงงานเราไม่ได้มีทักษะ ไม่ได้มีความสามารถอะไรที่จะไปช่วยตรงนั้น"

ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาวิชาการ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)กล่าวเมื่อครั้งไปร่วมงานเสวนา "ปฏิรูปประเทศไทย-ปฏิรูปอะไรและอย่างไร" ณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เมื่อกลางเดือน ต.ค. 2557 ที่ผ่านมา ถึงวิกฤติการศึกษาไทย และนี่ไม่ใช่หนแรก ก่อนหน้านี้ก็มีหลายฝ่ายทั้ง นักวิชาการ ครู และเครือข่ายผู้ปกครอง ที่ออกมาเตือนอยู่บ่อยๆ ว่า ระบบการศึกษาไทยทุกวันนี้ ไม่ได้ตอบโจทย์ด้าน "พัฒนาคุณภาพชีวิต" หรือสร้าง "ทักษะชีวิต" เพื่อให้อยู่ได้ในสังคมที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างใด

สิ่งหนึ่งที่ยืนยันว่าการเตือนนี้ถูกต้อง..นั่นคือ "วิกฤติหนี้ครัวเรือน" ที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ!!!
ที่เป็นเช่นนั้น เพราะต้องยอมรับว่า..คนไทยส่วนใหญ่ยังขาด "ทักษะชีวิตด้านการเงิน"!!!

รายงานผลสำรวจทักษะทางการเงินของไทยปี 2556 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.-แบงก์ชาติ) ทำร่วมกับสำนักงาน สถิติแห่งชาติ (สสช.) ใช้เกณฑ์ 3 ด้านตามมาตรฐานนานาชาติขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) คือ ด้านความรู้ทางการเงิน ด้านพฤติกรรมทางการเงิน และทัศนคติทางการเงิน ศึกษาพฤติกรรมของคนไทย

พบว่า คนไทยมีคะแนนทักษะทางการเงินเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 58.5 ของคะแนนเต็ม ซึ่งต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยของ 14 ประเทศที่ร่วมโครงการของ OECD ที่อยู่ที่ร้อยละ 62.3 และเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะที่ผ่านมาการเรียนการสอนในสังคมไทย ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ "ความรู้ทางการเงิน" (Financial Literacy) ทั้งวินัยทางการเงิน การรู้จักวางแผน และการบริหารเงินอย่างมีประสิทธิภาพ เท่าที่ควรจะเป็น
ทั้งที่เป็นเรื่องใกล้ตัวทุกคน..ไม่ว่าจะเป็นเพศ วัย อาชีพ หรือฐานะชนชั้นใดก็ตาม!!!

ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPURC) ในฐานะผู้สนใจศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่ายของธุรกิจขนาดกลาง-ขนาดย่อม (SME) และครัวเรือนไทย บอกเล่ากับ "สกู๊ปหน้า 5" ถึงสิ่งที่ได้พบระหว่างทำการสำรวจ ที่ไม่ว่าจะเป็น "คนเมือง-คนชนบท" ต่างก็เป็นหนี้ไม่ต่างกันดร.เกียรติอนันต์ ยกตัวอย่างเกษตรกรรายหนึ่งที่มีหนี้สะสมรวมกว่า 4 แสนบาท ซึ่งจุดเริ่มต้นอยู่ที่การลงทุน เพาะปลูกแบบคาดเดา คิดว่าน่าจะได้ผลผลิตดี ประกอบกับ ขณะนั้นมีโครงการรับจำนำข้าว จึงกู้เงินจำนวนมากมาเพื่อทำนา แต่กลายเป็นว่าปีนั้นอากาศแห้งแล้ง อีกทั้งหน้าดินที่ไปลงทุน ปลูกข้าวหลายจุดไม่ได้อุดมสมบูรณ์ ตามด้วยวิกฤติการเมือง ที่ทำให้การจ่ายเงินจำนำข้าวล่าช้า

"โซนที่เขาไปเปิดมันไกลแหล่งน้ำ แต่เขาคิดว่ามันพอจะไปได้ เอาเข้าจริงมันกลายเป็นว่าแล้งเยอะ แล้วก็ไปกู้เงินมาขยายการผลิตเพราะอยากได้เงินจากจำนำข้าว พอถึงเวลาได้เงินช้า หนี้มันก็บานเลย แล้วถึงได้เงินก็ได้ไม่เยอะ เพราะที่ดินใหม่ที่เขาไปเปิด มันไม่ได้อุดมสมบูรณ์ ข้าวมันก็ขึ้นไม่ได้ดี พอบวกต้นทุนบวกความล่าช้าเข้าไป มันก็กลายเป็นหนี้เยอะเมื่อรวมกับหนี้ก่อนหน้านั้นเมื่อปีก่อนของเขาอยู่แล้ว

ติดลบสี่แสนกว่าบาทนะครับ แต่อันนี้หมายถึงหนี้สะสมของเขามา 2-3 ปีนะครับไม่ใช่ปีเดียว แต่อีกอย่างเขาก็หาเงินมาช่วยลูกที่กู้ กยศ. เรียน ที่ได้ไม่เต็มวงเงิน และได้ไม่ครบทุกเทอม มีเงินที่ต้องเป็นค่ากินค่าใช้ นอกจากทำนาแล้วก็มีจับปลา แล้วก็ไปรับจ้างในเมือง จริงๆ เดือนๆ หนึ่งเขาก็มีรายได้หมื่นกว่าบาทนะ แต่มันก็ยังไม่พอ มาหนักเรื่องนี้ แล้วหนี้ก็เป็นหนี้นอกระบบที่ดอกเบี้ยจะเยอะ มันก็เลยลำบาก" ดร.เกียรติอนันต์ กล่าวถัดจากสังคมชนบทที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผอ.DPURC ยกตัวอย่างอีกกรณีหนึ่ง แต่คราวนี้เป็นหนี้ในสังคมเมือง ว่าด้วยบัณฑิตหนุ่มรายหนึ่งที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา แต่จบจากบางคณะที่ "ล้นตลาด" ขณะเดียวกันก็ไม่ใช่แผน การเรียนที่ตนเองถนัดเท่าไร ทำให้เมื่อไปสมัครงานก็หางานไม่ได้ จนต้องใช้วุฒิที่ต่ำกว่าระดับปริญญา ไปสมัครงานในตำแหน่ง ที่ต่ำลงไป ซึ่งก็ได้เงินเดือนไม่มากนัก

กระทั่งผ่านไประยะหนึ่ง หนุ่มรายนี้ตัดสินใจกู้เงิน 100,000 บาทมาทำธุรกิจ เริ่มต้นที่การเปิดร้านชา-กาแฟ เพราะเห็นว่าเป็นธุรกิจยอดนิยมในปัจจุบัน ในครั้งนั้นใช้เงินทำร้านไปประมาณ 7-8 หมื่นบาท ส่วนอีกราว 2 หมื่นบาทนำไปซื้อโทรศัพท์มือถือ ทำให้ไม่มีทุนหมุนเวียนหรือทุนสำรองฉุกเฉิน อีกทั้งเมื่อเปิดร้านจริงๆ พบว่ามีคู่แข่งจำนวนมาก ผลสรุปคือ "ไปไม่รอด" แต่ก็ยังขอให้ที่บ้านส่งเงินมาช่วยเหลือ หวังว่าจะนำไปทำธุรกิจอื่นๆ ทั้งขายเสื้อผ้า หรือแม้กระทั่ง "เล่นหุ้น" หรือซื้อขายหลักทรัพย์ อีกหนทางลงทุนที่หลายคนเชื่อว่าจะทำให้ "รวยทางลัด" ได้แต่ยิ่งทำหนี้ก็ยิ่งงอก จนต้องหนีหนี้ในที่สุด!!!"เขาจะเปิดร้านขายน้ำชาตามกระแส คิดว่าคนซื้อน้ำเยอะน้ำปั่นเยอะ ก็กู้มาแสนนึง แต่จริงๆ ใช้ทำร้านไปประมาณเจ็ดหมื่นกว่าบาท ที่เหลือเอาไปซื้อโทรศัพท์ เลยกลายเป็นว่าเงินสองหมื่นที่จะเอาไปเป็นทุนหมุนเวียนก็ไม่ได้ แล้วร้านน้ำก็มีคนมาตั้งแข่งอยู่เรื่อย ก็เลยเจ๊ง ก็ให้ทางบ้านส่งเงินมา เอาไปทำธุรกิจอื่นอีก ก็ไปซื้อเสื้อผ้าแถวประตูน้ำมาขาย แต่ก็ขายไม่ดีเพราะคนไม่ได้ซื้อของเยอะ ช่วงที่กำลังซื้อลด ก็เลยเป็นหนี้สองรอบ

สุดท้ายคิดง่ายๆ เพราะเคยอ่านหนังสือพวกเล่นหุ้น แล้วรวย ก็ขายมอเตอร์ไซค์ตัวเองแล้วโกหกที่บ้านว่าจะเอาเงินมาขยายกิจการ แล้วก็เอาเงินไปเล่นหุ้น ช่วงแรกๆ ก็ได้บ้าง แต่ต่อมาเศรษฐกิจชะลอตัว หุ้นก็ไม่ค่อยขึ้น แล้วเขาเป็นพวกซื้อขายวันต่อวัน สุดท้ายก็เป็นหนี้ประมาณห้าแสน ก็เลยหนีหนี้"

ผอ.DPURC ระบุ และกล่าวเสริมว่า การก่อหนี้ หากทำเพราะจำเป็นและไม่ก่อจนเกินตัว เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่แปลกอะไร เช่น บางครั้งคนทำธุรกิจที่ลูกค้าสั่งสินค้าด่วนมีกำหนดส่งมอบแน่นอน ก็อาจต้องกู้มาใช้ในส่วนนี้ แต่อย่าให้ถึงขั้นกู้แบบไม่มีขอบเขตจนหนี้สินล้นพ้นตัว ต้องมีชีวิตอยู่ด้วยการนำเงินกู้ แหล่งหนึ่งไปโปะอีกแหล่งหนึ่งไปวันๆ เพราะไม่มีวินัยและแผนการที่รอบคอบ

"การกู้เพราะความจำเป็นและควรกู้ก็มีนะ บางทีคนหรือธุรกิจช็อตเงิน แต่ไม่ได้ช็อตนาน ช็อตแค่ 2-3 วัน ลูกค้าสั่ง ออเดอร์ด่วนต้องลงของเลย อันนี้เขาคิดต้นทุนลงไปในการกู้ อยู่แล้ว มันอาจเสียดอกแพงก็ไม่เป็นไร ถ้าคิดว่าจำเป็น กู้แล้วคุ้ม จะนอกระบบก็ไม่เป็นไร
แต่กลุ่มที่กู้เพราะทักษะการบริหารเงินไม่ดี อันนี้น่าห่วง แล้วตรงนี้พอกู้แล้วต้องกู้โปะไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็เหมือนคนที่มีบัตรเครดิต 7-8 ใบ แล้วก็รูดใบโน้นมาโปะใบนี้ เป็นหนี้สินล้นพ้นตัว จนล้มละลาย อันนี้น่ากลัวกว่า แล้วมันเป็นปัญหารวมของ คนไทยเลยนะครับ" ดร.เกียรติอนันต์ ฝากทิ้งท้ายนอกจากงานสำรวจของ ธปท.-สสช. ข้างต้นแล้ว หากลงลึกในรายละเอียด ข้อมูลจากกระทรวงการคลัง ระบุว่า กลุ่มเสี่ยง 3 กลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ คือ 1.กลุ่มวัยรุ่นนักเรียนนักศึกษา ที่ยังไม่มีความสามารถในการหารายได้ แต่พบว่ามีการก่อหนี้สูงขึ้นอย่างน่าตกใจ 2.กลุ่มอาชีพอิสระ หรือรับจ้างทั่วไป ที่มีรายได้ต่ำและรายได้ไม่แน่นอน และ 3.กลุ่มเกษตรกร ซึ่งต้องฝากชีวิตไว้กับธรรมชาติและมีรายได้ไม่มากนัก

ทั้ง 3 กลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ขาดทักษะด้านการบริหาร จัดการเงิน จึงสุ่มเสี่ยงที่จะเข้าไปสู่วงจรหนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เงินกู้นอกระบบที่ดอกเบี้ยสูงและมีการใช้ความรุนแรงในการทวงถาม ดังนั้น นอกจากจะมีการผลักดันกฎหมายควบคุมการติดตามหนี้สิน ตลอดจนจัดหาแหล่งเงินทุนในระบบ ที่เจาะจง ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยแล้ว

หลักสูตรการศึกษาก็ต้องถูกปฏิรูปเช่นกัน และไม่ใช่เพียงเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ-วิชาชีพ แต่ผู้เรียนควรจะได้ทักษะชีวิต โดยเฉพาะความเข้าใจด้านการบริหารจัดการเงิน ทั้งการใช้จ่าย การออม และการลงทุน เพื่อที่จะได้ไม่เข้าไปสู่วงจรหนี้โดยไม่จำเป็น หรือถ้าต้องเป็นหนี้แล้วจะรับมืออย่างไร

เพราะที่ผ่านมา..สังคมไทยต้องแบกรับเรื่องเศร้าสลด ประเภท "เผาตัวเองประชดหนี้" , "ผูกคอตายหนีหนี้" หรือ "ปล้นไปใช้หนี้" เพราะความจนตรอก มามากพอแล้ว!!!

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า

ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6


คนไทยกับ "วิกฤติหนี้สิน" "การศึกษา" ถึงเวลาปฏิรูป คนไทยกับวิกฤติหนี้สินการศึกษาถึงเวลาปฏิรูป

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (1)

ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (1)


เปิดอ่าน 12,500 ครั้ง
จัดอันดับทุนมนุษย์

จัดอันดับทุนมนุษย์


เปิดอ่าน 8,097 ครั้ง
ความคิดสร้างสรรค์ (1)

ความคิดสร้างสรรค์ (1)


เปิดอ่าน 8,725 ครั้ง
แสงส่องทางจากการศึกษา

แสงส่องทางจากการศึกษา


เปิดอ่าน 12,281 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เคราะห์ซ้ำกรรมซัด "SCB-สถาบันการศึกษา"

เคราะห์ซ้ำกรรมซัด "SCB-สถาบันการศึกษา"

เปิดอ่าน 16,042 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
10 งานด่วนภายใน 6 เดือนที่ "รมต.ศธ." ควรทำ
10 งานด่วนภายใน 6 เดือนที่ "รมต.ศธ." ควรทำ
เปิดอ่าน 18,778 ☕ คลิกอ่านเลย

การแก้ปัญหาการศึกษาไทย คันที่หลัง อย่าไปเกาที่ขา
การแก้ปัญหาการศึกษาไทย คันที่หลัง อย่าไปเกาที่ขา
เปิดอ่าน 18,843 ☕ คลิกอ่านเลย

"ครู" คือ "ปูชนียบุคคล" หรือ "ผู้แจวเรือจ้าง"
"ครู" คือ "ปูชนียบุคคล" หรือ "ผู้แจวเรือจ้าง"
เปิดอ่าน 13,980 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาปัญหาที่แก้ไม่ตก
การศึกษาปัญหาที่แก้ไม่ตก
เปิดอ่าน 8,856 ☕ คลิกอ่านเลย

หมดยุค"ปริญญาแปะฝาบ้าน"!! "ทักษะอาชีพ-ชีวิต"สำคัญกว่า?
หมดยุค"ปริญญาแปะฝาบ้าน"!! "ทักษะอาชีพ-ชีวิต"สำคัญกว่า?
เปิดอ่าน 428,554 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษา...เพื่ออะไร ?
ปฏิรูปการศึกษา...เพื่ออะไร ?
เปิดอ่าน 8,183 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ธุรกิจแบบไหนควรจดสิทธิบัตรทั่วโลก หรือ PCT
ธุรกิจแบบไหนควรจดสิทธิบัตรทั่วโลก หรือ PCT
เปิดอ่าน 4,294 ครั้ง

กูเกิล เผยอันดับคำค้นหายอดนิยมของคนไทย ประจำปี 2014
กูเกิล เผยอันดับคำค้นหายอดนิยมของคนไทย ประจำปี 2014
เปิดอ่าน 12,146 ครั้ง

ฟังก์ชันของ exponential
ฟังก์ชันของ exponential
เปิดอ่าน 42,408 ครั้ง

นวดแก้ปวดไม่ใช้มือ ศาสตร์บำบัดล้านนา
นวดแก้ปวดไม่ใช้มือ ศาสตร์บำบัดล้านนา
เปิดอ่าน 19,193 ครั้ง

ทำไมแมวไม่ชอบน้ำ
ทำไมแมวไม่ชอบน้ำ
เปิดอ่าน 9,289 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ