ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เปิดสถานการณ์เด็กปฐมวัย พบปรากฎการณ์เร่งเรียนตั้งแต่วัยอนุบาล


ข่าวการศึกษา 25 มี.ค. 2558 เวลา 06:35 น. เปิดอ่าน : 7,323 ครั้ง
เปิดสถานการณ์เด็กปฐมวัย พบปรากฎการณ์เร่งเรียนตั้งแต่วัยอนุบาล

Advertisement

เปิดสถานการณ์เด็กปฐมวัย พบปรากฎการณ์เร่งเรียน มุ่งติวตั้งแต่วัยอนุบาล ส่งผลสูญเสียโอกาสการพัฒนาทักษะทางพฤติกรรม “มีวินัย คิดสร้างสรรค์” คุณลักษณะสู่ความสำเร็จในอนาคต ขณะที่เด็กอีก 12%กลับไม่เข้าถึงโอกาสการเรียนรู้ เปิด 3 ข้อเสนอพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องสร้างความพร้อมทั้งเด็ก ครอบครัว และระบบการศึกษา

เปิดสถานการณ์เด็กปฐมวัย พบปรากฎการณ์เร่งเรียน มุ่งติวตั้งแต่วัยอนุบาล ส่งผลสูญเสียโอกาสการพัฒนาทักษะทางพฤติกรรม “มีวินัย คิดสร้างสรรค์” คุณลักษณะสู่ความสำเร็จในอนาคต ขณะที่เด็กอีก 12%กลับไม่เข้าถึงโอกาสการเรียนรู้ เปิด 3 ข้อเสนอพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องสร้างความพร้อมทั้งเด็ก ครอบครัว และระบบการศึกษา

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่อาคารไอบีเอ็ม สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.) ร่วมกับเครือข่ายคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์และครูปฐมวัย จัดงานแถลงข่าว “ปฐมวัย : ลงทุนอย่างไรให้คุ้มค่า” โดย ผศ.ดร.ศศิลักษณ์ ขยันกิจ ประธานสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากผลการวิจัยและติดตามพัฒนาการของเด็กปฐมวัยของไทยพบว่า เด็กปฐมวัยกำลังถูกเร่งรัดให้มีพัฒนาการที่เกินวัยอย่างไม่สมดุลซึ่งจะส่งผลเสียต่อการพัฒนาทักษะด้านการเรียนรู้ของเด็กในอนาคต เช่น เร่งรัดพัฒนาการด้านวิชาการที่เกินวัยเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนต่อในโรงเรียนประถมชื่อดังจึงเกิดปรากฎการณ์กวดวิชาตั้งแต่อนุบาล ทั้งในช่วงวันหยุดและวันปิดเทอม เร่งเรียนเขียนอ่าน เกินพัฒนาการเด็กซึ่งเกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากคาดหวังของผู้ปกครองที่ต้องการให้เด็กอนุบาลอ่านออกบวกลบเลขได้ ผู้บริหารสถานศึกษาที่ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย รวมถึงการวัดผลด้วยการทดสอบความรู้ด้านเนื้อหาสาระ ทำให้ระบบการเรียนการสอนเด็กในระดับอนุบาลและประถมศึกษาตอนต้นมุ่งเน้นการท่องจำความรู้ ซึ่งเป็นการสูญเสียโอกาสในการเรียนรู้จากหน้าต่างแห่งโอกาส เพราะเด็กในช่วงปฐมวัยสมองจะเปิดรับการเรียนรู้ได้ดีที่สุด โดยเฉพาะทักษะด้านพฤติกรรม เช่น ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะทางอารมณ์ การพูดและการเคลื่อนไหว แต่เมื่อเด็กถูกพัฒนาทักษะเพียงด้านเดียวส่งผลให้เด็กขาดแรงจูงใจการเรียนรู้ ขาดทักษะในการทำงานร่วมกับคนอื่น และขาดทักษะความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งเป็นการเสียโอกาสที่มีอยู่อย่างจำกัดในการสร้างทักษะทางด้านพฤติกรรม ซึ่งจะส่งผลต่อคุณลักษณะความสำเร็จด้านการศึกษาและการทำงานในอนาคตของเด็ก


ผศ.ดร.ศศิลักษณ์ กล่าวว่า จากการระดมความเห็นของเครือข่ายคณาจารย์ครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ ศึกษานิเทศก์ ครูอาจารย์ปฐมวัย และผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาเพื่อเด็กปฐมวัย มี 3 ข้อเสนอในการสร้างความพร้อมสู่การจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย “เด็กพร้อม ครอบครัวพร้อม ระบบการศึกษาพร้อม” โดยการสร้างความพร้อมของเด็ก ประกอบด้วย การขยายโอกาสทางการศึกษาปฐมวัยให้แก่เด็กทุกคน การจัดการเรียนรู้แก่เด็กปฐมวัยให้สอดคล้องกับธรรมชาติตามวัย การจัดสรรงบประมาณให้ครอบคลุมเด็กทุกวัยโดยเฉพาะกลุ่มเด็กปฐมวัยด้อยโอกาส ในส่วนของครอบครัวพร้อม มีทั้งการให้ความรู้แก่พ่อแม่และปู่ย่าตายาย สนับสนุนสวัสดิการการดูแลบุตรตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยขยายระยะเวลาการลาคลอดให้ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 6 เดือน เป็นต้น และระบบการศึกษาพร้อม ได้แก่ รัฐกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการพัฒนาคุณลักษณะของคนไทยโดยนโยบายและกำหนดหลักสูตรในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเหมาะสมกับช่วงวัย การจัดสรรงบประมาณเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการสถานศึกษาระดับปฐมวัยให้ทัดเทียมกันทั้งในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน การปรับเปลี่ยนการวัดประเมินผลเด็กปฐมวัย (อนุบาล-ประถมต้น) ที่เหมาะสม ไม่ใช้การสอบ การแก้ปัญหาการสอบเข้าเรียนต่อระดับประถมศึกษาปีที่ 1 และการพัฒนารอยต่อทางการศึกษาในแต่ละช่วงวัย ทั้งจาก บ้าน-โรงเรียน หรือศูนย์เด็กเล็ก จากอนุบาล-ประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นต้น


ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า ยังมีเด็กปฐมวัยอีก 12% ที่ขาดโอกาสในการเตรียมความพร้อม จากข้อมูลของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2555 พบว่า มีเด็กจำนวน 365,506 คน จากจำนวนเด็กช่วงอายุ 0-5 ปี 4,585,759 คน หรือ คิดเป็น 12% ของเด็กในช่วงอายุ 2-5 ปี ที่ไม่ได้รับโอกาสในการเข้าเรียนในศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาลเพื่อเตรียมความพร้อมในช่วงปฐมวัย สถานการณ์ดังกล่าวจะสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมแก่ประเทศไทยในอนาคตเป็นอย่างมาก จากข้อมูลของเจมส์ แฮคแมน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2543 ระบุว่า การลงทุนในเด็กปฐมวัยผ่านการพัฒนาทักษะด้านพฤติกรรม จะสร้างผลตอบแทนคืนกลับทั้งต่อเด็กเยาวชนและต่อสังคมในอนาคตสูงมากถึง 7 เท่า เพราะหน้าต่างแห่งโอกาส ในการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ของมนุษย์ จะเกิดขึ้นอย่างเต็มที่ในช่วงปฐมวัยเท่านั้น


ดร.นฤมล เนียมหอม ครูปฐมวัย ร.ร.ทุ่งมหาเมฆ โรงเรียนในสังกัด สพป.กทม. กล่าวว่า โรงเรียนต้องใช้ความกล้าหาญอย่างมากในการจัดการเรียนการสอนตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย ไม่จัดตามใจผู้ปกครองที่ต้องการให้สอนอ่านเขียนเรียนเลขในวัยอนุบาล การทำงานเช่นนี้ต้องอาศัยการทำความเข้าใจกับผู้ปกครองค่อนข้างมาก เพื่อให้เกิดความยอมรับในการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก ซึ่งเด็กวัยอนุบาล 3-5 ปีเป็นวัยที่เรียนรู้ผ่านการเล่นเป็นกิจกรรมที่สำคัญต่อชีวิตของเด็ก การที่ครูจัดกิจกรรมประจำวันให้เด็กได้เล่นอย่างมีจุดมุ่งหมายจะทำให้เด็กได้สังเกต ได้ทดลอง ได้คิดแก้ปัญหา ได้ค้นพบ ได้เล่นและทำงานร่วมกัน จึงเป็นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กและทำให้เด็กมีความสุขกับการเรียนรู้ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งวัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ การที่เด็กได้เสนอความคิด ได้ทำตามที่ตนเองจินตนาการหรือวาดมโนภาพไว้ เด็กจะมีพื้นฐานที่ดีในการเป็นผู้สร้าง เป็นนักคิดในอนาคต หากเด็กเรียนแบบเร่งรัดวิชาการย่อมทำลายพื้นฐานที่มีค่านี้ไป เพียงเพื่อตอบสนองต่อผู้ที่ไม่เข้าใจพัฒนาการเด็ก ให้เกิดความพอใจว่าเด็กอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็นตั้งแต่เล็ก

“เด็กที่โรงเรียนมาจากต้นทุนที่ไม่สูง เพราะเป็นโรงเรียนของรัฐ แต่เมื่อได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสมตามวัยและความต่างของเด็กแต่ละคน เด็กทุกคนก็สามารถอ่านออกเขียนได้เมื่อเข้าสู่ชั้นประถม 1 แถมยังมีข้อได้เปรียบที่เด็กเหล่านี้จะเป็นคนรักเรียน ไม่ต้องถูกบังคับให้เรียน และเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนก็สามารถเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมของรัฐได้” ดร.นฤมล กล่าว

 

 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

- ปฐมวัย : รากฐานสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คลิก

 

ที่มาจาก สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)

 


 

ชี้เด็กไทย เรียนเกินวัย ส่งผลพัฒนาการ

นักวิชาการเปิดผลวิจัย พบเด็กไทยพัฒนาการล่าช้า ทั้งสติปัญญา-คิดวิเคราะห์-การคิดสร้างสรรค์-ภาษา-การปรับตัว ชี้เหตุเกิดจากเร่งรัดให้เรียนเกินวัย พ่อแม่ส่งติวตั้งแต่อนุบาล แนะรัฐแก้ปัญหา ปรับการประเมินผลเด็ก

วันนี้ (24 มี.ค.) ที่อาคารไอบีเอ็ม สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จัดแถลงข่าว "ปฐมวัย" ลงทุนอย่างไรให้คุ้มค่า โดย ผศ.ดร.ศศิลักษณ์ ขยันกิจ ประธานสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากผลการวิจัยและติดตามพัฒนาการของเด็กปฐมวัยของไทย พบว่า เด็กไทยมีพัฒนาการล่าช้าทั้งด้านสติปัญญา การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ ภาษา และการปรับตัว เพราะเด็กถูกเร่งรัดให้มีพัฒนาการที่เกินวัยอย่างไม่สมดุล เช่น ถูกเร่งรัดด้านวิชาการเกินวัย เพื่อให้สอบเข้าเรียนต่อในโรงเรียนประถมชื่อดัง ทำให้เกิดการเรียนกวดวิชาตั้งแต่อนุบาล ทั้งในช่วงวันหยุด และปิดเทอม, เร่งเรียนเขียนอ่านเกินพัฒนาการของเด็กและเน้นท่องจำความรู้ ทำให้เด็กขาดทักษะด้านพฤติกรรม เช่น การคิดสร้างสรรค์ อารมณ์การพูด และการเคลื่อนไหว

“ในการสร้างความพร้อมสู่การจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพนั้น ต้องจัดการเรียนรู้ให้เหมาะกับวัย รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้ครอบคลุมโดยเฉพาะเด็กด้อยโอกาส ควรจัดสรรงบฯเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการสถานศึกษาระดับปฐมวัยให้ทัดเทียมกันทั้งรัฐและเอกชน ควรสนับสนุนสวัสดิการการดูแลบุตรตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และควรปรับการวัดประเมินผลเด็กปฐมวัยที่เหมาะสม โดยอาศัยการสังเกตเป็นหลัก ไม่ใช่การสอบอีกทั้งควรแก้ปัญหาการสอบเข้าเรียนต่อระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วย” ผศ.ดร.ศศิลักษณ์ กล่าว.

ด้าน ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์ศึกษา สสค. กล่าวว่า จากข้อมูลของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ปี 2555 พบว่า มีเด็ก 365,506 คน คิดเป็น 12%ของเด็กในช่วงอายุ 2-5 ปี ที่ไม่ได้รับโอกาสเข้าเรียนในศูนย์เด็กเล็ก หรือ โรงเรียนอนุบาล เพื่อเตรียมความพร้อมในช่วงปฐมวัย ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมแก่ประเทศไทยในอนาคตเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ จากข้อมูลเจมส์ แฮคแมนนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2543 ระบุว่า การลงทุนในเด็กปฐมวัยผ่านการพัฒนาทักษะด้านพฤติกรรมจะสร้างผลตอบแทนคืนกลับทั้งต่อเด็กเยาวชน และต่อสังคมในอนาคตสูงมากถึง 7 เท่า.

 

 

 

ที่มา เดลินิวส์ วันอังคาร 24 มีนาคม 2558


เปิดสถานการณ์เด็กปฐมวัย พบปรากฎการณ์เร่งเรียนตั้งแต่วัยอนุบาลเปิดสถานการณ์เด็กปฐมวัยพบปรากฎการณ์เร่งเรียนตั้งแต่วัยอนุบาล

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 19 ราย เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 19 ราย เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567

เปิดอ่าน 5,584 ☕ 26 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 19 ราย เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567
ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 19 ราย เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567
เปิดอ่าน 5,584 ☕ 26 เม.ย. 2567

รายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567
รายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 731 ☕ 26 เม.ย. 2567

สพฐ.แจ้งการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567 สมัครสอบทางออนไลน์เพียงรูปแบบเดียว
สพฐ.แจ้งการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567 สมัครสอบทางออนไลน์เพียงรูปแบบเดียว
เปิดอ่าน 1,343 ☕ 25 เม.ย. 2567

ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ "เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง" ปีที่ 18 ปีการศึกษา 2566 (ระดับประเทศ)
ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ "เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง" ปีที่ 18 ปีการศึกษา 2566 (ระดับประเทศ)
เปิดอ่าน 716 ☕ 25 เม.ย. 2567

การปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการจัดประชุมราชการ
การปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการจัดประชุมราชการ
เปิดอ่าน 1,693 ☕ 25 เม.ย. 2567

แนวทางการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงินเพื่อประโยชน์การศึกษา โครงการ "สุขาดี มีความสุข"
แนวทางการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงินเพื่อประโยชน์การศึกษา โครงการ "สุขาดี มีความสุข"
เปิดอ่าน 1,132 ☕ 25 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

โปรแกรมเฮ้าส์คีปเปอร์
โปรแกรมเฮ้าส์คีปเปอร์
เปิดอ่าน 19,115 ครั้ง

ดูโปรตั๋วเครื่องบินไปแม่สอด เที่ยวบินราคาประหยัด
ดูโปรตั๋วเครื่องบินไปแม่สอด เที่ยวบินราคาประหยัด
เปิดอ่าน 5,123 ครั้ง

สพฐ.พลิกโฉมโรงเรียน มุ่งเป้า ป.1 อ่านเขียนได้
สพฐ.พลิกโฉมโรงเรียน มุ่งเป้า ป.1 อ่านเขียนได้
เปิดอ่าน 5,330 ครั้ง

ซ้อมขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ประจำปี 2555
ซ้อมขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ประจำปี 2555
เปิดอ่าน 9,180 ครั้ง

นโยบายการศึกษามาจากไหน-ทำไมถึงไม่สำเร็จ
นโยบายการศึกษามาจากไหน-ทำไมถึงไม่สำเร็จ
เปิดอ่าน 9,841 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ