ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ปฏิรูปการศึกษาศตวรรษ 21 สร้าง ร.ร.เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้


ข่าวการศึกษา 27 ต.ค. 2559 เวลา 09:49 น. เปิดอ่าน : 15,022 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษาศตวรรษ 21 สร้าง ร.ร.เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

Advertisement

เป็นประจำทุกปีที่บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) จัดงานมหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู (EDUCA) ซึ่งเป็นการจัดงานอย่างต่อเนื่องมาถึงปีที่ 9 โดยครั้งนี้มีแนวคิดหลักว่า "โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้" (School as Learning Community : SLC) ที่โรงเรียนต้องตระหนักถึงสิทธิในการเรียนรู้ของเด็กทุกคน

ต้นกำเนิดของแนวคิดดังกล่าวมาจาก "ศ.ดร.มานาบุ ซาโต" ศาสตราจารย์เกียรติคุณแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว และศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยกักคุชูอิน ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้นำเสนอมาตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว โดยได้รับความสนใจจากครูในญี่ปุ่นจำนวนมาก ทำให้เกิดการปฏิรูปโรงเรียนในระดับรากฐาน พร้อมขยายแนวคิดและแนวปฏิบัติไปทั่วญี่ปุ่นและระดับนานาชาติ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในเอเชีย ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษาที่มีพลังสร้างสรรค์

ภายในงาน EDUCA "ศ.ดร.มานาบุ ซาโต" กล่าวถึงประเด็นหลักของแนวคิดว่าเป็นการสร้างความตระหนักในสังคมว่าทุกคนคนมีสิทธิในการเรียนรู้ ซึ่ง SLC จะเน้นการทำกิจกรรมที่ครูและนักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านการทำงานในชั้นเรียน นับเป็นต้นแบบของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งการรับฟังเสียงของคนอื่นเป็นกระบวนการสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้ โดยปัจจุบันแนวคิด SLC ถูกนำไปใช้แล้วกับ 3,500 กว่าโรงเรียนในญี่ปุ่น และในหลายประเทศ เช่น เม็กซิโก, จีน, เกาหลีใต้, ไต้หวัน, อินโดนีเซีย และเวียดนาม

"การเรียนแบบ SLC โรงเรียนต้องเปิดกว้างให้เห็นการทำงานร่วมกัน ด้วยการเปิดห้องเรียนให้ครูคนอื่นได้มาศึกษาวิธีการเรียนการสอนด้วย เพราะประเด็นสำคัญอยู่ที่การสื่อสาร ซึ่งการฟังคนอื่นถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ การรับฟังในที่นี้เป็นการเรียนรู้ที่อาศัยการโต้ตอบกัน อันนำไปสู่การสร้างสังคมประชาธิปไตย"


สำหรับการสอนเป็นรูปแบบของโปรเจ็กต์ และครูอาจปรับให้เด็กได้เรียนรู้ระหว่างชั้นก็ได้ด้วยการคละเด็กต่างระดับมาเรียนและทำงานร่วมกัน เพื่อได้สัมผัสความหลากหลายทางความคิด โดยครูอาจออกแบบแผนการสอนที่มอบโจทย์ให้เด็กได้แบ่งปันไอเดียกัน เป็นการสร้างความก้าวหน้าในการเรียนรู้ด้วยกันโดยต้องไม่มีเด็กคนไหนที่ถูกทิ้งให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว

"ขณะเดียวกันครูต้องเปิดโอกาสให้ครูท่านอื่นมาเรียนรู้ห้องเรียนของตัวเองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง อันเป็นพื้นฐานในการพัฒนาโรงเรียน โดยครูชั้นเดียวกันอาจมาเรียนรู้ร่วมกันในรายวิชาเดียวกัน เพราะการสื่อสารสู่สาธารณะมีพลังมากกว่าการเก็บข้อมูลไว้คนเดียว ทั้งนั้น การถักทอชุมชนแห่งการเรียนรู้ระดับโลก หรือทำให้เกิดเป็นสาธารณรัฐของการเรียนรู้ที่สมาชิกทุกคนสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่มีพรมแดนกั้น จะทำให้เกิดความเข้มแข็งของเครือข่ายโรงเรียน อีกทั้งยังเป็นการก้าวข้ามปัญหาการเมืองทั้งในและนอกประเทศมาสู่การเรียนรู้ร่วมกันได้"

หนึ่งในประเทศที่นำSLC ไปใช้อย่างเกาหลีใต้ "ดร.ซอน อู ชอง" ผู้อำนวยการสถาบันชุมชนแห่งการเรียนรู้ ประเทศเกาหลีใต้ กล่าวว่า เกาหลีใต้ได้นำการเรียนรู้แบบ SLC เข้ามาศึกษาตั้งแต่ปี 2544 และดำเนินการนำร่องในโรงเรียน 4 แห่งเมื่อปี 2547 ตอนนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก มีการนิยามโรงเรียนที่ใช้ SLC ว่า เป็นโรงเรียนนวัตกรรม โดยประธานคณะกรรมการด้านการศึกษา ทำให้การเรียนแบบ SLC ขยายวงกว้างขึ้น อีกทั้งสำนักงานการศึกษาท้องถิ่นที่เริ่มสร้างโรงเรียนเชิงประชาธิปไตย ก็ได้นำ SLC มาเป็นต้นแบบสำหรับการสร้างโรงเรียนที่มีคุณภาพ

โรงเรียนในฐานะชุมชนการเรียนรู้เป็นวิธีที่ทำให้ครูเติบโตในวิชาชีพของตนเพราะได้ปฏิรูปการศึกษาด้วยการเปิดห้องเรียนให้ครูคนอื่นมาศึกษาการสอนห้องเรียนของตนเอง โดยลักษณะของห้องเรียนจะมีการจัดโต๊ะเป็นรูปตัว U เพื่อให้เด็กได้ร่วมเรียนรู้กันง่ายขึ้น และครูสามารถดูแลนักเรียนได้อย่างเข้าถึงและมีประสิทธิภาพ ซึ่งลักษณะการเรียนการสอนแบบนี้แตกต่างจากการสอนจากมหาวิทยาลัยที่ให้ยึดวิธีการสอนที่เป็นระเบียบวิธีแน่นอน

"ขอยกตัวอย่างGunpo Middle School เป็นโรงเรียนรัฐบาลที่เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในจังหวัดกยองกิ มีนักเรียน 27 คนต่อห้อง เด็กของโรงเรียนแห่งนี้มีผลการเรียนตกต่ำ โดย 70% ของนักเรียนไปศึกษาต่ออาชีวศึกษา อีก 30% เข้าเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่ง 1 ใน 3 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดไม่สนใจเรียนรู้ หลับในห้องเรียน และเป็นอย่างนี้ทุกห้อง"

"หลังจากนำ SLC มาใช้ ครูได้เปิดห้องเรียนให้ครูคนอื่นเข้ามาดูการเรียนการสอนเดือนละครั้ง โดยครูจะแบ่งนักเรียนให้นั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน เพื่อให้ได้ดูแลเพื่อนและร่วมกันเรียนรู้ ทำให้เด็กไม่หลับระหว่างเรียนอีกแล้ว ทุกคนอยากมีส่วนร่วมในการเรียน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้ 70% ของเด็กอยากเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และไปเรียนต่อมหาวิทยาลัย ขณะที่ครูก็มีความสุขกับการสอน และเกิดความหวังในตัวเด็กมากขึ้น"

ปัจจุบันเกาหลีใต้มีโรงเรียน 350 แห่ง ที่เข้าร่วมเครือข่ายของโรงเรียน SLC โดย 90% เป็นโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และมีสมาชิก 3,800 รายในชุมชนท้องถิ่น 38 แห่งทั่วเกาหลีใต้ โดยตั้งแต่ปี 2553 ทางเครือข่ายได้จัดประชุมรายปี และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีครู นักวิจัย ผู้บริหารโรงเรียน และตัวแทนของแต่ละจังหวัด รวมกว่า 1,000 คน มาเข้าร่วมแบ่งปันประสบการณ์ โดยครูจะนำสื่อหรือวิดีโอที่ถ่ายทำการสอนในโรงเรียนมาพูดคุยกันและแลกเปลี่ยนไอเดียการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน

"ดร.ซอนอู ชอง" กล่าวย้ำว่า ความสำเร็จของการขยายการเรียนแบบ SLC ในเกาหลีใต้ มีกุญแจสำคัญคือครู ซึ่งเขาจะพัฒนาตัวเองด้วยการเวิร์กช็อปและเทรนนิ่งต่าง ๆ ซึ่งหลังจากที่ครูมาใช้รูปแบบ SLC พบว่า เขาเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้มากกว่าเดิม และพยายามหากิจกรรมอื่น ๆ ในการพัฒนาตนเอง นับเป็นหนึ่งกลไกที่ช่วยพัฒนาโรงเรียนของเกาหลีใต้ เพราะหากครูไม่เปลี่ยนมุมมองความคิด โรงเรียนก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้

 

 

 

ขอบคุณที่มาจาก ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 26 ต.ค. 2559 เวลา 04:30:00 น.


ปฏิรูปการศึกษาศตวรรษ 21 สร้าง ร.ร.เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ปฏิรูปการศึกษาศตวรรษ21สร้างร.ร.เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)

เปิดอ่าน 255 ☕ 18 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
เปิดอ่าน 210 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
เปิดอ่าน 255 ☕ 18 เม.ย. 2567

ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
เปิดอ่าน 230 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
เปิดอ่าน 548 ☕ 17 เม.ย. 2567

การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 1,777 ☕ 15 เม.ย. 2567

OECD ห่วงการศึกษาได้รับผลกระทบจาก AI
OECD ห่วงการศึกษาได้รับผลกระทบจาก AI
เปิดอ่าน 888 ☕ 15 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เซอร์บาเดน เพาเวล
เซอร์บาเดน เพาเวล
เปิดอ่าน 13,557 ครั้ง

คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู
คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู
เปิดอ่าน 87,999 ครั้ง

สมรรถนะของครู
สมรรถนะของครู
เปิดอ่าน 461,283 ครั้ง

รู้จัก "อีบิดดิ้ง-อีมาร์เก็ต" ระบบจัดซื้อ "พันธุ์ใหม่"
รู้จัก "อีบิดดิ้ง-อีมาร์เก็ต" ระบบจัดซื้อ "พันธุ์ใหม่"
เปิดอ่าน 32,686 ครั้ง

26 มิถุนายน วันสุนทรภู่
26 มิถุนายน วันสุนทรภู่
เปิดอ่าน 17,808 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ