ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

คำถามและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ภาคประชาชน จาก ดร.รัชชัยย์


ข่าวการศึกษา 4 เม.ย. 2564 เวลา 05:26 น. เปิดอ่าน : 7,475 ครั้ง
คำถามและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ภาคประชาชน จาก ดร.รัชชัยย์

Advertisement

นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) เปิดเผยว่าตามที่ สมัชชาเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (สคคท) แจ้งว่าได้ร่วมกันร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ภาคประชาชน โดยได้รับการสนับสนุนจากนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และยังได้ประชุมกับคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วเห็นว่าคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษามาก ยอมรับฟังและแก้ไขในหลายประเด็น ปัจจุบันสมัชชาเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (สคคท) มีสมาชิกที่เป็นสมาคม องค์กร ครูและบุคลากรอยู่ 19 องค์กร นอกจากนี้ สมัชชาเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (สคคท) ยังได้แจ้งว่า สาระสำคัญของร่างกฎหมายภาคประชาชนที่สมัชชาเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (สคคท) ยอมรับตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกฤษฎีกา มีดังนี้ คือ

1. ไม่ใช้ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา แต่ให้ใช้ตำแหน่ง หัวหน้าสถานศึกษา โดยให้หน่วยงานไปกำหนดชื่อเอง
2. ไม่ใช้คำว่าใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู แต่ให้ใช้คำว่า ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู
3. ไม่มีบัญญัติไว้ในมาตราใดที่ระบุให้ “วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง”

เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ขอเรียนว่าสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) ไม่ได้เป็นสมาชิกของสมัชชาเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (สคคท) แต่อย่างใด ทั้งนี้เนื่องจากแนวคิดและแนวทางในการร่างกฎหมายการศึกษามีความแตกต่างกัน และสมาคมก็มิได้มอบหมายให้สมาชิกหรือกรรมการบริหารสมาคมรายใดไปเป็นตัวแทนของสมาคมในการไปร่วมร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และเสนอเป็นร่างกฎหมายฉบับประชาชน ร่วมกับ สมัชชาเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (สคคท) แต่อย่างใด ปัจจุบัน องค์กรที่ถือว่าเป็นตัวแทนของครูทั้งประเทศคือ สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (สคท) ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรที่เป็นตัวแทนของผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนประถมศึกษาทั้งประเทศไทย ซึ่งขณะนี้มี ดร.วีรบูล เสมาทอง เป็นประธานสมาพันธ์ และสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย(ส.บ.ม.ท.) ซึ่งมีนายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ เป็นนายกสมาคม ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งประเทศไทย โดยเรื่องนี้ตนได้สอบถามไปที่ สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (สคท) แล้วว่าเป็นสมาชิกของสมัชชาเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (สคคท) หรือไม่อย่างไร ได้รับแจ้งว่า สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (สคท) มิได้เป็นสมาชิกของสมัชชาเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (สคคท) และการที่มีสมาชิกของสมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (สคท)บางรายไปร่วมประชุมกับ สมัชชาเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (สคคท) นั้นถือว่าไปประชุมเป็นการส่วนตัว

นายรัชชัยย์ ฯ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่สมัชชาเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (สคคท) ได้ไปพบนายกรัฐมนตรี ไปประชุมกับคณะกรรมการกฤษฎีกา ไปพบกับนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรนั้น ไม่ถือว่าเป็นการดำเนินการในฐานะตัวแทนครูทั้งประเทศเพราะไม่มีฐานะเป็นตัวแทน นอกจากนี้การที่สมัชชาเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (สคคท)ไปยอมรับการแก้ไข พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ กับที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกา ในประเด็นเรื่องการ เปลี่ยนตำแหน่ง “ผู้อำนวยการ” เป็น “หัวหน้าสถานศึกษา” และการ เปลี่ยนคำสำคัญจาก “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” เป็น “ใบรับรองการประกอบวิชาชีพ” นั้น ข้าราชการครูทั้งประเทศไม่สามารถยอมรับได้เพราะจะทำให้ข้าราชการครูได้รับความเดือดร้อนเสียหาย ดังนี้

ข้อ 1. มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยะฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษาบัญญัติไว้ว่า “อัตราเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนด ไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และบัญชีอัตราเงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษาท้ายพระราชบัญญัตินี้” โดยบัญชีอัตราเงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษาท้าย พ.ร.บ.เงินเดือนฯดังกล่าว กำหนดให้ข้าราชการครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษจะได้เงินประจำตำแหน่งคนละ 5,600 บาท และยังจะได้รับเงินค่าวิทยฐานะอีก 5,600 บาท รวมเป็นเงิน 11,200 บาท ในขณะที่ข้าราชการพลเรือนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษจะได้รับเฉพาะเงินประจำตำแหน่งคนละ 5,600 บาท ซึ่งขณะนี้สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) กำลังเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขกฎหมายให้ข้าราชการพลเรือน วิทยฐานะชำนาญการพิเศษให้ได้รับเงินค่าวิทยฐานะ อีก 5,600 บาท เท่าเทียมกับข้าราชการครู อนึ่ง ข้าราชการครูที่จะได้รับเงินค่าวิทยฐานะ อีก 5,600 บาท นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” เท่านั้น การเปลี่ยนเป็น “ใบรับรองการประกอบวิชาชีพ” จึงทำให้ครูไม่ได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ.เงินเดือนฯดังกล่าว

ข้อ 2 มาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติไว้ว่า “ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน ที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง” แต่ ร่างกฎหมายการศึกษา ฉบับที่สมัชชาเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (สคคท) เสนอต่อรัฐบาลนั้น ไม่ปรากฏว่าได้กำหนดไว้ในกฎหมายว่า วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง แต่อย่างใด ทั้งๆที่การเป็นวิชาชีพชั้นสูงนั้นเป็นความภาคภูมิใจของผู้ที่ประกอบวิชาชีพครู และยังจะส่งผลให้เป็นวิชาชีพที่จะได้รับเงินวิทยฐานะเพิ่มเติม

นายรัชชัยย์ฯ กล่าวเพื่มเติมว่าจากการติดตามการให้สัมภาษณ์สื่อต่างๆของนายมีชัย ฤชุพันธ์ นั้น พบว่านายมีชัยฯ มีมุมมองต่อวิชาชีพครูว่าเป็นวิชาชีพทั่วไป ไม่ได้มีอะไรที่พิเศษมากไปกว่าวิชาชีพอื่นๆ ไม่เคยมองว่าวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ดังนั้นนายมีชัยฯจึงไม่เคยสนับสนุนให้มีตำแหน่ง “ผู้อำนวยการ” ในสถานศึกษา ทั้งๆที่มีหลายหน่วยงานที่มีภาระงานและอัตรากำลังคนในหน่วยงานต่างๆน้อยมากแต่หัวหน้าหน่วยงานก็เป็นตำแหน่ง “ ผู้อำนวยการ” เช่น ผู้อำนวยการกลุ่มในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (สถานีอนามัยตำบล) เป็นต้น การเปลี่ยนตำแหน่ง “ผู้อำนวยการ” เป็น “หัวหน้าสถานศึกษา” แม้จะอ้างว่าให้เป็นไปตามส่วนราชการกำหนด นั้น ก็ไม่สามารถยอมรับได้เพราะเป็นเรื่องของอนาคตซึ่งยังขาดความแน่นอน อย่างไรก็ตามขณะนี้ได้มีการจัดทำร่างกฎหมายการศึกษาทั้งสี่ฉบับโดยเป็นร่างกฎหมายของสมาชิกสภาผุ้แทนราษฎร ที่มี รศ. ดร.สุรวาท ทองบุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการร่างกฎหมายการศึกษา และมีตัวแทนของ ส.บ.ม.ท.ไปเป็นคณะทำงานร่างกฎหมายการศึกษานี้ โดยร่างกฎหมายทั้งสี่ฉบับดังกล่าวนั้นได้ร่างเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งนี้ฉบับที่เป็นร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ นั้นได้ยืนยันดังนี้

4.1. ให้คงคำว่า “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”
4.2 ให้คงคำว่า “ผู้อำนวยการ”
4.3 ให้มีการบัญญัติไว้ว่า “วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง” ไว้ในร่างกฎหมายการศึกษาในแต่ละฉบับ

นายรัชชัยย์ ฯได้กล่าวอีกว่าตนมีความสงสัยว่า เพราะเหตุใดจึงไม่ใช้คำว่า “ผู้อำนวยการสถานศึกษา” และ “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” เหมือนที่เคยใช้ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฯฉบับปัจจุบัน ทั้งๆที่ คำสำคัญทั้งสองคำนั้น เคยผ่านการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามาแล้ว จึงมีการบัญญัติคำดังกล่าวไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตนจึงได้สอบถามตัวแทนของ สคคท รายหนึ่งที่เข้าประชุมด้วยได้รับคำชี้แจงว่า ที่ประชุมเห็นว่า “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นการอนุญาตเป็นครั้งๆไป มีระยะเวลา มีหมดอายุ ครูต้องเสียเงินมาต่อใบอนุญาตทุก 5 ปี หรือตามที่กำหนดไว้ แต่หากเป็น “ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู รับรองแล้ว เป็นครูไปตลอด ถ้าไม่ทำความผิดนั้น” ตนเห็นว่าหากเหตุผลเยี่ยงนี้เป็นสาระสำคัญในการไม่ใช้ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู แล้ว ตนและครูทั้งประเทศไม่สามารถยอมรับได้ เป็นการให้เหตุผลแบบไม่น่าเชื่อว่าผู้ให้เหตุผลเช่นนี้เป็นนักกฎหมายมหาชนระดับประเทศ เป็นองค์กรที่เป็นที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาล การให้เหตุผลอย่างนี้เชื่อโดยสุจริตใจว่ามีเจตนาอื่นแอบแฝง ส่วนกรณีที่ให้ใช้คำว่า หัวหน้าสถานศึกษา โดยให้หน่วยงานไปกำหนดชื่อเอง นั้น ก็ไม่ได้รับคำตอบอย่างมีเหตุผลว่าทำไมไม่ใช้คำเดิม คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา นอกจากนี้ตนมีคำถามและมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า

1. คณะที่เสนอร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....ภาคประชาชน ย่อมหมายถึงมีประชาชนมากกว่าหนึ่งหมื่นคน ได้เข้าชื่อกันเสนอร่างกฎหมาย จึงขอทราบว่าร่างกฎหมายดังกล่าวบัญญัติคำสำคัญ เกี่ยวกับ ผู้อำนวยการสถานศึกษา และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ที่เป็นคำสำคัญที่มีอยู่เดิมไว้อย่างไร ประชาชนผู้เข้าชื่อกันเสนอร่างกฎหมายได้ให้สิทธิท่านเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงคำสำคัญเป็น หัวหน้าสถานศึกษา และ ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู หรือไม่ เพราะหากเปลี่ยนแปลงแล้วภายหลังเกิดความเสียหาย ใครจะรับผิดชอบ

2. การที่มีการกล่าวอ้างว่า ต้องยอมรับไว้ก่อนเพราะถ้าคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ผ่านให้จะทำให้เสียหายนั้น กรณีนี้ขอเรียนว่าสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นองค์กรของรัฐมีหน้าที่ในเรื่องการพิจารณาร่างกฎหมาย มีกรอบระยะเวลาในการทำงาน ไม่มีอำนาจอะไรที่จะระงับยับยั้งร่างกฎหมายใดตามอำเภอใจของตนเอง เว้นแต่ความในร่างกฎหมายดังกล่าวไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ขัดกฎหมายอื่นฯลฯ เป็นต้น แต่คำว่า ผู้อำนวยการสถานศึกษา และ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู นั้น เคยใช้มาก่อน และเคยผ่านการพิจารณาของกฤษฎีกาแล้วว่า ใช้ได้ จึงมีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

3. มีบางท่านถามมาว่าการที่ตนออกมาคัดค้านการเปลี่ยนแปลงคำสำคัญในร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.....นั้นมีเจตนาอะไร เรื่องนี้ขอชี้แจงให้ทราบถึงเจตนาคือ

- รักษาสิทธิประโยชน์ที่ครูเคยได้รับและพึงได้รับ
- ปกป้องเกียรติภูมิของครูที่เคยได้รับการยกย่องว่า เป็นวิชาชีพชั้นสูง
- สร้างแรงจูงใจให้คนเก่งและคนดี มาประกอบวิชาชีพครู

4. มีคุณครูฝากถามนายมีชัย ฤชุพันธ์ ว่า

- เปลี่ยนเพื่ออะไร
- เปลี่ยนแล้วระบบการศึกษาจะดีขึ้นหรือไม่
- เปลี่ยนแล้วนักเรียนได้ประโยชน์อะไร 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก ดร.รัชชัยย์ ศรสุวรรณ นายก ส.บ.ม.ท.


คำถามและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ภาคประชาชน จาก ดร.รัชชัยย์คำถามและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติภาคประชาชนจากดร.รัชชัยย์

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)

เปิดอ่าน 9,911 ☕ 11 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 850 ☕ 23 เม.ย. 2567

การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 842 ☕ 23 เม.ย. 2567

กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 183 ☕ 23 เม.ย. 2567

ครูและนักเรียน ใช้ห้องน้ำสะอาดร่วมกันได้ไม่แบ่งแยก เริ่มได้เลย
ครูและนักเรียน ใช้ห้องน้ำสะอาดร่วมกันได้ไม่แบ่งแยก เริ่มได้เลย
เปิดอ่าน 393 ☕ 22 เม.ย. 2567

ปีนี้ "สพฐ."ตรวจเข้มความโปร่งใส สอบรองผอ.ผอ.สถานศึกษา "ห้าม" กวดวิชา รับทำเอกสารทุกกรณี
ปีนี้ "สพฐ."ตรวจเข้มความโปร่งใส สอบรองผอ.ผอ.สถานศึกษา "ห้าม" กวดวิชา รับทำเอกสารทุกกรณี
เปิดอ่าน 340 ☕ 22 เม.ย. 2567

สพฐ.เปิดตัวโครงการ "สุขาดี มีความสุข" จัดงบ 1 หมื่นบาท ให้ รร.เล็กไม่เกิน 80 คน ปรับปรุงซ่อมแซมพร้อมใช้ก่อนเปิดเทอม
สพฐ.เปิดตัวโครงการ "สุขาดี มีความสุข" จัดงบ 1 หมื่นบาท ให้ รร.เล็กไม่เกิน 80 คน ปรับปรุงซ่อมแซมพร้อมใช้ก่อนเปิดเทอม
เปิดอ่าน 292 ☕ 22 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
เปิดอ่าน 137,723 ครั้ง

ม.44 ศธ. เรื่องข่าวลือที่สร้างความเข้าใจผิด
ม.44 ศธ. เรื่องข่าวลือที่สร้างความเข้าใจผิด
เปิดอ่าน 28,698 ครั้ง

มันมือเสือ
มันมือเสือ
เปิดอ่าน 24,487 ครั้ง

เทคนิคการตกแต่งบ้านด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้
เทคนิคการตกแต่งบ้านด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้
เปิดอ่าน 15,643 ครั้ง

ปฏิรูปการศึกษานับหนึ่งใครเป็นใคร
ปฏิรูปการศึกษานับหนึ่งใครเป็นใคร
เปิดอ่าน 12,152 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ