ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

แนวทางการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)


ข่าวการศึกษา 5 ส.ค. 2564 เวลา 04:57 น. เปิดอ่าน : 36,424 ครั้ง
Advertisement

แนวทางการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)

Advertisement

จากแนวคิดที่ว่า “การเรียนรู้ของนักเรียนทุกคนจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเท่าเทียมกัน เพราะการเรียนรู้นำการศึกษา โรงเรียนอาจหยุดได้ แต่การเรียนรู้หยุดไม่ได้ และการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา การเรียนรู้ของผู้เรียนไม่ได้จำกัดเฉพาะในชั้นเรียนเท่านั้น” ประกอบ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายรูปแบบ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) โดยให้สถานศึกษาพิจารณารูปแบบการจัดการศึกษาที่ขึ้นอยู่กับสภาพบริบท ความเหมาะสม และความปลอดภัยของพื้นที่แต่ละแห่ง

 จากแนวคิดและแนวปฏิบัติเชิงนโยบายดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าเมื่อการเรียนรู้ของนักเรียนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดนิ่ง ทั้งสถานที่จัดการเรียนรู้ และเวลาที่เรียนรู้ โดยที่การวัดและประเมินผลผู้เรียนก็ควบคู่ไปพร้อมกับการจัดการเรียนรู้ของครูเช่นเดียวกัน ดังนั้น เพื่อให้การวัดและประเมินผลสามารถสะท้อนคุณภาพของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 2561 และสามารถนำผลไปใช้พัฒนาผู้เรียนได้อย่างแท้จริง สอดคล้องกับบริบทแต่ละพื้นฐาน สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดทำแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) โดยให้คำนึงถึงมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) สำหรับให้สถานศึกษาและครูผู้สอนนำไปใช้วางแผนและเป็นกรอบในการดำเนินงาน ดังนี้

1.การวัดและประเมินผลผู้เรียน แต่ละระดับการศึกษา
เนื่องจากผู้เรียนแต่ละระดับการศึกษา มีธรรมชาติ และความซับซ้อนของพฤติกรรมการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้น การวัดและประเมินผลผู้เรียน จึงต้องกำหนดรูปแบบและวิธีการให้เหมาะสมกับธรรมชาติและระดับความรู้ความสามารถของผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา ดังนี้

1.1 ระดับปฐมวัย เป็นการประเมินที่มุ่งเน้นตรวจสอบพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ประกอบกับการจัดการเรียนให้กับเด็กในระดับการศึกษานี้ ยังไม่มุ่งเน้นการอ่านและการเขียนเป็นหลัก สรุปแนวปฏิบัติได้ดังนี้
1) ใช้วิธีการวัดและประเมินรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เช่น การสังเกตพฤติกรรม การพูดคุย การซักถาม การตรวจสอบชิ้นงาน เป็นต้น โดยครูผู้สอนจำเป็นต้องจัดทำแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบรายการ และแบบประเมินพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน
2) มีการประสานขอความร่วมมือจากผู้ปกครองให้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
3) ทำความเข้าใจกับผู้ปกครองในการจัดส่งข้อมูลสารสนเทศผลการประเมินพัฒนาการหรือพฤติกรรมของผู้เรียนย้อนกลับให้ครูผู้สอนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ
4) สามารถไปตรวจเยี่ยมบ้านของเด็ก เพื่อประเมินและตรวจสอบพัฒนาการของเด็ก โดยคำนึงถึงสภาพและความพร้อมของแต่ละพื้นที่
5) เน้นการประเมินพัฒนาการของเด็ก เพื่อมุ่งการพัฒนาและเสริมสร้างพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล

1.2 ระดับประถมศึกษา เป็นการประเมินที่มุ่งเน้นตรวจสอบความรู้ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะของผู้เรียน ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนในระดับการศึกษานี้ จึงมุ่งเน้นให้มีความรู้ความสามารถทั้งด้านความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถทั้งด้านการอ่าน การเขียน คิดคำนวณ และการสื่อสารด้วยวิธีการต่าง ๆ สรุปแนวปฏิบัติได้ดังนี้
1) ใช้วิธีการและรูปแบบการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมและหลากหลายผสมผสานกันไป เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การตรวจผลงาน การประเมินภาคปฏิบัติ การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน และการทดสอบ เป็นต้น
2) ครูผู้สอนจัดทำเครื่องมือวัดและประเมินผลให้ผู้เรียนเป็นผู้ส่งข้อมูลสารสนเทศผลการประเมินย้อนกลับให้ครูผู้สอน
3) ประสานขอความร่วมมือจากผู้ปกครองให้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินผู้เรียน
4) สามารถไปตรวจเยี่ยมบ้านของผู้เรียน เพื่อตรวจสอบและประเมินความสามารถของผู้เรียน โดยคำนึงสภาพและความพร้อมของแต่ละพื้นที่
5) มีการจัดทำตารางนัดหมายผู้เรียนเป็นกลุ่มเพื่อประเมินผลการทำกิจกรรมร่วมกัน
6) มีการใช้แบบทดสอบรูปแบบต่าง ๆ ในการวัดและประเมินผู้เรียนตามความเหมาะในแต่ละระดับชั้น

1.3 ระดับมัธยมศึกษา เป็นการประเมินที่มุ่งเน้นตรวจสอบความรู้ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะของผู้เรียน ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนในระดับการศึกษานี้ จึงมุ่งเน้นให้มีความรู้ความสามารถทั้งด้านความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถทั้งด้านการอ่าน การเขียน คิดคำนวณ และการสื่อสารด้วยวิธีการต่าง ๆ รวมทั้งผู้เรียนยังมีความสามารถในด้านการใช้เทคโนโลยีเป็นอย่างดี สรุปแนวปฏิบัติได้ดังนี้
1) ใช้การวัดและประเมินผลผู้เรียนด้วยวิธีการและรูปแบบที่หลากหลายผสมผสานกันไป เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การตรวจผลงาน การประเมินภาคปฏิบัติ การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน และการทดสอบ เป็นต้น
2) อาจมีทั้งการทดสอบ โดยใช้ข้อสอบและกระดาษคำตอบผ่านระบบการสอบออนไลน์ การทดสอบโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เป็นต้น
3) มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สำหรับการบริหารจัดการทดสอบและประเมินผู้เรียน ดังนั้นในการวัดและประเมินผล ครูผู้สอนสามารถจัดระบบให้ผู้เรียนสามารถส่งข้อมูลสารสนเทศผลการประเมินย้อนกลับได้ด้วยตนเองไปให้ครูผู้สอน โดยใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) หรือช่องทางการสื่อสาร อื่น ๆ
4) ประสานขอความร่วมมือจากผู้ปกครองให้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินผู้เรียน
5) สามารถไปตรวจเยี่ยมบ้านของผู้เรียนเพื่อประเมินและตรวจสอบความรู้ความสามารถของผู้เรียน โดยคำนึงสภาพและความพร้อมของแต่ละพื้นที่
6) จัดทำตารางนัดหมายผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อทำกิจกรรมการเรียนการสอนควบคู่กับการวัดและประเมินผล ทั้งที่สถานศึกษาและที่บ้านนักเรียน

2. การวัดและประเมินผลตามพฤติกรรมของมาตรฐานและตัวชี้วัด
เนื่องจากมาตรฐานและตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะกระบวนการ (Process skill) และด้านคุณลักษณะ (Attribute) ดังนั้น การวัดและประเมินคุณภาพผู้เรียน จึงจำเป็นต้องพิจารณาและกำหนดรูปแบบวิธีการให้เหมาะสมกับลักษณะของพฤติกรรมที่ต้องการวัด ดังนี้

2.1 ด้านความรู้ (Knowledge)
1) การวัดและประเมินผลใช้การทดสอบเป็นหลัก ข้อสอบที่ใช้ในการทดสอบมีทั้งข้อสอบแบบเลือกตอบและข้อสอบแบบเขียนตอบ ควรใช้วิธีการทดสอบที่หลากหลาย ได้แก่ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ทั้งรูปแบบออนไลน์ และรูปแบบที่ไม่ได้เชื่อมต่อในคอมพิวเตอร์เครือข่าย (ออฟไลน์) โดยให้ผู้เรียนสามารถสอบที่บ้านได้ ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
2) มีการมอบหมายงาน นัดหมายเป็นกลุ่ม สำหรับการใช้ข้อสอบแบบเลือกตอบ ควรจัดทำชุดข้อสอบตามมาตรฐานและตัวชี้วัด และมีการนัดหมายช่วงเวลาในการทดสอบกับผู้เรียนล่วงหน้า
3) การทดสอบด้วยข้อสอบแบบเขียนตอบ ควรกำหนดให้ผู้เรียนเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบ แล้วจัดส่งข้อมูลการทำข้อสอบมาให้ครูผู้สอนผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ
4) สามารถวัดพฤติกรรมด้านความรู้ของผู้เรียน ผ่านการทำรายงานที่สะท้อนถึงพฤติกรรมตามตัวชี้วัด แล้วจัดส่งรายงานย้อนกลับมายังครูผู้สอน ผ่านระบบเทคโนโลยีต่าง ๆ

2.2 ด้านทักษะกระบวนการ (Process skill)
1) การวัดและประเมินผลใช้การประเมินภาคปฏิบัติเป็นหลัก เน้นการประเมินตามสภาพจริงที่บ้าน ใช้แบบประเมินการปฏิบัติงาน แบบตรวจสอบรายการ แบบบันทึกผลงาน และแบบบรรยายการปฏิบัติงาน เป็นต้น
2) วิธีการจัดส่งงาน สามารถใช้การถ่ายวีดิทัศน์ การถ่ายรูปภาพผลงาน การบันทึกเสียง โดยประสานขอความร่วมมือจากผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินทักษะกระบวนการของผู้เรียน
3) สามารถไปตรวจเยี่ยมบ้านของผู้เรียน เพื่อประเมินและตรวจสอบความสามารถด้านทักษะและการปฏิบัติงานของผู้เรียน โดยพิจารณาถึงสภาพ ความปลอดภัย และมาตรการของแต่ละพื้นที่
4) มีการมอบหมายงานเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ให้ปฏิบัติงานทั้งที่บ้านหรือสถานศึกษา เพื่อจะได้ทำการประเมินทักษะการปฏิบัติงานของผู้เรียน

2.3 ด้านคุณลักษณะ (Attribute)
1) การวัดและประเมินผล ใช้การสังเกตและตรวจสอบพฤติกรรมเป็นหลัก เครื่องมือวัดและประเมินผู้เรียนมีหลากหลายประเภท เช่น แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบตรวจสอบรายการ และแบบประเมินตนเอง เป็นต้น
2) ควรประสานขอความร่วมมือกับผู้ปกครองในการประเมินพฤติกรรมของผู้เรียนผ่านการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำกิจกรรมที่บ้าน การมอบหมายให้ปฏิบัติงาน เป็นต้น
3) สามารถไปตรวจเยี่ยมบ้านของผู้เรียนเพื่อประเมินและตรวจสอบคุณลักษณะของผู้เรียน โดยพิจารณาถึงสภาพ ความปลอดภัย และมาตรการของแต่ละพื้นที่
4) มีการมอบหมายงานให้ผู้เรียนปฏิบัติงาน นัดหมายร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อสังเกตพฤติกรรมและตรวจสอบคุณลักษณะของผู้เรียน

3. การวัดและประเมินผลแต่ละจุดมุ่งหมาย
การวัดและประเมินผลผู้เรียนมีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ 1) การวัดและประเมินผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนา (Formative Assessment/Assessment For Learning/ Assessment As Learning และ 2) การวัดและประเมินผลเพื่อสรุปผลการเรียนรู้ (Sumative Assessment/Assessment Of Learning) ดังนั้น ครูผู้สอนควรกำหนดรูปแบบและแนวทางการวัดและประเมินผลในแต่ละจุดมุ่งหมาย ดังนี้

3.1 การวัดและประเมินผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนา เป็นการวัดและประเมินคุณภาพผู้เรียนที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียนการสอนตลอดปีการศึกษา/ภาคเรียน สรุปแนวปฏิบัติได้ดังนี้
1) ยึดหลักการประเมินและการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่แยกส่วน เน้นการประเมินเพื่อพัฒนา และตรวจสอบพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
2) ออกแบบและวางแผนเกี่ยวกับวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลตามมาตรฐานและตัวชี้วัด ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการประเมินผลที่หลากหลาย เช่น การทดสอบ การสังเกตพฤติกรรม การสอบปากเปล่า การสัมภาษณ์หรือการซักถาม การเขียนสะท้อนการเรียนรู้ การประเมินภาคปฏิบัติ การประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน การประเมินตนเอง การประเมินตามสภาพจริง เป็นต้น
3) วัดและประเมินผลผู้เรียนในแต่ละช่วงเวลาของการจัดการเรียนรู้ พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง และนำข้อมูลที่ได้ไปสู่การวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
4) มีการประสานขอความร่วมมือจากผู้ปกครองให้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินผลและสะท้อนผลการเรียนรู้ (Feedback) กลับไปยังครูผู้สอนอย่างต่อเนื่อง
5) นำและฝึกการใช้คำถามประเภทต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นคิดให้กับผู้เรียน ให้มีการสามารถแสดงความคิดเห็น อภิปราย และวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
6) ควรจัดทำแนวทางการพัฒนาตนเองของผู้เรียน มีการนำเสนอองค์ความรู้ที่ได้หรือแหล่งข้อมูลในการพัฒนาตนเองของผู้เรียน เพื่อมอบหมายให้นักเรียนปฏิบัติงาน มีการประเมินตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อกำกับการเรียนรู้ของตนเอง
6) จัดส่งข้อมูลผลการประเมินย้อนกลับไปให้ครูผู้สอนผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ

3.2 การวัดและประเมินผลเพื่อสรุปผลการเรียนรู้ เป็นการวัดและประเมินคุณภาพผู้เรียนหลังสิ้นสุดปีการศึกษา/ภาคเรียน สรุปแนวปฏิบัติได้ดังนี้
1) ควรกำหนดมาตรฐานและตัวชี้วัดสำคัญที่ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้และสามารถสะท้อนคุณภาพผู้เรียนตลอดปีการศึกษา/ภาคเรียน
2) ควรใช้วิธีการหรือรูปแบบการทดสอบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับจำนวนและลักษณะธรรมชาติของผู้เรียน เช่น การใช้โปรแกรมทดสอบสำเร็จรูป ในการทดสอบแบบออนไลน์ ที่สะดวกและง่ายต่อการเข้าถึง การจัดทำชุดข้อสอบตามมาตรฐานและตัวชี้วัด แล้วนัดหมายช่วงเวลาในการทดสอบกับผู้เรียนล่วงหน้า
3) อาจนัดหมายผู้เรียนมาสอบเป็นกลุ่มย่อย ๆ ผ่านช่องทางต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
4) จัดส่งข้อสอบให้ผู้เรียนทำที่บ้าน แล้วให้นักเรียนจัดส่งข้อสอบกลับคืนครูผู้สอนผ่านช่างทางการสื่อสารต่าง ๆ เป็นต้น
5) อาจนำผลการวัดและประเมินผลผู้เรียนที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ในบทเรียนหรือหน่วยการเรียนรู้ต่าง ๆ หรือผลงาน ชิ้นงานที่เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านรูปแบบและวิธีการต่าง ๆ มาวิเคราะห์ และสรุปผลเพื่อตัดสินโดยภาพรวม โดยยืดหยุ่นตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้การทดสอบความรู้เพียงวิธีเดียว
6) ครูผู้สอนสามารถเลือกใช้ข้อสอบมาตรฐานที่มีการให้บริการจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ระบบคลังข้อสอบมาตรฐาน (SIBS) ระบบคลังข้อสอบตามแนวทางการทดสอบ PISA (PISA Online Testing) ที่สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพัฒนาขึ้น ทั้งในการวัดและประเมินผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนาและการวัดและประเมินผลเพื่อสรุปผลการเรียนรู้ได้อีกด้วย

4. การตัดสินผลการเรียนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
การตัดสินผลการเรียนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้ยึดตามแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดขึ้น โดยการตัดสินผลการเรียนใช้ผลการประเมินระหว่างปี/ภาคเรียนและผลการประเมินปลายปี/ภาคเรียน ตามสัดส่วนที่สถานศึกษากำหนด

 

ดาวน์โหลดไฟล์แนบ

ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ

ที่มา สำนักทดสอบทางการศึกษา

 


แนวทางการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)แนวทางการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19)

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ประกาศผลสอบ ภาค ก ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา

ประกาศผลสอบ ภาค ก ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา

เปิดอ่าน 4,336 ☕ 4 ก.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เกณฑ์การประกวดภาพยนตร์สั้น ในการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 72
เกณฑ์การประกวดภาพยนตร์สั้น ในการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 72
เปิดอ่าน 889 ☕ 18 ก.ย. 2567

สพฐ.กลั่นกรองย้ายผอ.สพท.ผอ.โรงเรียนก่อนบรรจุแต่งตั้งแทนอัตราเกษียณสิ้นกันยายนนี้
สพฐ.กลั่นกรองย้ายผอ.สพท.ผอ.โรงเรียนก่อนบรรจุแต่งตั้งแทนอัตราเกษียณสิ้นกันยายนนี้
เปิดอ่าน 1,002 ☕ 17 ก.ย. 2567

แนวทางปฏิบัติการเก็บรักษา ยืม และทำลายหนังสือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แนวทางปฏิบัติการเก็บรักษา ยืม และทำลายหนังสือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เปิดอ่าน 446 ☕ 17 ก.ย. 2567

ด่วนที่สุด! การจัดการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 72 ปีการศึกษา 2567
ด่วนที่สุด! การจัดการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 72 ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 18,220 ☕ 16 ก.ย. 2567

คู่มือการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำหรับ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
คู่มือการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำหรับ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
เปิดอ่าน 921 ☕ 16 ก.ย. 2567

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนและนักศึกษา
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนและนักศึกษา
เปิดอ่าน 420 ☕ 16 ก.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ผู้ประดิษฐ์คิดค้น"กล่องดำ"เสียชีวิตแล้ว
ผู้ประดิษฐ์คิดค้น"กล่องดำ"เสียชีวิตแล้ว
เปิดอ่าน 14,729 ครั้ง

"ครูโซ่" คือใคร ใครคือ "ครูโซ่" มาดูลีลาสอนวิชา "คณิตศาสตร์" สุดจี๊ด ท
"ครูโซ่" คือใคร ใครคือ "ครูโซ่" มาดูลีลาสอนวิชา "คณิตศาสตร์" สุดจี๊ด ท
เปิดอ่าน 17,558 ครั้ง

ชาวเน็ตแชร์คลิปเสียดสีสังคม ไทยเท ไทยฮุบ ไทยผีเข้า ไทยหัวสูง
ชาวเน็ตแชร์คลิปเสียดสีสังคม ไทยเท ไทยฮุบ ไทยผีเข้า ไทยหัวสูง
เปิดอ่าน 8,255 ครั้ง

เผยเด็กนร.หญิง ไม่ค่อยกินข้าวเช้า เตือนเสี่ยงกระทบสุขภาพ-การเรียน
เผยเด็กนร.หญิง ไม่ค่อยกินข้าวเช้า เตือนเสี่ยงกระทบสุขภาพ-การเรียน
เปิดอ่าน 13,638 ครั้ง

นมวัว กับ นมถั่วเหลือง.. นมไหนดีกว่ากัน
นมวัว กับ นมถั่วเหลือง.. นมไหนดีกว่ากัน
เปิดอ่าน 29,827 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ