รายงานผลการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้นิทานชาดก
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
กรมวิชาการ ได้สำรวจการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนพบว่าปัญหาที่สำคัญในการอ่านของผู้เรียนคือ อ่านแล้วจับใจความสำคัญไม่ได้ ไม่สามารถสรุปประเด็นได้ ไม่สามารถแยกความรู้ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ไม่สามารถแยกใจความสำคัญกับใจความรองได้ ทำให้ไม่ได้รับประโยชน์จากการอ่านเท่าที่ควร ทั้งยังเป็นปัญหาอุปสรรคต่อการเรียนรู้ และการศึกษาวิชาต่าง ๆ ด้วย (กรมวิชาการ, 2546, หน้า 188) เช่นเดียวกับการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านสาด-ผึ้งนาเกลือ อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปางสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ที่พบว่านักเรียนขาดทักษะในการอ่าน โดยอ่านได้แต่ไม่เข้าใจความหมาย อ่านแล้วไม่สามารถสรุปใจความ สรุปประเด็นสำคัญ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นได้และไม่สามารถอ่านโดยวิเคราะห์ได้ ส่งผลให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ จำนวน ๖ คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ จำนวน ๗ คน ซึ่งมีผลการประเมินทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ในหน่วยการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่า มีผลการประเมินทักษะการอ่านจับใจความ ต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนได้ตั้งไว้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คือ ร้อยละ ๗๐ และมีระดับคุณภาพในระดับปรับปรุง
จากผลการประเมินข้างต้นแสดงให้เห็นว่าสาระการอ่านเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยเฉพาะทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจที่ถือเป็นทักษะเบื้องต้นของการอ่าน
ดังนั้นเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านสาด-ผึ้งนาเกลือ อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง จึงสร้างกิจกรรมพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจด้วยนิทานชาดก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมุ่งหวังจะพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และให้ส่งผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาอื่นๆ ให้สูงขึ้นต่อไป
วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
1. ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) เพื่อนำมาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับกิจกรรมพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจด้วยนิทานชาดก
๒. ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระที่ ๑ การอ่าน เพื่อนำมาออกแบบกิจกรรมพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจด้วยนิทานชาดก
๓. ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกิจกรรมพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจด้วยนิทานชาดก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๔. ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับนิทานชาดก
๕. ดำเนินการออกแบบกิจกรรมพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจด้วยนิทานชาดก จากนิทานชาดกที่คัดเลือกไว้ จำนวน ๑๐ เรื่อง เพื่อนำมาสร้างกิจกรรมพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจ จำนวน ๑๐ กิจกรรม
๖. ดำเนินกิจกรรมพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจด้วยนิทานชาดก จากนิทานชาดกที่คัดเลือกไว้ จำนวน ๑๐ เรื่อง เพื่อนำมาสร้างกิจกรรมพัฒนาการอ่านเพื่อ
๗. นำสื่อไปทดลองใช้และนำผลที่ได้มาปรับปรุง พัฒนาสื่อการสอน ให้มีความน่าสนใจ เข้าใจง่าย และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
๘. นำผลสะท้อนในการใช้สื่อ พัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจ บันทึกข้อมูลคะแนนในระบบสารสนเทศผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อประเมินการเรียนรู้ นำเสนอข้อมูลที่ได้พัฒนาผลการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์การพัฒนา
๑. เชิงปริมาณ
๑.๑ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ จำนวน ๖ คน
๑.๒ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ จำนวน ๗ คน
๒. เชิงคุณภาพ
๒.๑ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ มีผลคะแนนเฉลี่ยการประเมินทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ เท่ากับ 22.83 คะแนน และมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 76.11 ซึ่งอยู่ในระดับดี และสูงกว่าผ่านเกณฑ์การประเมินที่โรงเรียนกำหนด คือ ร้อยละ ๗๐.๐
๒.๒ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ มีผลคะแนนเฉลี่ยการประเมินทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ เท่ากับ 22.0 คะแนน และมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 73.33 ซึ่งอยู่ในระดับดี และสูงกว่าผ่านเกณฑ์การประเมินที่โรงเรียนกำหนด คือ ร้อยละ ๗๐.๐