ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

PISA ที่ผ่านมาบอกอะไรให้เราทราบบ้าง


บทความการศึกษา 14 ธ.ค. 2559 เวลา 12:31 น. เปิดอ่าน : 9,518 ครั้ง

Advertisement

PISA ที่ผ่านมาบอกอะไรให้เราทราบบ้าง
FOCUS ประเด็นจาก PISA : ฉบับที่ 12 (ธันวาคม 2559)


PISA ที่ผ่านมาบอกอะไรให้เราทราบบ้าง 

รายงานประเด็นจากการประเมินผล PISA ฉบับนี้ เป็นฉบับส่งท้ายของปี 2559 จึงจะเป็นการขมวดประเด็นที่ได้พยายามนำเสนอมาในฉบับก่อน ๆ (FOCUS ประเด็นจาก PISA ฉบับที่ 1 – 11) ที่ได้ชี้ถึงตัวแปรที่ส่งผลต่อคุณภาพการเรียนรู้ให้เห็นว่า คุณภาพการศึกษาส่วนหนึ่งซึ่งไม่น้อยเลยขึ้นกับตัวแปรด้านบริหารจัดการในระบบ และการจัดสิ่งแวดล้อมในการเรียน เช่น การจัดการด้านครู ทรัพยากรเวลาเรียน และสิ่งแวดล้อมด้านอื่น เช่น ระเบียบวินัย ความเป็นธรรมทางการศึกษา (Equity) และได้นำเสนอตัวอย่างวิธีการจัดการและสิ่งแวดล้อมจากระบบโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ ที่อาจเป็นประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพการศึกษา ตัวแปรเหล่านั้นควรได้รับการทบทวนในการที่จะปรับปรุงการศึกษาครั้งใหม่ ซึ่งระบบฯ จำเป็นต้องเปลี่ยนแนวคิดและแนวปฏิบัติดังที่เคยชินมานาน


ข้อมูลในรูป 1 บอกอะไร ข้อมูลบอกให้ทราบว่า สถานการณ์ที่เป็นอยู่ของการศึกษาของประเทศไทยนั้น มีบางส่วนที่ถือได้ว่าประสบความสำเร็จ นั่นคือ ระบบโรงเรียนในกรุงเทพฯ เมื่อดูผลการประเมินของนักเรียนในเขตกรุงเทพฯ จะพบว่าการกระจายของคะแนน PISA เกือบจะไม่มีความแตกต่างจากนักเรียนในสหรัฐอเมริกา แต่นั่นไม่ใช่นักเรียนจากทั่วประเทศ เพราะนักเรียนที่อื่น ๆ นอกกรุงเทพฯ นั้น ยังมีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่ามาก เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าการศึกษาของระบบโรงเรียนในเขตกรุงเทพฯ เป็นตัวแบบ (Model) ที่ถือได้ว่าประสบความสำเร็จ แต่การจัดตัวแบบเช่นนั้นไม่กระจายไปทั่วประเทศแต่กลับกระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพฯ เท่านั้น ถ้าระบบโรงเรียนไทยสามารถกระจายตัวแบบการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพทั่วถึงทั้งประเทศ คุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนก็จะสามารถยกระดับสูงขึ้นได้ และรายงานในหลายแหล่งหลายวาระที่ผ่านมาก็ได้ชี้บอกตัวแปรที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบไว้แล้ว


แต่ในระบบโรงเรียนของไทย เมื่อพบว่าคุณภาพการศึกษาไม่เป็นไปตามที่หวัง หลักสูตรมักจะเป็นจำเลยที่หนึ่ง และการตอบสนองก็มักจะพุ่งเป้าไปที่การเปลี่ยนหลักสูตรเป็นอันดับแรก และที่สำคัญคือการเปลี่ยนหลักสูตรที่เกิดขึ้นในอดีตคือการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระ และการเปลี่ยนหนังสือเรียน โดยองค์ประกอบอื่น ๆ ยังคงเดิม และเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน โดยไม่คำนึงว่าการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในโลก ถ้าไม่ใช่ค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่องและใช้เวลาพอสมควรแบบที่เรียกว่า “วิวัฒนาการ” ก็มักจะมีสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงเสมอ เราลองมาดูกันว่าในเวลา 16 ปีที่ผ่านมา การศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า “การปฏิรูปการศึกษา” มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง 


ใน PISA 2000 ถือว่าเป็นการเรียนการสอนก่อนการปฏิรูป เมื่อเก็บข้อมูลอีกครั้งใน ค.ศ. 2003 ซึ่งเป็นช่วงการเรียนในการเปลี่ยนแปลงครบสามปี จะเห็นว่าคะแนนหล่นลงมาอย่างน่าตกใจ และการเก็บข้อมูลอีกครั้งในสามปีถัดมา (PISA 2006) คะแนนก็ยังคงมีแนวโน้มตกลงอย่างต่อเนื่อง และเริ่มคงที่ หรือเริ่มกระเตื้องขึ้นในอีกสามปีต่อมา (PISA 2009) และแนวโน้มเริ่มดีขึ้นชัดเจนใน ค.ศ. 2012 และครั้งนี้ คะแนนเริ่มสูงกว่าในปี ค.ศ. 2000 ด้วย จะเห็นว่าต้องใช้เวลามากกว่าสิบปี ระบบจึงสามารถปรับตัวเข้าสู่สมดุล และเริ่มเดินเข้าสู่เส้นทางปกติ 

การยกระดับการเรียนรู้สามารถทำได้จากข้อมูลที่ผลการวิจัยเสนอไว้ โดยพุ่งเป้าไปที่จุดอ่อนในแต่ละจุด โดยอาจไม่ต้องเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ เพราะข้อมูลจากการศึกษาวิจัยชี้บอกถึงตัวแปรต่าง ๆ ไว้มากมาย ถ้าจะเปิดใจยอมรับความจริงและหันมาทบทวนประเด็นที่เป็นจุดอ่อน เป็นต้นว่า โรงเรียนไทยมีแนวปฏิบัติที่ผลการวิจัยชี้ว่าส่งผลทางลบต่อคุณภาพการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการกระจายทรัพยากร รวมไปถึงระบบการผลิตครูคุณภาพสูง ระบบที่จะรักษาครูดีไว้ได้ในระบบ การจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศทางระเบียบวินัย ตลอดจนความเป็นธรรมทางการศึกษา ถ้าจุดอ่อนเหล่านี้ได้รับการปฏิบัติใหม่ก็น่าจะส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพศึกษาได้ จัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอน ข้อมูลจากการเปรียบเทียบนานาชาติชี้ให้เห็นจุดอ่อนจุดแข็งของวิธีการจัดการของแต่ละระบบโรงเรียน ซึ่งเปิดโอกาสให้นักการศึกษาและระดับนโยบายสามารถเลือกวิธีการปฏิบัติที่ส่งผลทางบวกต่อคุณภาพการเรียนรู้มากกว่าการเปลี่ยนหลักสูตร โดยเฉพาะแนวปฏิบัติของประเทศในภูมิภาคเอเชียด้วยกันที่ระบบโรงเรียนต่างประสบความสำเร็จและมีความเป็นเลิศทางวิชาการ สิ่งที่เป็นเรื่องเฉพาะหน้าและเร่งด่วนที่จะทำให้สามารถเดินบนเส้นทางของความเป็นเลิศ ได้แก่ การพัฒนาและสร้างครูคุณภาพสูง การสนับสนุนโรงเรียนและนักเรียนที่เสียเปรียบด้านสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม และความเท่าเทียมกันทางการศึกษา


โรงเรียนที่มีนักเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมเสียเปรียบกว่า ส่วนมากมีทรัพยากรการเรียนคุณภาพต่ำกว่าโรงเรียนที่มีนักเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูงกว่า และที่สำคัญยิ่งกว่า คือไม่มีครูคุณภาพสูงสำหรับโรงเรียนที่ด้อยกว่า การสนับสนุนทรัพยากรอย่างเป็นธรรมไม่เพียงแต่สำคัญในด้านความเสมอภาคทางการศึกษาเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวโยงไปถึงผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโดยรวมทั้งระบบ ตัวอย่างจากระบบที่ประสบความสำเร็จ ในประเทศเหล่านั้นครูใหญ่ในโรงเรียนที่ด้อยเปรียบทางเศรษฐกิจและสังคมต่างรายงานว่า โรงเรียนมีทรัพยากรการศึกษาที่พอเพียงไม่แตกต่างจากโรงเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่ได้เปรียบกว่าหรือในบางประเทศกลับมีมากกว่า เช่น ฟินแลนด์ 


ในการสร้างกำลังพลที่มีประสิทธิภาพสำหรับการสอนต้องเปรียบเทียบดูจากการประเมินว่าที่อื่นเขาทำกันอย่างไร และเปรียบเทียบตัวเองว่าเหมือนหรือแตกต่างกับที่เขาประสบความสำเร็จอย่างไร การศึกษาไม่ได้มีเพียงนักเรียน ครู และหลักสูตรเท่านั้น แต่สิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม มีผลกระทบสูงพอสมควร คำตอบของคำถามต่อไปนี้ จะเป็นคำตอบว่าวัฒนธรรมได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างไร  
  • ประเทศอื่นจ่ายค่าจ้างครูอย่างไรเมื่อเทียบกับอาชีพอื่น ๆ ที่มีการศึกษาในระดับเดียวกัน 
  • ใบปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางการศึกษาของแต่ละคนถูกเปรียบเทียบอย่างไรในการจ้างงาน 
  • พ่อแม่ต้องการให้ลูกเข้าสู่อาชีพครูหรือไม่ 
  • สื่อมวลชน และสาธารณชนให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องของการศึกษามากน้อยเพียงใด 
  • ชุมชน สังคมให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรมากกว่ากัน ระหว่างชัยชนะของการแข่งกีฬา กับชัยชนะจากการแข่งขันทางวิชาการของนักเรียนหรือโรงเรียน 
  • พ่อแม่ส่งเสริมให้ลูกหลานเรียนหนังสืออย่างหนักมากหรือไม่ 
ถ้าสามารถตอบคำถามเหล่านี้ในเชิงบวก การยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบน่าจะอยู่ไม่ไกลเกินไป แต่ถ้ายังไม่มีคำตอบให้คำถามเหล่านี้ ความเป็นเลิศน่าจะยังต้องรออีกนาน



คำแนะนำจาก OECD 

การศึกษาวิจัยของ OECD ร่วมกับ Pearson’s Education ซึ่งได้ศึกษาปัจจัยที่ทำให้ระบบโรงเรียนประสบความเป็นเลิศ และได้สรุปบทเรียนบรรทัดสุดท้าย (The bottom line findings) ได้ดังนี้ 

  1. ไม่มีกระสุนวิเศษ (There are no magic bullets) ไม่มีการศึกษาที่สรุปได้ชัดเจนว่าตัวแปรตัวหนึ่งตัวใดคือตัวที่ทำให้ประสบความสำเร็จ การทุ่มเงินและงบประมาณลงในการศึกษาไม่สามารถสร้างผลผลิตที่ต้องการได้ การศึกษาต้องการระยะเวลาปรับตัวที่ยาวนาน และต้องใส่ใจทั้งระบบ การปรับปรุงจึงจะเกิด 
  2. ยกย่องครู (Respect Teachers) ครูดี คือ หัวใจของการศึกษาคุณภาพสูง การจะหาครูดี หรือจะปรับครูให้เป็นครูคุณภาพสูงไม่ใช่เรื่องเดียวกับการจ่ายค่าตอบแทนสูงเสมอไป แต่ครูดีต้องการเพียงการยกย่องในวิชาชีพของตน และได้รับการเชิดชูเกียรติในสังคม ไม่ใช่ปฏิบัติเยี่ยงพนักงานเทคนิค หรือเครื่องจักรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องคอยตรวจสอบ 
  3. วัฒนธรรมสามารถเปลี่ยนแปลงได้ (Culture can be changed) วัฒนธรรมที่ล้อมรอบระบบการศึกษาสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้มากกว่าตัวของระบบเอง เช่น วัฒนธรรมการเคารพครู ความขยันทำงานหนักของเกาหลี และเวียดนาม การศึกษาจะก้าวไกลได้ด้วยการเก็บรักษาวัฒนธรรมที่เป็นเชิงบวก และพยายามหาทางเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่ส่งผลลบต่อการศึกษา 
  4. พ่อแม่ไม่ใช่อุปสรรคหรือตัวช่วย (Parents are neither impediments to nor saviours of education) ความต้องการของพ่อแม่เพียงให้ลูกได้รับการศึกษาที่ดีที่สุด ดังนั้น ระบบโรงเรียนจึงไม่ต้องนำความต้องการของพ่อแม่มากดดันการทำงาน อีกทั้งไม่ควรนับว่าการสนับสนุนจากพ่อแม่เป็นสิ่งจำเป็น โรงเรียนควรทำเพียงการให้พ่อแม่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารของโรงเรียนและทำงานร่วมกับพ่อแม่บ้างเป็นบางโอกาส 
  5. การศึกษาเพื่ออนาคต ไม่ใช่ปัจจุบัน (Educate for the future, not just the present) ขอเพียงระลึกรู้ว่าทักษะการทำงานในอนาคตจะไม่เหมือนทักษะในวันนี้ ระบบการศึกษาต้องรู้ล่วงหน้าว่าจะเตรียมคนอย่างไร 


จุดยุติ (End Point) 
การศึกษาของไทยถือว่ามีคุณภาพระดับเทียบเคียงนานาชาติได้ระดับหนึ่ง แต่การศึกษาที่มีคุณภาพนั้นอยู่เพียงใน กทม. เท่านั้น  หากสามารถขยายตัวแบบการศึกษาใน กทม. ออกไปใช้ทั่วประเทศอาจทำให้ผลการประเมินสูงขึ้นได้  อนึ่ง PISA ได้ชี้ถึงจุดอ่อนที่ระบบฯ สามารถนำมาพิจารณาเพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา ทั้งในด้านครู ทรัพยากรการศึกษา ความเท่าเทียมหรือความเป็นธรรมทางการศึกษา พร้อมทั้งข้อเตือนใจว่ามีหลายประเด็นที่ต้องพิจารณา เพราะในการศึกษาไม่มีกระสุนเดียวที่ยิงแล้วจอด  การเปลี่ยนหลักสูตรอย่างเดียวจึงไม่ใช่คำตอบ แต่การศึกษาต้องปรับทุกประเด็นแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่เห็นคุณค่าอย่างสูงของการศึกษา  การเคารพครู ความขยันและการทำงานหนักก็เป็นองค์ประกอบของการยกระดับคุณภาพการศึกษา


อ่านเพิ่มเติม 
  • Index – Which countries have the best schools?,  (2016),  (Online),  Available: http://thelearningcurve.pearson.com/index/ index- ranking,  Retrieved June 3, 2016.
  • Best Education In The World: Finland, South Korea Top Country Rankings, U.S. Rated Average,  (2013, January 27),  (Online),  Available: http://www.huffingtonpost.com/2012/11/27/best-education-in-the-wor_n_2199795.html,  Retrieved October 25, 2016.
  • World Bank,  (2012),  Learning outcomes in Thailand : what can we learn from international assessments?.,  (Online),  Available: http://documents.worldbank.org/curated/en/284911468132280900/pdf/648010ESW0whit0nal0Report0 Formatted.pdf,  October 25, 2016.


 โฟกัส หรือ จุดโฟกัส (Focal Point)
§  ภาษาทางฟิสิกส์ หมายถึง จุดบนแกนของเลนส์หรือกระจกที่เป็นจุดรวมของรังสีขนานของแสงที่เกิดการหักเหเมื่อผ่านเลนส์ หรือเกิดการสะท้อนของรังสีขนานของแสงเมื่อตกกระทบทำให้จุดนั้นมีความชัดที่สุด  ในทางสังคม หมายถึง ประเด็นที่เป็นที่สนใจ
จุดยุติ (End Point) 
§  ภาษาทางเคมี หมายถึง จุดที่การทำปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นสมบูรณ์และมีสารใหม่เกิดขึ้นซึ่งอาจสังเกตได้จากการเปลี่ยนสีของสาร
 

เผยแพร่ออนไลน์ 1  ธันวาคม 2559 

 

ขอบคุณที่มาจาก โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)


PISA ที่ผ่านมาบอกอะไรให้เราทราบบ้างPISAที่ผ่านมาบอกอะไรให้เราทราบบ้าง

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

โรงเรียนยุคมิลเลนเนียล

โรงเรียนยุคมิลเลนเนียล


เปิดอ่าน 8,164 ครั้ง
ตอบโจทย์ "ปฏิรูปการศึกษา"?

ตอบโจทย์ "ปฏิรูปการศึกษา"?


เปิดอ่าน 7,745 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

วิกฤติการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21

วิกฤติการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21

เปิดอ่าน 13,992 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สำคัญที่ผู้สอน (ครู, อาจารย์)
สำคัญที่ผู้สอน (ครู, อาจารย์)
เปิดอ่าน 11,173 ☕ คลิกอ่านเลย

ซูปเปอร์ไฮเวย์การศึกษา
ซูปเปอร์ไฮเวย์การศึกษา
เปิดอ่าน 7,076 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 รร.ต้องร่างหลักสูตรให้เด็กเป็นผู้บริหาร
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 รร.ต้องร่างหลักสูตรให้เด็กเป็นผู้บริหาร
เปิดอ่าน 7,820 ☕ คลิกอ่านเลย

แบบเรียนที่ไม่ได้มีไว้เลียนแบบ : นิ้วกลม
แบบเรียนที่ไม่ได้มีไว้เลียนแบบ : นิ้วกลม
เปิดอ่าน 9,700 ☕ คลิกอ่านเลย

จุดยืนของ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
จุดยืนของ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เปิดอ่าน 7,209 ☕ คลิกอ่านเลย

มือถือและคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กควรอยู่ในห้องเรียนหรือไม่? โดย : ทีปกร วุฒิพิทยามงคล
มือถือและคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กควรอยู่ในห้องเรียนหรือไม่? โดย : ทีปกร วุฒิพิทยามงคล
เปิดอ่าน 19,812 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ทฤษฎีบทบาทสื่อมวลชนกำลังถูกท้าทายโดยสื่อใหม่
ทฤษฎีบทบาทสื่อมวลชนกำลังถูกท้าทายโดยสื่อใหม่
เปิดอ่าน 39,169 ครั้ง

"เรียกเหงื่อลดโรค" คุณก็ทำได้ ทุกวัย มาดูแลใส่ใจสุขภาพกันนะ
"เรียกเหงื่อลดโรค" คุณก็ทำได้ ทุกวัย มาดูแลใส่ใจสุขภาพกันนะ
เปิดอ่าน 10,337 ครั้ง

10 ทริคเพื่อสุขภาพประจำวัน รู้ไว้ได้ใช้แน่
10 ทริคเพื่อสุขภาพประจำวัน รู้ไว้ได้ใช้แน่
เปิดอ่าน 13,155 ครั้ง

วิธีดูว่าไข่เน่าหรือไม่
วิธีดูว่าไข่เน่าหรือไม่
เปิดอ่าน 29,997 ครั้ง

สมจิตร จงจอหอ
สมจิตร จงจอหอ
เปิดอ่าน 21,804 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ