ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

กระทรวงศึกษาธิการกับการปรับโครงสร้าง


บทความการศึกษา 26 พ.ย. 2558 เวลา 13:29 น. เปิดอ่าน : 20,834 ครั้ง
กระทรวงศึกษาธิการกับการปรับโครงสร้าง

Advertisement

โดย ผศ.รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร

ภายหลังรัฐบาลให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการศึกษา กระแสการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการก็กลับมาเป็นที่กล่าวขานกันอีกครั้งก่อนหน้านี้กระทรวงศึกษาธิการได้มีการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ โดยแบ่งโครงสร้างออกเป็น 14 กรม แต่ภายหลังเมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 โครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการถูกปรับจาก 14 กรม เป็น 5 องค์กรหลัก ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

การปรับโครงสร้างการบริหารมาเป็น 5 องค์กรหลัก คณะกรรมการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในขณะนั้นคงได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียอย่างรอบคอบและชัดเจนแล้วว่าการบริหารจัดการของกระทรวงศึกษาธิการคงจะเหมาะสมและสอดคล้องกับการปฏิรูป ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มักจะมีบางองค์กรหลักพบว่าการบริหารจัดการเกิดความไม่คล่องตัวและมีปัญหา จึงได้มีความคิดและเสนอทางออกในการขอปรับโครงสร้างมาเป็นระยะฯ โดยเฉพาะชาวสถาบันอุดมศึกษาที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเสนอขอให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแยกออกมาจากกระทรวงศึกษาธิการไปเข้าสู่องค์กรใหม่ เช่น กระทรวงการอุดมศึกษาและการวิจัย และกระทรวงอุดมศึกษา หรือแยกออกมาเป็นทบวงอย่างในอดีต อย่างไรก็ตาม แนวโน้มของการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการทำท่าว่าจะเป็นจริง เมื่อมีไฟเขียวจากผู้บริหารระดับสูงให้แต่ละองค์การไปเสนอแนวทางตลอดจนรูปแบบและภารกิจเพื่อเสนอให้คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษาหรือซุปเปอร์บอร์ดการศึกษาพิจารณาต่อไป

Advertisement

เมื่อมีประเด็นการเสนอการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการทุกครั้งก็จะมีเสียงสะท้อนออกมาหลากหลายมิติ ทั้งอดีตผู้บริหาร นักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ข้อเสนอหรือมุมมองของบุคคลต่างๆ ที่มีต่อกรณีนี้ถือได้ว่าเป็นข้อเสนอที่มีผู้เกี่ยวข้องจะต้องรับฟังและนำไปสังเคราะห์ วิเคราะห์เพื่อประโยชน์โดยรวมของการศึกษาชาติ และถือได้ว่าผู้ที่ออกมาเสนอมุมมองต่างได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วยความมุ่งหวังให้การศึกษาของชาติมีการพัฒนาไปข้างหน้าและทำให้มีความเท่าเทียมกับนานาประเทศ

นายจรูญ ชูลาภ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวถึงกระแสการปรับโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการในการที่จะมีปลัดกระทรวงเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับ 11 เพียงคนเดียว (Single Command) และจะสลายองค์กรหลักแตกเป็นกรมที่มีอธิบดีระดับ 10 เป็นผู้บังคับบัญชา ว่าโดยส่วนตัวเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว คือโครงสร้างควรจะกลับไปเป็นแบบเดิมก่อนที่จะปรับให้มีองค์กร 5 แท่งเช่นในปัจจุบัน ซึ่งไม่ใช่เป็นการถอยหลังแต่เพื่อความชัดเจนในการจัดและพัฒนาการศึกษา เพราะตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ปฏิรูปการศึกษาและปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ ผลการประเมินหรือจัดอันดับการศึกษาของประเทศก็ถอยไปเรื่อยๆ จากที่เคยอยู่อันดับ 40 กว่า ก็มาเป็น 80 กว่า ดังนั้น เมื่อไม่ถึงเป้าหมายก็ต้องมีการปรับเปลี่ยน (ไทยโพสต์, 9 พฤศจิกายน 2558)

ในขณะที่ ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะอนุกรรมการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....... กล่าวว่า ขณะนี้ถึงเวลาที่จะมาคุยกันเรื่องโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการให้สอดคล้องกับกฎหมายและแผนการศึกษาชาติที่กำลังปรับปรุงอยู่ ซึ่งเน้นที่ภารกิจโดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มภารกิจหลัก ได้แก่ 1.กลุ่มผู้กำหนดนโยบายและแผนการศึกษา อาทิ สภาการศึกษา 2.กลุ่มผู้กำกับการศึกษา ได้แก่ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาและสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ 3.กลุ่มผู้จัดการศึกษา ได้แก่ ภาครัฐ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น วัด มูลนิธิ ภาคเอกชน 4.กลุ่มผู้สนับสนุนการจัดการศึกษา อาทิ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเอกชน 5.กลุ่มผู้สนับสนุนงบประมาณและทรัพยากร อาทิ สำนัก งบประมาณกองทุนต่างๆ เป็นต้น

พร้อมกันนั้น ศ.ดร.สมพงษ์สะท้อนให้เห็นว่าสิ่งที่พบขณะนี้คือ ข้าราชการ ศธ.เกิดภาวะแตกตื่นหรือตื่นตระหนกกับโครงสร้างใหม่ ทำให้ทุกคนคิดถึงแต่ตัวเองโดยเฉพาะเรื่องตำแหน่งซึ่งจะทำให้การปฏิรูปการศึกษาเรื่องอื่นๆ เงียบหายไป เช่น การปฏิรูปการเรียนรู้ คุณภาพและการประเมินที่สำคัญ การให้ข้าราชการประจำปรับโครงสร้างตัวเองจะไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ควรให้หน่วยงานหรือคนที่ไม่มีส่วนได้เสีย เช่น ทีดีอาร์ไอเป็นผู้จัดโครงสร้างและให้ข้าราชการประจำเข้าไปมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น (ไทยรัฐ, 12 พฤศจิกายน 2558)

การปรับโครงสร้างของกระทรวงนั้นในทรรศนะของผู้เขียนเห็นว่าหากมีความจำเป็นและเพื่อขจัดปัญหาตลอดจนอุปสรรคต่างๆ ที่ผู้ปฏิบัติเผชิญและส่งผลดีต่อการปฏิรูปการศึกษาของชาติก็สมควรยิ่ง แต่อย่างไรก็ตาม หากมีการปรับแล้วประโยชน์ที่ได้รับตกอยู่กับผู้บริหารโดยไม่ส่งผลไปยังเด็กซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสำคัญนั้น ก็คงจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีอย่างแน่นอน บุคคลที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนต่อการปรับโครงสร้างในครั้งนี้คงไม่พ้น รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะต้องเป็นแกนกลางในการรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะบุคคลและหน่วยงานภายนอกรวมถึงผู้ปกครองนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนนักวิชาการเพื่อหลอมรวมแนวคิดให้ตกผลึกก่อนเสนอให้ผู้มีอำนาจหรือคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษาที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาต่อไป

วันนี้หากมีการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการเป็นจริง คำถามที่ตามมาคือ ถ้าปรับแล้วผลการจัดการศึกษายังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยังมีลักษณะเหมือนอดีตที่ผ่านมาแล้วเราจะหาคำตอบจากใคร ดังนั้น ก่อนการเปลี่ยนแปลงการฟังความรอบด้านจึงมีความจำเป็นยิ่ง และไม่ควร มองข้าม "การปรับโครงสร้างของกระทรวงนั้น...หากมีการปรับแล้วประโยชน์ที่ได้รับตกอยู่กับผู้บริหารโดยไม่ส่งผลไปยังเด็กซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสำคัญนั้น ก็คงจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีอย่างแน่นอน"

 

ที่มา มติชน ฉบับวันที่ 27 พ.ย. 2558 (กรอบบ่าย) 


กระทรวงศึกษาธิการกับการปรับโครงสร้าง

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

หนี้การศึกษา

หนี้การศึกษา


เปิดอ่าน 7,918 ครั้ง
Advertisement


:: เรื่องปักหมุด ::

กระทรวงศึกษาธิการกับการปรับโครงสร้าง

กระทรวงศึกษาธิการกับการปรับโครงสร้าง

เปิดอ่าน 20,834 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
‘คุณค่าของครู’ ในโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลง
‘คุณค่าของครู’ ในโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลง
เปิดอ่าน 49,576 ☕ คลิกอ่านเลย

"แก่"…อย่างมีคุณค่า โดย รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
"แก่"…อย่างมีคุณค่า โดย รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
เปิดอ่าน 10,882 ☕ คลิกอ่านเลย

"ครู" คือ "ปูชนียบุคคล" หรือ "ผู้แจวเรือจ้าง"
"ครู" คือ "ปูชนียบุคคล" หรือ "ผู้แจวเรือจ้าง"
เปิดอ่าน 12,730 ☕ คลิกอ่านเลย

"อัดความรู้" แต่แบเบาะ สร้างอนาคตเด็กได้จริงหรือ?
"อัดความรู้" แต่แบเบาะ สร้างอนาคตเด็กได้จริงหรือ?
เปิดอ่าน 10,844 ☕ คลิกอ่านเลย

ภาษาไทย ภาษาชาติ และการสอนของครู
ภาษาไทย ภาษาชาติ และการสอนของครู
เปิดอ่าน 58,531 ☕ คลิกอ่านเลย

คนจีนบ้าเรียน"ภาษาอังกฤษ" ขณะที่ไทยติดหล่มอยู่รั้งท้าย!
คนจีนบ้าเรียน"ภาษาอังกฤษ" ขณะที่ไทยติดหล่มอยู่รั้งท้าย!
เปิดอ่าน 23,144 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ล้างไก่กลับแพร่โรค หว่านเชื้อโรคทำให้อาหาร เป็นพิษไปทั่วครัว
ล้างไก่กลับแพร่โรค หว่านเชื้อโรคทำให้อาหาร เป็นพิษไปทั่วครัว
เปิดอ่าน 10,333 ครั้ง

จำนวนข้าราชการครูจำแนกตามระดับวิทยฐานะ
จำนวนข้าราชการครูจำแนกตามระดับวิทยฐานะ
เปิดอ่าน 65,498 ครั้ง

หลักเกณฑ์สอบศึกษานิเทศก์
หลักเกณฑ์สอบศึกษานิเทศก์
เปิดอ่าน 52,183 ครั้ง

5 วิธีดื่มเบียร์ไม่ให้หนุ่ม ๆ อ้วนจนพุงปลิ้น
5 วิธีดื่มเบียร์ไม่ให้หนุ่ม ๆ อ้วนจนพุงปลิ้น
เปิดอ่าน 37,923 ครั้ง

"แก่"…อย่างมีคุณค่า โดย รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
"แก่"…อย่างมีคุณค่า โดย รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
เปิดอ่าน 10,882 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ