Advertisement
Advertisement
“ระบบการศึกษาของเมืองไทยในขณะนี้ก็เป็นไปในทางที่จะผลิตแต่ผู้มีปริญญาเท่านั้นไม่คำนึงถึงการผลิตเกษตรกรผู้มีการศึกษา คนงานอุตสาหกรรมผู้มีการศึกษา หรือราษฎรธรรมดาสามัญผู้มีการศึกษาเลยพูดอย่างง่ายที่สุดและตรงที่สุดก็คือ มหาวิทยาลัยทุกแห่งในเมืองไทยขณะนี้ มุ่งหน้าแต่จะผลิตข้าราชการหรือผู้ที่จะออกมามีอำนาจเหนือราษฎรไทยเท่านั้น
ระบบการศึกษาของเมืองไทยตั้งแต่ประถมต้นขึ้นมานั้น เปรียบเสมือนทางหลวงซูเปอร์ไฮเวย์ชั้นที่หนึ่งซึ่งตัดตรงไปยังจุดเดียวเท่านั้น” (คึกฤทธิ์ ปราโมช) การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกสังคม เป็นปัจจัยแก้ปัญหาสังคมทั้งหลายแหล่ ฯลฯ แต่ “การศึกษา” จะบรรลุผลสำเร็จตามที่คาดหวังไว้นั้นหรือไม่ ยังขึ้นกับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง อย่างหนึ่งคือ “การจัดการศึกษา” ระบบการศึกษาไทยนั้น พลตรี ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านเปรียบเทียบว่า เหมือนทางด่วนซุปเปอร์ไฮเวย์ คือถ้าขับขึ้นไปแล้ว ต้องมุ่งไปสู่จุดเดียว คือเอาใบปริญญา
การศึกษาควรเหมือนถนนที่มีทางแยกออกมาก ๆ คือมีทางเลือกในการศึกษาหลายทาง “การศึกษาเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสังคมที่กำลังพัฒนานั้น เห็นจะเป็นความจริงที่ไม่มีผู้ใดปฏิเสธได้ ปัญหาในทางเศรษฐกิจและในทางสังคมของประเทศไทยซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันนั้น ถ้าจะพิจารณาย้อนกลับไปดูถึงต้นเหตุที่แท้จริงแล้ว ก็จะเห็นได้ชัดว่าปัญหานั้นเกิดจากการศึกษา หรือการขาดการศึกษาของผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่กับปัญหานั้นทั้งสิ้น
ปัญหาเรื่องเกษตรกรในเมืองไทยถูกพ่อค้าคนกลางเอารัดเอาเปรียบนั้น เป็นปัญหาซึ่งพูดกันบ่อย ๆ และถึงแม้ว่าจะได้พูดกันมามากแล้วเพียงใด ก็ยังไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดแก้ปัญหานั้นได้อย่างแท้จริง เหตุที่ทำให้พ่อค้าคนกลางเอารัดเอาเปรียบเกษตรกรได้นั้นก็อยู่ที่ว่า การศึกษาของพ่อค้าคนกลาง และการศึกษาของเกษตรกรอยู่ในระดับที่แตกต่างห่างกันไกล คนมีความรู้มากย่อมจะเอาเปรียบคนที่มีความรู้น้อยได้เสมอ
การส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกันตั้งสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรขึ้น เพื่อเป็นการร่วมกำลังกันต่อรองกับพ่อค้าคนกลางนั้นเป็นความคิดที่ถูก เป็นทางที่จะแก้ปัญหานั้นได้ แต่ก่อนที่จะใช้ทางนี้แก้ เราก็จะต้องคำนึงถึงการศึกษาของเกษตรกรอีกเช่นเดียวกัน
ถ้าหากว่าเกษตรกรมีการศึกษาไม่อยู่ในระดับที่สูงพอสมควรแล้ว การดำเนินกิจการของสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรก็จะเป็นไปได้ด้วยความยากลำบากและไม่บังเกิดผลตามที่ควร เหตุแห่งปัญหาก็มาลงอยู่ที่การศึกษาอีก….ความจริงเกี่ยวกับการศึกษาของเมืองไทยนั้น ในระยะนี้ก็ดูเหมือนท่านที่รับผิดชอบในการศึกษาของชาติจะทราบอยู่เหมือนกัน
สังเกตได้จากความพยายามที่จะส่งเสริมการศึกษาประเภทอาชีวศึกษาและฝึกอาชีพต่าง ๆ แต่การปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาเพื่อจะผลิตเกษตรกรที่มีการศึกษาให้ได้เป็นจำนวนมากนั้น ดูเหมือนจะยังไม่มีใครคิดหรือยังไม่มีใครทำ” (“สยามรัฐหน้า 5” ฉบับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2515)
ที่มา สยามรัฐ วันที่ 24 ธันวาคม 2558
Advertisement
|
เปิดอ่าน 8,785 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,270 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,580 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,078 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,370 ครั้ง |
เปิดอ่าน 6,679 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,677 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,863 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,093 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,141 ครั้ง |
เปิดอ่าน 27,923 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,708 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,379 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,280 ครั้ง |
เปิดอ่าน 48,770 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 6,579 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 13,331 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 2,895 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 15,569 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 116,261 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 24,426 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 13,882 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 12,413 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 13,149 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 96,786 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 10,873 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 12,411 ครั้ง |
|
|