ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมทฤษฎีทางการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

แบบจำลองการสื่อสารของแชนนัน และวีเวอร์


ทฤษฎีทางการศึกษา เปิดอ่าน : 93,315 ครั้ง
Advertisement

แบบจำลองการสื่อสารของแชนนัน และวีเวอร์

Advertisement

แชนนันและวีเวอร์ ได้คิดรูปแบบจำลองของการสื่อสารขึ้นในลักษณะของกระบวนการ สื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรง กระบวนการนี้เริ่มด้วยผู้ส่งสารซึ่งเป็นแหล่งข้อมูล ทำหน้าที่ส่งเนื้อข่าวสารเพื่อส่งไปยังผู้รับ โดยผ่านทางเครื่องส่งหรือตัวถ่ายทอด ในลักษณะของสัญญาณที่ถูกส่งไปในช่องทางต่างๆ กัน แล้วแต่ลักษณะของการส่งสัญญาณแต่ละประเภท เมื่อทางฝ่ายผู้รับได้รับสัญญาณให้เป็นเนื้อหาข่าวสารนั้นอีกครั้งหนึ่งให้ตรงกับที่ผู้ส่งส่งมา ในขั้นนี้เนื้อหาที่รับจะไปถึงจุดหมายปลายทาง คือผู้รับตามต้องการ แต่ในบางครั้งสัญญาณที่ส่งไปอาจถูกรบกวนหรืออาจมีบางสิ่งบางอย่างมาขัดขวางสัญญาณนั้น ทำให้สัญญาณที่ส่งไปกับสัญญาณที่ได้รับมีความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้เนื้อหาข่าวสารที่ส่งจากแหล่งข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางอาจผิดเพี้ยนไป นับเป็นความล้มเหลวของการสื่อสารเนื่องจากข้อมูลที่ส่งไปกับข้อมูลที่ได้รับไม่ตรงกัน อันจะทำให้เกิดการแปลความหมายผิด หรือความเข้าใจผิดในการสื่อสารกันได้


ภาพ แบบจำลองการสื่อสารของแชนนัน และวีเวอร์


จากรูปแบบจำลอง พิจารณาได้ว่า แชนนันและวีเวอร์สนใจว่าเมื่อมีการสื่อสารกัน จะมีอะไรเกิดขึ้นกับข้อมูลข่าวสารที่ส่งไป ไม่ว่าจะเป็นการส่งโดยผ่านอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า หรือการส่งโดยใช้สัญญาณต่างๆ เช่น เมื่อมีการเปิดเพลงออกอากาศทางสถานีวิทยุ เสียงเพลงนั้นจะถูกแปลงเป็นสัญญาณและส่งด้วยวิธีการกล้ำสัญญาณ (modulation) จากสถานีวิทยุไปยังเครื่องรับวิทยุ โดยที่เครื่องรับจะแปลงสัญญาณคลื่นนั้นเป็นเพลงให้ผู้รับได้ยิน ในขณะที่สัญญาณถูกส่งไปจะมีสิ่งต่างๆ หลายอย่างมาเป็นอุปสรรคในการส่ง โดยการรบกวนสัญญาณนั้นให้เสียไป เราจึงเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “สิ่งรบกวน”(Noise Source) เช่นในการส่งวิทยุระบบ AM สัญญาณจะถูกรบกวนโดยไฟฟ้าในบรรยากาศ หรือในขณะที่ครูฉายภาพยนตร์ในห้องเรียน การรับภาพและเสียงของผู้เรียนจะถูกรบกวนโดยสิ่งรบกวนหลายอย่าง เช่น แสงที่ตกลงบนจอภาพ เสียงพัดลมเป่าในเครื่อง-
ฉายภาพยนตร์ และเสียงพูดคุยจากภายนอกเป็นต้น หรือเช่นการพูดโทรศัพท์ ผู้เริ่มต่อโทรศัพท์จะแปลงสัญญาณไฟฟ้าให้กลับเป็นคำพูดส่งถึงผู้รับหรือผู้ฟังซึ่งเป็น
จุดหมายปลายทางของการสื่อสาร แต่ถ้าระหว่างที่ส่งสัญญาณไปนั้นมีสิ่งรบกวนสัญญาณ เช่นฝนตกฟ้าคะนอง ก็จะทำให้สัญญาณที่ได้รับถูกรบกวน เกิดการสั่นสะเทือนซึ่งเป็นเหตุ
ให้การฟังไม่ชัดเจน

จึงสรุปได้ว่า "สิ่งรบกวน" คือ สิ่งที่ทำให้สัญญาณเสียไปภายหลังที่ถูกส่งจากผู้ส่งและก่อนที่จะถึงผู้รับทำให้สัญญาณที่ส่งไปกับสัญญาณที่ได้รับ
มีลักษณะแตกต่างกัน และอาจกล่าวได้ว่าเป็นอุปสรรคของการสื่อสาร เนื่องจาทำให้การสื่อสารไม่ได้ผลเต็มที่


>> http://www.chontech.ac.th/~abhichat/Edu_Theory/Edu_channan.htm


แบบจำลองการสื่อสารของแชนนัน และวีเวอร์แบบจำลองการสื่อสารของแชนนันและวีเวอร์

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้


เปิดอ่าน 423,822 ครั้ง
ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism

ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism


เปิดอ่าน 157,626 ครั้ง
รูปแบบจำลอง S M C R Model

รูปแบบจำลอง S M C R Model


เปิดอ่าน 224,994 ครั้ง
ระบบการสอนของเคมพ์ (Jerrold/Kemp)

ระบบการสอนของเคมพ์ (Jerrold/Kemp)


เปิดอ่าน 58,282 ครั้ง
จิตวิทยาการเรียนรู้ภาษา

จิตวิทยาการเรียนรู้ภาษา


เปิดอ่าน 56,332 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือบน E-Learning

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือบน E-Learning

เปิดอ่าน 32,915 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ทฤษฎีมานุษยนิยมของมาสโลว์
ทฤษฎีมานุษยนิยมของมาสโลว์
เปิดอ่าน 139,402 ☕ คลิกอ่านเลย

ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้
เปิดอ่าน 423,822 ☕ คลิกอ่านเลย

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
เปิดอ่าน 413,171 ☕ คลิกอ่านเลย

การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL)
การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL)
เปิดอ่าน 84,084 ☕ คลิกอ่านเลย

วัฎจักรการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย (Internet research cycle)
วัฎจักรการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย (Internet research cycle)
เปิดอ่าน 22,461 ☕ คลิกอ่านเลย

วิวัฒนาการความคิดทางการศึกษา
วิวัฒนาการความคิดทางการศึกษา
เปิดอ่าน 34,808 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

แนะครูกระตุ้นเด็กขี้สงสัย
แนะครูกระตุ้นเด็กขี้สงสัย
เปิดอ่าน 40,943 ครั้ง

วินัยข้าราชการครู
วินัยข้าราชการครู
เปิดอ่าน 548,752 ครั้ง

"ทองหลาง" ไม้ตระกูลถั่วที่สำคัญกับดิน
"ทองหลาง" ไม้ตระกูลถั่วที่สำคัญกับดิน
เปิดอ่าน 15,007 ครั้ง

กรดไหลย้อน และการรักษากรดไหลย้อน
กรดไหลย้อน และการรักษากรดไหลย้อน
เปิดอ่าน 1,986 ครั้ง

เจ้านายจู้จี้ ขี้บ่น ทำยังไงดี
เจ้านายจู้จี้ ขี้บ่น ทำยังไงดี
เปิดอ่าน 15,233 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ