ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เยาวชนรุ่นใหม่..ใส่ใจ...สิ่งแวดล้อม...


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,244 ครั้ง
เยาวชนรุ่นใหม่..ใส่ใจ...สิ่งแวดล้อม...

Advertisement

ชมรมสิ่งแวดล้อม โรงเรียนอัสสัมชัญ เชิญชวนร่วมใจอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

 

 

               วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก หลังการเคารพธงชาติแล้ว นายสรคม เปรมพงษ์ นักเรียน ม.5/2 ตัวแทนชมรมสิ่งแวดล้อม โรงเรียนอัสสัมชัญ ได้มากล่าวเชิญชวนคณะนักเรียนและครู ให้ร่วมใจอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันกำลังมีปัญหา ให้คงอยู่เคียงคู่กับโลกตลอดกาล ดังคำกล่าวตอนหนึ่งของการเชิญชวนว่า ... ในปัจจุบัน ทรัพยากรถูกใช้ไปอย่างสิ้นเปลืองโดยไม่รู้จักอนุรักษ์ หรือสร้างขึ้นมาทดแทน มีคำที่เรามักได้ยินเป็นข้ออ้างเสมอๆ ในการทำลายทรัพยากรคือ รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่มีความรู้ แต่ในความเป็นจริงเรากลับพบว่าทรัพยากรจำนวนไม่น้อยถูกทำลายจากผู้ที่มีความรู้แต่ไม่สำนึก บัดนี้ยังไม่สายเกินไป ที่เราจะมาช่วยกันปลูกจิต สร้างสำนึกและความรับผิดชอบในสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้มากขึ้น...

 

ความเป็นมาวันสิ่งแวดล้อมโลก

ความตื่นตัวในวิกฤตการณ์ ด้านสิ่งแวดล้อมของโลกเริ่มขึ้นอย่างจริงจังเมื่อรัฐบาลสวีเดนได้เสนอต่อองค์การสหประชาชาติถึงวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม อันประกอบด้วยวิกฤตการณ์ต่าง ๆ คือ การขาดแคลนอาหาร วิกฤตการณ์ด้านพลังงาน อัตราการเพิ่มของประชากรที่สูงมากรวมทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนทั่วโลก ดังนั้นองค์การสหประชาชาติร่วมกับรัฐบาลสวีเดนจึงได้จัดการประชุมที่เรียกว่า "การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์" (UN CONFERENCE ON THE HUMAN ENVIRONMENT) ที่กรุงสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ระหว่างวันที่ 5-16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 โดยใช้เวลาเตรียมการประชุมครั้งนี้ถึง 3 ปี เพื่อจัดทำร่างข้อเสนอต่าง ๆ รวมทั้งแผนการดำเนินการและปฏิญญาว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์

ในการประชุมครั้งนี้มีผู้ร่วมเข้าประชุมถึง 1,200 คน จาก 113 ประเทศ นอกจากนั้น ยังมีผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานรัฐ องค์การสหประชาชาติ สื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ และตัวแทนเยาวชนและกลุ่มนักศึกษาจากทั่วโลก ซึ่งผลการประชุมนับว่าประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม เพราะเป็นครั้งแรกที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ได้หันหน้าเข้าหากันเพื่อเพื่อร่วมขจัดภยันตรายด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังคุกคามโลกของเรา และมีการตกลงที่จะร่วมมือในด้านต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญคือ องค์การสหประชาชาติได้จัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP : UNITED NATIONS ENVIRONMENT PROGRAMME) ขึ้น และรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้น จัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน รวมทั้งประเทศไทย รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518 และก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในปีเดียวกัน

ดังนั้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงจุดเริ่มต้น ของการร่วมมือระหว่างชาติทั่วโลกในด้านสิ่งแวดล้อมวันที่5 มิถุนายน อันเป็นวันเริ่มการประชุม ครั้งยิ่งใหญ่นี้ จึงได้รับประกาศให้เป็น "วันสิ่งแวดล้อมโลก" (WORLD ENVIRONMENT DAY)  สำหรับในปี พ.ศ.2550 วันสิ่งแวดล้อมโลกได้กำหนดแนวคิดหลักในการรณรงค์ให้เป็นทิศทางเดียวกัน คือ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยมีคำขวัญว่า “Melting Ice – a Hot Topic?” “หยุดโลกร้อนด้วยชีวิตพอเพียง

           ที่มา  :    กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

รายงานโดย  : งานประชาสัมพันธ์โรงเรียนอัสสัมชัญ

 


เด็ก รร.หนองจิกดูงานเรือนจำ

เยาวชนในโครงการ  ค่ายพระพุทธบุตร  จากโรงเรียนหนองจิก    เข้ารับฟังการถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตที่เคยหลงผิดจากผู้ต้องขังในเรือนจำกลางจังหวัดเพชรบุรีเพื่อเป็นอุทาหรเตือนใจไม่ให้หลงผิด
คณะครูอาจารย์จากโรงเรียน  หนอกจิกวิทยา    อำเภอท่ายาง  นำนักเรียนและเยาวชนจำนวนกว่า  ๑๖๐  ที่เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมค่ายพระพุทธบุตร  ที่วัดกำแพงแลง    ตำบลท่าราบ    เข้ารับฟังการถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตจากผู้ต้องขังที่เคยกระทำความผิดในคดีต่างๆ      และใกล้จะพ้นโทษมาถ่ายทอดประสบการณ์ให้ได้ฟัง  เมื่อช่วงบ่ายของวันที่  ๒๐  มิถุนายนที่ผ่านมา    โดย  มีนาย  กฤธ    กระแสทิพย์    ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดเพชรบุรีพร้อมเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ      โดยการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้ต้องขังสู่เยาวชนเป็นหนึ่งในการดำเนินงานของโครงการ  พี่สอนน้อง  รวมพลังไทย    ขจัดภัยยาเสพติด  ร่วมเทิดไท้องค์ราชัน    ที่เรือนจำกลางจังหวัดจัดขึ้น    เนื่องจากพบว่า    ปัจจุบัน    ปัญหาเสพติดเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญและสร้างผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศโดยเฉพาะยาบ้า      ที่ระบาดไปยังกลุ่มเยาวชนนักเรียนนักศึกษา      ซึ่งเมื่อเสพเข้าไปจะส่งผลกระทบทั้งด้านการเรียน      สังคม    และครอบครัว      รวมไปถึงปัญหาอาชญากรรมอื่นๆ   
ดังนั้นเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้และรับทราบประสบการณ์ตรงจากผู้ที่เคยหลงผิดแล้วถูกจับดำเนินคดีตามกฎหมาย    ซึ่งปัจจุบันบุคคลเหล่านี้สำนึกผิดชอบชั่วดีและพร้อมจะออกมาเป็นคนดีของสังคมและไม่กลับไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดเหล่านี้    เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องปีมหามงคล    เฉลิมพระชนม์มายุ    ๘๐  พรรษา    และที่สำคัญพวกเขาต้องการถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาให้    เยาวชนเหล่านี้ได้รับทราบ    เพื่อเป็นอุทาหรณ์  และเกรงกลัวต่อการกระทำความผิด    พิษภัยของสิ่งเสพติด    ที่จะก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตทรัพย์สิน  รวมไปถึงโทษทัณฑ์ที่จะได้รับ      และไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิงเสพติดเด็ดขาด
ตามไปดู "ทูตไบเออร์" ปลูกข้าวแบบไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมที่ "บ้านควาย"

your image


29 เมษายน 2551
ผู้จัดการออนไลน์ : ฉันขี่ไอ้ทุยวิ่งลุยท้องนา ฉันคนบ้านป่าหน้าตาเหมือนโจร แต่งตัวก็เชยหนักหนา ดูหน้าดูตาก็มีแต่โคลน ต่อให้ตะโกนเธอก็ไม่มา..."

บรรยากาศที่เต็มไปด้วยกลิ่นโคลนสาบควายในแบบบทเพลงลูกทุ่งอมตะนี้ดูจะหาดูได้ยากเต็มที ด้วยรูปแบบเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปส่งผลให้วิถีชาวนาที่พึ่งพิงแรงงานและปุ๋ยบำรุงดินจากเจ้าทุยเพื่อนยากต้องเปลี่ยนแปลงสู่การพึ่งพาเครื่องจักร ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงเพื่อเพิ่มผลผลิตสู่การส่งออกมากกว่าอยู่อย่างพอเพียง

แต่ก่อนที่วิถีชาวนาแบบไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อมจะหายไปจากผืนนาไทย "ผู้จัดการวิทยาศาสตร์" ก็มีโอกาสได้ไปสัมผัสชีวิตแบบลูกทุ่งใกล้ๆ กรุง ณ หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย จ.สุพรรณบุรี ร่วมกับเยาวชนกว่า 40 ชีวิตจากโครงการทูตไบเออร์เพื่อสิ่งแวดล้อมของ บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด ภายในค่าย "อนุรักษ์วิถีชาวนาไทยเพื่อความเป็นอยู่อย่างพอเพียง" เมื่อวันที่ 26-27 เม.ย.51 ที่ผ่านมา ซึ่งทุกๆ หน้าร้อนเยาวชนจำนวนหนึ่งในโครงการทูตไบเออร์ทุกรุ่นจะรวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมสำหรับสิ่งแวดล้อม

หลายคนอาจไม่รู้ว่าควายซึ่งเคยเป็นแรงงานหลักประจำท้องทุ่ง แทนที่จะเป็นอาหารในชามก๋วยเตี๋ยวอย่างทุกวันนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ "ควายปลัก" หรือควายไทยที่ชอบแช่ปลัก-แช่โคลน กับ "ควายแม่น้ำ" หรือควายแขกซึ่งเป็นควายสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงในแถบประเทศอินเดียเพื่อไว้รีดนมมากกว่าใช้แรงงานและชอบแช่อยู่ในน้ำสะอาด

ในควายสายพันธุ์หลักๆ นี้เรายังอาจพบควายลักษณะแปลกๆ อาทิ ควายด่อนหรือควายเผือกซึ่งเป็นควายที่ตลอดทั้งตัวเป็นสีขาวค่อนชมพู ควายแคระซึ่งเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมทำให้มีรูปร่างๆ เล็กกว่าควายทั่วๆ ไป เป็นต้น

ภายในหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทยได้ไถ่ชีวิตควายจากโรงฆ่าสัตว์เพื่อนำมาเลี้ยงไว้กว่า 300 ตัวแล้ว ในจำนวนนั้นมี "ควายดารา" ที่คอยแสดงความสามารถให้ชม ณ ลานแสดงควาย ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้เห็นว่าควายที่นี่ "ยิ้มได้" สามารถยกขาซ้าย-ขวาได้ตามคำสั่งครูฝึก หรือแม้กระทั่งแกล้งตายก็ยังได้

นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้เห็น "พญาควาย" ที่มีลักษณะเด่นๆ คือมีสีขาวเป็นรูปโพธิอยู่ตรงกลางหน้า หางเป็นพวงสีขาว กีบด่าง ขาทั้งสี่ด่างเหมือนสวมถุงเท้าขาว

"คนโบราณเชื่อกันว่าหากบ้านไหนมีพญาควายมีไว้ครอบครองจะเป็นสิริมงคลแก่บ้านหลังนั้น จะพบแต่ความเจริญ" วิทยากรภาคสนามประจำลานแสดงควายให้ความรู้

"พญาควายเมื่อโตเต็มที่จะสูงได้ถึง 180 เซนติเมตร มีอายุยืนถึง 45 ปี พญาควายจะคอยเป็นจ่าฝูงดูแลควายตัวอื่นๆ แต่ถ้าหากใครนำพญาควายไปฆ่ากินก็จะพบแต่ภัยพิบัติต่างๆ นานา" วิทยากรคนเดิมอธิบายต่อ ซึ่งในหมู่บ้านควายนี้มีพญาควายอยู่ 1 ตัวชื่อ "โพธิทอง" ซึ่งมีอายุได้ 8 ปีแล้ว

หลังจากเรียนรู้เกี่ยวกับควายแล้วก็ถึงเวลาที่เยาวชนทั้งหลายจะได้ลุยโคลน "ดำนา" เพื่อให้เข้าถึงวิถีแห่งชาวนา ซึ่งกว่าจะดำนาได้ชาวนาต้องเตรียมดินสำหรับปลูกข้าวโดยการ "ไถดะ" คือไถดินลงไปให้ลึกที่สุดเพื่อผลิกหน้าดินและทำลายวัชพืช

จากนั้น "ไถแปร" เพื่อพรวนให้ดินเล็กลงซึ่งจะไถตัดฉากกับการไถดะ จากนั้นใช้ "คราด" กวาดเอาวัชพืชทั้งหลายออกจากแปลงนา ซึ่งกระบวนการเตรียมดินเหล่านี้มี "เจ้าทุย" เป็นพระเอกตั้งแต่ต้นจนจบ

ส่วนการเตรียมต้นกล้าชาวนาจะนำเมล็ดพันธุ์ใส่กระสอบไปแช่น้ำไว้คืนหนึ่งเพื่อให้ยอดอ่อนแทงจมูกข้าวออกมา จากนั้นก็นำไปหว่านเพื่อให้กล้าเติบโตเป็นเวลา 1 เดือน และถอนกล้าเหล่านั้นออกมา "ดำ" ให้ต้นข้าวเติบโตอย่างเป็นระเบียบ งานนี้จึงได้เห็นเยาวชนทั้งหลายตั้งแถวหน้ากระดานเรียงหนึ่งค่อยๆ ถอยหลังคนละก้าวพร้อมๆ กับการปักต้นกล้าลงผืนนาที่มีน้ำขังอยู่เต็ม

หนึ่งในทูตไบเออร์ซึ่งเป็นหนุ่มน้อยจากเมืองคนดี "สุราษฎร์ธานี" อย่าง "กฤดา เอื้อกฤดาธิการ" ที่ปัจจุบันเรียนอยู่ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าเขาไม่เคยได้เห็นควายตัวเป็นๆ อย่างใกล้ชิดมาก่อน

ปกติจะเห็นอยู่ตามข้างทางกลางทุ่งหน้าเป็นจุดดำๆ เล็ก ครั้งนี้เขาได้ลองสัมผัสควายและรู้สึกคล้ายกับ "กระเป๋าหนังมีขนและอุ่นๆ" นอกจากนี้ยังได้เปิดมุมมองชีวิต มีเวลาที่เดินช้าลง ต่างจากในเมืองที่เร่งรีบและนึกถึงแต่จุดหมาย

"บางครั้งเราลืมนึกถึงสิ่งที่เราใช้ มาที่นี้เราใช้ควาย ต้องถนอมจะใช้งานหนักไม่ได้ เมื่อก่อนเราใช้ควาย ไม่ต้องพึ่งพาน้ำมัน ให้กินฟาง กินหญ้า ตอนนี้เราใช้รถไถถึงจะได้ข้าวเยอะกว่าแต่ก็เกิดคาร์บอนสู่บรรยากาศ อีกทั้งชาวนาผลิตน้ำมันเองไม่ได้ ต้องนำเข้า เมื่อน้ำมันแพงขึ้นก็ส่งผลกระทบ แนวทางการทำเกษตรต่อไปน่าจะเป็นแบบผสมผสานคือใช้ควายส่วนหนึ่งและใช้เครื่องยนต์ส่วนหนึ่ง" กฤดากล่าว

ส่วนว่าที่สถาปนิกสาวจากเมืองนนท์อย่าง "ธนพร วงษ์ดนตรี" นักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็เป็นอีกคนที่ไม่เคยเห็นควายในระยะใกล้ๆ แต่เมื่อได้สัมผัสก็รู้สึกว่าเป็นสัตว์โลกที่น่ารักชนิดหนึ่ง ไม่ได้น่ากลัว และอยากให้ทุกคนให้ความสำคัญกับควายเพราะเป็นสัตว์คู่บ้าน-คู่เมืองที่ช่วยผลิตข้าวให้เรากิน นอกจากนี้ยังดีใจที่ได้เห็น "พญาควาย" ซึ่งไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีควายแบบนี้อยู่ รวมถึง "ควายแคระ" ที่ไม่เคยเจอด้วย

"วิถีชีวิตแบบเดิมนั้นเข้าทำนา เย็นก็อยู่พร้อมหน้าครอบครัว แต่เดี๋ยวนี้ชีวิตมีแต่ความเร่งด่วน เมื่อก่อนครอบครัวมีปู่ย่าตายายอยู่กันพร้อมหน้า หาเลี้ยงชีพกันแบบพอกิน ไม่ได้คิดถึงกำไรมาก เดี๋ยวนี้คิดถึงแต่กำไร เน้นใช้เทคโนโลยี ขยะก็มากขึ้น ต่างจากวิถีชาวนาที่มีความผูกพันกับธรรมชาติมากกว่า อยู่กับควาย ใช้ควายทำนา เดี๋ยวนี้มีรถแทรคเตอร์ซึ่งมีดีตรงที่ทำงานเร็วแต่ก็ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต ทั้งยังกินน้ำมันและก่อสารพิษ กลับไปใช้ควายอย่างเดิมผสมผสานการใช้เทคโนโลยีอย่างพอเพียงดีกว่า" ธนพรกล่าว

ด้าน วีระยุทธ โพธิ์ศรี หนุ่มอีสานเมืองขอนแก่นซึ่งเพิ่งสำเร็จการศึกษาจากคณะสังคมศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์การปกครอง มหาวิทยาลัยมหามงกุฎวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน บอกเล่าว่าเขาเติบโตมากับสภาพแวดล้อมที่เป็นทุ่งนาและเต็มไปด้วยควาย จึงได้เห็นสัตว์มีเขานี้เป็นปกติ แต่ก็ให้ความเห็นถึงการทำนาในปัจจุบันว่ามีการใช้เทคโนโลยีในการปลูกข้าวมากขึ้น ทำให้เกิดควันพิษออกมามากเช่นกัน

"จากเดิมที่ใช้ควายและมีความสามัคคีกัน โดยเมื่อก่อนในการทำนานั้นเมื่อถึงฤดูเกี่ยวข้าวก็เรียกเพื่อนบ้านข้างเคียงมาช่วยกัน แต่เดี๋ยวนี้คนเราเห็นแก่ตัวกันมากขึ้น มีการเก็บค่าแรง และก็มีรถรับจ้างเกี่ยวข้าว กลายเป็นการตัดงานแรงงานคน ชาวบ้านจึงต้องย้ายถิ่นฐานเข้าไปทำงานในเมือง"

"หากใช้ควายก็จะเกิดความสามัคคีในชุมชนมากขึ้น มีพืชสีเขียวไว้เป็นอาหารควาย มูลควายก็เป็นปุ๋ยให้นาได้ ควายเป็นแรงงานสำคัญและเป็นแหล่งปุ๋ยธรรมชาติ เป็นแหล่งให้แมลงกุดจี่ชอนไชมูลควาย ช่วยพรสนดินและทำให้ดินดี ขณะที่รถไถมีแต่สร้างมลพิษ" วีระยุทธกล่าว

ขณะที่หนุ่มใต้แห่งจังหวัดกระบี่อย่าง "สราวุธ ทองหนูนุ้ย" นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิน วิทยาเขตพัทลุง เสริมว่าการทำนาวิถีไทยนั้นสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว

เมื่อก่อนแม้เศรษฐกิจไม่เติบโตมากแต่ธรรมชาติก็ไม่ได้ย่ำแย่และคนก็ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีมากนัก พร้อมเล่าประสบการณ์ว่าตอนเด็กๆ นั้นที่บ้านเคยทำนาแต่ทำได้กระทั่งเขาอายุ 5 ขวบก็หยุดไปเนื่องจากสู้ปัญหาดินเค็มไม่ไหว แล้วหันมาทำประมงแทน แต่เป็นการทำประมงแบบไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมทำให้สัตว์น้ำลดลงไปมาก

"เมื่อโตขึ้นได้รับเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงได้จัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนที่ไม่ได้รับการศึกษาเพื่อให้ทำประมงแบบยั่งยืนและช่วยกันอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ ปัจจุบันในพื้นที่เคยหากุ้ง หาปลาไม่ได้ ก็เริ่มหาได้แล้ว" สราวุธกล่าว พร้อมย้อนความหลังให้ฟังอีกว่าเมื่อตอนเด้กๆ ที่พ่อแม่ทำนานั้นก็พาไปทุ่งนาด้วย ทำให้เขาได้สัมผัสกลิ่นไอดิน กลิ่นข้าวยามออกรวง เมื่อตกเย็นก็ได้พร้อมหน้าพ่อแม่อยู่กันประสาครอบครัวเล็กๆ

แม้ว่าเราไม่อาจเรียกวิถีชีวิตบนหลังทุยให้กลับคืนมาเฟื่องฟูได้เหมือนเก่า แต่อย่างน้อยการกินข้าวให้หมดจานก็น่าจะเป็นวิธีที่เราจะแสดงความเคารพต่อวิถีชาวนาไทยที่สืบทอดมาแต่บรรพบุรุษได้ อีกทั้งยังเป็นวิธีรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการลดปริมาณขยะในชีวิตประจำวันได้ง่ายที่สุด.

โครงการของมูลนิธิ

 1. โครงการหลัก

1.1 โครงการป่าของเด็ก Children ‘ s forest  Program (CFP)

          เป็นโครงการหลักที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบัน มีพื้นที่ในการดำเนินงาน 4 ภาค ดังนี้  
*** ภาคเหนือ  เชียงใหม่  เชียงราย  ลำพูน และลำปาง                         
*** ภาคกลาง  พระนครศรีอยุธยา และชัยนาท
*** ภาคใต้     ระนอง
*** ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   สุรินทร์ และขอนแก่น  

                       

                        

 1.2 โครงการปลูกป่าเชื่อมมิตรภาพไทย-ญี่ปุ่น   
      ในทุกๆปีจะมีกลุ่มคณะอาสาสมัครจากประเทศญี่ปุ่นเดินทางมาปลูกป่าร่วมกับมูลนิธิฯ เป็นประจำทุกปี จึงเกิดโครงการปลูกป่าเชื่อมมิตรภาพไทย-ญี่ปุ่น ขึ้นมา นอกจากการเชื่อมมิตรภาพที่ดีระหว่างกันแล้ว ยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ประเพณีและวัฒนธรรม โดยมีกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของการเชื่อมมิตรภาพ

                                           
   
                              

2. โครงการเสริม

2.1 โครงการค่ายเยาวชนเพื่อสิ่งแวดล้อม 
      เป็นโครงการสืบเนื่องจากโครงการป่าของเด็ก เป็นกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะเยาวชนตัวน้อยๆซึ่งพวกเขาจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง สามารถคิด  และเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำลายสิ่งแวดล้อม การจัดค่ายในแต่ละครั้ง มีความมุ่งหวังว่าเยาวชนไทยจะตระหนักและเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมให้มากกว่าเท่าที่เป็นอยู่ และสามารถนำสิ่งดีๆที่ได้รับจากการเข้าค่ายนำไปปฎิบัติและถ่ายทอดให้แก่บุคคคลอื่นต่อไป

                 
     
2.2 โครงการเกษตรครอบครัวปลอดสารพิษ
       เป็นโครงการสืบเนื่องจากโครงการป่าของเด็กเช่นเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนที่สนใจการทำเกษตรได้เรียนรู้และการทำเกษตรปลอดสารพิษ สำหรับผลผลิตที่ได้จะนำไปเป็นอาหารกลางวันของเด็กนักเรียน ส่วนที่เหลือจากการรับประทานก็นำไปจำหน่ายให้กับชุมชน นอกจากได้เรียนรู้แล้ว เด็กๆยังได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งก่อให้เกิดรายได้เล็กๆน้อยๆอีกด้วย

  •  

Leave a response

Your response:

ค่าย เยาวชน หุ่นยนต์ ลดโลกร้อน

แกะรอย "ค่ายเยาวชนหุ่นยนต์ลดโลกร้อน" ...เด็กไทยทำได้!
"KMUTNB o­ne-2-Call! Robot Camp 2008"
โดย วัน-ทู-คอล ! ร่วมกับ ม. เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ


 

            ทรานซ์ฟอร์เมอร์  โดราเอมอน  วอลล์-อี  กันดั้มส์ ล้วนแล้วแต่เป็นหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นจากจิตนาการในภาพยนตร์ และ การ์ตูน ที่น้อยคนจะไม่รู้จัก แม้จะต่างกันด้วยรูปร่างหน้าตา และเรื่องราวเนื้อเรื่อง แต่สิ่งที่เหมือนกันคือทุกตัวเป็นหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ หรือเพื่อปกป้องโลก  จนได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กหลายคนฝันว่าซักวันเขาจะสร้างหุ่นยนต์ซักตัวเพื่อปกป้องโลก


 
            เมื่อเร็ว ๆ นี้ วัน-ทู-คอล! ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จัดโครงการ "KMUTNB o­ne-2-Call! Robot Camp 2008"  เพื่อสร้างจุดเริ่มต้นให้เด็กไทยได้ใช้ไอเดียสร้างสรรค์อย่างอิสระและมีโอกาสทำฝันให้เป็นจริง นั่นคือ...ลงมือ "สร้างหุ่นยนต์ปกป้องโลกด้วยมือของพวกเขาเอง"


 
          โครงการ "KMUTNB o­ne-2-Call! Robot Camp 2008"  เป็นแคมป์เยาวชน ที่ o­ne-2-Call!  ได้ร่วมกับกลุ่มนักศึกษา และอาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จัดขึ้น  โดย นายวินชัย วันวัฒน์สันติกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด วัน-ทู-คอล!  กล่าวว่า  "การจัดโครงการ "KMUTNB o­ne-2-Call! Robot Camp 2008" ค่ายเยาวชนหุ่นยนต์ ถือเป็นการร่วมมือที่สำคัญของภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาที่มีความชำนาญในการถ่ายทอดเทคโนโลยี  เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเพิ่มประสบการณ์จริงเกี่ยวกับการประดิษฐ์หุ่นยนต์  ไปพร้อมกับส่งเสริมการใช้จินตนาการด้านการประดิษฐ์ ซึ่ง วัน-ทู-คอล! ขอร่วมเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้เยาวชนได้มีโอกาสแสดงความคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นอิสระ และมีเวทีให้พวกเขาได้ทำฝันให้เป็นจริง...แม้จะเป็นแค่จุดเริ่มต้นของเส้นทางนักพัฒนาหุ่นยนต์ก็ตาม"


 
          แคมป์ "KMUTNB o­ne-2-Call! Robot Camp 2008" ได้ต้อนรับเยาวชนกว่า 200 คนจากโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ที่มาใช้ชีวิตร่วมกันตลอด 5 วันเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับหุ่นยนต์ประเภทต่าง ๆ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการสร้างหุ่นยนต์เบื้องต้น วิธีการเขียนคำสั่งการให้หุ่นยนต์ทำสิ่ง ต่าง ๆ ที่เราต้องการ และภารกิจสำคัญที่ทุกกลุ่มต้องทำก็คือทำหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นภายใต้คอนเซ็ปต์ "หุ่นยนต์ลดโลกร้อน " ไปแข่งขันกับเพื่อน ๆ ในโครงการทั้งหมดในวันสุดท้ายของการอยู่แคมป์อีกด้วย

 


 
          สำหรับโจทย์การสร้างหุ่นยนต์ที่นักเรียนในระดับ ม.ต้น ต้องทำให้สำเร็จ คือ สร้างหุ่นยนต์บังคับที่สามารถออกคำสั่งให้ยิงเลเซอร์ไปที่เป้า  3 จุด และบังคับให้หุ่นยนต์ไปตามเส้นทางที่กำหนดให้เร็วที่สุด ผ่านการเขียนโปรแกรมการตรวจจับด้วยเซ็นเซอร์ …ส่วนนักเรียนในระดับม.ปลาย พวกเขาจะต้องสร้างหุ่นยนต์ที่บังคับด้วยโทรศัพท์มือถือผ่านระบบ GPRS เพื่อให้หุ่นยนต์เก็บขยะไปไว้ในพื้นที่ที่กำหนดให้ได้มากที่สุด


            
            ปรากฏว่า ทีมผู้ชนะเลิศในระดับ ม.ต้น เป็นทีมของสาวน้อยผู้คลั่งไคล้ในหุ่นยนต์จากโรงเรียน อุตรดิตถ์ดรุณี จ.อุตรดิตถ์  โดย "น้องมุข" หรือ ด.ญ. วัชราภรณ์ แก้วคงขำ ตัวแทนกลุ่ม Justice ทีมชนะเลิศ เล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ครั้งแรกของการสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ว่า "หนูได้เรียนรู้ประสบการณ์มากมายจากการมาเข้าแคมป์ในครั้งนี้ เห็นสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ มีเพื่อนใหม่ๆ และที่สำคัญคือได้รู้วิธีการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อบังคับหุ่นยนต์ ...ทำให้รักหุ่นยนต์มากขึ้น รู้สึกว่าไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่เคยคิดค่ะ"  ส่วนน้องทราย หรือ ด.ญ. ภัณฑิรา คำน้อย อีกหนึ่งสมาชิกของทีม Justice เล่าความฝันของเธอว่า "อยากสร้างหุ่นยนต์ที่ทำจากวัสดุที่ไม่ส่งผลเสียต่อโลก เพราะว่าโลกมันร้อนอยู่แล้ว และหน้าที่ก็คือเป็นหุ่นยนต์ที่มาทำงานที่อันตรายแทนมนุษย์ เช่น การเก็บขยะที่เป็นวัตถุมีพิษ"


 
          สำหรับผู้ชนะในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็น ทีมจอมยุทธ์ จากโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จ. พิษณุโลก โดย นายเกน จินตกะวงส์  สมาชิกของทีมจอมยุทธ์  บอกว่า  "คิดว่าจะเอาความรู้ในการเข้าร่วมกับโครงการ ไปต่อยอดในโครงงานวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียน และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผมได้จากโครงการนี้คือความภูมิใจในผลงาน การสร้างหุ่นยนต์ครั้งแรกในชีวิต"   ขณะที่อีกหนึ่งหนุ่ม นายจาตุรนต์ มีรัตน์ หรือฟ้า จากทีมเดียวกัน ได้เล่าถึงเทคโนโลยีที่เขาอยากสร้างให้เกิดขึ้นจริงในอนาคตว่า  "ผมมีความสนใจเกี่ยวกับเครื่องบิน พอได้มาเข้าแคมป์ และได้เห็นวิวัฒนาการของหุ่นยนต์ที่มีอยู่ เลยอยากที่จะนำเทคโนโลยีการบินและหุ่นยนต์มาผสมกัน เป็นหุ่นยนต์ที่บินได้ เพื่อไปสำรวจที่ต่าง ๆ หรือการหาทรัพยากรใหม่"


 
            ไม่เพียงนักเรียนกว่า 200 คนที่มาร่วมโครงการ "KMUTNB o­ne-2-Call! Robot Camp 2008" จะได้เรียนรู้ประสบการณ์สร้างหุ่นยนต์เท่านั้น ...นักศึกษารุ่นพี่จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระนครเหนือ อีกกว่า 200 ชีวิตที่รับบทเป็น ออกาไนเซอร์เอง ตั้งแต่การวางแผน ดำเนินการจัดการฝึกอบรม สร้างกิจกรรม และการแข่งขันให้กับรุ่นน้อง ก็ยังได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการจัดงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่ายอีกด้วย


 
นายเจษฎา กาญจนไพจิตร์ นักศึกษาปี 4  ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า  คณะวิศวกรรมศาสตร์ หัวหน้าทีมนักศึกษาที่ร่วมกันจัดค่ายกิจกรรม เล่าให้ฟังว่า  "การจัดแคมป์นี้ ยังถือเป็นการสร้างประสบการณ์ให้กับทีมงานผู้จัดซึ่งล้วนเป็นนักศึกษา ให้ได้มีโอกาสเรียนรู้ในด้านการทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือกันและกันในกลุ่ม และระหว่างกลุ่ม การประสานงาน ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับพวกเราก่อนก้าวไปสู่โลกการทำงานจริงในอนาคตอันใกล้"
 
            เพียงเรากล้าลงมือทำตามฝัน...ในที่สุดก็จะได้พบว่า "สิ่งนั้นไม่ได้เป็นแค่จินตนาการหรือความฝันอีกต่อไป" ... เด็กไทยทำได้ !!!

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

www.eduzon

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3113 วันที่ 26 พ.ค. 2552


เยาวชนรุ่นใหม่..ใส่ใจ...สิ่งแวดล้อม...

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เท้า...มหาภัย

เท้า...มหาภัย


เปิดอ่าน 6,239 ครั้ง
การให้บริการต่างๆ

การให้บริการต่างๆ


เปิดอ่าน 6,247 ครั้ง
 4 สูตร ......สวยหน้าใส

4 สูตร ......สวยหน้าใส


เปิดอ่าน 6,240 ครั้ง
108  กระบวนท่า

108 กระบวนท่า


เปิดอ่าน 6,252 ครั้ง
Learning English Through Humour

Learning English Through Humour


เปิดอ่าน 6,241 ครั้ง
เงิน 10 บาท

เงิน 10 บาท


เปิดอ่าน 6,240 ครั้ง
ช่วยด้วย!!! มือถือตกน้ำ

ช่วยด้วย!!! มือถือตกน้ำ


เปิดอ่าน 6,239 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

สุดมือเอื้อมคว้า.... รักกว่าหัวใจ...ที่นางผีเสื้อให้ชายที่รัก

สุดมือเอื้อมคว้า.... รักกว่าหัวใจ...ที่นางผีเสื้อให้ชายที่รัก

เปิดอ่าน 6,244 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ว้าว.....คนนอนตื่นสายฉลาดกว่าและรวยกว่าคนตื่นเช้า
ว้าว.....คนนอนตื่นสายฉลาดกว่าและรวยกว่าคนตื่นเช้า
เปิดอ่าน 6,242 ☕ คลิกอ่านเลย

การสอนโปรแกรม Paint สำหรับเด็กประถม
การสอนโปรแกรม Paint สำหรับเด็กประถม
เปิดอ่าน 6,257 ☕ คลิกอ่านเลย

   สีทาเล็บ....บอกความเป็นตัวคุณ
สีทาเล็บ....บอกความเป็นตัวคุณ
เปิดอ่าน 6,242 ☕ คลิกอ่านเลย

E-Learning
E-Learning
เปิดอ่าน 6,241 ☕ คลิกอ่านเลย

ผู้ชาย... ผิดสัญญา
ผู้ชาย... ผิดสัญญา
เปิดอ่าน 6,239 ☕ คลิกอ่านเลย

เคล็ดลับต่างๆเพื่อสุขภาพผิวที่ดี สำหรับผู้ชาย
เคล็ดลับต่างๆเพื่อสุขภาพผิวที่ดี สำหรับผู้ชาย
เปิดอ่าน 6,240 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เด็กไทยมีไอคิวต่ำลงจริงหรือ?
เด็กไทยมีไอคิวต่ำลงจริงหรือ?
เปิดอ่าน 16,607 ครั้ง

เชื่อไหมว่าเรามียาดีประจำบ้าน ก็เกลือที่อยู่ในครัวนี่เอง
เชื่อไหมว่าเรามียาดีประจำบ้าน ก็เกลือที่อยู่ในครัวนี่เอง
เปิดอ่าน 12,089 ครั้ง

วิธีปลูกหอมญี่ปุ่น
วิธีปลูกหอมญี่ปุ่น
เปิดอ่าน 37,720 ครั้ง

“มะระ”ป้องเบาหวาน-จัดการริดสีดวง!
“มะระ”ป้องเบาหวาน-จัดการริดสีดวง!
เปิดอ่าน 15,843 ครั้ง

"ผักปลัง" ผักพื้นบ้าน ปลูกง่าย มีประโยชน์
"ผักปลัง" ผักพื้นบ้าน ปลูกง่าย มีประโยชน์
เปิดอ่าน 5,941 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ