ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

อ่านบทความ.....อัตลักษณ์และวาทกรรมนิราศ....ของมหากวี สุนทรภู่


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,234 ครั้ง
Advertisement

อ่านบทความ.....อัตลักษณ์และวาทกรรมนิราศ....ของมหากวี สุนทรภู่

Advertisement

ช่วงนี้จะลงบทความเกี่ยวกับสุนทรภู่มากเป็นพิเศษค่ะ  เพราะมีพันธะกับนักเรียน  ให้เขาทำกิจกรรมหลายอย่าง  เลยต้องหาข้อมูลให้  เพื่อที่เขาจะได้ศึกษาค้นคว้าไปทำกิจกรรมตามที่กำหนด   และวันนี้เอาบทความของคุณมหา สุรารินทร์  ที่ลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 8 มิถุนายน 2552  มาให้อ่านค่ะ  เป็นบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง....

สุนทรภู่ นับเป็นมหากวีสามัญชนที่โดดเด่นในหมู่กวีประจำชาติ ซึ่งเต็มไปด้วยเชื้อพระวงศ์เสียทั้งสิ้น  ทั้งนี้สังคมไทยที่มีสภาพเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยอยุธยา ทั้งยังชีวิตในแวดวงของกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงของความเปลี่ยนแปลง มีความสอดคล้องกับทัศนคติและค่านิยมของพวกกระฎุมพี

'กระฎุมพีไทย' (ในที่นี้ตรงกับภาษาอังกฤษว่า bourgeois หมายถึง คนมั่งมี หรือสามัญชนที่สร้างฐานะจนร่ำรวยขึ้นมา) ไม่มีกำเนิดเป็นอิสระจากระบบศักดินา ไม่ใช่กลุ่มบุคคลที่หนีอำนาจทางการเมืองของพวกศักดินา ไปอยู่ในชุมชนที่สร้างใหม่ตามชุมชนทางคมนาคมและพัฒนาเมืองขึ้นเป็นฐานอำนาจอิสระของตนเอง มีรายละเอียดอธิบายอยู่ในงานเขียนชุด 'ปากไก่และใบเรือ' ของศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์

วรรณกรรมนิราศของสุนทรภู่ทั้ง 8 เรื่อง คือ นิราศเมืองแกลง, นิราศพระบาท, นิราศภูเขาทอง, นิราศวัดเจ้าฟ้า, โคลงนิราศสุพรรณ, นิราศประธม, นิราศเมืองเพชร และรำพันพิลาป จึงเป็นสะพานเชื่อมวาทกรรมกับคนชายขอบที่เป็นมุมมองคนเมืองอย่างที่สุนทรภู่มองเห็นวิถีชีวิตชาวบ้าน คือ การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ การแต่งกาย วัฒนธรรม และสำเนียงภาษา เป็นสิ่งกำหนด 'ความเป็นอื่น' ต่างจากสังคมกระแสหลักในคนบางกอก ที่ค่อนข้างละเอียดกว่านิราศที่มีมาก่อนหน้านี้

นิราศเรื่องต่างๆ ของสุนทรภู่มองผ่านการสร้าง 'วาทกรรม' ในนิราศกับวิถีชีวิตคนชายขอบที่เป็นทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนชายขอบที่เรียกตัวเองว่าเป็น 'คนไทย' หมายถึง ผู้คนในศูนย์กลางอำนาจรัฐของวัฒนธรรมชั้นสูงในกรุงรัตนโกสินทร์ อาจเปรียบเทียบสำเนียงเสียง 'เหน่อ' ที่ไม่ใช่คนเมืองหลวงกับสำเนียงพูด 'เยื่อง' ของคนบางกอกและกลุ่มคนชายขอบที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์อื่น เช่น มอญ ลาว เขมร เจ๊ก จีน จาม และลูกผสม เป็นต้น

สุนทรภู่ เป็นกวีไม่กี่คนในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้สัมผัสกับวิถีชีวิตชาวบ้านและพบเห็นคนชายขอบเหล่านี้และมีส่วนในการเผยแพร่การมองคนชายขอบผ่าน 'อัตลักษณ์' จากสายตา 'คนส่วนใหญ่' ในบางกอกที่ส่งผลกระทบต่อการสร้างอัตลักษณ์คนชายขอบ สื่อสารผ่านทั้งในแง่ กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น และเศรษฐกิจ การเมืองของช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่ส่งอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบัน
 

นิราศภูเขาทอง เป็นวรรณคดีประเภทนิราศ แต่งด้วยกลอนแปดมีความยาวเพียง 89 คำกลอนเท่านั้น สุนทรภู่แต่งนิราศเรื่องนี้จากการเดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทอง ขณะบวชเป็นพระภิกษุไปเมื่อราวเดือนสิบเอ็ด ปีชวด พ.ศ.2371 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 3
 

แม้จะเป็นนิราศสั้นๆ ไม่ยาวมากนัก แต่มีความไพเราะและเรียบง่ายตามแบบฉบับของสุนทรภู่ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย บรรยายความรู้สึก ขณะเดียวกันก็เล่าถึงสภาพของเส้นทางที่กำลังเดินทางไปด้วย ท่านมักจะเปรียบเทียบชีวิตและโชคชะตาของตนกับธรรมชาติรอบข้างที่ตนได้เดินทางผ่านไป มีหลายบทที่เป็นที่รู้จักและท่องจำกันได้

 ภิญโญ ศรีจำลอง อธิบายเส้นทางการเดินทางไปภูเขาทองของสุนทรภู่ในหนังสือ 'ท่องโลกกวี เทิดอักษร สุนทรภู่' ไว้ว่า...  "สุนทรภู่เดินทางไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่พระนครศรีอยุธยาพร้อมด้วยเณรหนูพัด โดยเรือจากวัดราชบูรณะ ตามลำน้ำเจ้าพระยา ผ่านพระบรมมหาราชวัง-บางจาก-บางพลู-บางพลัด-บางโพ-บ้านญวน-วัดเขมาภิรตาราม-ตลาดแก้ว-ตลาดขวัญ-นนทบุรี-ปากเกร็ด-บางพูด-บางเดื่อ-สามโคก-บ้านงิ้ว-เกาะใหญ่ราชครามและถึงกรุงเก่า คือ พระนครศรีอยุธยา ได้รับการยกย่องว่าเป็นนิราศดีที่สุด มีสำนวนคมคายและแฝงไว้ด้วยปรัชญาและสุภาษิตอันลึกซึ้งตามคติพระพุทธศาสนาและค่านิยมของคนไทยในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น เต็มไปด้วยสำนวนบอกถึงความสงบสำรวม ไม่โลดโผนตามวิสัยฆราวาสเหมือนในนิราศเรื่องอื่นๆ ของท่าน"
 

คุณค่าทางวรรณศิลป์ในกลอน นิราศภูเขาทอง คือการเลือกใช้คำดีเด่นต่างๆ ดังนี้
 สัมผัสสระ คือ คำที่ใช้สระตัวเดียวกัน
 สัมผัสอักษร คือ คำที่มีอักษรคล้องจองกัน การซ้ำเสียง คือ การสัมผัสอักษรอย่างหนึ่ง นับเป็นการเล่นคำที่ทำให้เกิดเสียงไพเราะ

การซ้ำเสียงจะต้องเลือกคำที่ให้จินตภาพแก่ผู้อ่านอย่างแจ่มชัดด้วย การใช้กวีโวหาร มีภาพพจน์ลักษณะต่างๆ ที่กวีเลือกใช้ ทำให้ผู้อ่านได้เข้าถึงความคิด ความรู้สึกของกวี
 

ภาพพจน์อุปมา คือโวหารที่เปรียบเทียบของสองสิ่งว่าเหมือนกัน มักใช้คำว่า เหมือน คล้าย ดุจ ดูราว ราวกับ
ภาพพจน์กล่าวเกินจริง คือ การที่กวีอาจกล่าวมากหรือน้อยกว่าความเป็นจริง เพื่อสื่อให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพในความคิดคำนึงได้ดีขึ้น

 การเลียนเสียง คือ กวี ทำให้เสียงที่ได้ยินมาบรรยายให้เกิด มโนภาพและความไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น
 การเล่นคำ คือ การใช้ถ้อยคำคำเดียวในความหมายต่างกันเพื่อให้ การพรรณนาไพเราะน่าอ่าน และมีความลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ประเพณีการแต่งคำประพันธ์ด้วยฉันทลักษณ์ร้อยกรองอย่าง 'จดหมายเหตุ' มีมาแล้วตั้งแต่ยุคต้นกรุงศรีอยุธยา เช่น ยวนพ่าย-ทวาทศมาส ที่แต่งเป็นบันทึกการเดินทางก็มี เช่น โคลงหริภุญไชยของล้านนา แต่ที่เป็นต้นแบบบันทึกการเดินทางอย่างจดหมายเหตุ คลุกเคล้าด้วย จดหมายรัก คือ กำสรวลสมุทรที่รู้จักกันดีชื่อ กำสรวลศรีปราชญ์
 นิราศ หรือ เพลงยาว คือ กลอน มีรากเหง้าเค้าเดิมมาจากคำคล้องจองในชีวิตประจำวันของกลุ่มชนตระกูลไทย-ลาว การเขียนนิราศอาจเป็น บันทึกการเดินทางและการอ่านเพื่อเข้าถึงเรื่องเล่าท้องถิ่น

บันทึกการเดินทางอย่างจดหมายเหตุ แล้วคร่ำครวญหวนในลักษณะจดหมายรัก คงเป็นที่นิยมกว้างขวางตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศสืบมาจนถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ก่อนเสียกรุงเมื่อ พ.ศ.2310 เพราะมีต้นฉบับเพลงยาวตกทอดมาจำนวนไม่น้อย รวมเรียกว่าเพลงยาวความเก่า ขณะที่ เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา ในปลายรัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช นั้นถือเป็นลักษณะหนังสือสนเท่ห์ อิงกับคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาในเรื่องพุทธทำนาย
 

นิราศที่ปรากฏในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้ทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับเมืองจีน พระยามหานุภาพที่ได้ไปด้วย ก็แต่งบันทึกการเดินทาง เรียกกันภายหลังว่า นิราศกวางตุ้ง

ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์กลอนนิราศที่ถือว่าเป็นเรื่องแรก คือ เพลงยาวนิราศรบพม่าท่าดินแดง พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช นิราศเรื่องทรงพระราชนิพนธ์เมื่อคราวศึกรบพม่าที่ตำบลท่าดินแดง พ.ศ.2329 ปีเดียวกับที่ สุนทรภู่ เกิดที่วังหลังพอดี 

อีกบทหนึ่งคือเพลงนิราศฯที่เป็นพระราชนิพนธ์ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งจะต้องทรงแต่งอย่างชำนาญมาแต่ครั้งรับราชการอยู่กรุงศรีอยุธยาแล้ว

เพลงยาวที่แต่งอย่างนิราศมีต้นฉบับเหลืออยู่ให้เห็นเป็นหลักฐานคือเพลงยาวของหม่อมภิมเสนถือเป็นเก่าที่สุด และตำนานท้าวปาจิตนางอรพิม ตำนานเมืองพิมายที่เขียนในสมัยกรุงธนบุรีต้นฉบับค้นพบที่พระราชวังหลัง หรือบริเวณโรงพยาบาลศิริราชในปัจจุบัน เป็นลักษณะกลอน 8 ที่ส่งสัมผัสแพรวพราว

จากนั้นได้มีพัฒนาการสืบมาจนถึงนิราศแบบสุนทรภู่ และลีลากลอน 8 แบบสุนทรภู่ยุคต้นกรุงเทพฯ ที่บรรดากวียุคหลังถือเป็น 'ครู' แล้วนิยมแต่งนิราศแบบสุนทรภู่กันอย่างแพร่หลายมาจนถึงทุกวันนี้

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3183 วันที่ 20 มิ.ย. 2552

กำลังใจให้เด็กๆ ของขวัญวันเด็ก 🎁COD🎁ตุ๊กตายัดนุ่น รูปการ์ตูนอนิเมะ หมูน่ารัก ของขวัญวันเกิด ของเล่นสําหรับเด็ก ในราคา ฿48 - ฿149 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/8zpN8YfPIq?share_channel_code=6


อ่านบทความ.....อัตลักษณ์และวาทกรรมนิราศ....ของมหากวี สุนทรภู่อ่านบทความ.....อัตลักษณ์และวาทกรรมนิราศ....ของมหากวีสุนทรภู่

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ความรู้พื้นบ้าน

ความรู้พื้นบ้าน


เปิดอ่าน 7,188 ครั้ง
ท่องจำ  สำคัญหรือไม่

ท่องจำ สำคัญหรือไม่


เปิดอ่าน 7,198 ครั้ง
สติ เหนือกรรม...!!

สติ เหนือกรรม...!!


เปิดอ่าน 7,179 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน  โรงเรียนกุดเสลาวิท

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โรงเรียนกุดเสลาวิท

เปิดอ่าน 7,467 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ข่าวด่วน!! เกิดสารเคมีรั่วไหล หามฉันทนา กว่า20 คนส่ง รพ.กลางดึก.
ข่าวด่วน!! เกิดสารเคมีรั่วไหล หามฉันทนา กว่า20 คนส่ง รพ.กลางดึก.
เปิดอ่าน 7,183 ☕ คลิกอ่านเลย

เมื่อท้องว่างควรหลีกเลี่ยง.....อาหารชนิดใด
เมื่อท้องว่างควรหลีกเลี่ยง.....อาหารชนิดใด
เปิดอ่าน 7,176 ☕ คลิกอ่านเลย

ตั้งดินตั้งฟ้าตั้งหญ้าเข็ดมอน โมคลานตั้งก่อนเมืองคอนตั้งหลัง
ตั้งดินตั้งฟ้าตั้งหญ้าเข็ดมอน โมคลานตั้งก่อนเมืองคอนตั้งหลัง
เปิดอ่าน 7,194 ☕ คลิกอ่านเลย

ย้อนรอย..ไข้หวัดใหญ่ แห่งประวัติศาสตร์(โลก)
ย้อนรอย..ไข้หวัดใหญ่ แห่งประวัติศาสตร์(โลก)
เปิดอ่าน 7,185 ☕ คลิกอ่านเลย

ยังไงกันแน่...หมุนหรือไม่หมุน
ยังไงกันแน่...หมุนหรือไม่หมุน
เปิดอ่าน 7,188 ☕ คลิกอ่านเลย

เลือกยีนส์... อย่างลงตัว
เลือกยีนส์... อย่างลงตัว
เปิดอ่าน 7,215 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

7 โรคอันตราย ที่มักเกิดกับสาว ๆ มากกว่าผู้ชาย !
7 โรคอันตราย ที่มักเกิดกับสาว ๆ มากกว่าผู้ชาย !
เปิดอ่าน 10,429 ครั้ง

วิทยาศาสตร์น่าทึ่ง ทำเองได้ที่บ้าน
วิทยาศาสตร์น่าทึ่ง ทำเองได้ที่บ้าน
เปิดอ่าน 13,463 ครั้ง

แชร์ประสบการณ์หัดพูด อังกฤษ ฉบับ Advance ได้ผลจริง
แชร์ประสบการณ์หัดพูด อังกฤษ ฉบับ Advance ได้ผลจริง
เปิดอ่าน 23,552 ครั้ง

โกรธบ่อยโรคเพียบแน่ สุขภาพแย่ชัวร์ !
โกรธบ่อยโรคเพียบแน่ สุขภาพแย่ชัวร์ !
เปิดอ่าน 14,968 ครั้ง

วันเนา
วันเนา
เปิดอ่าน 45,627 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ