ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมคณิตศาสตร์  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ปิแอร์ เดอ แฟร์มาต์ นัก คณิตศาสตร์


คณิตศาสตร์ เปิดอ่าน : 33,980 ครั้ง
Advertisement

ปิแอร์ เดอ แฟร์มาต์ นัก คณิตศาสตร์

Advertisement

ปิแอร์ เดอ แฟร์มาต์ (Pierre de Fermat)

            แฟร์มาต์เป็นชาวฝรั่งเศส เป็นนักคณิตศาสตร์ในยุคของการพัฒนาศิลปวิทยา เขาเกิดในวันที่ 17 เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1601 แฟร์มาต์เป็นบุตรชายพ่อค้าขายเครื่องหนังผู้มั่งคั่งคนหนึ่งของฝรั่งเศส  แฟร์มาต์มีผลงานที่สำคัญในเรื่องทฤษฎีความน่าจะเป็น 

แฟร์มาต์


            ผลงานคิดค้นทางคณิตศาสตร์ของแฟร์มาต์ที่น่าสนใจและเป็นรากฐานในวิชาแคลคูลัสต่อมา คือ Method for determining Maxima and Minima and Tangents of Curved Lines ผลงานคิดค้นส่วนนี้ทำให้สามารถคำนวณหาจุดสูงสุดต่ำสุด และเส้นสัมผัสของรูปกราฟ ความสัมพันธ์แบบต่าง ๆ  และเข้าไปสู่เรื่องเรขาคณิตแบบใหม่  แฟร์มาต์ยังคงเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรขาคณิตแบบใหม่นี้  โดยเน้นการวิเคราะห์พื้นผิว และรูปทรงต่าง ๆ  โดยให้ชื่อหนังสือว่า Introduction to Plane and Solid Loci

            งานที่มีชื่อเสียงและเป็นที่กล่าวถึงของนักคณิตศาสตร์และชนรุ่นหลังอย่างมาก คือ แฟร์มาต์ได้เสนอทฤษฎีที่เรียกว่า ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาต์

            แฟร์มาต์ยังได้ทำการศึกษาและให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลขจำนวนเฉพาะ  และต่อมาได้เรียกกันว่า ตัวเลขของแฟร์มาต์ (Fermat Number)

ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาต์

ทฤษฎีบทสุดท้ายเป็นข้อคิดของแฟร์มาต์ ที่นำเสนอว่า จากสมการ xn + yn = zไม่มีทางเป็นไปได้ เมื่อ n มีค่ามากกว่า 2 และ n, x, y, z เป็นเลขจำนวนเต็ม หรือกล่าวได้ว่า ถ้าให้ x, y, z  เป็นเลขจำนวนเต็มใด ๆ และ n เป็นเลขจำนวนเต็มที่มีค่ามากกว่า 2 แล้ว  xn + yn จะต้องไม่เท่ากับ zn

 

จากทฤษฎีนี้ทำให้มีการตื่นตัวหาวิธีการพิสูจน์ จนเวลาหลายร้อยปี ผู้คนยังพยายามหาทางพิสูจน์ทฤษฎีบทสุดท้ายนี้ ทำให้มีความตื่นตัวในการศึกษาคณิตศาสตร์กันอย่างกว้างขวาง

ตัวเลขของแฟร์มาต์ (Fermat Number)

                    ความคิดในเรื่องเลขจำนวนเฉพาะได้มีการศึกษากันมาตั้งแต่สมัยยูคลิด  ยูคลิดได้กล่าวว่าตัวเลขใด ๆ สามารถเขียนอยู่ในรูปผลคูณของตัวเลขจำนวนเฉพาะ หรือกล่าวได้ว่าตัวเลขใด ๆ จะต้องมีตัวประกอบเป็นเลขจำนวนเฉพาะได้เสมอ

                                                                                                                   N = p1p2p3...pn
                                                                                     เมื่อ p หมายถีงตัวเลขจำนวนเฉพาะ หรือ  1

                    ยูคลิดยังได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ในระบบเลขจำนวนเฉพาะ จะมีจำนวนตัวเลขจำนวนเฉพาะได้อนันต์

                    แฟร์มาต์ได้ทำการศึกษาเลขจำนวนเฉพาะ และได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ตัวเลขจำนวนเฉพาะใด ๆ ที่มีรูปแบบเป็น
4n + 1 ตัวเลขจำนวนเฉพาะนี้จะเขียนให้อยู่ในรูปแบบของตัวเลขยกกำลังสองของตัวเลขสองตัวรวมกัน  เช่น

                                                                                                              5   เป็นเลขจำนวนเฉพาะ
                                                                                                              5 = 4n + 1   =  4 x 1 + 1        (n = 1)
                                                                              ซึ่งเขียนได้  เป็น
                                                                                                              5 = 22 + 12
                                                                              หรือตัวอย่าง
                                                                                                            13 = 4 x 3 + 1
                                                                              เขียน
                                                                                                            13 = 32 + 22

                    แฟร์มาต์ยังพิสูจน์ให้เห็นว่า 2n + 1 เป็นเลขจำนวนเฉพาะ ถ้าหาว่า n มีค่าเป็นตัวเลขของสองยกกำลัง  เช่น

                                                                                                            21 + 1 = 3
                                                                                                            22 + 1 = 5
                                                                                                            24 + 1 = 17
                                                                                                            28 + 1 = 257
                                                                                                                           .
                                                                                                                           .
                                                                                                                           .
                                                                                                       n = 1, 2, 4, 8, 16,....

                    ตัวเลขจำนวนเฉพาะในกรณีนี้เรียกว่า ตัวเลขแฟร์มาต์  หลังจากนั้นต่อมาอีกประมาณ 100 ปี    ออยเลอร์ (Euler)   ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าที่แฟร์มาต์ กล่าวมานี้ไม่เป็นจริงเพราะ  232 + 1  เท่ากับ 4,294,967,297  เป็นตัวเลขที่ไม่ใช่เลขจำนวนเฉพาะ เพราะหารด้วย 641 ได้ลงตัว

                     Marin Mersenne ได้ทำการศึกษาเลขจำนวนเฉพาะในรูปแบบ 2n - 1 ซึ่งพบว่า 2n - 1 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะทุกตัว  ตัวเลขจำนวนเฉพาะที่อยู่ในรูป  2n - 1 เรียกว่า  Mersenne number จนถึงปัจจุบันนี้มีผู้พบตัวเลข Merssenne  37 ตัว  ตัวเลขที่ใหญ่ที่สุด คือ 23,021,337 - 1 เป็นเลขจำนวนเฉพาะที่มีขนาด 909526 ตัวเลข

                    จากการศึกษาเลขจำนวนเฉพาะมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ยังมีคำถามที่ยังหาคำตอบไม่ได้เกี่ยวกับเลขจำนวนเฉพาะอยู่มากมาย เช่น
                                            -    มีเลขจำนวนเฉพาะที่อยู่ในรูปแบบ n2 + 1  อยู่อนันต์ตัว
                                            -    ระหว่างตัวเลข n2 และ (n + 1)2 อย่างต้องมีเลขจำนวนเฉพาะอยู่ด้วย
                                            -    ตัวเลขแฟร์มาต์ที่เป็นเลขจำนวนเฉพาะมีได้อนันต์ตัว

                    ความคิดเกี่ยวกับเรื่องเลขจำนวนเฉพาะ จึงเป็นโจทย์ที่ยังต้องการหาผู้คิดค้นได้อีก

 

ที่มา : รศ. ยืน ภู่วรวรรณ, สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
http://blog.eduzones.com/dena/4114

พลาสติกปูโต๊ะ ผ้าปูโต๊ะกันน้ำ แบบใส

฿148 - ฿535

https://s.shopee.co.th/7V3F6KvQJG?share_channel_code=6


ปิแอร์ เดอ แฟร์มาต์ นัก คณิตศาสตร์ปิแอร์เดอแฟร์มาต์นักคณิตศาสตร์

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เรื่องของเลขศูนย์

เรื่องของเลขศูนย์


เปิดอ่าน 28,025 ครั้ง
จำนวนนับ

จำนวนนับ


เปิดอ่าน 6,352 ครั้ง
สูตรคูณ

สูตรคูณ


เปิดอ่าน 61,678 ครั้ง
แผนภาพของเวน (Venn Diagram)

แผนภาพของเวน (Venn Diagram)


เปิดอ่าน 45,211 ครั้ง
ที่มาของทฤษฏีพีทาโกรัส

ที่มาของทฤษฏีพีทาโกรัส


เปิดอ่าน 5,252 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การประยุกต์สถิติในชีวิตประจำวัน

การประยุกต์สถิติในชีวิตประจำวัน

เปิดอ่าน 8,444 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สูตรปริมาตรทรงกระบอก
สูตรปริมาตรทรงกระบอก
เปิดอ่าน 133,039 ☕ คลิกอ่านเลย

สรุปสูตรการเลื่อนแกนทางขนาน
สรุปสูตรการเลื่อนแกนทางขนาน
เปิดอ่าน 35,046 ☕ คลิกอ่านเลย

จินตคณิต สูตรคิดเร็ว สูตรคณิต คิดเร็ว
จินตคณิต สูตรคิดเร็ว สูตรคณิต คิดเร็ว
เปิดอ่าน 123,299 ☕ คลิกอ่านเลย

เทคนิคการคิดเลขเร็ว
เทคนิคการคิดเลขเร็ว
เปิดอ่าน 216,572 ☕ คลิกอ่านเลย

เล่นหมากล้อม สามารถพัฒนาผลการเรียนคณิตศาสตร์ได้!
เล่นหมากล้อม สามารถพัฒนาผลการเรียนคณิตศาสตร์ได้!
เปิดอ่าน 9,016 ☕ คลิกอ่านเลย

โครงงานคณิตศาสตร์
โครงงานคณิตศาสตร์
เปิดอ่าน 132,501 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

"ว่านกาบหอย" ไม่ใช่แค่ไม้ประดับแต่เป็นยาสมุนไพร
"ว่านกาบหอย" ไม่ใช่แค่ไม้ประดับแต่เป็นยาสมุนไพร
เปิดอ่าน 23,153 ครั้ง

วิธีสำหรับทำให้ผิวขาวใส แบบไร้สารเคมี
วิธีสำหรับทำให้ผิวขาวใส แบบไร้สารเคมี
เปิดอ่าน 13,934 ครั้ง

ม.44 ดัน "ศึกษาธิการจังหวัด" เดินหน้าหรือถอยหลังปฏิรูปศึกษา
ม.44 ดัน "ศึกษาธิการจังหวัด" เดินหน้าหรือถอยหลังปฏิรูปศึกษา
เปิดอ่าน 11,138 ครั้ง

ดูให้รู้ : อนุบาลอัจฉริยะ
ดูให้รู้ : อนุบาลอัจฉริยะ
เปิดอ่าน 19,533 ครั้ง

มินาโมโตะ ชิซุกะ : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน
มินาโมโตะ ชิซุกะ : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน
เปิดอ่าน 40,271 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ