Advertisement
Advertisement
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์วิจัยพบสารสกัด "เถาวัลย์เปรียง" มีสรรพคุณรักษาอาการปวดเทียบเท่า ยาไดโคลฟีแนค และยานาโปรเซน แถมยังไม่เกิดผลข้างเคียง เดินหน้ารวบรวมข้อมูลให้องค์การเภสัชฯ ผลิต ...
เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. นพ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และโรงพยาบาลวังน้ำเย็น จ.สระแก้ว ได้ร่วมกันวิจัยทางคลินิกเพื่อศึกษาประสิทธิผล และผลข้างเคียงของสารสกัด "เถาวัลย์เปรียง" ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง จำนวน 70 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงแคปซูล ขนาด 200 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 7 วัน และผู้ป่วยที่ได้รับยาแผนปัจจุบันไดโคลฟีแนค(Diclofenac) ขนาด 25 มิลลิกรัมวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 7 วัน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีอาการปวดลดลงอย่างชัดเจนในวันที่ 3 และวันที่ 7 โดยกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีเม็ดเลือดขาวลดลงอย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 7 ของการรักษาแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติและไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีรวมทั้ง ผลข้างเคียง
นพ.จักรธรรม กล่าวต่อว่า ส่วนการศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในการรักษา อาการอักเสบจากข้อเข่าเสื่อมนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมการวิจัยทางคลินิกกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมเข้าร่วมโครงการจำนวน 125 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาแผนปัจจุบันนาโปรเซน (Naproxen) ขนาด 250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์ และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาสารสกัดเถาวัลย์เปรียงขนาด 400 มิลลิกรัมวันละ 2 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า ยาแผนปัจจุบันนาโปรเซนและสารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีประสิทธิผลและความปลอดภัย ไม่แตกต่างกัน และผู้ป่วยที่ได้รับยาทั้ง 2 กลุ่มมีความพึงพอใจต่อการรักษาร้อยละ 80
นางมาลี บรรจบ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากการทดสอบความปลอดภัย และประสิทธิผลในการเพิ่มภูมิคุ้มกันของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในอาสาสมัคร สุขภาพดี 59 ราย โดยให้อาสาสมัครรับประทานแคปซูลสารสกัดเถาวัลย์เปรียง ครั้งละ 1 แคปซูล (200 มิลลิกรัม/แคปซูล) วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าอาสาสมัครทั้งหมด ไม่มีอาการข้างเคียงใดๆ ทั้งนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสกัดสาระสำคัญและควบคุมคุณภาพให้องค์การเภสัชกรรม แล้ว เพื่อให้มีการผลิตเป็นยาออกจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรม และมีการใช้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะเพื่อให้โรงพยาบาลต่างๆได้นำไปใช้กับผู้ ป่วยในกลุ่มผู้สูงอายุ
ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
Advertisement
|
เปิดอ่าน 27,779 ครั้ง |
เปิดอ่าน 36,518 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,838 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,940 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,313 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,602 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,550 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,057 ครั้ง |
เปิดอ่าน 31,493 ครั้ง |
เปิดอ่าน 33,592 ครั้ง |
เปิดอ่าน 1,408 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,365 ครั้ง |
เปิดอ่าน 5,175 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,965 ครั้ง |
เปิดอ่าน 1,647 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 55,524 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 27,039 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 8,589 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 12,930 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 13,541 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 11,689 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 10,888 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 14,298 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 13,498 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 9,507 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 40,208 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 11,132 ครั้ง |
|
|