Advertisement
เรื่อง ของอีเลิร์นนิ่ง หรือ ภาษาอังกฤษเขียน E-Learningซึ่งหมายถึงการเรียนรู้โดยผ่านสื่ออิเล็ก ทรอนิกส์ เป็นเรื่องที่ทางมหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียน และสถานศึกษาให้ความสนใจมาก ขณะนี้ เรียกว่าตื่นตัวกันสูงมากเกือบทุกแห่งทั้งประเทศ
นับว่า เป็นคลื่นลูกใหม่หลังจากการเรียนรู้เรื่อง การใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในสถานศึกษา ผมเองก็กำลังพัฒนาโครงการนี้อยู่ในมหาวิทยาลัยและกำลังเขียนแผนแม่บทสำหรับ พัฒนามหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Universiyคือ ต่อยอดจากที่มีอยู่เดิมให้เป็นความสมบูรณ์ในอนาคต และก็ได้พบบทความเกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีสำหรับอีเลิร์นนิ่ง นับว่าน่าสนใจมากและมีคุณค่า เพราะถ้าหากเรื่องของอีเลิร์นนิ่งเป็นทฤษฎีได้เราก็ใช้ทฤษฎีได้เลยโดยไม่ ต้องลองผิดลองถูก
เรื่อง ของการศึกษาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น ได้มีการลองผิดลองถูกมานาน และเริ่มเห็นแนวทางตั้งแต่ปี 1981 ที่ศาสตราจารย์แพร์ราตัน (Per raton) ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า การศึกษาทางไกลสามารถจัดการได้ดีโดยไม่มีทฤษฎีชี้นำเลย ก็น่าแปลก
แต่ ในช่วงหลังการมีเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต มีบริการเว็บซึ่งเป็นสื่อที่สามารถทำให้คนติดต่อกันได้โดยที่ระยะทางไม่เป็น อุปสรรคอีกต่อไป และได้มีกลุ่มนักวิจัยและนักการศึกษาได้สุมหัวสมองคุยกันผ่านอินเทอร์เน็ต หลายประเทศจำนวนมากและได้ตั้งข้อสังเกตว่าเรื่องของอีเลิร์นนิ่งมีแนวทางที่ มีความชัดเจนมากจนเป็นทฤษฎีได้แล้ว และสามารถนำไปชี้นำให้นักการศึกษาทั่วโลกนำไปปฏิบัติได้ ถ้าหากท่านผู้อ่านสนใจสามารถเข้าไปดูในรายละเอียดได้ที่ http://ifets.ieee.org/periodical/6-2/1.html ใน บทความนี้ได้ตั้งข้อสมมุติฐานไว้10ข้อ พร้อมกับการอธิบายเหตุผลและตรรกะจนกระทั่งเชื่อได้ว่าถ้าหากนักการศึกษาได้ ปฏิบัติตามแล้ว ก็สามารถทำให้การพัฒนาระบบการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็ก ทรอนิกส์สำเร็จได้ โดยผมจะยกเพียงบางข้อที่สำคัญต่อการทำงานมาเป็นแนวทางปฏิบัติก็แล้วกัน รับรองไม่มีอะไรตกหล่นไปมาก
ข้อ สมมุติฐานในเบื้องต้นก็คือว่า ต้องยอมรับกันก่อนว่า การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งที่ทดแทนวิธีการ สอนแบบเห็นหน้ากันในชั้นเรียนเท่านั้น ถ้าหากผู้สอนเตรียมเนื้อหาสำหรับการสอนเหมือนกันทั้งสองวิธียังไง ๆ สอนแบบเห็นหน้ากันก็จะดีกว่า
เพราะฉะนั้นถ้าหากไม่มี โอกาสได้เห็นหน้าเห็นตารับรู้ความรู้สึกกันแบบตัวถึงตัวได้ จึงจะต้องไปให้ข้อสมมุติฐานต่อมาคือจะต้องสามารถสร้างเนื้อหาวิชาการเรียน การสอนอย่างเป็นลำดับขั้นตอนให้เข้าใจง่ายโดยไม่ต้องไปคิดพึ่งผู้สอน ซึ่งก็คือ เนื้อหา รูปภาพ และเสียงที่ออกมาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ในแต่ละหน้านั้นจะต้องเรียงลำดับความ เข้าใจเป็นขั้น ๆ ที่สามารถให้ผู้ศึกษาสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้มีความเพลิดเพลินและมีแบบ ทดสอบให้ทำเพื่อให้ผ่านความเข้าใจทีละขั้นจนแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจตาม เนื้อหาจนกระทั่งครบหลักสูตรสมบูรณ์ โดยรวมต้องเขียนเนื้อหาวิชาโดยเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแล้วค่อย ๆ ดึงความเข้าใจทีละขั้นจนครบหลักสูตรสมบูรณ์ด้วยผู้เรียนเองวิธีสอนนี้เรียก ว่า คอนสทรัคทิวิสท์-Constructivist หรือ ไดแดกทิค-Didactic นับว่าสำคัญมากที่สุด
ถ้า หากทำครบนี้ได้เสร็จดีแล้วค่อยศึกษาในข้อสมมุติฐานต่อไปว่า จะพิจารณาให้โอกาสผู้เรียนได้เรียนแบบออนไลน์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือจะ ไม่ผ่านก็ได้แต่ต้องให้ผู้เรียนได้อ่านและฝึกฝนตำราให้ครบตามแผนที่วางไว้ พร้อมกับมีการทดสอบผู้เรียนให้ชัดเจน
ปัญหาเรื่องการศึกษาทางไกล นั้นก็คือ จะต้องให้รู้แน่นอนว่าผู้เรียนคน ๆ นั้นคือ ผู้นั้นจริงที่มาเรียนลงทะเบียน มาทำแบบฝึกหัดและมาทดสอบจนผ่านวิชานั้น ๆ ไม่ใช่จ้างใครมาเรียนมาสอบก็เท่านั้นเอง
โดยสรุปนั้นการทำให้อี เลิร์นนิ่ง หรือการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้สำเร็จนั้นจะต้องด้วยวิธีการสอนข้างต้น และให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาการเรียนผ่านสื่ออย่างสมบูรณ์ก็เท่านั้น ถ้าเป็นอย่างอื่นไม่มีทาง
แหล่งที่มา http://artsmen.net/content/show.php?Category=cyberboard&No=2909
http://22062530.ning.com
Advertisement
เปิดอ่าน 20,473 ครั้ง เปิดอ่าน 24,330 ครั้ง เปิดอ่าน 20,741 ครั้ง เปิดอ่าน 19,574 ครั้ง เปิดอ่าน 19,309 ครั้ง เปิดอ่าน 61,733 ครั้ง เปิดอ่าน 25,487 ครั้ง เปิดอ่าน 27,120 ครั้ง เปิดอ่าน 52,818 ครั้ง เปิดอ่าน 112,958 ครั้ง เปิดอ่าน 17,718 ครั้ง เปิดอ่าน 30,297 ครั้ง เปิดอ่าน 27,124 ครั้ง เปิดอ่าน 29,273 ครั้ง เปิดอ่าน 24,504 ครั้ง เปิดอ่าน 1,352 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 24,330 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 27,120 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 24,330 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 20,473 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 61,733 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 22,089 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 29,273 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 11,071 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,130 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,651 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,133 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,022 ครั้ง |
|
|