ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

รูปร่างลักษณะของดวงจันทร์บนฟ้า


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดอ่าน : 23,803 ครั้ง
Advertisement

รูปร่างลักษณะของดวงจันทร์บนฟ้า

Advertisement

ดวงจันทร์เป็นวัตุท้องฟ้าที่อยู่ใกล้โลกที่สุด เปลี่ยนตำแหน่งและเปลี่ยนรูปร่างเร็วมาก กล่าวคือ ในช่วงข้างขึ้น รูปร่างจะปรากฏโตขึ้นจากเป็นเสี้ยวเล็กที่สุดเมื่อวันขึ้น 1 ค่ำ ถึงโตที่สุดเป็นรูปวงกลมหรือจันทร์เพ็ญเมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ ที่เป็นเช่นนี้เพราะในแต่ละวัน ดวงจันทร์ด้านสว่างที่หันมาทางโลกมีขนาดไม่เท่ากัน สัดส่วนของด้านสว่างที่สะท้อนแสงมาทางโลกมีขนาดโตขึ้นสำหรับวันข้างขึ้น และมีสัดส่วนน้อยลงสำหรับวันข้างแรม

ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลกเคลื่อนรอบโลกรอบละ 1 เดือน โดยเคลื่อนไปทางเดียวกันกับการหมุนรอบตัวเองของโลกซึ่งหมุนจากตะวันตกไปตะวันออก เพราะฉะนั้นดวงจันทร์จึงเคลื่อนรอบโลกจากตะวันตกไปตะวันออก เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวจักรราศี โดยใน 1 ชั่วโมงจะไปได้ไกลประมาณเท่ากับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุมของดวงจันทร์เองหรือประมาณครึ่งองศา ดังนั้นเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์จึงเห็นการเปลี่ยนตำแหน่งของดวงจันทร์ได้ในเวลาไม่นาน


การเปลี่ยนตำแหน่งเทียบกับดาวฤกษ์แตกต่างไปจากการเปลี่ยนตำแหน่งเทียบกับขอบฟ้า ซึ่งเกิดขึ้นเพราะการหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้เกิดปรากฏการณ์ขึ้น-ตกของวัตถุท้องฟ้าทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ขึ้น-ตก เพราะโลกหมุนรอบตัวเองทั้งสิ้น

แต่มีความแปลกอยู่อย่างหนึ่งของการเห็นรูปลักษณะดวงจันทร์ หรือกลุ่มดาวเมื่อดูจากที่ต่าง ๆ ในโลก โดยเฉพาะเปรียบเทียบระหว่างการเห็นดวงจันทร์จากประเทศที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรกับจากประเทศที่อยู่ใกล้ขั้วโลก

ในวันข้างแรมมาก ๆ ขณะดวงจันทร์เป็นเสี้ยวเมื่อดูจากประเทศไทยซึ่งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร จะเห็นลักษณะรูปร่างของปลายเขาควายชี้ขึ้นจากขอบฟ้า หรือในวันข้างขึ้นน้อย ๆ ขณะดวงจันทร์อยู่ใกล้ขอบฟ้าด้านตะวันตกจะเห็นรูปร่างของดวงจันทร์เป็นรูปเขาควายหงายเช่นเดียวกัน
แต่ถ้าเราไปดูดวงจันทร์หรือถามเพื่อนที่อยู่ในประเทศใกล้ขั้วโลกว่าเห็นดวงจันทร์ข้างแรมแก่ ๆ หรือข้างขึ้นน้อย ๆ มีรูปร่างลักษณะเช่นใด เราจะพบว่าดวงจันทร์เสี้ยวปรากฏเป็นแบบเขาควายตะแคงคือปลายเขาหนึ่งชี้ลงไป ที่ขอบฟ้าส่วนอีกเขาหนึ่งมีปลายเขาชี้ขึ้นฟ้า สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะขอบฟ้าของคนที่อยู่ในประเทศไทยแตกต่างไปจากขอบฟ้าของคนที่อยู่ใกล้ขั้วโลก



คนที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรจะเห็นดวงจันทร์เป็นรูปเขาควายหงายเทียบกับขอบฟ้า แต่คนที่อยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือจะเห็นดวงจันทร์ตะแคงเป็นรูปเขาควายข้างหนึ่งชี้ลงไปที่ของฟ้า


พิจารณาดูรูปที่ 1 แสดงตำแหน่งดวงจันทร์ในอวกาศเป็นวันข้างขึ้นซึ่งคนบนโลกจะเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยว
ณ บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรของโลก ด้านนูนของดวงจนทร์ชี้ลงไปที่ขอบฟ้า ทำให้ปลายแหลมทั้ง 2 ข้างของดวงจันทร์ชี้ขึ้นจากขอบฟ้า หรือที่เรียกว่า "เขาควายหงาย" นั่นเอง

แต่เมื่อดูจากประเทศใกล้ขั้วโลกเหนือ ซึ่งมีขอบฟ้าอยู่ในแนวเกือบตั้งฉากกับขอบฟ้าของผู้ที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร จะพบว่า "เขาควายตะแคง" ปลายแหลมของดวงจันทร์ข้างหนึ่งชี้ลงไปทางขอบฟ้า ส่วนปลายแหลมอีกข้างหนึ่งชี้ขึ้นสูงจากขอบฟ้า

นี่คือรูปร่างลักษณะที่เห็นแตกต่างกัน เมื่อดูดวงจันทร์จากประเทศที่มีละติจูดต่างกัน เมื่อดูดวงจันทร์จากประเทศที่มีละติจูดต่างกันมาก ๆ รูปจันทร์เสี้ยวที่อยู่ในภาพวาดของฝรั่งจึงมักจะเป็นรูปจันทร์เสี้ยวตะแคงเสมอ

นอกจากจะเห็นรูปร่างท่าทางแตกต่างกันเทียบกับขอบฟ้าแล้ว เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์หรือดาวฤกษ์ที่อยู่ไกล ยังเห็นดวงจันทร์อยู่คนละที่ด้วย ทั้งนี้เพราะดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากเมื่อเทียบกับดวงอื่น ๆ ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกเพียงประมาณ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางโลกเท่านั้น มีตัวอย่างที่ดีมากจากภาพถ่ายดวงจันทร์ใกล้ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีเมื่อเช้าตรู่ วันที่ 23 เมษายน 2541 ถ้าดูจากประเทศไทยจะเห็นดวงจันทร์เสี้ยวอยู่ขวามือของดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี แต่เมื่อดูจากเมืองลอนเซสตันในรัฐแทสมาเนียของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งอยู่ใกล้ขั้วโลกใต้ จะเห็นดวงจันทร์อยู่ซ้ายมือของดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี


ดวงจันทร์ของโลกไม่ว่าจะเห็นอย่างไร เห็นอยู่ที่ใดบนฟ้า ก็ยังเป็นดวงจันทร์ดวงเดียวที่เคลื่อนที่รอบโลก เป็นบริวารที่ดีของโลก ช่วยทำให้โลกหมุนอย่างราบเรียบ เป็นจักรกลสำคัญที่ทำให้เกิดน้ำขึ้น-น้ำลงบนโลก เป็นผู้สร้างปรากฏการณ์ที่น่าตื่นเต้นประทับใจให้แก่คนบนโลกอย่างมิรู้ลืม อันได้แก่สุริยุปราคาเต็มดวง การเห็นดวงจันทร์เพ็ญว่าบางส่วนมีสีคล้ำทำให้เกิดจินตนาการไปว่ามีกระต่ายอยู่บนดวงจันทร์ ก็เป็นความฝันที่สร้างจินตนาการที่ดีให้แก่เด็ก ๆ และการเกิดดวงจันทร์ข้างขึ้น-ข้างแรมนอกจากจะนำมาใช้เป็นเครื่องวัดเวลาแล้ว ยังทำให้เกิดนิทานเล่าขานต่าง ๆ ในทุกส่วนของโลก
ดวงจันทร์จึงเป็นดาวที่มีอิทธิพลต่อโลกทั้งทางกายภาพและทางด้านความคิดของมนุษย์
.
--------------------------------------------------------------------------------
* บทความจากวารสารทางช้างเผือก ฉบับกรกฎาคม-กันยายน 2541
วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
5 มกราคม 2548

ภาพจาก สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ตัวนี้เอาอยู่! สำหรับคุณครูที่ทั้ง "ร้อง เล่น เต้น สอน เปิดเพลง" รุ่นนี้เอาอยู่ ลองดู Sherman TS-101 Trolley Speaker Amplifier ลำโพงบลูทูธล้อลาก ขนาด 6.5 นิ้ว กำลังขับ 60W ในราคา ฿1,790 ที่ Shope

https://s.shopee.co.th/3VUQ2Kf9NU?share_channel_code=6


รูปร่างลักษณะของดวงจันทร์บนฟ้า

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ห่วงโซ่อาหาร

ห่วงโซ่อาหาร


เปิดอ่าน 29,295 ครั้ง
ตาบอดสี

ตาบอดสี


เปิดอ่าน 19,355 ครั้ง
หมึกปากกา ทำมาจากอะไร

หมึกปากกา ทำมาจากอะไร


เปิดอ่าน 62,664 ครั้ง
การวัดปริมาณน้ำฝน

การวัดปริมาณน้ำฝน


เปิดอ่าน 31,465 ครั้ง
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์


เปิดอ่าน 16,562 ครั้ง
บรรยากาศ (ATMOSPHERE)

บรรยากาศ (ATMOSPHERE)


เปิดอ่าน 23,292 ครั้ง
กฎของก๊าซ (THE GAS LAWS)

กฎของก๊าซ (THE GAS LAWS)


เปิดอ่าน 22,396 ครั้ง
กำแพงกั้นเสียง

กำแพงกั้นเสียง


เปิดอ่าน 17,150 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ไม้ดอกไม้ประดับ (สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30)

ไม้ดอกไม้ประดับ (สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30)

เปิดอ่าน 26,475 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
Supernova : ซูเปอร์โนวา, มหานวดารา
Supernova : ซูเปอร์โนวา, มหานวดารา
เปิดอ่าน 19,430 ☕ คลิกอ่านเลย

ดวงอาทิตย์ ส่องแสงได้อย่างไร
ดวงอาทิตย์ ส่องแสงได้อย่างไร
เปิดอ่าน 56,245 ☕ คลิกอ่านเลย

อิทธิพลของดวงจันทร์
อิทธิพลของดวงจันทร์
เปิดอ่าน 2,546 ☕ คลิกอ่านเลย

ปรากฏการณ์ในโฟโตสเฟียร์
ปรากฏการณ์ในโฟโตสเฟียร์
เปิดอ่าน 14,090 ☕ คลิกอ่านเลย

พายุสุริยะ คืออะไร
พายุสุริยะ คืออะไร
เปิดอ่าน 27,029 ☕ คลิกอ่านเลย

กำเนิดดวงดาว
กำเนิดดวงดาว
เปิดอ่าน 25,892 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

สับปะรดมีเอ็นไซม์ช่วยย่อยจากธรรมชาติ
สับปะรดมีเอ็นไซม์ช่วยย่อยจากธรรมชาติ
เปิดอ่าน 13,794 ครั้ง

"แกรนด์ แคนยอน" ฟ้าผ่าปีละหลายหมื่นครั้ง! อยู่ที่แจ้ง รู้เอาตัวรอด
"แกรนด์ แคนยอน" ฟ้าผ่าปีละหลายหมื่นครั้ง! อยู่ที่แจ้ง รู้เอาตัวรอด
เปิดอ่าน 23,748 ครั้ง

อีโมติคอน อักษรแสดงอารมณ์
อีโมติคอน อักษรแสดงอารมณ์
เปิดอ่าน 72,754 ครั้ง

โกรธบ่อยโรคเพียบแน่ สุขภาพแย่ชัวร์ !
โกรธบ่อยโรคเพียบแน่ สุขภาพแย่ชัวร์ !
เปิดอ่าน 14,967 ครั้ง

แผนภาพ infoGraphic ข้อมูลการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
แผนภาพ infoGraphic ข้อมูลการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
เปิดอ่าน 19,695 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ