Advertisement
❝ Surprise!! เมื่อเห็นช่วงเวลา แรก ของลูก รู้สึกยังไงกันคะ ตื่นเต้น ปลื้มใจ และประทับใจกับการเติบโตของลูกใช่ไหมล่ะ แล้วรูไหมคะว่าตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ปี มีช่วงนาทีที่ยิ่งใหญ่ ที่ลูกทำอะไรได้เป็นครั้งแรกเกิดขึ้นบ้าง โดยเฉพาะช่วงปีแรกของลูก บอกได้คำเดียวว่า อย่ากะพริบตาเชียวค่ะ ❞
1.ยิ้มแรกของหนูเกิดมาไม่กี่วัน เจ้าตัวเล็กก็ยิ้มทักทาย จนทำให้พ่อแม่หลงใหลได้ปลื้มและยิ้มตอบแก้มแทบปริ แต่ที่จริงยิ้มแรกของลูกน้อยไม่ได้มีสัญญาณมาจากความสุขหรือว่าจำได้หรอกค่ะ รอยยิ้มนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาระบบประสาทในตัวลูก หรือกล้ามเนื้อริมฝีปากกระตุกเท่านั้นเอง
อ๊ะ อย่าเพิ่งผิดหวังไปนะคะ เพราะยิ้มแรกที่มีความหมายของลูกจะเกิดขึ้นตอนอายุประมาณ 6 สัปดาห์เป็นยิ้มที่เกิดจากเลียนแบบสิ่งที่ได้เห็นคนอื่นทำกับเขาขณะอยู่ในเปลค่ะ
2.พลิกคว่ำ ครั้งแรกนอนอยู่ในท่าที่คุณแม่จับวางไว้มาตั้งนาน 4-5 เดือน ชักเริ่มเบื่อคุณแม่ไม่ต้องแปลกใจนะคะถ้าเห็นเจ้าตัวเล็กที่จับนอนหงายเอาไว้กำลังพยายามตะแคงซ้ายตะแคงขวา และพลิกตัวนอนคว่ำได้ในที่สุด เพราะวัยนี้ลูกมีความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อลำตัวพอที่จะเคลื่อนไหวอย่างอิสระ และอยากจะเคลื่อนไหวร่างกายด้วยตัวเองบ้างแล้ว
3.กระดึ๊บ..กระดึ๊บ คืบแล้วช่วงเวลาเดียวกันกับที่เจ้าตัวเล็กพลิกคว่ำพลิกหงายได้สำเร็จ และกำลังพัฒนากล้ามเนื้อท้อง ลำตัวและหลังอยู่นี้คุณแม่จะเห็นเจ้าตัวเล็กยกแขนขาเคลื่อนไหวเหมือนกำลังว่ายน้ำ และเริ่มคืบตัวไปข้างหน้าด้วย เป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อหน้าท้องไปในตัว ต่อแต่นี้ไปเจ้าตัวเล็กที่เคยนอนตาแป๋วจะไม่ยอมนอนอยู่เฉยๆ อีกแล้วค่ะ
4.หนูนั่งแล้วนะSurprise! ของลูกน้อยวัยประมาณ 7 เดือนที่คุณแม่จะได้เห็นคือเจ้าตัวเล็กนั่งเองได้แล้ว เพราะกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อท้องของลูกแข็งแรงพอที่จะนั่งโดยไม่ต้องคอยประคอง แต่แรกๆ ที่นั่งลูกอาจจะโยกเยกหงายหน้าหงายหลังไปบ้าง เพราะยังปรับความสมดุลของร่างกายให้ทำงานสอดรับกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อไม่ได้ แต่เขาจะค่อยๆเรียนรู้การทรงตัวและนั่งได้อย่างมั่นใจในไม่ช้าค่ะ
5.ต้วมเตี้ยม ฝึกคลานพลิกคว่ำแล้วคืบแล้วนั่งแล้วสเต็ปต่อมาเมื่ออายุย่างเข้าเดือนที่ 8 เจ้าตัวเล็กแสนซนคนเก่งก็เริ่มหัดคลานลูกจะคลานได้จำเป็นต้องใช้การทำงานประสานกันของมือเข่าและเท้าเป็นตัวขับเคลื่อนช่วงแรกลูกอาจจะยังคลานได้ไม่ดีนักคือแทนที่จะคลานไปข้างหน้าก็ดันคลานถอยหลัง หรือคลานเป็นวงกลมวนรอบซะนี่ ดูแล้วคุณแม่คงอดขำไม่ได้ แต่อดใจรออีกนิดเถอะค่ะ ลูกกำลังพยายามฝึกบังคับทิศทาง พอคลานได้คล่องแล้วล่ะก็คุณแม่จะได้เห็นลูกคลานสามขาโบกไม้โบกมือได้อย่างสบาย
6.เกาะยืนแล้วจ้าหลังเริ่มคลานได้คล่อง เจ้าตัวเล็กจะคลานไปทั่วบ้าน จนกระทั่งอายุประมาณ 10 เดือน พัฒนาการของลูกจะก้าวไปอีกขั้นคือเรียนรู้ที่จะเกาะเตียง เก้าอี้ หรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เพื่อพยุงตัวเองให้ยืนขึ้น คนเป็นแม่เห็นอย่างนี้แล้วก็อดลุ้นให้ลูกเดินได้เองเร็ววันไม่ได้ ส่วนเจ้าตัวเล็กสิคะแม้ว่าจะยังยืนได้ไม่มั่นคง แต่ก็ตื่นเต้นกับวิวความสูงที่เพิ่มขึ้น
7.ตั้งไข่ล้ม ต้มไข่กิน“ตั้งไข่ล้ม ต้มไข่กิน ไข่ตกดิน อดกินไข่ต้ม” ว้าว…ว เกาะยืนไม่ทันไรลูกแม่ก็ตั้งไข่ยืนเองได้แล้ว แม้จะยืนได้แค่แป๊บๆ แล้วก็ล้มก้นกระแทกก็เถอะ อ้อ…ช่วงนี้ถ้าลูกยืนแล้วทิ้งก้นกระแทกจุมปุกลงกับพื้น ก็อย่าตกใจหรือกลัวว่าลูกจะเจ็บนะคะ เพราะบางทีก็ล้มจริงบางทีก็ล้มหลอก ลูกเห็นการล้มก้นกระแทกเป็นเรื่องสนุก และลองเล่นกับร่างกายตัวเองที่สามารถควบคุมได้อยู่ค่ะ
8.ก้าวแรกที่เดิน1…2…3… ไชโย! ลุ้นตัวโก่งมานานในที่สุดลูกก็เดินได้แล้ว ครบขวบปีพอดีเลย ก้าวแรกของลูกนี้แสดงให้เห็นว่ากล้ามเนื้อขาของลูกพัฒนาขึ้นมากแล้ว แรกๆ ที่ลูกหัดเดินคุณแม่อาจช่วยด้วยการจับสองมือ ลดลงเหลือมือเดียว ไม่นานเจ้าตัวเล็กจะมีความมั่นใจที่จะทรงตัวเดินเอง แม้แรกๆ จะยังไม่มั่นคงนัก อย่างเวลาอยากจะเดินเร็วๆ ขาก็ดูเหมือนก้าวไม่ทันใจ ทำให้สะดุดล้มบ่อยครั้ง แต่ลูกจะเรียนรู้การถ่วงน้ำหนักและความสมดุลเองของร่างกายเองค่ะ
9.ป๊า..ม้า คำแรกเจ้าตัวเล็กเริ่มทดสอบเสียงแรกของตัวเองด้วยการเล่นน้ำลาย ทำเสียงอืออา อ้อแอ้ คุยกับตัวเองมานาน แต่ยังพูดเป็นคำๆ ไม่ได้ จนอายุประมาณขวบนี่แหละค่ะ ลูกจะหลุดคำพูดแรก ซึ่งคำแรกๆ ที่ลูกจะพูดนี้มักเป็นคำพยางค์เดียวแต่มีความหมาย เช่น นม หม่ำ ฯลฯ แต่คำที่สร้างความชื่นใจให้คนเป็นพ่อแม่มากที่สุดคงหนีไม่พ้นคำว่า “พ่อ” “แม่” จริงไหมล่ะคะ
10.ตักข้าวกินเองนะหลังจากลูกเริ่มเดินเองได้คล่อง อายุสัก 14 เดือน เขามักจะอยากลองทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องการความช่วยเหลือจากพ่อแม่ ช่วงนี้คุณจะเห็นลูกตักข้าวกินเองได้ แต่อาจจะหกเลอะเทอะเสื้อผ้าไปสักหน่อย ก็อย่าแสดงทีท่ารังเกียจความสกปรกนั้นจนลูกเกิดความรู้สึกผิดนะคะ เพราะอาจจะกลายเป็นการปิดกั้นการเรียนรู้ของลูกไป ทางที่ดีคุณแม่ควรถือโอกาสนี้ฝึกให้ลูกเกิดความเชื่อมั่นในตัวเองไปเสียเลยดีกว่า
11.กระโดดสองขาการกระโดดเป็นทักษะที่คนเป็นแม่รู้สึกตื่นเต้นเมื่อเห็นลูกทำได้ เพราะเจ้าตัวเล็กวัยขวบครึ่งที่เดิน วิ่ง และปีนป่ายได้คล่อง จะเริ่มไม่อยู่นิ่ง เริ่มฝึกกระโดดตัวลอย 2 ขาไม่ติดพื้น แม้ครั้งแรกจะกระโดดขาลอยจากพื้นไม่พร้อมกันและไม่สูงก็ตาม แต่ก็เป็นสัญญาณบอกว่า กล้ามเนื้อใหญ่ ส่วนแขน ขา และลำตัวของลูกพัฒนามากขึ้น พื้นฐานแห่งการเคลื่อนไหวและการทรงตัวดีขึ้น และลูกก็สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ดีกว่าเดิม
12.ใส่และถอดเสื้อผ้าใส่ๆ ถอดๆ เป็นเรื่องกล้วยๆ สำหรับเจ้าตัวเล็กวัย 1 ปี 8 เดือนค่ะ เพราะลูกวัยนี้จะรู้จักรูดซิปเป็น ดึงถุงเท้าออกเป็น สวมรองเท้าได้ถูกข้างมากขึ้น และเริ่มจะสวมถอดเสื้อและกางเกงแบบที่สวมง่ายๆ ได้ เพราะเป็นวัยที่ควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้นมาก และจะทำได้คล่องเมื่ออายุประมาณ 2 ปีครึ่งถึง 3 ปีค่ะ
เห็นมั้ยคะว่ามีช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นเกิดขึ้นกับลูกน้อยมากมายและยังจะมีอะไรแปลกใหม่มาให้คนเป็นพ่อแม่ตื่นเต้นได้เสมออย่าลืมเตรียมรับมืออย่างมีความสุขกับลูกให้ดีนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก MODERN MOM
เรียบเรียงมาจากเว็บไซต์ กระปุกดอทคอม
Advertisement
เปิดอ่าน 9,240 ครั้ง เปิดอ่าน 9,777 ครั้ง เปิดอ่าน 10,256 ครั้ง เปิดอ่าน 15,152 ครั้ง เปิดอ่าน 1,460 ครั้ง เปิดอ่าน 12,171 ครั้ง เปิดอ่าน 8,361 ครั้ง เปิดอ่าน 14,927 ครั้ง เปิดอ่าน 6,383 ครั้ง เปิดอ่าน 9,854 ครั้ง เปิดอ่าน 10,711 ครั้ง เปิดอ่าน 11,396 ครั้ง เปิดอ่าน 1,711 ครั้ง เปิดอ่าน 1,568 ครั้ง เปิดอ่าน 10,331 ครั้ง เปิดอ่าน 39,105 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 53,236 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 212,365 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,616 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,882 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 210,302 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,088 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,199 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 28,409 ครั้ง |
เปิดอ่าน 73,338 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,412 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,761 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,432 ครั้ง |
|
|