ตะลึง กลุ่มคน 1 เปอร์เซ็นต์! ครอบครองทรัพย์สินกว่าครึ่งโลก
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ปัญหาของความเหลื่อมล้ำทางสังคมดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นไปอีกเมื่อมีรายงานเปิดเผยออกมาว่ากลุ่มคนที่ร่ำรวย 1 เปอร์เซ็นต์ตอนนี้กำลังถือครองทรัพย์สินกว่าครึ่งโลก
รายงานระบุว่า จากรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ เครดิต สวิส พบว่าประชากรผู้ใหญ่กว่าครึ่งหนึ่งในระดับชนชั้นรากหญ้ามีทรัพย์สินเป็นของตัวเองอย่างน้อยแค่ 1 เปอร์เซ็นต์จากทรัพย์สินของโลกทั้งหมดขณะที่กลุ่มคนร่ำรวยที่สุดกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ครอบครองทรัพย์สินของโลกถึง 87.7 เปอร์เซ็นต์
รายงานยังระบุอีกว่าจากการตรวจสอบทรัพย์สินของประชากรกว่า 200 ประเทศทั่วโลกก็พบว่าจีนมีประชากรผู้ใหญ่กว่า 109 ล้านคนที่มีทรัพย์สินอยู่ในระดับชนชั้นกลางกลายเป็นประเทศที่มีมีกลุ่มชนชั้นกลางเยอะที่สุดในโลกแซงหน้าประเทศสหรัฐฯที่มีกลุ่มชนชั้นกลางกว่า92ล้านคนซึ่งจากการสำรวจโดยรวมแล้วมีกลุ่มชนชั้นกลางที่เป็นผู้ใหญ่กว่า664ล้านคนทั่วโลกคิดเป็นสัดส่วนประมาณ14เปอร์เซ็นต์จากประชากรทั้งหมด
ตามรายงานโดยไล่จากกลุ่มฐานล่างของปิรามิดขึ้นไปพบว่ากว่า71 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดมีทรัพย์สินเฉลี่ยคนละ 10,000 ดอลลาร์(ราว 300,000 บาท) ตามด้วย 21 เปอร์เซ็นต์มีทรัพย์สินเฉลี่ยคนละ 15,000 ดอลลาร์ ถึง 150,000 ดอลลาร์(ราว 500,000 ถึง 5 ล้านบาท) และ 7.4 เปอร์เซ็นต์มีทรัพย์สินเฉลี่ยคนละ 100,000 ดอลลาร์ ถึง 1 ล้านดอลลาร์(ราว 3 ล้านถึง 30 ล้านบาท)ส่วน 0.7 เปอร์เซ็นต์คือกลุ่มคนร่ำรวยที่สุดผู้อยู่บนยอดสูงสุดปิรามิดโดยมีทรัพย์สินคนละมากกว่า 1 ล้านดอลลาร์ขึ้นไป(ราว 30 ล้านบาท)
ถือเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวางในช่วง 12 เดือนไปจนถึงกลางปี 2015 ที่ผ่านมาซึ่งประเทศที่มีประชากรผู้ใหญ่มากกว่าครึ่งหนึ่งที่ถือครองทรัพย์สินของโลกมากที่สุดโดยมีทรัพย์สินเฉลี่ยคนละ100,000ดอลลาร์(ราว3ล้านบาท)ขึ้นไปนั้นคือประเทศจีนโดยคิดเป็น16เปอร์เซ็นต์รองลงมาคือประเทศสหรัฐฯคิดเป็น12เปอร์เซ็นต์ตามมาด้วยสหราชอาณาจักรคิดเป็น 4 เปอร์เซ็นต์
ด้าน ทิดเจน เทียม ซีอีโอของบริษัทหลักทรัพย์เครดิต สวิสกล่าวว่า "ขณะที่การขยายตัวของความมั่งคั่งที่โอนเอียงไปทางความร่ำรวย ความสำคัญทางเศรษฐกิจของฐานและส่วนกลางของปิรามิดคือเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ด้วยการร่วมมือกันพวกเขาจะมีทรัพย์สินประมาณ 39 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งจะขับเคลื่อนส่วนสำคัญทางความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคสินค้าและบริการทางการเงิน"
ขณะเดียวกัน มาร์ค โกลด์ริง ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรการกุศลออกซ์แฟมของอังกฤษกล่าวว่า"นี่คือหลักฐานล่าสุดที่เพิ่มปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมจนไม่สามารถควบคุมได้เรามีความสุขเหรอที่อยู่ในโลกที่กลุ่มคน1เปอร์เซ็นต์ครอบครองทรัพย์สินครึ่งโลกขณะที่กลุ่มคนที่จนที่สุดครึ่งหนึ่งมีทรัพย์สินแค่1เปอร์เซ็นต์ของโลก"โดยเขาระบุว่าผู้นำแต่ละประเทศจะต้องเร่งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมเหล่านี้โดยเร็ว
อย่างไรก็ตามความมั่งคั่งทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นที่250 ล้านล้านดอลลาร์(ราว 8 พันล้านล้านบาท)ในปี 2015 จากเมื่อปีก่อนที่ร่วงไปอยู่ที่ 12.4 ล้านล้านดอลลาร์(ราว 440 ล้านล้านบาท)ซึ่งเป็นผลมาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจนำไปสู่การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่พึงประสงค์
ทั้งนี้จากรายงานคาดว่าความมั่งคั่งทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอีกเฉลี่ย6.5เปอร์เซ็นต์และจะแตะที่345ล้านล้านดอลลาร์(ราว1หมื่น2พันล้านล้านบาท)ในปี 2020 จาก 38 เปอร์เซ็นต์ในปัจจุบัน และเชื่อว่าประเทศเศรษฐกิจที่เกิดใหม่จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของความมั่งคั่งอย่างต่อเนื่องซึ่งคาดว่าประเทศจีนและอินเดียจะเติบโตขึ้น9เปอร์เซ็นต์เป็นประจำทุกๆปี
ที่มา มติชนออนไลน์ และ ประชาชาติธุรกิจออนไลน์