Advertisement
Advertisement
เอเอฟพี/บีบีซีนิวส์/เอพี – อียิปต์เผยโฉมพระพักตร์ที่แท้จริงของ “ตุตันคาเมน” ยุวกษัตริย์แห่งไอยคุปต์ นำร่างมัมมีออกจากโลงหินสู่ตู้กระจก เพื่อควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ถือเป็นการเก็บรักษาไปในตัว หลังมีผู้คนเข้าชมจำนวนมากมายในแต่ละปี พร้อมนำแบคทีเรียและความร้อนเขามาด้วย ถือเป็นการจัดแสดง “ร่างมัมมีพระศพ” ให้แก่สาธารณชนได้ชมเป็นครั้งแรก นับจากค้นพบฟาโรห์วัย 19 และสิ้นสุดการค้นหาสาเหตุแห่งการสิ้นพระชนม์เมื่อ 3,000 ปีก่อน
เหล่านักโบราณคดีค่อยๆ บรรจงเคลื่อนย้ายพระศพมัมมีฟาโรห์ “ตุตันคาเมน” (Tutankhamen) ออกจากหีบศพหินแบบโบราณ ที่ประดับตกแต่งไว้อย่างงดงาม มาไว้ในตู้กระจกที่มีการควบคุมอุณหภูมิภายในเป็นอย่างดี จัดแสดงไว้ในที่ฝังศพของพระองค์ ณ หุบผากษัตริย์ ในเมืองลักซอร์ ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ย.ที่ผ่านมา

บรรดาผู้เชี่ยวชาญและนักโบราณคดีกำลังค่อยเคลื่อนย้ายพระศพ จากโลงหินสู่โลงกระจก เพื่อเหตุผลในการรักษาสภาพ ส่วนการเปิดให้สาธารชนเยี่ยมชม คือผลพลอยได้
การเผยร่างกายมัมมีที่แท้จริงของตุตันตาเมน หรือ คิงตุต (King Tut) นั้น นับเป็นครั้งแรกหลังค้นพบพระศพมัมมีในปี พ.ศ.2465 โดยโฮเวิร์ด คาร์เตอร์ นักสำรวจชาวอังกฤษ ซึ่งนับจากนั้นกว่า 80 ปี มีเพียง 50 คนเท่านั้นที่มีโอกาสเห็นพระพักตร์จริงๆ ของฟาโรห์หนุ่มที่สิ้นพระชมน์มานานกว่า 3,000 ปี
หลังจากที่เหล่าผู้เชี่ยวชาญเคลื่อนย้ายพระศพฟาโรห์ที่ดังที่สุดแห่งศตวรรษเข้าสู่ตู้กระจกแล้ว ก็เปิดผ้าลินนินสีขาวที่ห่อมัมมีเป็นชั้นสุดท้าย เผยให้เห็นร่างไร้วิญญาณหลายพันปี ซี่งพระศพที่เห็นในปัจจุบันมีลักษณะหดตัว และเป็นสีดำทั้งร่าง รวมถึงใบหน้า
การเคลื่อนย้ายครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ร่างกายส่วนที่เหลือของคิงตุต ซึ่งนักโบราณคดีเปิดเผยว่า มัมมีต้องเผชิญกับความร้อน ความชื้น และแบคทีเรียต่างๆ ที่นักท่องเที่ยวจำนวนมากนำเข้ามา ขณะเยี่ยมชมหลุมฝังศพกษัตริย์องค์น้อยในแต่ละปี
“กษัตริย์แห่งทองคำพระองค์นี้ ทั้งน่าอัศจรรย์และลี้ลับ ทำให้ผู้คนทั่วโลกต้องการชมว่า อียิปต์มีวิธีเก็บรักษาพระองค์ไว้อย่างไรบ้าง และเชื่อว่าผู้คนทั่วโลกก็อยากจะยลโฉมของพระองค์” ซาไฮ ฮาวาสส์ (Zahi Hawass) ผู้อำนวยการสภาโบราณสถานแห่งอียิปต์ กล่าวก่อนที่จะเคลื่อนย้ายฟาโรห์ผู้โด่งดัง

ฮาวาสส์กับพระศพฟาโรห์ที่โด่งดังที่สุด
เมื่อครั้งที่คาร์เตอร์สำรวจพบหลุมศพของฟาโรห์หนุ่ม พร้อมขุมทรัพย์มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่ประดับประดาไปด้วยทอง ตรงใจกลางของหลุมศพซึ่งเก็บมัมมีพระศพฟาโรห์ไว้ ก็ยังปกคลุมไปด้วยเครื่องราง เพชรนิลจินดา และในหน้าของพระองค์สวมด้วยหน้ากากทองคำ สร้างความประหลาดใจให้แก่เขายิ่งนัก
แต่ด้วยความต้องการแค่ขุมทรัพย์ คาร์เตอร์และทีมสำรวจจึงตัดแขนขาและหัวของมัมมีออกเป็น 18 ส่วน โดยใช้มีดและขดลวดที่อังความร้อนลอกหน้ากากทองออกจากใบหน้าของฟาโรห์

หน้ากากทองคำของตุตันคาเมน แสดงให้เห็นถึงยุคแห่งทองในสมัยที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพ แต่หน้ากากทองชิ้นนี้ยั่วยวนใจยิ่งนัก ทำให้ทีมสำรวจแรกลงทุนเลาะออกจากพระพักตร์ของพระองค์
ร่างกายของฟาโรห์ได้รับการประกอบขึ้นใหม่ และส่งกลับไปยังโลงศพหินอันเดิมในอีก 1 ปีถัดมา (พ.ศ.2466) และเพิ่งจะได้รับการเคลื่อนย้ายอีก 3 ครั้งในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เพื่อเอ็กซเรย์ตรวจสอบในประเด็นต่างๆ
ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่เหล่านักโบราณคดีต้องการรู้เป็นอย่างยิ่งคือ “สาเหตุการสิ้นพระชนม์” ของฟาโรห์เจ้าของร่าง ที่จากโลกไปทั้งที่ยังมีพระชนมายุเพียงแค่ 19 ชันษา รวมถึงคำร่ำลือ “คำสาปฟาโรห์” ที่ตามหลอกหลอนผู้บุกรุกรวบกวนพระศพ
ครั้งแรกที่นำคิงตุตไปเอ็กซเรย์ในปี 2511 จนพบเศษกระดูกในกะโหลกศรีษะ ทำให้เชื่อว่าพระองค์น่าจะถูกปลงพระชนม์ด้วยลูกธนู ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางรายก็สันนิษฐานเหตุว่า เป็นเพราะตุตันคาเมนต้องการนำแนวคิด “พหุเทวนิยม” (การนับถือพระเจ้าหลายองค์) กลับมาสู่ชาวอียิปต์อีกครั้ง หลังจากที่อาเคนาเตน (Akhenaten) พระราชบิดาของคิงตุตได้ปฏิรูปศาสนาอย่างถอนรากถอนโคนนำเอา “เอกเทวนิยม” ให้นับถือสุริยเทพ “อาเตน” เพียงองค์เดียว
แต่หลังจากอาเคนาเตนสิ้นพระชนม์ลง ศาสนสถานและชื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ “อาเตน” จึงถูกลบออกไป รวมทั้งพระนามของ “ตุตันคาเตน” ที่เปลี่ยนมาเป็น “ตุตันคาเมน” อีกด้วย
อย่างไรก็ดี ผลจากการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ครั้งล่าสุดในปี 2548 ที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่า พระองค์ไม่ได้ถูกลอบปลงพระชนม์ และสิ้นพระชนม์จากการติดเชื้ออันเนื่องมาจากกระดูกหัก อีกทั้งสันนิษฐานว่า เศษกระดูกในกะโหลกน่าจะเกิดขึ้นในช่วงดองพระศพ
ขณะที่นักวิจัยบางคนเชื่อว่ารอยแตกที่กระดูกอาจเกิดขึ้นในภายหลัง ด้วยฝีมือของนักโบราณคดี ไม่ว่ารอยแตกที่กระดูกนั้นจะเกิดขึ้นเพราะเหตุใด ฮาวาสส์แสดงความมั่นใจว่าตุตันคาเมนไม่ได้ถูกลอบปลงพระชนม์แน่นอน และปิดข้อสันนิษฐานดังกล่าวไว้เพียงเท่านี้ โดยจะไม่รบกวนพระศพอีกต่อไป
ที่สำคัญในการแสกนครั้งเดียวกันนี้ ก็ได้มีการสร้างแบบจำลอง “พระพักตร์” ของพระองค์ขึ้น โดยใช้ข้อมูลจากโครงสร้างใบหน้ามัมมี และจากหน้ากากทองคำหนัก 11 กิโลกรัมที่เคยใช้ครอบ

โครงหน้าของตุตันคาเมนที่นักวิจัยประมวลผลออกมา โดยจำลองในแบบปูนปั้นสไตล์อียิปต์โบราณ
“ตุตันคาเมน” หรือ "ตุตันคามุน" (Tutankhamun/Tutankhamen) เป็นฟาโรห์องค์ที่ 12 ในราชวงศ์ที่ 18 ของอียิปต์ ทรงขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุเพียง 10 ชันษา ทรงเป็นกษัตริย์อียิปต์โบราณในช่วงปี 1334-1323 ก่อนคริสตกาล ก่อนหน้าขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า “ตุตันคาเตน” อันหมายถึงเทพอาเตน หรือสุริยเทพอวตารลงมา
อ่านเพิ่มเติมที่ http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000131149
Advertisement
|
เปิดอ่าน 112,214 ครั้ง |
เปิดอ่าน 47,388 ครั้ง |
เปิดอ่าน 29,001 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,637 ครั้ง |
เปิดอ่าน 434 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,652 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,665 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,040 ครั้ง |
เปิดอ่าน 46,912 ครั้ง |
เปิดอ่าน 41,452 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,659 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,895 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,244 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,338 ครั้ง |
เปิดอ่าน 44,426 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 18,958 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 13,510 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 72,443 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 75,673 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 13,601 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 31,327 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 15,310 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 12,616 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 9,019 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 14,325 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 23,002 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 42,352 ครั้ง |
|
|