Advertisement
ประวัติและตำนาน
ปาริชาติ เป็นต้นไม้แห่งความสมปรารถนาเช่นเดียวกับกามเธนุและเกิดจากการกวนเกษียรสมุทรเช่นกัน พระอินทร์นำไปปลูกไว้ในสวนของพระองค์บนสวรรคโลก (Svargaloka) ลักษณะเป็นไม้พุ่ม มีดอกสีขาวแต้มแดงกลิ่นหอมอบอวล
ในกฤษณาวตาร ภาคหนึ่งของพระวิษณุ ได้แอบไปขโมยต้นปาริชาติจากสวรรค์ตามความปรารถนาของนางสัตยภามา (Satyabhama) ชายาของพระองค์ แต่เกรงว่านางรุกมินี (Rukamini) ชายาอีกคนจะน้อยใจ จึงปลูกต้นปาริชาติไว้ในสวนของนางสัตยภามาแต่หันกิ่งก้านไปทางสวนของนางรุกมินี เวลาที่ดอกปาริชาติร่วงหล่นจะได้ตกใส่สวนของนาง ด้วยเหตุนี้ต้นปาริชาติจากสวรรค์จึงได้ลงมาอยู่บนโลกมนุษย์
อีกตำนานกล่าวถึงหญิงสาวนางหนึ่งหลงรักพระสุริยเทพ นางได้แต่นั่งเฝ้าชมราชรถของพระองค์ขับเคลื่อนผ่านไปทุกเช้าเย็น ช่วงแรกพระสุริยเทพก็สนใจในตัวนางดีแต่ต่อมาไม่นานพระองค์ก็ไปหลงรักหญิงอื่น นางจึงฆ่าตัวตาย จากนั้นต้นปาริชาติก็เกิดขึ้นจากกองเถ้าถ่านที่เผาศพนาง เป็นต้นไม้ที่มีดอกสีขาวแต้มแดงและบานส่งกลิ่นหอมในยามค่ำคืนเท่านั้น เมื่อถึงยามรุ่งอรุณดอกปาริชาติก็ร่วงโรยดุจน้ำตาของนาง บางครั้งก็เชื่อกันว่า ดอกปาริชาติเป็นดอกไม้แห่งความเศร้า
แต่ในวรรณคดีทางพุทธศาสนา เช่น เตภูมิกถา และ กามนิตวาสิฏฐี กล่าวว่า ต้นปาริชาติ คือ ต้นทองหลาง อยู่ในปุณฑริกวันบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระอินทร์มีดอกสีแดงฉาน ร้อยปีจึงจะบานสักครั้ง ทุกครั้งที่บานจะส่งกลิ่นหอมและมีแสงสว่างไปทั่ว เหล่าเทพบุตรเทพธิดาจะมาฉลองร่วมกันใต้ต้นปาริชาติ
ผู้ใดที่ต้องการดอกไม้ไปทัดหูเพียงยื่นมือออกไปดอกไม้นั้นก็หล่นลงมาเอง หากรับไม่ทันจะมีลมหมุนวนประคองไว้จนกว่าจะรับได้ กลิ่นของดอกปาริชาติจะทำให้ผู้ที่สูดดมเข้าไปเกิดอาการวิงเวียนและสามารถระลึกชาติได้ ตั้งแต่ชาติที่ใกล้ที่สุดจนถึงชาติที่ไกลโพ้นออกไป ในขณะที่ดอกปาริชาติในอินเดีย คือ ดอกกรรณิการ์ ของไทยเรานั่นเอง เป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดีของหญิงสาวที่เพิ่งแต่งงานใหม่ และเป็นดอกไม้สำหรับบูชาพระกฤษณะ
การกล่าวถึงในวรรณกรรมต่าง ๆ
มหากาพย์เทวภูมิ ชั้นที่ 2 ดาวดึงส์
"นอกเมืองดาวดึงส์ออกไป ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีอุทยานใหญ่อีกแห่งหนึ่ง ชื่อว่า ปุณฑริกวัน มีกำแพงล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน กลางสวนมีไม้ทองหลางใหญ่ต้นหนึ่ง เป็นไม้ทิพย์ชื่อว่า ปาริชาติ ต้นปาริชาติ นี้ จะมีดอกบานครั้งหนึ่งต่อเมื่อครบหนึ่งร้อยปี พูดง่าย ๆ ว่าร้อยปีจะดอกบานครั้งหนึ่ง และขณะที่ดอกปาริชาตนี้บานจะมีรัศมีเรืองไปไกลถึงแปดแสนวา และเมื่อลมพัดไปทางทิศใด ลมมีกลิ่นหอมฟุ้งไปทิศนั้นไกลแสนไกล
กลิ่นหอมนั้นจะตลบอบอวลอยู่ทั่วบริเวณสวรรค์ชั้นนี้นานเท่านาน กล่าวกันว่า ยามที่ดอกปาริชาตินี้บาน จะมีเหล่าเทพบุตรเทพธิดามาเล่นสนุกสนานใต้ต้นปาริชาตนี้เป็นจำนวนมากและกลิ่นปาริชาติที่โชยโรยรินมาต้องเทพบุตรเทพธิดาองค์ใด จะช่วยทำให้เทพบุตรเทพธิดาองค์นั้นระลึกชาติได้อย่างอัศจรรย์"
กามนิต -วาสิฏฐี (ภาคสวรรค์)
ตอนที่ 24 ต้นปาริชาติ
"...ครั้นแล้วช่องเขาก็เลี้ยวหักมุมสองสามแห่ง และในทันใดนั้นก็เป็นช่องว่างขึ้น ดูบริเวณรอบตัว เห็นเป็นหุบเขาลึก มีหินผาสกัดกั้นไว้ด้วยยอดสูงลิบลิ่วดูเหมือนจดขอบสวรรค์ กลางหุบเขามีไม้ประหลาดต้นหนึ่ง ลำต้นและกิ่งเรียบรื่นเป็นสีแดงดั่งแก้วประพาฬ ใบแกมเหลืองแก่มีดอกแดงเข้มส่งสีรุ่งโรจน์ราวกับจะลุกไหม้
เหนือยอดชะง่อนผาและยอดไม้นั้น เป็นท้องฟ้าสีน้ำเงินแก่ จะหาเมฆสักก้อนก็ไม่มี เสียงทิพยดนตรีไม่แล่นมาถึงได้พอ แต่ว่าในอากาศยังสะเทือนอยู่ ประหนึ่งว่าเป็นกระเส็นกระสายของคลื่นเสียงดนตรีที่เคยได้ยินมานานแล้ว แต่ระลึกเสียงได้ลาง ๆ
ในหุบเขานั้น มีสีสันก็เพียงสาม คือสีน้ำเงินแก่ของท้องฟ้า สีเขียวของหิน และสีแดงประพาฬของต้นไม้ และมีกลิ่นหอมเป็นกลิ่นเดียว กลิ่นหอมอันน่าพิศวงไม่เหมือนกลิ่นหอมอื่น ๆ เป็นกลิ่นมาจากดอกไม้สีแดงจัด ซึ่งเท่ากับดูดดึงให้กามนิตมา
ในทันใดนั้น ลักษณะประหลาดแห่งกลิ่นหอมก็เริ่มสำแดงอาการ กล่าวคือ ขณะกามนิตสูดกลิ่น ซึ่งตลบฟุ้งอยู่ทั่วหุบเขานั้น ความรู้สึกระลึกเรื่องหนหลังได้แล่นพรูเข้าสู่ใจโดยเร็ว ทำลายทะลุฝ้ามืดที่กำบังไว้ ตั้งแต่ตื่นขึ้นในสระจนบัดนี้ กามนิต ระลึกถึงความเป็นไปในอดีตได้ตลอด..."
ตอนที่ 29 ท่ามกลางกลิ่นหอมแห่งดอกปาริชาติ
"อันความจริง ผู้อุปปาติกะใหม่ทั้งสอง มิได้เยี่ยมฝั่งคงคาสวรรค์อันไม่น่าดูน่าชมอีกต่อไป เป็นแต่เลื่อนลอยไปสู่หุบเขาต้นปาริชาติเนือง ๆ ได้ไปนั่งพักนอนเล่นอยู่ควงปาริชาติอันแผ่กิ่งก้านสาขา สูดเอากลิ่นหอมอันตลบมาจากดอกแดงดั่งแสงชาด กระทำให้ระลึกถึงชาติก่อน ๆ แจ่มแจ้งขึ้นเป็นลำดับ ย้อมหลังล่วงไปในอดีตชาติอันไกลแสนไกล..."
ข้อมูลพฤษศาสตร์ของต้นปาริชาติ หรือ ต้นทองหลาง
- ลักษณะ
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5–10 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามเรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางจะโตกว่าสองใบด้านข้าง ออกดอกเป็นช่อยาวประมาณ 30–40 เซนติเมตร รูปดอกถั่ว สีแดงเข้ม ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นฝักยาว 15–30 เซนติเมตร
- ชื่อพื้นเมือง
ทองหลาง ,ทองหลางด่าง (กรุงเทพฯ) ปาริฉัตร ทองบ้าน ทองเผือก (ภาคเหนือ)
- ชื่อวิทยาศาสตร์
Rrythrina variegata Linn..
- ชื่อสามัญ
Indian Coral Tree , Variegated Coral Tree , Variegated Tiger's Claw , Tiger's Claw,Parijata
- ชื่อวงศ์
PAPILIONCEAE
- ถิ่นกำเนิด
พบทั่วไปในเอเซียเขตอบอุ่น และเขตร้อน เช่น อินเดีย
- สภาพนิเวศน์
ชอบขึ้นริมน้ำ
- การขยายพันธุ์
ปักชำกิ่ง เพาะเมล็ด
- ประโยชน์
ใบอ่อนเป็นผัก การปลูกพลูถ้าให้เลื้อยขึ้นบนต้นทองหลาง พลูจะเจริญเติบโตเร็วมาก ทางยา จีนใช้เปลือกต้นเป็นยาแก้ไอและแก้ไอ ในโมรอคโค ใช้เปลือกต้นเคี้ยวรักษาบิด
- ต้นปาริชาติ เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี
ขอบคุณข้อมูลจาก , janicha.net , biogang.net , กระปุก.คอม
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
![เทศกาล ไหว้พระจันทร์ เทศกาล ไหว้พระจันทร์](news_pic/p89422111716.jpg) เปิดอ่าน 18,548 ครั้ง ![ความรู้เรื่องวัฒนธรรม ความรู้เรื่องวัฒนธรรม](news_pic/p37197200857.jpg) เปิดอ่าน 15,310 ครั้ง ![ขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาวสยาม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาวสยาม](news_pic/p44378411122.jpg) เปิดอ่าน 22,894 ครั้ง ![พระกฤษณะ พระกฤษณะ](news_pic/p24443501009.jpg) เปิดอ่าน 27,201 ครั้ง ![ตำนาน บ้านบางระจัน ตำนาน บ้านบางระจัน](news_pic/p79721621337.jpg) เปิดอ่าน 189,701 ครั้ง ![ประวัติการสร้างพระมหาพิชัยราชรถ และเวชยันตราชรถ ประวัติการสร้างพระมหาพิชัยราชรถ และเวชยันตราชรถ](news_pic/p49013370851.jpg) เปิดอ่าน 17,138 ครั้ง ![วันอาสาฬหบูชา วันอาสาฬหบูชา](news_pic/p26128030734.jpg) เปิดอ่าน 14,386 ครั้ง ![เผด็จการคืออะไร เผด็จการคืออะไร](news_pic/p42208411319.jpg) เปิดอ่าน 22,993 ครั้ง ![พระนามพระเป็นเจ้าทางศาสนาพราหมณ์ พระนามพระเป็นเจ้าทางศาสนาพราหมณ์](news_pic/p59554340958.jpg) เปิดอ่าน 34,376 ครั้ง ![พระลักษมี พระลักษมี](news_pic/p90930121011.jpg) เปิดอ่าน 19,200 ครั้ง ![การกำเนิดของศาสนาพราหมณ์ การกำเนิดของศาสนาพราหมณ์](news_pic/p13534710951.jpg) เปิดอ่าน 111,761 ครั้ง ![ลี กวน ยู บุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ลี กวน ยู บุรุษผู้ยิ่งใหญ่](news_pic/p26905990519.jpg) เปิดอ่าน 14,668 ครั้ง ![อริยสัจ 4 อริยสัจ 4](news_pic/p28722811014.jpg) เปิดอ่าน 1,319,838 ครั้ง !["บึงกาฬ" จังหวัดที่ 77 ของไทย "บึงกาฬ" จังหวัดที่ 77 ของไทย](news_pic/p80974971938.jpg) เปิดอ่าน 30,077 ครั้ง ![ชุดประจำชาติต่างๆ ในอาเซียน ชุดประจำชาติต่างๆ ในอาเซียน](news_pic/p40709880928.jpg) เปิดอ่าน 38,669 ครั้ง ![พระพิฆเนศ พระพิฆเนศ](news_pic/p57363300949.jpg) เปิดอ่าน 28,960 ครั้ง
|
!["ขุนหลวงท้ายสระ" พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 30 แห่งอาณาจักรอยุธยา "ขุนหลวงท้ายสระ" พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 30 แห่งอาณาจักรอยุธยา](news_pic/p36191310310.jpg)
เปิดอ่าน 2,230 ☕ คลิกอ่านเลย |
![ประวัติจังหวัดมุกดาหาร ประวัติจังหวัดมุกดาหาร](news_pic/p11450741121.jpg)
เปิดอ่าน 17,786 ☕ คลิกอ่านเลย | !["ว่านผู้เฒ่าเฝ้าบ้าน" กับความเชื่อทางสังคม "ว่านผู้เฒ่าเฝ้าบ้าน" กับความเชื่อทางสังคม](news_pic/p97242200918.jpg)
เปิดอ่าน 24,580 ☕ คลิกอ่านเลย | ![เหรียญศานติมาลา เหรียญศานติมาลา](news_pic/p17014980921.jpg)
เปิดอ่าน 13,983 ☕ คลิกอ่านเลย | ![พุทธคุณ 9 พุทธคุณ 9](news_pic/p98037030645.jpg)
เปิดอ่าน 19,439 ☕ คลิกอ่านเลย | ![หน้าที่ชาวพุทธ หน้าที่ชาวพุทธ](news_pic/p73359341842.jpg)
เปิดอ่าน 41,423 ☕ คลิกอ่านเลย | ![พระนามพระเป็นเจ้าทางศาสนาพราหมณ์ พระนามพระเป็นเจ้าทางศาสนาพราหมณ์](news_pic/p59554340958.jpg)
เปิดอ่าน 34,376 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ ![เปลือกผลไม้ ไม่ไร้ค่า เปลือกผลไม้ ไม่ไร้ค่า](news_pic/p17954940941.jpg)
เปิดอ่าน 22,070 ครั้ง | ![พืชที่ใช้ทำกระดาษ พืชที่ใช้ทำกระดาษ](news_pic/p19137161155.jpg)
เปิดอ่าน 63,608 ครั้ง | ![ตีแผ่ชีวิตเด็กจีนต้องปีนเขาสูง 800ม.เพื่อไปเรียนหนังสือ ตีแผ่ชีวิตเด็กจีนต้องปีนเขาสูง 800ม.เพื่อไปเรียนหนังสือ](news_pic/p98482381013.jpg)
เปิดอ่าน 13,314 ครั้ง | !["ว่านธรณีสาร" คืออะไร มีประโยชน์ตามความเชื่ออย่างไร? "ว่านธรณีสาร" คืออะไร มีประโยชน์ตามความเชื่ออย่างไร?](news_pic/p82555900707.jpg)
เปิดอ่าน 19,858 ครั้ง | ![ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ว่าด้วยการกำหนดเครื่องแบบผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2561 ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ว่าด้วยการกำหนดเครื่องแบบผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2561](news_pic/p50577770317.jpg)
เปิดอ่าน 37,141 ครั้ง |
|
|