Advertisement
กฎหมายตราสามดวง โดย นายกฤษฎา บุณยสมิต
คือ ชื่อประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตจำนวน ๑๑ คน นำตัวบทกฎหมายต่างๆ ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มาชำระ และปรับปรุงแก้ไขตัวบทกฎหมายต่างๆ ให้มีความยุติธรรมและเหมาะสมกับยุคสมัยมากขึ้น โดยโปรดเกล้าฯ ให้ชำระขึ้น และได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๓๔๗* นอกจากจะนำกฎหมายเก่าที่ใช้กันในสมัยอยุธยามาชำระแล้ว ก็ยังได้ตรากฎหมายใหม่เพิ่มเติมอีกด้วย
ประเทศไทยใช้กฎหมายตราสามดวงเป็นหลักในการปกครองบ้านเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนกระทั่งไทยต้องเผชิญกับลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษในพ.ศ. ๒๓๙๘ และทำสนธิสัญญาในลักษณะเดียวกันกับชาติตะวันตกอื่นๆ ชาติตะวันตกเหล่านั้นมีระบบกฎหมายที่แตกต่างไปจากกฎหมายของไทย และมองว่ากฎหมายไทยป่าเถื่อน จึงเรียกร้องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตจากไทย เพื่อจะได้ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายไทยและศาลไทย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงต้องเร่งรีบปฏิรูปกฎหมาย และการศาลของไทยให้เป็นที่ยอมรับของชาติตะวันตก เพื่อไทยจะได้เอกราชทางกฎหมายและการศาลคืนมา โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะกรรมการตรวจชำระกฎหมาย และจัดทำประมวลกฎหมายใหม่ขึ้น การชำระและการร่างกฎหมายใหม่นั้นได้กระทำอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะๆเมื่อกฎหมายลักษณะใดเสร็จ ก็ประกาศใช้ไปพลางๆ ก่อน จนใน พ.ศ. ๒๔๗๘ จึงประกาศใช้กฎหมายใหม่ได้ครบทุกลักษณะ และกฎหมายตราสามดวงก็ได้ยกเลิกไปในที่สุด
ที่มาของกฎหมายตราสามดวง
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาของกฎหมายตราสามดวงนั้น ควรเข้าใจความหมายของคำว่า “กฎหมาย” ก่อน ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายของกฎหมายว่า“กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ” ดังนั้นที่มาของตัวบทกฎหมายต่างๆ ที่ใช้กันมานานกว่า ๔๐๐ ปีในสังคมไทย และได้นำมาประมวลไว้ในกฎหมายตราสามดวง จึงสะท้อนความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของไทย ในสมัยอยุธยากฎหมายไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย โดยผ่านมาทางมอญ คือ “คัมภีร์พระธรรมศาสตร์” ซึ่งมอญเรียกว่า “คัมภีร์ธัมมสัตถัม” คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ตามความเชื่อว่ามิได้เกิดขึ้นจากสติปัญญาของ มนุษย์ แต่เป็นผลงานที่พระผู้เป็นเจ้าประทานมาให้เป็นหลักในการอำนวยความยุติธรรมของพระมหากษัตริย์ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ได้เผยแพร่ไปในดินแดนต่างๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย ซึ่งกฎหมายของอยุธยาที่ได้มีการประกาศใช้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๑๙๑๒) ก็ได้รับอิทธิพลมาจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เช่นกัน และได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลักษณะต่างๆ หลายครั้งในรัชกาลต่อๆ มา รวมทั้งมีการตรากฎหมายใหม่เพิ่มเติมอีกด้วย กฎหมายต่างๆ ที่เป็นการสืบสาขาคดี โดยยึดมูลคดีตามคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นหลักนั้น เรียกว่า “พระราชศาสตร์”
ขณะเดียวกันพระมหากษัตริย์ไทยแต่ละพระองค์ก็ได้ทรงออกกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินตามความจำเป็นและเหมาะสม ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากที่มีกำหนดไว้ในมูลคดีตามคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ รวมถึงการวินิจฉัยคดีความต่างๆ รวบรวมเป็นกฎหมายของแผ่นดินอีกส่วนหนึ่ง เรียกว่า “พระราชนิติศาสตร์ หรือพระราชนิติคดี” ดังนั้นตัวบท กฎหมายต่างๆ ในกฎหมายตราสามดวงจึงเป็นทั้ง “พระธรรมศาสตร์” และ “พระราชศาสตร์” และ “พระราชนิติศาสตร์ หรือ พระราชนิติคดี” ผสมผสานกันโดยมีคัมภีร์ พระธรรมศาสตร์เป็นแกนหลักที่สำคัญ
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสื่อมอำนาจและสิ้นสุดลงใน พ.ศ. ๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชได้ทรงกอบกู้ชาติจนได้รับอิสรภาพกลับคืนมา และทรงเร่งบูรณะฟื้นฟูบ้านเมืองตลอดระยะเวลา ๑๕ ปี จนกระทั่งถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งเป็นการเริ่มต้นสมัยรัตนโกสินทร์ พระองค์ก็ได้ทรงทำนุบำรุงประเทศในทุกด้าน โดยเฉพาะสรรพวิชาการความรู้ต่างๆ ที่ขาดตอนไป เนื่องจากการเสียกรุงศรีอยุธยาดังกล่าวมาแล้ว
ไฟโซล่าเซลล์ สปอร์ตไลท์ led Solar light ไฟโซล่า ไฟ solar cell IP67 กันน้ำและป้องกันฟ้าผ่ 10000W รับประกัน30ปี
฿199 - ฿1,358https://s.shopee.co.th/6pmJMLjlQH?share_channel_code=6
Advertisement
 เปิดอ่าน 15,088 ครั้ง  เปิดอ่าน 5,017 ครั้ง  เปิดอ่าน 20,197 ครั้ง  เปิดอ่าน 20,904 ครั้ง  เปิดอ่าน 2,716 ครั้ง  เปิดอ่าน 18,280 ครั้ง  เปิดอ่าน 16,523 ครั้ง  เปิดอ่าน 38,141 ครั้ง  เปิดอ่าน 3,860 ครั้ง  เปิดอ่าน 19,406 ครั้ง  เปิดอ่าน 17,944 ครั้ง  เปิดอ่าน 25,669 ครั้ง  เปิดอ่าน 23,565 ครั้ง  เปิดอ่าน 16,728 ครั้ง  เปิดอ่าน 19,316 ครั้ง  เปิดอ่าน 50,415 ครั้ง
|

เปิดอ่าน 130,502 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 206,218 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 16,936 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 16,889 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 18,070 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 22,150 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 78,079 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 225,059 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 13,736 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 33,012 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 9,627 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 14,209 ครั้ง |
|
|