Advertisement
Advertisement
งานวิจัยชิ้นใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ไมโครสโคปี แอนด์ อัลตราสตรัคเจอร์ ชื่อ "ทำไมเด็กๆ จึงดูดซับการแผ่รังสีไมโครเวฟมากกว่าผู้ใหญ่" ใช้การสำรวจวิจัยงานศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์ผลกระทบจากสัญญาณไมโครเวฟจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆได้ข้อสรุปว่า เด็กๆ และวัยรุ่นมีความเสี่ยงในระดับ "ค่อนข้างมาก" จากการได้รับสัญญาณไมโครเวฟที่กระจายอยู่โดยรอบตัวอุปกรณ์เข้าไปมากกว่าความเสี่ยงของผู้ใหญ่ที่เสี่ยงอันตรายในระดับต่ำกว่าแต่ยังคงเป็นระดับความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญต่อสุขภาพ
งานวิจัยชิ้นดังกล่าวระบุเอาไว้ว่าองค์การระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยมะเร็ง(ไออาร์ไอซี)ที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์การอนามัยโลกในสังกัดสหประชาชาติได้จัดให้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากคลื่นวิทยุ(อาร์เอฟ/อีเอ็มเอฟ) เป็นหนึ่งใน 250 สาร หรือตัวการที่มีฤทธิ์ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ (คลาส 2บี คาร์ซิโนเจน) ทั้งนี้ แหล่งที่มาหลักของอาร์เอฟ/อีเอมเอฟ ดังกล่าวนี้คือ วิทยุ, โทรทัศน์, เตาไมโครเวฟ, โทรศัพท์เคลื่อนที่ และอุปกรณ์ไวไฟทั้งหลาย
ในงานสำรวจวิจัยดังกล่าว ยกตัวอย่างงานวิจัยหลายๆ ชิ้นที่แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงระหว่างการได้รับคลื่น อาร์เอฟ/อีเอ็มเอฟ กับมะเร็งหลายชนิด, การส่งผลให้จำนวนสเปิร์มลดลง และการทำงานผิดปกติของร่างกายอีกหลายอย่าง
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยใหม่นี้ระบุไว้ชัดเจนว่าผลการศึกษาวิจัยที่นำมาเป็นตัวอย่างนั้นเป็นการศึกษาวิจัยที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมจำเพาะในการวิจัยและเป็นการพิเคราะห์ผลจากกลุ่มตัวอย่างจำเพาะกลุ่มเท่านั้นพร้อมกับตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่าการได้รับการแผ่รังสีคลื่นวิทยุไมโครเวฟที่จะก่อให้เกิดมะเร็งได้นั้นต้องใช้เวลาเกินกว่า30ปีขึ้นไปทำให้ยากที่จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนได้
อย่างไรก็ตามงานวิจัยดังกล่าวสรุปผลและจัดทำเป็นข้อเสนอแนะไว้ว่าเด็กๆดูดซับปริมาณการแผ่รังสีไมโครเวฟได้มากกว่าผู้ใหญ่ยิ่งเป็นทารกในครรภ์ยิ่งอ่อนไหวต่อคลื่นไมโครเวฟมากกว่าเด็กๆ ดังนั้น สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกในท้องได้สัมผัสกับการแผ่รังสีไมโครเวฟ
ทั้งนี้ เด็กๆ และทารกในครรภ์ดูดซับการแผ่รังสีไมโครเวฟได้มากกว่า เนื่องจากขนาดของร่างกายเล็กกว่าผู้ใหญ่ กะโหลกบางกว่ากะโหลกศีรษะของผู้ใหญ่ และเนื้อเยื่อสมองของเด็กและทารกมีขีดความสามารถในการดูดซับได้สูงกว่าผู้ใหญ่
วัยรุ่นสตรี และสตรีทั่วไปไม่ควรเก็บมือถือไว้ในบราเซีย หรือภายในชุดฮิญาบ, และย้ำว่าอุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (ไวไฟ) ต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ที่ส่งสัญญาณวิทยุ ไม่ใช่ของเล่นที่เหมาะสมสำหรับเด็ก ของเล่นใดๆ ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้ควรได้รับการติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิด
ผู้วิจัยชี้ว่า ในคู่มือของโทรศัพท์เคลื่อนที่มีคำเตือนเกี่ยวกับเรื่องการสัมผัสการแผ่รังสีนี้ไว้อย่างชัดเจน เช่นเดียวกับที่คำเตือนของรัฐบาลที่มีออกมาอย่างเป็นทางการในเรื่องเดียวกันนี้ก็มีอยู่ แต่ผู้ใช้ส่วนใหญ่กลับไม่รู้เรื่องคำเตือนดังกล่าว
สุดท้าย ผู้วิจัยเชื่อว่าคำเตือนเรื่องการจำกัดการสัมผัสหรือได้รับการแผ่รังสีไมโครเวฟที่มีอยู่ในเวลานี้ยังไม่เพียงพอและจำเป็นต้องมีการทบทวนเสียใหม่อย่างน้อยที่สุดควรเปิดให้มีการถกเถียงศึกษาเพื่อแยกระดับความปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ออกจากระดับความปลอดภัยของเด็กๆ
เนื่องจากระดับจำกัดการสัมผัสที่ใช้กันอยู่ในเวลานี้ไม่มีการปรับปรุงใดๆมานานถึง19ปีแล้ว
ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558
Advertisement
|
เปิดอ่าน 13,000 ครั้ง |
เปิดอ่าน 58,269 ครั้ง |
เปิดอ่าน 34,056 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,576 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,151 ครั้ง |
เปิดอ่าน 24,880 ครั้ง |
เปิดอ่าน 4,596 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,986 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,829 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,555 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,063 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,486 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,083 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,306 ครั้ง |
เปิดอ่าน 6,234 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 10,784 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 14,086 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 10,848 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 6,234 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 58,269 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 13,337 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 9,489 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 1,249 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 18,224 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 23,838 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 48,567 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 16,231 ครั้ง |
|
|