ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

รู้ยัง!"คุณสมบัติ-ลักษณะต้องห้าม"ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ "ครู"


ข่าวการศึกษา 28 เม.ย. 2558 เวลา 14:02 น. เปิดอ่าน : 24,591 ครั้ง
รู้ยัง!"คุณสมบัติ-ลักษณะต้องห้าม"ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ "ครู"

Advertisement

"...คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๘) จึงเห็นว่า คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพสามารถนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ขอรับใบอนุญาตที่เกิดขึ้นก่อนการใช้บังคับพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาประกอบการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพในการพิจารณาคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตได้..."

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้เผยแพร่ความเห็นทางกฎหมาย เรื่อง การพิจารณาลักษณะต้องห้ามในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ทางการศึกษา

โดยระบุว่า สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้มีหนังสือ ที่ ศธ ๕๑๐๔.๓/๔๔๓๙ ลงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สรุปความได้ว่า ด้วยคณะกรรมการคุรุสภา ในการประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๗ ได้พิจารณาลักษณะต้องห้ามในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา แล้วมีมติเห็นชอบให้เสนอคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อวินิจฉัยถึงลักษณะต้องห้ามในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา

โดยปรากฏข้อเท็จจริงว่า นาย................. ปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้าน........... สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูโดยผลของกฎหมายตามบทเฉพาะกาลมาตรา ๘๔ และมาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับข้อ ๙ แห่งข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๗

ต่อมานาย........ มีความประสงค์จะขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่านายกรกฎฯ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอาจารย์ ๒ โรงเรียนบ้านโนนหวางโนนกุง สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอพนา สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญได้กระทำผิดวินัยและถูกลงโทษตัดเงินเดือน ร้อยละ ๕ เป็นเวลา ๒ เดือน ตามคำสั่งสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญ ที่ ๑๔๐/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๔๖ เนื่องจากในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่มีพฤติกรรมเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีตามมาตรา ๔๔ (ข) แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ประเด็นปัญหาจึงมีอยู่ว่า การขอรับใบอนุญาต

และการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะนำพฤติกรรมการกระทำผิดที่เกิดก่อนพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ใช้บังคับมาพิจารณาว่าเป็นพฤติกรรมเสื่อมเสียเข้าข่ายลักษณะต้องห้ามในการขอรับใบอนุญาตตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๔ (ข) แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๘) ได้พิจารณาข้อหารือดังกล่าวโดยมีผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงานปลัดกระทรวง) และผู้แทนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เป็นผู้ชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว ปรากฏข้อเท็จจริงเพิ่มเติมตามคำชี้แจงของผู้แทนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาว่า
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มีอายุห้าปีตามข้อ ๑๘ แห่งข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๗ และคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพจะพิจารณาเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ เฉพาะกรณี
การขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาภายหลังจากที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ใช้บังคับแล้วเท่านั้น

สำหรับกรณีผู้ที่ดำรงตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ใช้บังคับและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาไปโดยผลของบทเฉพาะกาลตามมาตรา ๘๔ และมาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ แล้ว คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพจะไม่นำมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาใช้ในการพิจารณา

ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๘) ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า มาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้บัญญัติให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุม และห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุมโดยมิได้รับใบอนุญาต ซึ่งมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม โดยในส่วนของลักษณะต้องห้ามนั้น ได้มีการกำหนดไว้ ๓ ประการ คือ (๑) เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (๒) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ และ (๓) เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ และมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้บัญญัติให้การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การกำหนดอายุใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา ซึ่งคุรุสภาได้ออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยข้อ ๕ และข้อ ๖ แห่งข้อบังคับดังกล่าวได้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาไว้ ในการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุมจึงต้องพิจารณาตามบทบัญญัติดังกล่าว เว้นแต่ในกรณีวาระเริ่มแรกของการใช้บังคับพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ เท่านั้น

เนื่องจากมีบทเฉพาะกาลตามมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้ครูซึ่งเป็นสมาชิกของคุรุสภาอยู่แล้วก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มีสิทธิได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันที่บัญญัติให้ในวาระเริ่มแรก ให้คุรุสภาออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น และภายในสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้มีการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามข้อบังคับของคุรุสภา ทั้งนี้ ให้ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งดังกล่าวมีสิทธิได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ จึงทำให้บุคคลดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพโดยผลของกฎหมายทันทีโดยไม่ต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามแต่อย่างใด

กรณีตามข้อหารือที่ว่า การขอรับใบอนุญาตและการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะนำพฤติกรรมการกระทำผิดที่เกิดก่อนพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ใช้บังคับมาพิจารณาว่าเป็นพฤติกรรมเสื่อมเสีย เข้าข่ายลักษณะต้องห้ามในการขอรับใบอนุญาตตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๔ (ข) แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ นั้น

เห็นว่า การพิจารณาลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุมว่าเป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีตามมาตรา ๔๔ (ข) (๑) แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับข้อ ๕ข. (๑) แห่งข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นอำนาจของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพที่จะใช้ดุลพินิจในการพิจารณาข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีว่าพฤติกรรมของผู้ขอรับใบอนุญาตมีลักษณะเป็นพฤติกรรมที่เสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีซึ่งจะกระทบต่อการประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ หรือไม่ ซึ่งการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามในเรื่องความประพฤติของผู้ขอรับใบอนุญาตไม่ใช่เรื่องการกำหนดโทษทางอาญา หากแต่เป็นเรื่องพฤติกรรม ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมและการดำรงตนของผู้ขอรับใบอนุญาตแต่ละบุคคล

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๘) จึงเห็นว่า คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพสามารถนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ขอรับใบอนุญาตที่เกิดขึ้นก่อนการใช้บังคับพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาประกอบการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพในการพิจารณาคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตได้

Advertisement


อย่างไรก็ดี จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏเพิ่มเติมนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๘) มีข้อสังเกตด้วยว่า คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ต้องนำมาใช้พิจารณาทุกครั้งเมื่อมีการขอรับใบอนุญาตรวมถึงการต่ออายุใบอนุญาตด้วย การได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูโดยผลของบทเฉพาะกาลตามมาตรา ๘๔ และมาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ นั้น ใช้เฉพาะในวาระเริ่มแรกของการใช้บังคับพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ หากมีการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพใหม่ หรือขอต่ออายุใบอนุญาต คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพควรพิจารณาคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาตให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติด้วย

ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาซึ่งเป็นวิชาชีพควบคุมมีคุณธรรม จริยธรรม และประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานตามเจตนารมณ์ที่กฎหมายบัญญัติ


ลงชื่อ นายธรรมนิตย์ สุมันตกุล
รองเลขาธิการฯ รักษาราชการแทน
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

 

 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
logo
วันอังคาร ที่ 28 เมษายน 2558


รู้ยัง!"คุณสมบัติ-ลักษณะต้องห้าม"ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ "ครู" รู้ยัง!คุณสมบัติ-ลักษณะต้องห้ามผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

Advertisement


:: เรื่องปักหมุด ::

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)

เปิดอ่าน 2,079 ☕ 18 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
เปิดอ่าน 1,618 ☕ 24 เม.ย. 2567

คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
เปิดอ่าน 489 ☕ 24 เม.ย. 2567

เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เปิดอ่าน 444 ☕ 24 เม.ย. 2567

มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 6,314 ☕ 23 เม.ย. 2567

การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 5,495 ☕ 23 เม.ย. 2567

กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 466 ☕ 23 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ปวดหลังรักษาอย่างไรดี
ปวดหลังรักษาอย่างไรดี
เปิดอ่าน 15,506 ครั้ง

15 ต้นไม้ริมรั้ว ที่นิยมปลูกไว้ในบ้าน
15 ต้นไม้ริมรั้ว ที่นิยมปลูกไว้ในบ้าน
เปิดอ่าน 167,969 ครั้ง

กำหนดมาตรฐานใหม่เครื่องชาร์จ ครอบจักรวาล ใช้ได้ทุกยี่ห้อ
กำหนดมาตรฐานใหม่เครื่องชาร์จ ครอบจักรวาล ใช้ได้ทุกยี่ห้อ
เปิดอ่าน 8,797 ครั้ง

เกมส์แข่งรถ
เกมส์แข่งรถ
เปิดอ่าน 19,370 ครั้ง

"ไผ่ร้อยกอ" เป็นไผ่แบบไหน มีลักษณะอย่างไร
"ไผ่ร้อยกอ" เป็นไผ่แบบไหน มีลักษณะอย่างไร
เปิดอ่าน 17,400 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ